ทฤษฎีสังคมวิทยา


ทฤษฎีสังคมวิทยา

ผู้เรียนสังคมวิทยา เข้าไปอ่าน เรื่อง ประวัติ แนวความคิดและผลงานของนักสังคมวิทยา คนสำคัญ ใน

http://www.huso.buu.ac.th/cai/sociology

 

หมายเลขบันทึก: 145495เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เนื้อหาจาก

http://www.huso.buu.ac.th/cai/sociology

ประวัติ แนวความคิด และผลงานของนักสังคมวิทยาคนสำคัญ

เฮนรี เดอร์ เซ็นต์-ไซมอน (Comte Henri de Saint-Simon)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1760 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1825 รวมอายุ 65 ปี เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นครูและเพื่อนร่วมงานของ ออกุสต์ ออกุสต์ กองต์

แนวคิด การศึกษาสังคมควรจะใช้วิธีการศึกแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural sciences) และวิเคราะห์สังคมด้วยการแยกส่วนประกอบของสังคมเป็นหน่วยย่อย โดยให้ความสนใจศึกษาวิเคราะห์สังคม เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปฏิรูปสังคม (Social reform) และพยากรณ์แผนการณ์ที่จะต้องกระทำในสังคมอุตสาหกรรม ดังนั้นนักสังคมวิทยาส่วนใหญ่จึงเรียกเซ็นต์-ไซมอนว่า เป็น “Utopain Socialist” เซ็นต์-ไซมอนมีความต้องการที่จะลบล้างอิทธิพลของความคิดแบบเทววิทยา

(Theological) และระบบศักดินา (Feudal) ในยุคสมัยที่เซ็นต์-ไซมอนมีชีวิตอยู่ และสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักอุตสาหกรรม (Popenoe 1993 : 10)

ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1798 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1857 รวมอายุ 59 ปี เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส เกิดวันที่ 19 มกราคม 1798 ที่เมืองมอนเพลลิเออร์(Montpellier) ประเทศฝรั่งเศส ในขณะนั้นเป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเกิดความยุ่งเหยิงทางการเมือง และต่อมาก็เกิดการประวัติในฝรั่งเศสในช่วงระหว่างปี 1781-1799 นักสังคมวิทยาส่วนใหญ่ยอมรับกันว่า กองต์คือคนแรกที่เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Sociology”

แนวคิด ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาสังคม และได้สร้างทฤษฎีพัฒนาการด้านความรู้ของมนุษย์ไว้เป็นลำดับดังนี้

1. ขั้นเทววิทยาหรือขั้นศาสนา (Logical or Fictitious stage)

2. ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical or Abstract stage)

3. ขั้นวิทยาศาสตร์ (Scientific or Positive stage)

กองต์ได้เสนอให้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific approach) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสังคม ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ได้มีการพัฒนาขึ้นมาใช้กันอยู่แล้วในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การศึกษาดังกล่าวจะทำให้ได้ความรู้ทางสังคมที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective) ซึ่งจะทำให้ได้รับความรู้ทางสังคมที่ปราศจากอิทธิพลของเหตุผลตามธรรมชาติ (Metaphysical) ความคิดเห็น (Ideological) ศาสนา (Religious) หรือค่านิคมของสังคม (Moral values) และวิธีการแนวใหม่นี้เป็นแนวคิดทางสังคมที่จะพัฒนาไปสู่การปฏิรูปสังคม (Social reform) กองต์เรียกวิธีการศึกษาสังคมแบบนี้ว่า ปรัชญาปฎิฐานนิยม (Positive philosophy)

กองต์มีความสงสัยว่า ส่วนต่าง ๆ ของสังคมนั้นประกอบไปด้วยอะไร อะไรคือสิ่งที่ทำหน้าที่ให้องค์ประกอบต่าง ๆ ทางสังคมมารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอะไรคือปัจจัยที่ทำให้สังคมมีความสับสนอลหม่าน (Anarchy) หรือไร้ระเบียบ (Chaos) ทำไมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละสังคมจึงมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ทำไมจึงไม่มีลักษณะที่ต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นกองต์จึงเสนอการศึกษาสังคมเป็น 2 แบบ คือ สังคมสถิตย์ (Social statics) และสังคมพลวัตร (Social dynamics) ซึ่งการศึกษาสังคมแบบสถิตย์ก็คือการศึกษาส่วนต่าง ๆ ของสังคมที่ได้มีการจัดระเบียบ (Social order) ไว้แล้วหรือส่วนของสังคมที่มีเสถียรภาพ (Social stability) ที่มารวมกันเป็นสังคม ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ แทบจะสังเกตเห็นไม่ได้ แต่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ ส่วนการศึกษาสังคมแบบพลวัตรก็คือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยากที่จะมองเห็นล่วงหน้าได้

แต่อย่างไรก็ตาม กองต์ไม่เคยนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาสังคมเลย เพราะว่าได้แต่ทำการพัฒนาแนวความคิดนี้เท่านั้น และนอกจากนี้ยังได้ทำการรวบรวมและบัญญัติคำทางสังคมวิทยาเป็นส่วนใหญ่ แต่กองต์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ให้กำเนิดสังคมวิทยา

ผลงาน 1. Positive Polity (1851-1854)

2. Catechism of Positive Religion (1852)

เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1820 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1903 รวมอายุ 83 ปีเกิดในอังกฤษ ก่อนที่จะมาเป็นนักสังคมวิทยา เคยทำงานในการรถไฟ เป็นนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์มาก่อน เป็นสังคมวิทยารุ่นเดียวกับกองต์ บางครั้งก็มีคนยกย่องให้สเปนเซอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาคนที่ 2 ในที่นี้อาจกล่าวได้ว่ากองต์ คือปู่แห่งวิชาสังคมวิทยา และสเปนเซอร์ ก็คือบิดาแห่งสังคมวิทยา

แนวความคิดสเปนเซอร์มีแนวความคิดเหมือนกับกองต์ ในการวิเคราะห์สังคมแบบสถิตย์ และสังคมพลวัตร แต่สเปนเซอร์ใช้วิธีในการศึกษาสังคมที่แตกต่างออกไปจากกองต์ โดยสเปนเซอร์ใช้วิธีการนำเอาสังคมมาเปรียบกับอินทรีย์หรือร่างกาย (Organic analogy) ดังนี้ 1.สังคมเหมือนกับอินทรีย์หรือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เช่น กระเพราะ หัวใจส่วนสังคมก็จะประกอบไปด้วยสถาบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา การศึกษา รัฐบาล และเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์และพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน

2.สังคมมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกฎของนักชีววิทยา ชาร์ลส์ ดาร์วิน(Charles Darwin) ที่ว่า สัตว์ที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด (Survival of the fittest) ดังนั้นสังคมจึงต้องมีการปรับโครงสร้างให้สู่สภาวะดุลยภาพเหมาะกับสภาพแวดล้อมเพื่อดำรงความอยู่รอดของสังคม

3.การวิวัฒนาการของสังคมเหมือนกับอินทรีย์คือวิวัฒนาการจากโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น

4.ในขบวนการวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงย่อมจะนำไปสู่ความเจริญที่ดีขึ้น(เหมือนกับ กองต์) แต่อย่างไรก็ตามความเจริญที่เกิดจากการวิวัฒนาการดังกล่าวอาจถูกทำลายลงด้วยกฎธรรมชาติ (Natural laws) ที่เกิดจากกระบวนการแข่งขัน (Competition)

5.รัฐบาลจะต้องให้เสรีภาพแก่ประชาชนในกิจกรรมทั้งปวง หากรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการของประชาชนจะทำให้การความไม่สมบูรณ์ในการแข่งขันกันตามธรรมชาติ (Survival of the unfittest) และจะมีผลทำสังคมมีความเจริญลดลง

ผลงาน 1. Social Statics (1851)

2. System of Synthetic Philosophy (1860)

3. First Principles (1860-1862)

4. Principles of Sociology (1876-1882)

 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1818 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1883 รวมอายุ 65 ปี เป็นชาวเยอรมัน แต่เกิดที่ประเทศปรัสเซีย(ยศ สันตสมบัติ 2530 : 2) เมื่อจบการศึกษาปริญญาเอกด้านปรัชญาจากเยอรมันทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ ต่อมาได้ถูกเนรเทศออกจากเยอรมันย้ายไปอยู่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส และท้ายสุดในบ้านปลายของชีวิตไปอาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

แนวความคิดมาร์กซ์ได้รับอิทธิพลทางความคิดด้านปรัชญาของวอลแตร์และรุสโซจากบิดา(ยศ สัตสมบัติ 2530 : 2) ในการศึกษาสังคมนั้นมาร์กซ์แบ่งโครงสร้างสังคมออกเป็นสองส่วน ดังนี้

1. โครงสร้างส่วนล่างหรือระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย วิธีการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต โดยที่โครงสร้างส่วนนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมอันเกิดจากการแบ่งชนชั้นทางสังคมระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับชนชั้นผู้ใช้แรงงาน โดยชนชั้นปกครองจะเป็นผู้ผูกขาดปัจจัยการผลิตทั้งหมด ทำการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ข่มแหงชนชั้นผู้ใช้แรงงานอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาเทคนิคการผลิตให้ทันสมัยขึ้น จนทำให้ผู้ใช้แรงงานเกิดความรู้สึกแปลกแยก(Alienation) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดความสำนึกทางชนชั้น และเกิดการปฏิบัติโค่นล้มอำนาจชนชั้นผู้ปกครอง

2. โครงสร้างส่วนบน ซึ่งประกอบไปด้วย สถาบันทางสังคมเช่น ระบบการเมืองการปกครอง ระบบความคิด ความเชื่อ และค่านิยมทางสังคม

มาร์กซ์ไม่เชื่อว่าสังคมจะมีการบวนการจัดระเบียบให้เกิดความสมดุลย์ภายในสังคมด้วยตัวของมันเอง และมองว่าสังคมมีความขัดแย้งและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและจะเป็นผลทำให้เกิดการทำลายตัวมันเอง มาร์กซ์เชื่อว่าสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของประวัติศาสตร์ที่กำหนดโดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้นเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจ สังคมศักดินา (Feudalism) เปลี่ยนไปเป็นสังคมทุนนิยม(Capitalism) และสังคมทุนนิยมจะเปลี่ยนไปเป็นสังคมแบบสังคมนิยม(Socialism)

ผลงาน 1. Philosophy of Law (1843)

2. Economic and Philosophical Manuscript (1844)

3. The Holy Family (1845)

4. The German Ideology (1847)

5. Communist Manifesto (1848)

6. Class Struggles in France (1849)

7. The Eighteenth Brumaire (1852)

8. Grundrisse (1858)

9. Critique of Political Economy (1859)

10. The Capital (1867)

11. The Civil War in France (1871)

12. Critique of Gotha Program (1875)

อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1858 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1917 รวมอายุ 59 ปี เป็นชาวฝรั่งเศสเชื่อสายยิว เกิดในครอบครัวของนักบวชชาวยิว (Rabbi) ซึ่งอาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส จบการศึกษาจากเยอรมันและฝรั่งเศส เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกของฝรั่งเศสที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาสังคมวิทยาในมหาวิทยาลัยของประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มสอนวิชาสังคมวิทยาครั้งแรกในปี 1887 ที่ University of Bordeaux ต่อมาในปี 1906 ได้ย้ายไปสอนที่ Sorbonne ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากของประเทศฝรั่งเศส (Henslin 1993 : 11)

แนวความคิดของเดอร์ไคม์ได้รับอิทธิพลทางความคิดในการศึกษาสังคมด้วยวิธีปฏิฐานนิยม (Positivism) จากเซ็นต์-ไซมอนและกองต์ โดยให้ความสนใจศึกษาสังคมว่า สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Social solidarity) และมีความมั่นคงอย่าไร เดอร์ไคม์มีความคิดเห็นว่า การที่มาร์กซ์ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้นยังไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความเป็นปรึกแผ่นของสังคม (Bottomre 1981 และ Turner 1990 อ้างใน Vander Zanden 1993 : 12) เดอร์ไคม์มองว่าความเป็นระเบียบของสังคม(Socialorder)และความเป็นสุขของประชาชนใน สังคมจะเกิดขึ้นหรือคงอยู่ต่อไปได้นั้นก็ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม(Socialintegration) ความผาสุขของคนในแต่ละสังคมขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เกิดจากสภาพการณ์ภายนอกภายในสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เขาอาศัยอยู่ การเกิดการจลาจลหรือความวุ่นวายในสังคมจะเป็นปัจจัยทำลายความผูกพันทางสังคม และบางครั้งอาจทำเป็นเหตุให้คนในสังคมทำการฆ่าตัวตาย (Suicide) ได้ เดอร์ไคม์ได้อธิบายถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตายของคนในสังคมมี 4 แบบดังนี้

1. แบบนิยมตน (Egoistic) เป็นการฆ่าตัวตายที่เกิดจากบุคคลที่ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม และถือความคิดหรือประโยชน์ของตนเป็นใหญ่

2. แบบนิยมส่วนรวม (Altruistic) เป็นการฆ่าตัวตายที่เกิดจากบุคคลที่เห็นว่าประโยชน์ของส่วนรวมมีความสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตัว เมื่อตนฆ่าตัวตายแล้วสังคมส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์หรือเป็นผลดีต่อสังคม เช่น นักบินกามิกาเซ่ (Kamikaze) ของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

3. แบบชะตานิยม (Fatalistic) เป็นการฆ่าตัวตายที่เกิดจากความกดดันของบุคคลที่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบหรือข้อบังคับจนทำให้รู้สึกว่าตนหมดอำอาจหรือหมดอิสระภาพในชีวิตของตน เช่น นักโทษ ทาส เป็นต้น

4. แบบไร้บรรทัดฐาน (Anomic) เป็นการฆ่าตัวตายที่เกิดจากบุคคลที่รู้สึกว่าตนนั้นหมดหวังต่อเป้าหมายในชีวิตของตน อันเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไม่คาดคิดมาก่อน หรือสังคมมีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนทำให้สังคมไม่มีความเป็นระเบียบ เสียระบบ เช่น นักลงทุนที่ขาดทุนในตลาดหุ้น

เดอร์ไคม์ อธิบายว่า ความเป็นปรึกแผ่นของสังคมมี 2 แบบ คือ แบบแรกเรียกว่า ความเป็นปรึกแผ่นแบบกลไก (Mechanical solidarity) เกิดขึ้นในสังคมแบบดั้งเดิมที่มีโครงสร้างทางสังคมแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ภายในสังคมมีการแบ่งแยกแรงงานกันน้อย สมาชิกในสังคมมีความผูกพันต่อกันอย่างแน่นแฟ้นและด้วยความจริงใจต่อกัน สมาชิกในสังคมมีความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ส่วนแบบที่สองเรียกว่า ความเป็นปรึกแผ่นแบบอินทรีย์ (Organic solidarity) เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ที่มีโครงสร้างทางสังคมแบบซับซ้อน ภายในสังคมมีการแบ่งแยกแรงงานตามความชำนาญเฉพาะด้านและเป็นไปอย่างสลับซับซ้อน สมาชิกในสังคมมีความผูกพันต่อกันอย่างผิวเผิน แต่ละคนมีความรู้สึกแบบปัจเจกบุคคล (Individualism) การรวมกันเป็นสังคมนั้นเกิดจากบุคคลที่มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน

นอกจากนี้เดอร์ไคม์ยังได้อธิบายว่า การศึกษาทางสังคมวิทยาเป็นการศึกษาข้อเท็จจริงทางสังคม (Social fact) ซึ่งเป็นเรื่องชีวิตของสังคมที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยลักษณะทางชีววิทยาหรือจิตวิทยาของคนในสังคม แต่เป็นการศึกษาประสบการณ์ภายนอกของคนในสังคมที่อยู่ภายในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยบังคับให้บุคคลต้องประพฤติปฏิบัติตาม เช่น บรรทัดฐานสังคม ค่านิยม ความคิด ประเพณี สถาบันทางสังคม และองค์กรทางสังคม

ผลงาน 1. The Division of Labour in Society (1893)

2. The Rules of Sociological Method (1895)

3. Suicide (1897)

4. Elementary Form of Religious Life (1912)

แมค เวเบอร์ (Max Weber)

ชีวประวัติ เกิดปี ค.ศ. 1864 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1920 รวมอายุ 56 ปี เป็นชาวเยอรมัน จบการศึกษาด้านกฎหมายและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ต่อมาเกิดความสนใจวิชาสังคมวิทยา และเป็นอาจารย์สอนสังคมวิทยาในมหาวิทยาลัยของเยอรมันหลายแห่งด้วยกัน (Schaefer and Lamm 1992 : 14)

แนวความคิด เป็นนักสังคมวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความคิดของนักสังคมวิทยายุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากเดอร์ไคม์ที่นำเอาวิธีการศึกษาความรู้สึกของปัจเจกบุคคลมาใช้ในการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา โดยเวเบอร์อธิบายว่าในการศึกษาการกระทำระหว่างกันของคนที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเชื่อถือได้

แต่นักสังคมวิทยาจะต้องพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรม ความรู้สึก และความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมภายในเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยตรง (Syspathetic Understanding) โดยเรียกวิธีการศึกษาดังกล่าวว่า “Verstehen” ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันที่แปลว่า ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Theodoson และ Theodoson1990 : 16)

ผลงาน 1.The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism (1904-1905)

2.Wirtschaft and Gesellschaft (1922)

จอร์ด ซิมเมล (Georg Simmel)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1858 เสียชีวิตปี ค.ศ. 1918 เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของสังคมวิทยาสาขาสำนักคิดเชิงรูปแบบ (Formal school) สนใจศึกษาหน่วยของสังคมขนาดเล็ก(ต่างจากคนอื่น ๆ ในขณะนั้นที่สนใจศึกษาโครงสร้างขนาดใหญ่ของสังคม)

แนวความคิด เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกที่ให้ความสำคัญกับการศึกษากระบวนการกระทำระหว่างกันทางสังคม (Social interaction) ของคนในกลุ่มเล็ก ๆ เพราะถือได้ว่าเป็นรากฐานของ

ปรากฏการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อนทั้งหลาย ดังนั้นหน้าที่ของนักสังคมวิทยาคือ การค้นหาและแยกประเภท (การทำให้เป็นสูตรหรือรูปแบบ) แบบแผนขั้นพื้นฐานของความสัมพันธ์เหล่านั้น เช่น การแข่งขัน การร่วมมือ การขัดแย้ง ผู้นำผู้ตาม กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีความสนใจศึกษาว่า บุคคลมีการรับรู้จากผู้อื่นในระหว่างที่มีการกระทำระหว่างกันอย่างไร และบุคคลมีการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความหมายในระหว่างที่มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร ผลงานทางด้านสังคมวิทยาของซิมเมลมีอิทธิพลต่อนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันรุ่นแรก ๆ ในศตวรรษที่ 20

ผลงาน 1.The Sociology of Georg Simmel (รวมรวมโดย Wolff, 1950)

2.Conflict and the Web of Group Affiliations (1955) 3.The Philosophy of Money(1978)

4.Sociological Impressionism: a Reassessment of Georg Simmel’s Social Theory (โดย Frisby, 1981)

โรเบิร์ต ปาร์ค (Robert Park)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1864 เสียชีวิตปี ค.ศ. 1944 เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงในด้านสังคมวิทยาเมือง และการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อชาติและสีผิว ปาร์คเริ่มเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยชิคาโกเมื่อปี ค.ศ. 1914 นอกจากงานสอนแล้ว ยังเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมทางสังคม นักวิจัย และทฤษฎีบริสุทธิ์

แนวความคิด -

ผลงาน 1. Introduction to the Science of Society (เขียนร่วมกับ Ernest W. Burgess, 1921)

จอร์ด เฮอร์เบิร์ต มีด (George Herbert Mead)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1863 เสียชีวิตปี ค.ศ. 1931 เป็นนักสังคมวิทยา นักปรัชญา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นนักสังคมวิทยาที่ให้ความสำคัญกับทฤษฎีการกระทำระหว่างกันเชิงสัญลักษณ์ จนเป็นทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่มีอิทธิพลต่อนักสังคมวิทยาในยุคปัจจุบัน

แนวความคิดมีดมีความคิดว่า การแสดงความคิดและการกระทำของมนุษย์เป็นนามธรรม (Abstract) ที่แสดงถึงประสบการณ์ของแต่ละคน ตัวตน (Self) ภายในที่แท้จริงของคนเรานั้นเกิดมาจากการได้รับเอาบทบาทของผู้อื่น (Taking the role of the other)ที่เกิดจากกระทำระหว่างกันทางสังคม แต่ในการแสดงออกของคนเราในความเป็นจริงหรือที่เรียกว่า Me นั้นเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกตามค่านิยมของสังคม ในการศึกษาสังคมนั้นมีดมองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการวิวัฒนาการและธรรมชาติ แต่ความสำคัญของภาษาและสัญลักษณ์ของการสื่อสารนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำมนุษย์มีวิวัฒนาการในการกระทำที่เป็นอิสระจากการควบคุมจากธรรมชาติ ในการศึกษาทางสังคมวิทยาของมีดจะใช้แนวความคิดในการศึกษาทางสังคมของเวเบอร์ที่เรียกว่า Verstehen คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาพฤติกรรมและการกระทำของคนในสังคมจะต้องเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงและต้องวางตนอยู่ในตำแหน่งของคนที่จะศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่า ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและได้ข้อเท็จจริงจากคนที่ศึกษามากที่สุด วิธีการศึกษาสังคมวิธีดังกล่าวที่มีดใช้ศึกษาสังคมนั้นเรียกว่าการกระทำระหว่างกันเชิงสัญลักษณ์(Symbolicinteractionism)

ผลงาน 1. Mind, Self and Society (1932) 

2. The Philosophy of the Act (1938) 

3. The Philosophy of the Present (1959)

ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1902 เสียชีวิตปี ค.ศ. 1979 เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันที่มี

อิทธิพลต่อนักสังคมวิทยากลุ่มการหน้าที่นิยมในศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างมาก เป็นผู้หนึ่งในการก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นผู้แปลผลงานของเวเบอร์ เรื่อง The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เพื่อแนะนำผลงานของเวเบอร์ให้กับนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้รู้จัก

แนวความคิด แนวความคิดของพาร์สันได้รับการวิจารณ์อย่างมากว่า เป็นแนวความคิดที่

เป็นนามธรรมมากและยากที่จะเข้าใจกันอย่างแท้จริง พาร์สันได้รวบรวมเอาแนวความคิดของนักสังคมวิทยารุ่นแรก ๆ หลายคน เช่น เวเบอร์ และเดอร์ไคม์ มากสร้างเป็นทฤษฎีใหม่ที่เรียกว่า ทฤษฎีทั่วไปของการกระทำ (General theory of action) โดยมีกรอบแนวคิดว่า ในการศึกษาสังคมควรจะทำการวิเคราะห์จากทุกประเภทของปรากฎการณ์ทางสังคมจากสถาบันหลักทางสังคม เพื่อทำไปสู่การวิเคราห์การกระทำของปัจเจกบุคคล ต่อมาภายหลังพาร์สันได้ทำการพัฒนาทฤษฎีไปสู่ทฤษฎีด้วยแนวความคิดด้านจิตพิสัยระดับกว้าง โดยทำการวิเคราะห์จากสถาบันศาสนา การศึกษา และความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติและสีผิว

ผลงาน 1.The Structure of Social Action (1937)

2.The Social System (1951)

3.Towards a General Theory of Action (1951)

4.Societies; Evolutionary and Comparative Perspectives (1966)

โรเบิร์ต เค เมอร์ตัน (Robert K. Merton)

ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1910 ไม่มีข้อมูลว่าเสียชีวิตปี ค.ศ. ใด เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน และเป็นลูกศิษย์ของพาร์สัน

แนวความคิดเมอร์ตันได้ทำการเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างทฤษฎีที่มีลักษณะนามธรรมของพาร์สันกับงานสำรวจเชิงประจักษ์เข้าด้วยกันทำให้งานของเมอร์ตันเป็นแบบอย่างที่ดีของการศึกษาทางสังคมวิทยาสำหรับนักสังคมวิทยาสมัยใหม่ในอเมริกา งานของเมอร์ตันเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีระดับกลาง (Middle-range theories) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อยู่ระหว่างทฤษฎีทั่วไป (General theories) กับทฤษฎีเฉพาะด้าน (Specialized theories) ในการสร้างทฤษฎีระดับกลางของเมอร์ตันจะทำการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ของสังคมและนำไปทำการทดสอบกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีอยู่

ผลงาน 1.Mass Persuasion (1946)

2.Social Theory and Social Structure (1949)

3.Continuities in Social Research (1950)

4.A Reader in Bureaucracy (1952)

5.The Student Physician (1957)

6.The Sociology of Science (1979)

ซี. ไวร์ท มิลส์ (C. Wright Mills)

ชีวประวัติเกิด ปี ค.ศ. 1916 เสียชีวิตปี ค.ศ. 1962 เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน

แนวความคิด มิลส์มีความคิดว่า ทฤษฎีหลัก (Grand theory) และแนวความคิดแบบประจักษ์นิยมเชิงนามธรรม (Abstracted empiricism) เป็นความรู้ที่ไม่มีสาระสำคัญ และเป็นแนวคิด

ที่ไม่ได้ให้ความสนใจต่อภาระหน้าที่ทางสังคมอย่างแท้จริง มิลส์มักจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการทางสังคมวิทยาที่มีพื้นฐานมาจากการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ แต่เชื่อในวิธีการทางสังคมวิทยาสมัยใหม่ และสนับสนุนการศึกษาทางสังคมวิทยาที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของบุคลิกภาพ(Character structure) กับ โครงสร้างของสังคม (Social structure) มิลส์ให้ความสำคัญกับปัญหาและคำถามเกี่ยวกับสังคม และมีแนวความคิดว่า ควรกระจายความร่ำรวย (Wealth) และอำนาจ (Power) ของคนในสังคมให้เกิดความเท่าเทียมกัน ควรลดความสำคัญและบทบาทของคนรวยและชนชั้นกลางที่มีฐานะดี เพิ่มบทบาทและให้ความสำคัญกับชนชั้นกลางรุ่นใหม่ เช่น พนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ แนวความคิดนี้ทำให้มีคนมองว่า มิลส์เป็นผู้ที่สนับสนุนการทำงานของคนเหมือนเครื่องจักรกล

ผลงาน 1. From Max Weber: Essays in Sociology (1946)

2. Character and Social Structure (1953)

3. The Sociological Imagination (1959)

4. White Collar (1951)

5. The Power Elite (1956)

เป็นบทความที่ดีมากเลยค่ะ  ทำให้เราเข้าใจกระบวนทัศน์อย่างแท้จริง
อาจารย์ครับ กลุ่มผมได้ทำ work plane แล้วครับ และได้แขวนไว้ใน blog ของกระผมและเนื่องจากกลุ่มของกระผมจะส่งผ่านเมล์นักศึกษาแต่เข้าไม่ได้ครับเลยแขวนในblog แทนครับ

ได้รู้จักประวัติ แนวความคิด และผลงานของนักสังคมวิทยาคนสำคัญด้วยค่ะ

อยากได้ประวัติและผลงานของนักสังคมวิทยาคนอื่นๆบ้าง เนื่องจากนักสังคมวิทยาบางท่านก็ไม่สามารถค้นหาได้ ทั้งใน web และหนังสือ

มีนักสังคมวิทยารุ่นใหม่บ้างไหมค่ะอาจารย์ รู้จักแต่รุ่นเก่าๆ ในหนังสือก็มักจะมีแต่รุ่นนี้

กลุ่มของผมได้ส่งโครงร่างรายงาน "เรื่องนโยบายความมั่นคง" ไปแล้วเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ส่งทางhotmail เพราะเมลล์มหาลัยเข้าไม่ได้ ไม่ทราบว่าอาจารย์ได้รับหรือยัง แต่ไม่เห็นอาจารย์ตอบกลับมาเลย

ผมชอบแนวทางในการศึกษาสังคมวิทยาของมีดที่ใช้การศึกษาทางสังคมตามเวเบอร์ที่(Verstehen) ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาพฤติกรรมและการกระทำของคนในสังคมจะต้องเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงและต้องวางตนอยู่ในตำแหน่งของคนที่จะศึกษา หรือต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและได้ข้อเท็จจริงจากคนที่ศึกษามากที่สุด

สูฟียะห์ เจ๊ะอาบู

   ได้ทราบถึงประวัติ แนวความคิด ผลงานด้านๆของนักสังคมวิทยามากขึ้นค่ะ  ^_^

เนื้อหาดีมากเลยค่ะ ชัดเจน ที่สำคัญเป็นภาษาไทยด้วย อ่านง่าย ดีค่ะ

นศ.ป.โท บริหารการศึกษา

เนื้อหากระชับได้ใจความ เหมาะสำหรับการสรุปเป็นงานส่ง หรือนำไปอ่านในการสอบครับ

อยากได้เนื้อหาทฤษฎีสังคมศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาครับ ท่านใดที่มีเนื้อหานี้ หรือที่เกี่ยวข้อง แล้วมานำเสนอ จักขอบพระคุณมากถือว่าเป็นวิทยาทานนะครับ

อาจารย์ครับเนื้อหาที่อาจารญืเอามาให้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างในการเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีสังคมวิทยาฯ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่ผมอยากให้อาจาย์ช่วยแนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับนักสังคมวิทยาคนอื่นด้วยครับผมอยากทราบว่าคนอื่นๆนั้นเขามีความคิดแบบเดียวกันกันนักทฤษฎีหลักๆแบบนี้หรือเปล่า หรืออาจมีการโต้ตอบขัดแย้งเกี่ยวกับทฤษฎีกันบ้างผมอยากทราบครับมีเว็บไหนบ้างอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ

นาย มะรอซาลี เบ็ญยูโซะ

ผมรู้สึกเสียดายเหลือเกินที่บิดาสังคมวิทยาและนักคืดหลายๆท่านที่สำคัญได้สูญเสียไปแล้ว และที่ผมเสียดายที่สุดคือ ผมน่าจะเกิดมาในยุคของ กองต์ หรือเสปนเซอร บ้างเนื่องจากข้าพเจ้าจะได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนความรู้ตลอดถึงแนวคิด และข้าเจ้าจะถามว่า สังคมวิทยาเป็นบิดาแห่งศาสตร์ นั้นแล้ว วิชาอะไร ล่ะที่เป็นมารดา

แต่สำหรับทฤษฏีดังกล่าวข้างต้นนี้นั้นข้าเจ้าก็พอได้เห็นและอ่านมาแล้วอยุ่บ้างและ โดยสืบค้นจาก มหาลัยเที่ยงคืน

ก็ดีค่ะอ่านแล้วเข้าใจง่ายสั้นๆแต่กระชับและได้ใจความทำให้เราประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือและดีกว่าไปอ่านเองเพราะอ่านเยอะแต่จับประเด็นอะไรไม่ได้เลยลืมหมด(สงสัยเป็นคนความจำสั้นด้วยละมั้ง)

หนูสนใจงานของฟูโกต์และเว็บเบอร์มากค่ะแต่เท่าที่ได้อ่านมาก็ไม่ค่อยกระจ่างซักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเว็บเบอร์งานของเขาแทบจะไม่แตะเลย ทำอย่างไรถึงจะรู้เรื่องดีค่ะแล้วจะหาอ่านจากใหนเอาที่เข้าใจง่ายๆน่ะ อยากมีคนพูดคุยเรื่องนี้จัง คนใหญ่คนโต(แต่ตัว)

จุรีรัตน์ ธรรมรักษา

อ่านแล้วเข้าใจยากมากเลยค่ะอาจารย์ส่งสัยต้องอ่านหลายรอบแน่เลยเพราะเป็นอะไรที่เข้าใจยาก

เกตน์นิภา คงเพ็ชร

ไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะอาจารย์ แต่หนูจะพยายามอ่านใหม่ค่ะ

เคยได้อ่านในหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติและแนวคิดของนักสังคมวิทยามาบ้างแล้ว(เนื้อหาค่อนข้างจะเยอะมาก) แต่พอได้มาอ่านจากwebsiteที่อาจารย์แนะนำก็ทำให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นและใช้เวลาทำความเข้าใจน้อยลงด้วย

ขอบคุณมากมาย

รายงานเกือบไม่เส็รจ

ได้ทราบถึงแนวความคิดของนักสังคมวิทยา พวกเขามีความสามารถที่จะคิดทฤษฎีสังคมตามวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสมัยก่อนซึ่งทำให้ผู้ที่ศึกษาได้เรียนรู้เข้าใจในระบบและโครงสร้างของสภาพสังคมรวมถึงจิตใจของมนุษย์อีกด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายเกี่ยวกับ เรื่องพัฒนาการของหลักสังคมวิทยา ด้วยได้มั้ยคะ

อยากได้ประวัติคิงสลีย์ เดวิส และแนวคิดของเขาอย่างละเอียด

อยากได้ประวัติ ของ มิเชล ฟูโก มากๆๆค

อยากรู้ปรากฎการณ์ทางสังคม ของ แม็กเวเบอร์ อ ,ลองยกตัวอย่างน่อยค่้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท