บทความ 'นามศัพท์ ในหลวง' โดย รศ. นันทา ขุนภักดี


ท่านรองศาสตราจารย์นันทา ขุนภักดี

ได้เขียนบทความ 'นามศัพท์ ในหลวง'

เพื่ออธิบายที่มาของคำว่า 'ในหลวง'

โดยตีพิมพ์ในวารสาร ความรู้คือประทีป ฉบับที่ 4/49 หน้า 9-11

 

กระผม & เพื่อนๆ ชาว GotoKnow ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์นันทาฯ

สำหรับวิทยาทานที่ได้จากบทความนี้ครับ ^__^


 


 

คำชี้แจงเพิ่มเติม

         ในบทความ 'นามศัพท์ ในหลวง' ที่นำมาโพสต์นี้ ท่านผู้เขียน คือ อาจารย์นันทาฯ ได้อ้างถึงหนังสือ สาส์นสมเด็จ เล่ม 12 โดยคัดเนื้อความมาเท่าที่จำเป็น (เข้าใจว่าเป็นเพราะมีเนื้อที่จำกัดในวารสารความรู้คือประทีป)

         อย่างไรก็ดี ผมได้ไปทำการสืบค้นหนังสือเล่มดังกล่าวจาก หอสมุดแห่งชาติ และได้ข้อความครบถ้วน โดยจะนำเสนอใน นสพ. กรุงเทพธุรกิจ เซ็คชั่นจุดประกายเสาร์สวัสดี ในวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 

         หลังจากที่ นสพ.ฉบับดังกล่าวได้ตีพิมพ์บทความ (ที่มีข้อมูลครบถ้วนจาก สาส์นสมเด็จ) แล้ว ผมจะนำมาโพสต์ไว้ในบล็อก 'พลังของแผ่นดิน' เพื่อใช้ในการอ้างอิงควบคู่กับบทความของท่านอาจารย์นันทาฯ ต่อไป

<hr>

 

</font></strong>

หมายเลขบันทึก: 151112เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวีสดีครับอาจารย์ ดร.บัญชา

  • ได้รับความรู้จากบันทึกนี้ของอาจารย์มากเลยครับ
  • หามาเขียนเล่าอีกนะครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ อ.บัญชา

ถ้าไม่ได้บทความนี้คงไม่รู้ที่มาจริงๆ ของคำๆ นี้แน่เลย

ตอนแรกยังคิดว่าเป็นการเรียกย่อมาจากคำว่า "นายหลวง" เลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับประวัติศาสตร์และเกร็ดความรู้ดีๆ ค่ะ 

  • ขอบคุณ รศ.นันทา  ขุนภักดี
  • ขอบคุณ อ. บัญชา
  • ที่ให้ความรู้และนำความรู้มาสู่  ครับผม
คนใต้หลายถิ่น เรียก "นายหลวง"

สวัสดีครับ ทุกท่าน

         รู้สึกยินดีที่บทความนี้มีประโยชน์นะครับ

ผมได้ปรับปรุงโดยสแกนเนื้อหาจากต้นฉบับวารสารความรู้คือประทีปแล้ว ดูสะอาดขึ้นมากครับ

         ไว้รอข้อมูลจาก 'สาส์นสมเด็จ' ตามที่แจ้งไว้นะครับ มีประเด็นสนุกๆ น่ารู้อีกหลายแง่มุมทีเดียว ^__^

อาจารย์นันทา ท่านเป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม ท่านเกษียณอายุราชการเมื่อ 30กันยายน2546 แม้ปัจจุบันท่านก็ยังสอนการอ่านคำประพันธ์ร้อยกรองให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ท่านเป็นอาจารย์ที่น่ารักมากครับ

ขอบคุณมากครับ

คุณเยียร์โชคดีจริงๆ ที่ได้รู้จักท่าน ^__^

อิอิอิ ท่านอาจารย์บัญชา

ถ้าไม่รู้จักและไม่เคยเรียนที่ศิลปากรจะเล่าเรื่อง หนุมาน นารายณ์สิบปาง ได้เป้นฉากๆเหรอคร้าบ55555 แต่ผมก้ยืนยันว่าผมยังมีความรู้น้อย แค่หิ่งห้อย ตัวนิดๆแค่นั้น เลยเรียนปริญญาโทที่นั่นไม่จบแต่มาเรียนปริญญาโทบริหารแทน

อาจารย์มณีปิ่น (คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร)นั่นคือจ้าวยุทธจักรวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย โดยเฉพาะรามเกียรติ์ นารายณ์สิบปาง อย่าได้ไปถามท่านเชียว (ท่านทำดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องนารายณ์สิบปาง ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน)

อาจารย์นันทา ท่านเชี่ยวชาญการแต่งคำประพันธ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากรให้ท่านแต่งคำประพันธ์ติดป้ายหน้ามหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขต"ทุกงาน")

ไปก่อนนะครับแล้วว่างๆจะมาสนทนาด้วยใหม่ แวปปปปปปปปป

คุณเยียร์ - ศิษย์เก่า ม.ศิลปากร!

        ดีจังครับ เคยได้อยู่ใกล้ผู้รู้ด้านศิลปะวัฒนธรรมอย่างนี้

        ผมไปงานมหกรรมหนังสือมาแล้วครับ แต่ยังไม่มีเวลาเดินหาหนังสือ นารายน์สิบปาง

       ขอบคุณสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์มณีปิ่นและอาจารย์นันทาครับ

เรียนท่านอาจารย์บัญชา

หนังสือเรื่อง"โอริงามิ พับกระดาษฝึกสมอง" ขึ้น Top5 หนังสือขายดีที่ต้องอ่านของ สำนักพิมพ์สารคดี โซน แพลนารี A 07 ยินดีด้วยนะครับ

(อ้างถึงใน มติชน ฉบับวันอังคารที่20 ตุลาคม 2552 ปีที่32 ฉบับที่ 11546 หน้า20)

คุณเยียร์ สวัสดีครับ

       เรียกผมพี่ชิวก็ได้ครับ ไม่ต้องอาจารย์ ถ้าเป็นอาจารย์ต้องเก็บค่าลงทะเบียนจากลูกศิษย์ครับ (ฮา)

       ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ฝากไว้ครับ เมื่อกี้ไปดู นสพ.มติชน แล้ว ทำให้เห็นว่าตลาดหนังสือบ้านเรายังคึกคักอยู่ทีเดียวนะครับเนี่ย

ปล. แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมติดใจคือ คำว่า "อัจฉริยะ" ซึ่งถูกใช้จนกลายเป็นคำสามัญประจำบ้านไปแล้ว คำๆ นี้ถูก abused (ปู้ยี่ปู้ยำ) มากเหลือเกิน......

แหมมมม ผมขอให้เกียรติอาจารย์ ขืนเรียก พี่ชิว มันกระดากปากครับ ผมมันพวกอักษรศาสตร์เก่าด้วยที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เคารพครูบาอาจารย์

อิอิอิ หากอาจารย์เก็บค่าลงทะเบียนเรียนก็ยอม(ฮา)

คำว่าอัจฉริยะ

ที่มาของคำๆนี้ที่ถูกใช้จนเป็นคำสามัยประจำบ้านตามที่อาจารย์เห็น สันนิษฐานได้ว่าอาจมาจาก พรีเซนเตอร์สองคนที่โฆษณาที่ดื่มเครื่องดื่มซุปไก่สกัดยี่ห้อหนึ่งทั้งชายและหญิง ทั้งสองคนพยายามแสดงคำๆนี้ออกมาสื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าหากดื่มแล้วก็จะสามารถเป็น"คำๆนี้"ได้ แถมถูกปู้ยี่ปู้ยำเพราะคนที่ดื่มนี้คิดว่าสามารถจะเป็นอัจฉริยะได้หากดื่ม ทั้งๆที่คนเราไม่สามารถเก่งได้ทุกอย่าง

รวมทั้งการเป็นอัจฉริยะนั้นไม่ใช่แค่ดื่มสินค้าดังกล่าว แต่ต้องหมั่นสังเกตก่อนเป็นเบื้องต้น เหมือนกับนักวิทยาศาสตรืที่สังเกตการณ์แล้วตั้งสมมติฐานแล้วค่อยวิเคราะห์ตาม หมั่นใช้สมองบ่อยๆต่างหากไม่ให้ขี้เลื่อย ส่วนจะบำรุงสมองอย่างไรนั้น สินค้าตัวดังกล่าวเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งเท่านั้น

จริงอยู่ที่ความเก่งต้องผ่านการฝึกฝน หมั่นคิดวิเคราะห์ ลงมือทำ แต่ทว่าผู้บริโภคยังไม่เข้าใจความหมายของคำๆนี้ที่แท้จริงคือ เก่งแล้วต้องประพฤติดีนั่นถึงจะเรียกว่าอัจฉริยะของแท้

หากเติมคำว่า"ภาพ"เข้าไป และมี"พระ"ข้างหน้าคือ "พระอัจฉริยภาพ"ก็จะไม่มีใครก้าวล่วงเพราะนั่นคือคำที่ใช้กับตัวอย่างของสุดยอดอัจฉริยะที่ควรเคารพของแผ่นดินและของโลกซึ่งตอนนี้ต้องส่งแรงใจถึงพระองค์ ขอให้หายจากการประชวร ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

คุณเยียร์ ขอบคุณมากครับ

          ผมคิดว่าคำที่น่าจะเหมาะกว่าคือ ความเป็นพหูสูต ครับ

ก็น่าจะเหมาะตามความเห็นของท่านอาจารย์นะครับ

คนที่เป็น"พหูสูต"ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดและไม่มีผู้ใดเทียบได้มาจนปัจจุบันเป็นระยะเวลา2500 ปีคือ "พระอานนท์"

ท่านสามารถท่องคาถาที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ได้ทั้งหมด นับตั้งแต่ ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร เป็นต้นมา ที่มีในพระไตรปิฎก ประมาณ60 เปอร์เซนต์นี้มาจากพระอานนท์ ส่วนที่เหลือมาจากพระรูปอื่นๆ

พวกที่เป็น"เลขานุการ"ทั้งหลายควรจะดูพระอานนท์เป็นแบบอย่าง นี่คือสุดยอดเลขานุการเลย5555 ทำได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ

อุปัฎฐากพระพุทธเจ้าจนพระองค์ปรินิพพาน

นี่แหล่ะครับ พหูสูต ของแท้ 5555555555 ขอนมัสการพระสุดยอดเลขานุการของโลก สาธุ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท