คิดนอกกรอบกับการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล


คิดนอกกรอบ การจัดการความเสี่ยง 2 24 พี่ช่วยได้

มีคนเชิญไปบรรยายเรื่องการคิดนอกกรอบกับการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล ก็เพิ่งร้ว่าวิธีคิดของเราและทีมงานคิดและทำงานไม่เหมือนใคร การถอดบทเรียนจากผู้ปฏิบัติอย่างตัวเองก็เต็มใจที่เล่าวิธีคิดและวิธีทำงานแบบสั้นๆง่ายดังนี้

1. บทบาทของคณะกรรมการความเสี่ยง

  • วิสัยทัศน์ของประธานความเสี่ยง
  • ความสามารถของเลขานุการกรรมการความเสี่ยง
  • ความเต็มใจในการทำงานสมาชิกกรรมการทุกคน
  • ความทุ่มเททั้งแรงกาย แรงจของคณะกรรมการทุกคน
  • สร้างบทบาทให้ทุกคนเป็นเพื่อนในขณะที่ทำการประชุม  โดยท่านประธานความเสี่ยงจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้มากที่สุดเพื่อนั่งรับฟังความคิดเห็นของกรรมการ หากใครไม่พูดท่านจะกระตุ้นให้พูด ซึ่งปัจจุบันทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นทุกคนและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับท่านประธาน หากพบว่าสิ่งที่นำลงสู่การปฏิบัตินั้น ทำให้หน่วยงานต้องรับภาระมากจนเกินไป

2. บทบาทของผู้บริหารระดับสูง

  • มีความเข้าใจและให้การสนับสนุนทั้งความคิด และทรัพยากรทที่จำเป็นต่อการบริหารความเสี่ยง เช่น คน อุปกรณ์
  •  ประกาศนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในโรงพยาบาลของตนเอง
  • จริงจังและจริงใจในการประกาศนโยบายไม่เอาผิดกับผู้ที่รายงานอุบัติการณ์
  • ยอมรับความคิดเห็นของและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนในโรงพยาบาล
  • ลงเยี่ยมการปฏิบัติงาน ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุนหากพบปัญหาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูล สถิติ การรายงานของคณะกรรมการชุดอื่นๆในโรงพยาบาล

3. กระบวนการสื่อสารเพื่อให้ทุกคนในโรงพยาบาลเป็นผู้จัดการความเสี่ยงทุกคน

  • การประสานกับคณะกรรมการระบบอื่นๆอย่างแนบแน่นโดยเฉพาะ ทีมนำทางคลินิกซึ่งเป็นผู้นำนโยบาบาลความปลอดภัยลงสู่การปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาล 
  • บุคลากรไม่ต้องท่องจำแนวคิดกระบวนการบริหารความเสี่ยง
  • สร้างช่องทางการรายงานอุบัติการณ์ให้ชัดเจนเข้าใจง่าย เช่น เรื่องอะไร รายงานใคร เบอร์ไหน ที่ไหน เขียนอะไร และจะส่งเรื่องให้ใคร ซึ่งทางโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สร้างมิติการจัดการความเสี่ยงใหม่ด้วยการให้คนทั้งองค์กร รู้จัก

          ระบบปฏิบัติการ 2 24 พี่ช่วยได้  ซึ่งเป็นระบบที่ครอบคลุมทั้งการค้นหาความเสี่ยง การประเมินความรุนแรงของความเสี่ยง  การป้องกันและจัดการความเสี่ยง  และประเมินผล ทำให้เกิดการรายงานอุบัติการณ์จากผู้ปฏิบัติงานเฉลี่ย 800 ครั้ง/ เดือน

  • การสร้างแรงจูงใจให้กับหัวหน้าหน่วยงานโดยเฉพาะพยาบาลหัวหน้า Ward เป็นผู้ที่จะผลักดันกิจกรรมคุณภาพทั้งหมดลงสู่หน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรงพยาบาก้ได้ นพ.ชูศักดิ์ และ พญ.ภาวิณีเป็นผู้จัดประชุมทีมนำทางคลินิกพบหัวหน้าหอ  ผู้ป่วยทุกวันศุกร์จนบัดนี้ได้กลายเป็นวัฒนธรรมของโรงพยาบาลไปแล้วมีบางช่วงที่ทีมงานต้องหยุดชาร์ตแบตเเตอรี่ไปบ้าง ทำให้หัวหน้าทางคนบ่นว่าเหงาไปตามๆกัน ซึ่งปัจจุบันเริ่มกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง
  • คณะกรรมการความเสี่ยงลงเยี่ยมผู้ปฏิบัติแบบเป็นลูกค้าที่อ่อนน้อมถ่อมตนกับหน่วยงานมิใช่แบบผู้มีอำนาจหรือจ้องจับผิด

3. การสะท้อนกลับของข้อมูลให้กับทุกระดับ เช่นผู้บริหารระดับสูง  ทีมนำระบบต่างๆ  และหน่วยงาน เพื่อให้นำไปทำ CQI ต่อไป

4. ทีมผู้ตรวจสอบภายใน IS มีความเข้มแข็งและทำหน้าที่ประเมินผลการนำนโยบายไปใช้ว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่

ยังมีต่ออีกในครั้งต่อไปนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 147056เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2007 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ แวะมาชม น่าชื่นชมระบบความเสี่ยง น่าติดตามนำมาใช้บ้าง จึงแบบสมัครรับบล๊อค ค่ะ

ยินดี ยินดี๊ ค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ Gai 2 24 ก่อนอื่น ขอชื่นชม วิสัยทัศน์ ในการคิดของพี่ ว่าดีมากๆ ที่มีระบบความคิดแปลกๆใหม่ เข้ามาเสมอ  เผื่อจะได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หาวิธีคิดนอกกรอบที่หลากหลาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท