อบรมแล้ว เอาไปใช้อย่างไร


ระยะนี้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับ ICT มากมาย ส่วนมากเป็นการอบรมการใช้งานระบบต่างๆ ทั้งในฐานะผู้ใช้งาน และ ผู้ดูแลระบบ แต่ก็มักจะถามตัวเองตลอดเวลาว่า อบรมแล้วเอาไปทำอะไร เพราะการอบรมแต่ละครั้งวิทยากรก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบ เท่านั้น และนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เข้ารับการอบรม ICT เกี่ยวกับระบบต่างๆ 3 ระบบ เมื่ออบรมแล้ว จึงต้องมานั่งคิดว่า จะทำอะไรต่อไป
Google Apps./ m-Learning/ ICT Knowledge bank .... จะต่อเนื่องอย่างไร

     หลังจากกลับจากอบรมที่ต่องเนื่องกัน 3 ระบบที่ผ่านมาก็กลับมาทบทวนว่าจะทำอย่างไรต่อไป สิ่งแรกที่ทำคือ มาสรุปก่อนว่า แต่ละระบบมันคืออะไร ต่อจากนั้น ก็ค่อยๆ คิดว่า ถ้าจะพัฒนาต่อเนื่อง จะทำอย่างไร

สาระสำคัญและ การใช้งานของแต่ละระบบ

1 ระบบการเรียนรู กศน. ด้วย ICT หรือระบบ m-Learning แยกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
      1.1 ระบบการส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือ เป็นระบบที่สามารถส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือ โดยผ่านทาง Internet
      หลักการใช้งาน ผู้ทำหน้าที่ส่ง SMS จะได้รับสิทธิในการส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือ ตามหมายเลขที่ต้องการ (นักศึกษา กศน.) เพื่อให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
การจัดการ ผู้ดูแลระบบจะทำหน้าที่กำหนดว่า หน่วยงานใด และ ใครเป็นผู้ได้รับสิทธิในการส่ง SMS บ้าง และได้รับโควต้า ในการส่งจำนวนกี่ข้อความ ผู้ที่ได้รับสิทธิก็สามารถส่ง SME ได้ทันที โดยเข้าไปส่งที่ website http://ict.piesoft.net  โดย Login ตามชื่อที่ได้รับ และรหัสผ่านที่กำหนด
     1.2 ระบบการเรียนรู้ผ่าน WAP เป็นระบบการเรียนผ่าโทรศัพท์มือถือ โดยการเปิด WAP (คล้อยๆกับ website แต่สามารถแสดงได้ในโทรศัพท์) ซึ่งจะต้องใช้โทรศัพท์ ที่สามารถเปิด wap ได้ โดยเปิดที่ wap site http://www2.nfe.go.th/wap/
     แนวทางการดำเนินการต่อเนื่อง
        1 กำหนดเป้าหมายการใช้งาน  โดยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่า หน่วยงานใด และ ใครบ้าง จะเข้ามามีบทบาทในการส่ง SMS โดยทำความตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในภาค
        2 พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้และความสามารถในการใช้งาน โดยดำเนินการพัฒนาบุคลากร ทั้งระดับผู้ดูแลระบบและ ผู้ใช้งาน

2 Google Apps. โดย website ของ Google Apps. จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
      2.1 Google Apps. ที่เป็น website ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ใช้งานสำหรับสมาชิกที่เป็นผู้บริหารทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคฯ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด ศูนย์ขึ้นตรงอื่นๆ และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
     2.2 Google Apps. ที่เป็น website ของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนทั่วประเทศ (ระดับภาค จังหวัด และหน่วยขึ้นตรง) เป็น website ที่ผู้ดูแลระบบของแต่ละหน่วยงานจะต้องมาจัดการ และดำเนินการเพื่อใช้งานสำหรับสมาชิกของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้สมาชิกเข้าใช้งาน
     ในการใช้งานทั้ง 2 กลุ่มนี้ สามารถเข้าใช้งานในลักษณะที่เป็นส่วนตัว สามารถเข้าไปสร้างส่วนประกอบต่างๆ และใช้งานที่เป็นส่วนตัวในเรื่องต่างๆ ดังนี้
     การใช้งาน e-Mail แต่ละหน่วย โดยสมาชิกของแต่ละหน่วยงาน จะได้รับ mail Account ที่ลงท้ายด้วยชื่อ website ของหน่วยงาน เช่น [email protected] เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น
การใช้งาน Google Talk โดยแต่ละคนสามารถสนทนา (สด) กับบุคคลอื่นที่เป็นสมาชิก ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
     การใช้งานปฏิทิน สมาชิกแต่ละคนมีปฏิบัติเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ แต่ละวันและสามารถนำเอาปฏิทินของเราไปแสดงไว้ในปฏิทินของเพื่อได้ หรือเอาปฏิทินของเพื่อมาแสดงในปฏิทินของเราได้
     การใช้งาน Document  ซึ่งประกอบด้วย word Processing  Presentation และ spread Sheet โดยสามารถใช้งานได้ดังนี้
           Word Processing สามารถสร้างเองสารต่างๆ ไปแสดงบน web ได้อย่างง่ายดาย สามารถส่งเอกสารให้ผู้รับปลายทางได้อย่างรวดเร็ว หรือร่างเอกสารแล้วให้สมาชิกที่อยู่ที่อื่น(เช่น คนละจังหวัด) ช่วยอ่าน ตรวจ แก้ไข ได้ในทันที (สามารถอนุญาตเฉพาะคนที่เรากำหนดเท่านั้น ที่จะสามารถเข้ามาอ่าน หือเขามาแก้ไขได้)
           Presentation ลักษณะแบบเดียวกับ PowerPoint  ทำงานได้เช่นเดียวกับ Word Processing ที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้เราสร้างงานการนำเสนอ แล้วส่งไปยังผู้รับปลายทางเพื่อเอาไปใช้ หรือแก้ไขได้
           SpreadSheet ทำงานเช่นเดีวกับ Excel และสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับ 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้ว
สร้าง webpage ส่วนตัว ท่านที่เป็นสมาชิกสามารถสร้าง webpage และ website ส่วนตัวของตนเองได้ และสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษา HTML

แนวทางการดำเนินการต่อเนื่อง
   1 กิจกรรมที่ควรจะต้องดำเนินการต่อไป
       1.1 พัฒนาบุคลากรของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สามารถใช้งาน Google Apps. ได้
       1.2 นำเอา Gogle Apps. มาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน
   2 แนวทางการดำเนินงาน
       2.1 เตรียมการอบรม
       2.2 การพัฒนาบุคลากรของ ศนอ.
       2.3 การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       2.4 การใช้งาน Google Apps. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
   3 รายละเอียดแนวทางการดำเนินงาน
     3.1 การเตรียมการ
          • ทดลองอบรมกับบุคลากรในกลุ่มงานนักศึกษาฝึกงาน และผู้สนใจ
          • สร้างหลักสูตรและสื่อการอบรม
          • วางแผนการอบรม
     3.2 การพัฒนาบุคลากรของ ศนอ.
          • เสนอแนวทางการดำเนินงานและขออนุมัติการอบรมต่อผู้อำนวยการ
          • กำหนดตารางการอบรม ตามรูปแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการ
          • เตรียมสื่อการอบรม
          • ดำเนินการอบรม แบบไม่มีรอบไม่มีรุ่น วันละประมาณ 2 ชั่วโมง หรือทีละกลุ่มงาน หรือตามความสมัครใจ
          • กำหนดแนวทางร่วมกันในการนำมาใช้งาน
     3.3 การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          • กำหนดแนวทางการอบรม
          • เขียนโครงการ เสนอขออนุมัติ
          • เชิญวิทยากรแกนนำร่วมหารือแนวทางการอบรมร่วมกัน
          • ดำเนินการอบรมวิทยากรแกนนำ
          • อบรมรอบที่1 ผ่านระบบ e-Training
          • อบรมเสริมแบบชั้นเรียน โดยจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการอบรม
          • แต่ละจังหวัด ไปดำเนินการอบรมบุคลากรภายในจังหวัด (อำเภอ)
          • ทดลองดำเนินการนำเอา Google Apps. ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 
     3.4 การใช้งาน Google Apps. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
          • หารือร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการนำเอา Google Apps. ไปใช้
          • จัดทำคู่มือ หรือแนวทางการใช้งาน
          • เริ่มทดลองใช้งาน Google Apps. ร่วมกับ
          • ปรับวิธีการดำเนินงานให้เหมาะสม
          • กำหนดเป็นแนวทางหรือข้อปฏิบัติการใช้งาน อย่างเป็นทางการ
   4 แนวทางการประยุกต์ใช้งาน Google Apps.
     e-Mail
           กำหนดกลุ่มผู้ใช้งานเพื่อความสะดวกในการสื่อสารเป็นกลุ่ม
           การประชาสัมพันธ์ / แจ้ง / สั่งงาน (เร่งด่วน หรือต้องการให้ทราบทุกท่าน)
           การรายงานผลการปฏิบัติงาน แบบสั้นๆ หรือเร่งด่วน
           การส่งงาน / แจ้งผลการทำงานที่ได้รับ
Calenda
      แผนการปฏิบัติงานรายบุคคล / กลุ่มงาน / ศูนย์
      รายงานการปฏิบัติงาน / ปฏิบัติราชการ
Document
     Word
           เขียนต้นฉบับ/แก้ไข 
           ร่วมกันจัดทำเอกสาร
           ส่งรายงาน
           เผยแพร่ผลงาน
Excel
           รายงานข้อมูล ส่วนบุคคล / กลุ่มงาน /
           ร่วมกันรายงานข้อมูลการปฏิบัติงาน
           รายงานข้อมูลของจังหวัด / ภาค
Powerpoint
          ทำ Presentation / ช่วยกันแก้ไข
           นำเสนอผ่านทาง Internet

  3 ระบบ ICT Knowledge Bank เป็นระบบที่เก็บรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และถ่ายทอดสู่สังคมด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายในระบบ  ธนาคารความรู้ (ICT Knowledge bank) ซึ่งประกอบด้วย
          • องค์ความรู้จากประสบการณ์และความรู้ส่วนบุคคล
          • ผลงานวิชาการ งานวิจัย และผลงานต่างๆ
          • องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิทยากร
          • แฟ้มสะสมความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษา
          • องค์ความรู้ด้านการบริหารงาน เช่น ระเบียบพัสดุ การเงิน สารบรรณ เป็นต้น
          • ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดดำเนินชีวิต
      การใช้งาน ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้าไปศึกษาความรู้ต่างๆ ในธนาคารความรู้ แต่ถ้าต้องการบันทึกความรู้ต่างๆ เข้าไปในระบบธนาคารความรู้ จะต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน โดยเปิดใช้งานได้ที่ website http://kbank.nfe.go.th/ict-kb/
หรือที่ http://203.172.142.252/ict-kb/
 แนวทางการดำเนินการต่อเนื่อง
         1 เตรียมการฝึกอบรม โดยคาดว่า ศูนย์ ITED จะเป็นผู้ดำเนินการอบรม
         2 ดำเนินการให้ความรู้ในการใช้งานกับบุคลากรของ ศนอ.
         3 ทดลองใช้งาน

คำสำคัญ (Tags): #google apps#ict knowledge bank#m-learning
หมายเลขบันทึก: 150303เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อาจารย์ครับ สุดยอดมาก ๆ เลยครับ

เพื่อการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ของ กศน.

ขอเป็นกำลังใจเพื่อพัฒนางานต่อไปครับ

ขอบคุณครับ 

      ผ่านมาเกือบ 1 เดือนหลังจากการอบรม Google Apps. จึงขอบันทึกร่องรอยของการพัฒนาในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตังแต่เริ่มอบรม มาจนถึงตอนนี้ประมาณ 1 เดือน

  • ปัญหาในช่วงอบรม GoogleApp. นั้น website ของ ศนอ. คือ esan.nfe.go.th ยังไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งก็เหมือนกับหลายจังหวัด ดังนั้นผู้ที่มาจากหน่วยงานเหล่านั้นก็ไม่ได้ฝึกจากของจริง จึงต้องไปใช้รวมกัน แต่บังเอิญ เราได้ทดลองเปิด website ของ ศนอ. คือ nenfe.nfe.go.th เอาไว้ก่อนที่จะไปอบรม ทำให้ได้ฝึกใช้งาน แต่ก็มีปัญหาในส่วนของ e-Mail เพราะไม่สามารถใช้งานได้
           เมื่อกลับมา ศนอ. ก็ทดลองใช้ตัวสำรองฝึกปฏิบัติไปก่อน จะทำตัวของจริงยังไม่ได้ เช่น การ Add e-Mail ให้บุคลากรใน ศนอ. ก็ยังทำไม่ได้ เนื่องจากยังไม่สามารถใช้ website esan.nfe.go.th ได้ จึงได้แต่ไปทดลองทำเรื่องอื่นๆ
          ช่วงเวลานี้ไปราชการตลอดเวลา ช่วงที่ไม่ได้ไป ก็ต้องมาเก็บงานเก่า และระหว่างวันที่ 12-18 ก็เข้าอบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ จึงต้องลืมเรื่องนี้ไปก่อน
  • เมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.) เข้าไปทดลองเปิด esan.nfe.go.th ปรากฏว่า ใช้ได้แล้ว แต่เป็นเวลาค่ำแล้ว จึงตั้งใจว่า วันรุ่งขึ้นจะเริ่มงานทันที โดย Add ชื่อบุคลากรใน ศนอ. เข้าไป เพื่อให้สามารถเข้าระบบ และใช้งานต่างๆ ได้ โดยเฉพาะ e-Mail ซึ่งเรื่องชื่อนี้ ผู้อำนวยการได้สั่งให้งานบริหารบุคคล สำรวจรายชื่อบุคลากรใน ศนอ. เอาไว้แล้ว จึงให้อาจารย์ที่ทำงานร่วมกันไปขอรายชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษ ปรากฏว่า ท่านที่รับผิดชอบงานก็บอกว่า ในวันสำรวจลาพักร้อน มอบให้อีกคนหนึ่งทำ พอไปถามอีกคนหนึ่งก็บอกไม่รู้อยู่ที่ไหน แต่เรื่องที่หนักใจคือ คำพูดและการแสดงออก เหมือนกับว่า เราไปสร้างภาระให้เขา เพราะคำพูดว่า เรื่องแค่นี้ ทำเองก็ไม่ได้ ก็ได้แต่คิดว่า นี่แหละปัญหาภายในองค์กร ปัญหาโครงสร้างองค์กร และปัญหาการบริหารจัดการ ความจริงเรื่องนี้ ถ้าให้ทำเองก็ไม่ยาก แต่เนื่องจากมันมีสายงาน มีการสั่งการจากผู้บริหารเอาไว้ และเรื่องนี้ต่อไปจะเกี่ยวข้องกับงานสารบรรณ สรุปก็คือ บอกว่าอย่าคิดมาก ทำได้แค่ไหนก็ทำ  บางเรื่องผู้บริหารผูกเอาไว้ ก็ต้องให้ผู้บริหารมาแก้ แต่ก็เป็นอุปสรรคประการหนึ่งที่บันทึกเอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นร่องรอยในการพัฒนางาน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท