การบริหารจัดการความรู้ในองค์กร หลักสูตรการถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ


24-11-50

วันพฤหัสที่ 22-11-50       หลังจากออกตรวจคลินิกนรีเวชแล้ว  ดิฉันมาให้อาจารย์จากบริษัท Knowledge Power สัมภาษณ์เพื่อจัดทำหลักสูตรการถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญชื่อวิชา การบริหารจัดการความรู้ในองค์กรโดยมีเป้าหมายที่จะเก็บไว้ในคลังความรู้ของกรมคร     สำหรับเจ้าหน้าที่กรมได้เรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านระบบ e- learning 

เบื้องต้นกรมจะทำเฉพาะเรื่องระบาดวิทยาประยุกต์และการถอดองค์ความรู้          โดยรูปแบบสื่อเป็น Web  Base  CAI พร้อมด้วยระบบ LMS  ( ดิฉันไม่เข้าใจเหมือนกันค่ะ  )

ต่อมากรมเพิ่มเติมหลักสูตรการถอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาความยาวประมาณหนึ่งชั่วโมง/ วิชา      โดยทำประมาณ10 วิชาคือ 

 เคล็ดลับความสำเร็จในการบริหารราชการ

 การรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน

ประสบการณ์ในการบริหารโครงการวัคซีนเอดส์ 

การบริหารกลยุทธ์ 

โรคเท้าช้าง

วัคซีนตับอักเสบบี 

 แผนยุทธศาสตร์ไข้หวัดนก

 การบริหารจัดการความรู้ในองค์กร

 ยุทธศสาตร์ในการกำจัดโรคเรื้อน 

การพัฒนาบุคลากรด้านระบาดวิทยา

ดิฉันไม่มีเวลาเตรียมตัว      อาศัยความรู้ที่อาจารย์วิจารณ์และอาจารย์ประพนธ์สอนในบล็อกค่ะ      ดิฉันกังวลเพราะไม่ได้อ่านตำรามาก เหมือนผู้อื่น

ดิฉันตอบตามที่ได้ข้อมูลเบื้องต้นและอ่านตำราเพิ่มเติมเท่าที่เคยอบรมมา

คำถามมีดังนี้

1การจัดการความรู้คืออะไร 2  การจัดการความรู้ มีความสำคัญและมี ประโยชน์ อย่างไร3 สถาบันมีแนวทาง ขั้นตอนในการนำการจัดการความรู้ไปทำให้งานสำเร็จได้อย่างไร 4  CSF หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถาบัน 5 ปัญหาและอุปสรรคของ KM  และการแก้ไข6 ตัวอย่างของ Best Practice  ที่ทางสถาบันภูมิใจ

    ดิฉันขอนำส่วนที่ได้เตรียมตอบมาให้อ่านเพื่อ ลปรรกันค่ะ    ข้อมูลมาจากหนังสือที่อาจารย์วิจารณ์เขียนและดิฉันเพิ่มจากประสบการณ์ค่ะ            

                      การจัดการความรู้ ในองค์กร  Knowledge  Management

                                              .. อัจฉรา  เชาวะวณิช                              หลักสูตรการถอดบทเรียนกับผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา  (SMEs  )ความยาวหนึ่งชั่วโมงวิชา

การจัดการความรู้คืออะไร  

                 เป็นเรื่องของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานหรือองค์กร       ร่วมกันจัดกระบวนการ   แลกเปลี่ยนเรียนรู้   เพื่อสร้างความรู้จากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันสำหรับนำไปใช้ปรับปรุงงาน   และเพื่อยกระดับความสามารถในการเฟ้นหาความรู้จากภายนอกเข้ามาใช้ในงาน    โดยมีเป้าหมายของงานในระดับที่เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างน่าภาคภูมิใจไปสู่การ สร้าง นวตกรรมจากการทำงานเป็นการดำเนินการเพื่อให้งานมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น   โดยมีการสร้างความรู้เพิ่มขึ้น   หรือเป็นความรู้ที่ยกระดับขึ้น            

 KMจึงเป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย4ประการคือ                      

                     บรรลุเป้าหมายของงาน                       

                      การพัฒนาคน           

                     การพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้         

                       บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ      มีความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน   

 KMเป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ได้แก่                      1 การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร         

                       2 การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ    

                      3การปรับปรุงดัดแปลงหรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

                     4การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการของตน  

                     5การนำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดขุมความรู้  

                     6การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งานและปรับปรุงให้เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

KMเป็นการดำเนินการกับความรู้ส่วนที่เกี่ยวข้องหรือแนบแน่นกับงาน            แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในทีมงาน        มีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์         ผ่านการเฟ้นหา  สร้าง  กลั่นกรอง  แลกเปลี่ยน  ประยุกต์ใช้ และยกระดับ     เป็นกระบวนการที่มีวิวัฒนาการและยกระดับตลอดเวลา     KM เป็นทักษะ 90  ส่วน  ทฤษฎี 10   ส่วน    KMไม่ทำไม่รู้KMเป็น   Demand –side KM   90   Supply –side    KM 10 ( เช่นการดำเนินความสะดวกต่อการจัดการความรู้โดยผู้ปฏิบัติ

 2   อะไรไม่ใช่การจัดการความรู้   

                KM ไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้มีความรู้นำความรู้มาจัดระบบเพื่อให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ 

               ไม่ใช่กิจกรรมรวมความรู้ใส่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับใช้บริการ  

              ไม่ใช่การดำเนินการถอดความรู้จากกิจกรรม

3  การจัดการความรู้ มีความสำคัญและมี ประโยชน์ อย่างไร   

         ใช้เป็นเครื่องมือพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จในภารกิจหลัก         พัฒนาคนมีให้คุณสมบัติที่เปิดใจกว้าง   รับฟังและเข้าใจผู้อื่น    มีทักษะในการสื่อสารและรับสาร    และ เป็นคนที่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง         พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้     มีวัฒนธรรมแนวราบ   ให้อิสระและอำนาจในการตัดสินใจ  มีบรรยากาศของความสุข   ภูมิใจในงานและมีความเป็นประชาคมภายในองค์กร         มีทุนปัญญาขององค์กรเพิ่มขึ้น

เหตุผลที่องค์กรนำการจัดการความรู้มาใช้  ( จากหน้า26 หนังสือการจัดการความรู้เพื่อคุณภาพที่สมดุลย์ )   

       1 เพื่อเก็บความทรงจำขององค์กรไว้       เพื่อเก็บความรู้ไว้ในองค์กรเมื่อมีการเกษียณ   มีการเปลี่ยนงานของคนในองค์กร    

      2 เพื่อสงวนสมองขององค์กรทำให้คนมีความสุข    มีคุณค่า ไม่ออกไปจากองค์กรถึงแม้จะมีทางไป    

      3 เพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์กรซึ่งจะครอบคลุม                                  มีการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า  ต่อเป้าหมายขององค์กร และเป้าหมายของสังคม   

                   มี นวัตกรรม    

                  มีขีดความสามารถ     

                  มีประสิทธิภาพ

4  แนวคิดและทฤษฎีที่สถาบันนำไปใช้เกี่ยวกับการจัดการความรู้                           เนื่องจากความรู้ที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จมาจากความรู้ที่เราได้เรียนมาจากตำรา  ผู้เชี่ยวชาญ หรือความรู้ชัดแจ้ง Explicit Knowledge    เมื่อมีการทำงานก็จะมีประสบการณ์  มีทักษะ เรียกความรู้ในคนว่า Tacit  Knowledge     ซึ่งความรู้นี้มักจะไม่มีการบันทึกไว้                                   เมื่อมีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้ทำงานด้วยกันที่มีความรู้จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่มีการยกระดับความรู้         เกิด innovation       เกิดประสิทธภาพของการทำงาน      คนจะเก่งขึ้น มีความสุข  ภาคภูมิใจกับงาน  คิดพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง   องค์กรจะเกิดการพัฒนา         มีสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ดี   สามารถปรับตัวกับปัญหาที่เราไม่สามารถประเมินได้ในอนาคตกิจกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือ KM ซึ่งจะมีกิจกรรมย่อยดังนี้          

   มีการใช้ความรู้เพื่อพัฒนางาน            มีการยกระดับความรู้ที่เป็นความรู้จำเพาะต่อขีดความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง            มีการสร้างความรู้สำหรับนำมาทดลองใช้งาน            มีการสกัดเอาความรู้ออกจากคน           มีการสังเคราะห์ความรู้จากความรู้หลายองค์ประกอบได้ความรู้ที่ครอบคลุมและกว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น            มีการซึมซับความรู้เข้าไปในคน กลุ่มและกระบวนการ             มีการประเมินความน่าเชื่อถือและความเหมาะสมของความรู้             มีการปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมต่อสภาพหรือบริบทของงาน            มีการเสาะหาหน่วยงานภายนอกที่มีผลการดำเนินงานตามขีดความสามารถหลักเป็นเลิศสำหรับไปขอการเรียนรู้โดยการนำกระบวนการเทียบเทียงสมรรถนะ             มีการจัดกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน    เรียนรู้ระหว่างงาน      เรียนรู้หลังเสร็จงาน      กระบวนการเทียบเทียงสมรรถนะ   เกิดชุมชนนักปฏิบัติในบางขีดความสามารถหลักที่มีความสำคัญต่อองค์กร สมาชิกเครือข่าย

5 สถาบันมีแนวทาง ขั้นตอนในการนำการจัดการความรู้ไปทำให้งานสำเร็จได้อย่างไร   

         5.1ทำวิสัยทัศน์โดยให้คนมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ปี2540?            

         5.2 ตั้งเป้าหมายของงาน     

         5.3สร้างทีมจัดการความรู้โดยใช้คณะทำงานชุดเดียวกับคณะทำงานของCQIซึ่งมีการพัฒนาคุณภาพมาก่อนที่จะใช้KM

           5.4 มีการทำงานเป็นโครงการคือโครงการTUCทำให้เสริมกับงานที่ทำ 

           5.5 ตั้งหน่วยงาน  การถ่ายทอดความรู้     

            5.6ทำแผนและมีการประเมินแผนเป็นรายปีและทำรายงานและมีการประเมินตามตัวชี้วัด    

             5.7 สร้างบรรยากาศของความเป็นมิตร  

              5.8 สร้างเวทีให้คนมาร่วมนำเสนอผลงานในตลาดนัดKM  CQI  ทำให้ผู้นำเสนอและหน่วยงานประทับใจ

              5.9 พัฒนาคนผ่านการทำงานโดยให้มีการมาเรียนรู้ร่วมกัน             5.10 มีการมอบรางวัลเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ                                          5.11 มีเครือข่ายของการทำงานทั้งชมรมโรคติดเชื้อ  กองโรคติดต่อทั่วไป    สำนักระบาด   กรมการแพทย์ 

  6  CSF หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถาบัน                        6.1 วัฒนธรรมและบรรยากาศที่ส่งเสริมของสถาบันคือ    ความรู้ของสมาชิกในองค์กรจากประสบการณ์การดูแลโรคติดต่อ    ความสามัคคีในองค์กรและ วัฒนธรรมองค์กรที่ดี                      

                         6.2  ผู้บริหารและทีมงานมีภาวะผู้นำ โดยมีการสื่อสารถึงบุคลากรทุกระดับ     

                        6.3  มีกระบวนการและการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น                                          

 7 ปัญหาและอุปสรรคของ KM  และการแก้ไข  

                 ระบบคุณภาพมีหลายระบบ                   มาตรฐานของ  HA  และระบบคุณภาพของกรมที่ทำ  PMQAทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของงานและเพิ่มภารกิจทางด้านเอกสารจำนวนมาก                   KMเป็นส่วนหนึ่งของระบบคุณภาพของกรมที่บังคับให้ใช้แต่เครื่องมือของHAไม่ได้เน้นKMมากนัก

การแก้ปัญหา    

                       กำหนดเป้าหมาย ของงานและตัวชี้วัด                            ใช้KMมาเป็นเครื่องมือทำให้เป้าหมายของงานสำเร็จโดยไม่ได้อบรมKMมากนักเพื่อลดความสับสนคนในองค์กร                         ผู้นำองค์กรมาแก้ไขและชี้ทิศทางของการใช้เครื่องมือที่ง่ายๆและกลืนไปกับการพัฒนาคุณภาพHAเดิมๆโดยให้คุณอำนวยเป็นผู้รับผิดชอบรายงานกรมตามตัววัด

8 ตัวอย่างของ Best Practice  ที่ทางสถาบันภูมิใจ  และ อะไรที่เป็นแบบอย่างที่นำไปปฏิบัติได้   

                       การควบคุมโรค SARS  มีการกักกันผู้ป่วย   หาองค์ความรู้   คุยกันกับผู้มีประสบการณ์จากต่างประเทศ      ประสานงานกับต่างประเทศเพื่อมีความรู้ใหม่ๆ                                 ทำแบบอย่างห้องแยก    มีหน่วยงานมาดูงานทั่วประเทศ                          มีการพัฒนาความรู้ประชาชน และหน่วยงานของโรงพยาบาลทั่วประเทศ                 การดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคโดยมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง   การตรวจรักษาพยาบาลที่เป็นมาตรฐาน     มีระบบเฝ้าระวังวัณโรคและมีการดูแลบุคลากรที่มีโอกาสติดเชื้อวัณโรค                

             การดูแลสตรีที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อเอดส์   มีการดูแลหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอดส์โดยจัดกิจกรรมกลุ่มและมีพยาบาลให้คำปรึกษาและพยาบาลห้องฝากครรภ์เป็นพี่เลี้ยง   มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันทำให้เกิดกลุ่มที่คอยช่วยเหลือกันเอง   มีความไว้ใจบุคลากรและเชื่อใจกัน    มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตัวเอง   การกินยาต้านไวรัส   การสื่อสารกับญาติ     การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการเปิดเผยผลเลือด      

                 การป้องการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่ติดเชื้อเอดส์   มีการให้ความรู้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคนไข้เอดส์เพื่อให้ความรู้ผู้ป่วยและแนะนำให้มีการตรวจเชื้อเอดส์     

                การดูแลเด็กที่ติดเชื้อเอดส์มีการดูแลเป็นทีม

9  เคล็ดลับที่ทำให้งานประสบผลสำเร็จ  

               มีใช้มาตรฐานของHAเป็นหลักโดยมีเป้าหมายของการพัฒนางาน       

                ผู้บริหารสูงสุดเข้าใจระบบคุณภาพที่หน่วยงานนำมาใช้และสามารถนำระบบคุณภาพที่กรมกำหนดเช่น   PMQA   KM    PMS  ให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำHA   

               ทักษะในการสื่อสารและรับสารเพื่อให้เจ้าหน้าที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการทำงานมากขึ้น   

            กำหนดโครงสร้างให้มีงานประจำและงานโครงการ  (โครงการTUC  )  

         สร้างทีมผู้ประสานงาน และกำหนดทีมที่สามารถทำงานร่วมกันได้และรีบแก้ไข้เมื่อมีปัญหาของทีม     

            เน้นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กรและสมาชิกโดยร่วมคิดประเด็นของการพัฒนา  

             ใช้KMเป็นเครื่องมือในการทำงานให้สำเร็จ                               

             ให้ความสำคัญกับคน    ส่งเสริมให้สมาชิกมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม    และไม่ให้เวลาเป็นอุปสรรคกับการ จัดการความรู้โดยจ้างคนช่วยทำทางด้านเอกสาร การพิมพ์  แบบฟอร์ม                                    มีคนทำงานระบบคุณภาพเต็มเวลา  

           สร้างบรรยากาศและแรงจูงใจโดยดูแลสิ่งที่บุคลากรขาดแคลนเช่นการปรับเงินเดือนที่ทำมาก่อนกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ           วินิจฉัย

หมายเลขบันทึก: 148908เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เท่าที่อ่าน เนื้อหายากเหมือยกันนะครับ ชอบข้อ 9 มากครับ ให้ HA เป็นเป้าหลักชัดเจน แต่ HA ก็ขยันผลิตตัวชี้วัดใหม่ๆ เรื่อยๆ มาคอยวัดเราจนผมอดถอนใจไม่ได้....(ต้องเก็บค่าใหม่อีกรอบ)  กำลังคิดว่าถ้าเราจะพัฒนาตัวชี้วัดเดิมไม่สนตัวใหม่จนกว่าจะทำอันเดิมได้ดีก่อนได้ไหม ถ้าได้ผมจะโล่งอกมากครับ ไม่ต้องทำงานใหม่ล้มงานเก่า

---------------------------------------------

เบื้องต้นกรมจะทำเฉพาะเรื่องระบาดวิทยาประยุกต์และการถอดองค์ความรู้          โดยรูปแบบสื่อเป็น Web  Base  CAI พร้อมด้วยระบบ LMS  ( ดิฉันไม่เข้าใจเหมือนกันค่ะ  )

LMS คือ Learning Mamagement System ขอรับ
ถ้าจะแปลเป็นไทยก็ลำบากหน่อยแต่สรุปตามความเข้าใจผม มันคือ ระบบที่ให้ผู้เรียนสมารถเข้าไปเรยนรู้ได้เองผ่านทางเครือข่ายซึ่งในที่นี้ คือ ผ่านอินเตอเน็ตคงทำเป็นเว็บไซต์ให้ผู้สนใจเข้าไปดู

ผมคาดว่าคงเป็นแบบให้ดูเนื้อหาผ่านเว็บแล้วทำแบบทดสอบ ทางคนดูแลเว็บก็สามารถนำข้อมูลคนที่เข้ามาเรียนและคะแนนที่ได้เก็บผลไปวัดดูผลงานได้
คนเรียนก็สามารถรู้ระดับผลของตัวเองได้ก่อน-หลังเรียนจบ รวมทั้งสามารถฝากคำถามทิ้งไว้ได้ ถ้าคนดูระบบมีการจัดการมาตรวจสอบนะขอรับ

 

ตอนนี้ระบบเปิดให้เรียนได้แล้วนะคะ พยายามนำวิชาที่อาจารย์ตรวจความถูกต้องของข้อมูลขึ้นระบบให้เรียนกัน (ยังไม่ครบทุกวิชา) เข้าไปแวะชม + ให้คำแนะนำ ได้ที่ www.kmddc.go.th แล้วคลิก Banner "E-learning" ที่ด้านซ้าย สมัครฟรีค่ะ ได้ทั้งบุคลากรกรมควบคุมโรค และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

ขอบคุณหนูส้มที่แวะมาแจ้งให้ทราบค่ะ จะรีบไปดูผลงานของหน่วยงาน KM กรมด้วยความชื่นชมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท