สมองกับห้องเรียน


สมองเด็กกำลังเจริญเติบโต และต้องคำนึงถึงว่า เด็กต้องใช้เวลาอยู่กับครูนานเท่าไหร่ ซึ่งแสดงว่า สมองส่วนใหญ่นั้น ล้วนแต่มีผลมาจากครู และต้องคำนึงถึงว่า สมองเด็กต้องการหาสิ่งใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ มาเรียนเสมอ ต้องการตัวกระตุ้น แต่ไม่ใช่วิชาการมากมายเกินไป ซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย จนทำให้เด็กมีความทุกข์ โดยให้ความรู้เฉพาะที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ซ้ำๆ ซากๆ

การทำให้สมองเรียนรู้ได้ดีในห้องเรียน คือ การลดความเครียดในห้องเรียนให้มากที่สุด เช่น
      1.       เล่นดนตรีที่มีจังหวะเร็วๆ สนุกสนาน
     2.       ไม่ถือโกรธเมื่อเวลาเด็กทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ และฟังเหตุผลเด็กก่อนจะดุด่าว่ากล่าว อย่าตำหนิเด็กบ่อยๆ และรุนแรง
     3.       จัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อลดความเครียด
     4.       การเรียนรู้ที่สนุกสนาน มีความสุข ให้เด็กรู้ว่าครูเข้าใจความรู้สึกของเด็ก
     5.       มีการเคลื่อนไหว ยืดเส้นยืดสาย แสดงละครที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
     6.       ให้เด็กแสดงออก เขียนเรื่อง และย่อความ
     7.       ให้เด็กได้แสดงออกถึงความต้องการ และความรู้สึก
     8.       ไม่ควรเรียนวิชาที่ซ้ำๆ ซากๆ ที่เด็กเบื่อหน่าย หรือยากเกินไป และเกิดประโยชน์น้อย ไม่ได้ใช้ในชีวิตจริง
     9.       ดูแลตนเอง ไม่ให้มีอารมณ์เครียด เพื่อไม่ให้มีผลต่อเด็ก
     10.    แสง สี เสียงดนตรี และการเคลื่อนไหวทำให้ความจำเกิดขึ้นได้ดี
             เพราะฉะนั้น ครูต้องนึกตลอดเวลาว่า สมองเด็กกำลังเจริญเติบโต และต้องคำนึงถึงว่า เด็กต้องใช้เวลาอยู่กับครูนานเท่าไหร่ ซึ่งแสดงว่า สมองส่วนใหญ่นั้น ล้วนแต่มีผลมาจากครู และต้องคำนึงถึงว่า สมองเด็กต้องการหาสิ่งใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ มาเรียนเสมอ ต้องการตัวกระตุ้น แต่ไม่ใช่วิชาการมากมายเกินไป ซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย จนทำให้เด็กมีความทุกข์ โดยให้ความรู้เฉพาะที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ซ้ำๆ ซากๆ ต้องมีความพอดีในการให้ความรู้แก่เด็ก และการทำกิจกรรม ออกกำลังกาย การพักผ่อน และต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ที่จะมีผลต่อสมองเด็ก และการเรียนรู้
 

สรุปปัจจัยที่มีผลต่อสมอง
               สมองเจริญเติบโตดี (ฉลาด) (โดยเฉพาะก่อนวัยรุ่น)
                  1)      การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
                  2)      ได้ทำงาน/เรียนในสิ่งที่ชอบ
                  3)      การละเล่นต่างๆ/เล่นกับเพื่อนๆ
                  4)      การได้ฟังการเล่านิทาน
                  5)      ศิลปะ ดนตรี กีฬา ออกกำลังกาย ร้องเพลง ตามความถนัด และอิสระไม่ถูกบังคับ ไม่ใช่ท่องทฤษฎีซ้ำซาก
                  6)      ได้รับคำชมเชยเสมอ
                  7)      มองภาพตนเองบวก
                  8)      เป็นคนยืดหยุ่น ไม่เข้มงวดเกินไป
                 9)      ช่วยเหลือตนเองตามวัย
                10)   มีความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่/ผู้ใกล้ชิด
                11)   ได้ทัศนศึกษา : สัมผัสกับของจริง
                12)   ได้อาหารครบ 5 หมู่
 

ปัจจัยที่เป็นผลลบต่อสมอง (เป็นได้ทุกวัย)

  • ความเครียดนานๆ จากทุกสาเหตุ เช่น
                       1.       ถูกบังคับให้เรียน/ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
                       2.       ทำงาน/เรียนหนัก การบ้านมาก ไม่มีเวลาพักผ่อน/ออกกำลังกาย
                       3.       ถูกดุด่าทุกวัน ฯลฯ
                       4.       มองคุณค่าตัวเองต่ำ
                       5.       วิตกกังวล ทุกข์นานๆ
                       6.       ความกลัว โกรธนานๆ
                       7.       เข้มงวดเกินไป ฯลฯ
  • สมองไม่ถูกใช้หรือกระตุ้นเลย
  • ขาดสารอาหาร
  • การได้รับสารพิษ เช่น ยาเสพติด

ที่มา   พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี
ประธานเครือข่าย พ่อ แม่ เยาวชน เพื่อการปฏิรูปการศึกษาhttp://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/child/brain02.html
เอกสารอ้างอิง
1.      
White house conference : Early childhood development : what new research on the brain. http://www.exnet.iastate.edu/pages/families/nncc/wh conf.html
2.      
Neuroscience for kids. http://faculty.Washington.edu/chudler/cells.html
3.       Marilee spenger (1999). Learning and memory the brain in action, ASCD, Virginia USA [E-mail: [email protected]]  

หมายเลขบันทึก: 143131เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2007 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท