เพลี้ยแป้ง


เพลี้ยแป้งผู้อยู่เบื้องหลังความเสียหาย

เพลี้ยแป้ง  

ผู้อยู่เบื้องหลังความเสียหาย(วายร้ายจอมแอบซ่อน..เสียหาย..แต่ไม่ทราบว่าฝีมือใคร)

­เพลี้ยแป้ง (Mealybug)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus sp.

      ตัวเต็มวัยตัวเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. สีเหลืองอ่อน ลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟองบนกาบใบ ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 - 10 วัน จึงจะออกเป็นตัวอ่อน มีสีเหลืองและยังไม่มีผงสีขาว จะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมที่จะกินอยู่ ตัวเมียจะมีการลอกคราบ 3 ครั้ง และไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกแต่จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายหลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ภายในเวลา 1 ปี เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 - 3 รุ่น ในระยะที่ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น รากหญ้าแห้วหมู โดยมีมดซึ่งอาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำไป

    ลักษณะการทำลาย เพลี้ยแป้งชอบดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนของลำต้น ใบ และกาบใบ ทำให้ใบข้าวเป็นสีเหลือง ลำต้นเล็ก แคระแกรนไม่เจริญเติบโต และแห้งตายในที่สุด โดยเพลี้ยแป้งจะย้ายไปทำลายข้าวต้นข้าง ๆ ต่อไป ทำให้ข้าวตายเป็นหย่อม ๆ เป็นรูปแอ่งกระทะ ถ้าเป็นมากจะขยายจนเต็มแปลง นอกจากนั้นยังขับถ่ายมูลหวานทำให้เป็นตัวดึงดูดราดำ      มักพบในระยะฝนทิ้งช่วง อากาศแห้งแล้ง

   การป้องกันและกำจัด

1. ใช้วิธีกล โดยถอนหรือเกี่ยวต้นข้าวที่ถูกทำลายเพื่อตัดชีพจร ป้องกันการระบาดในปีต่อไป

2. ใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนเพลี้ยแป้ง Unidentified sp. ด้วงเต่าปีกลายหยัก Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่า โรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่าสคิมนัส Scymnus sp. ด้วงเต่าฮอร์โมเนีย Harmonia octomaculata ด้วงเต่าสีส้ม Micraspis sp. แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง  ต่อรัง Vespidae

3. ใช้สมุนไพรขับไล่แมลง โดยนำเมล็ดสะเดาที่แห้งแล้ว 1 กิโลกรัม บดหรือโขลกให้ละเอียด นำมาแช่น้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)   ทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ (กากสามารถใช้ทำปุ๋ยได้) นำไปผสมสารจับใบ ใช้ฉีดพ่นทุก 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น

4. ป้องกันกำจัดมด ซึ่งเป็นตัวแพร่กระจายเพลี้ยแป้ง

5. สารเคมี มาลาไธออน 0.5 กิโลกรัม หรือ ไดอะซินอน 200 กรัม หรือ ทริไธออน 200 กรัม ผสมกับน้ำ 450 ลิตร ผสมสารจับใบ พ่นทุก 3-4 สัปดาห์ต่อครั้ง

 นายปรีดา  บุตรดีวงศ์ นวส.7 ว 

นางสัมฤทธ์ หมวดไธสง นวส. 6     

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000โทร : 042-465345  โทรสาร : 042-411564  (30 ส.ค.50)                         

หมายเลขบันทึก: 151684เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

ได้ความรู้เยอะเลย..แต่ว่ายาฆ่าแมลงที่เป็นแบบธรรมชาติเนี่ย..ทำยากจัง..ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ตอนนี้  หยั่ง..เงินเต็มบ้าน  นางกวัก  โดน..ไม่แน่ใจว่าเรียกเพลี้ยรึเปล่านะคะ..สีขาว ๆ แบน ๆ เหมือนกับว่ามันโดนดูดน้ำหล่อเลี้ยงรึเปล่า..ตายหมดเลยค่ะ..ถ้าเราไม่อยากใช้ยาฆ่าแมลงแบบปฏิชีวนะ..อยากใช้แบบธรรมชาติ  (แต่ทำง่าย ๆ หน่อยนะคะ)  ทำยังงัยได้บ้างอยากรู้จริง ๆ ค่ะ

P สวัสดีครับ คุณ OOHOOH

นอกจากช่างสังเกตุแล้วยังชอบต้นไม้ใบหญ้าอีกเนาะ..

ถ้าอยู่ใกล้เกษตร(อยู่)จังหวัดจะไปดูแลต้นไม้ให้หรอก..ชอบต้นไม้เหมือนกันนิ

แต่อย่างอื่นไม่ใช่แฟนคงทำแทนไม่ได้เนาะ..

เจ้าเพลี้ยแป้งนี่ตัวสำคัญ กินข้าวตายเป็นพัน ๆไร่ เกษตรกรก็ยังดูไม่ค่อยออกว่าเป็นอะไร ก็เลยป้องกันกำจัดไม่ถูกวิธี ไม่หาย...

เอาเป็นว่าทุกวันนี้มีสารชีวภันฑ์สำเร็จรูปจำหน่ายแล้ว อย่างถ้าเป็นเพลี้ยก็สามารถซื้อสารสะเดาที่เป็นน้ำมาฉีดพ่นได้เลย แต่ต้องผสมสารแอ๊ปซ่า 80 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยครับ

ยินดีให้คำปรึกษาด้านต้นไม้ใบหญ้าครับ

  • ตามมาดูเพลี้ยแป้ง
  • เสียดายวันก่อนไปหนองคายกับป้าแดง
  • ไม่ได้พบกัน
  • เสียดายมากๆๆแบบนี้ต้องไปอีก
  • ฮ่าๆๆๆ
  • เสียดายมากๆๆ แต่หัวเราะเสียงดัง ฮ่าๆๆๆ...
  • แบบนี้ดีใจหรือเสียใจครับอาจารย์
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ ผมก็เสียดายไม่ได้เจออาจารย์..ถ้าเจอจะได้ฝากเพลี้ยแป้งไปกินข้าวแถวกำแพงแสนบ้าง..ฮิ..ฮิ..

เคยเห็นที่ดอยแม่ฟ้าหลวง เขาเพาะขยายพันธุ์แตนเบียน ทำให้การปลูกพืชผักไม่ใช้สารเคมี นี่ สุดยอด

เมื่อเป็นเด็กเคยบี้รัง "หมาร่า" ทุกครั้งที่เจอ แต่เด๋วนี้ต้องบอกลูกว่าอย่าทำอะไรมันนะ มันสร้างประโยชน์ให้เรา ช่วยจับหนอนผีเสื้อไปขังไว้ ดูสิมันจับมาอีกแล้ว....

  • P
  • สวัสดีครับคุณหมอเล็ก
  • ดีใจที่เจอแนวร่วมต่อสู้หมาร่า
  • ตอนเด็กชอบตีรังแตน ผึ้ง ต่อ
  • ยกพวกต่อสู้กับต่อที่มากินปลาตากแห้งตายนับสิบตัว
  • ไม่คิดว่ามันจะหมดเป็น
  • ตอนนี้รู้ค่าเมื่อหายากแล้ว
  • ขอบคุณที่แวะมา ลปปร. ครับ
  • แจ่มเลยครับครู
  • อวยพรปีใหม่ไทยด้วยตัวเลขไทย ๆ
  • ขอให้พรชัยย้อนกลับไปทวีคูณ
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ

สวัสดีค่ะ กำลังสนใจเรื่องเกี่ยวกับเกษตรเลยตามมาดูค่ะก็ได้ความรู้เยอะเลย

  • P สวัสดีครับครูยุ้ย
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
  • ถ้าสนใจจุดไหนก็ถามมาได้ครับ
  • ลำพังเขียนบันทึกอาจไม่ตรงใจคนอ่าน
  • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

สวัสดีค่ะคุณเกษตรฯ

เสียดายค่ะไม่มีภาพเพลี้ยแป้งให้ดู คือไม่แน่ใจว่าหน้าตาเป็นอย่างไรค่ะ ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ และทำให้รู้เพิ่มเติมด้วยว่ามดนั่นเองเป็นตัวพาหะ

ขอบคุณค่ะ

  • ตอนนั้นยังไม่มีกล้องครับ ใช้ของหลวง เบิกก็ยาก ถ่ายไม่ได้ใจ
  • ตอนนี้มีกล้องส่วนตัว สาธุ เพลี้ยระบาดระบาดเร็ว ๆเถอะ
  • จะได้แอบถ่ายภาพ
  • เพราะหลายคน หลายคนจริง ๆ ยังไม่รู้จัก ยังไม่รู้วิธีป้องกันกำจัด ทำให้ผลผลิตลดลงมาก
  • ซำบายดี..

ได้ความรู้เพิ่งตั้งเยอะเลยค่ะ......ขอบคุณมกนะคะ......ความรู้ไม่ได้อยู่แต่ในห้องเรียนจริงๆค่ะ

ตามมาขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ

ส่วนคำตอบ ผักหวาป่าน เป็นคำตอบที่ ... ที่....ท่องตูก ครับ ตามไปรับรางัวลนะครับ

  • P สวัสดีครับน้อง ข้าวฟ่าง

    .....ความรู้ไม่ได้อยู่แต่ในห้องเรียนจริงๆค่ะ

  • คงเป็นเช่นนั้นครับ..

  • ความรู้...เป็นของคนที่ไฝ่รู้..

  • โอกาส..เป็นของคนที่แสวงหา..

  • เมื่อโอกาสมาถึง...ขอให้ทำดีที่สุด...ไม่ต้องมาเสียดายที่ไม่ได้ทำ...น้องข้าวฟ่างทำได้...เป็นกำลังใจจ้า

    P สวัสดีครับ หมอเล็ก
  • เฝ้าติดตามหมอเล็กอยู่แล้วครับ
  • มีโอกาส..ก็เลยเข้าไปร่วมสนุกด้วย
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ
  • น้ำเย็น ๆก่อนไหมครับ..ฝนกำลังตกพอดี 555+++

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาขอเรียนรู้  ไม่ได้ไปทำเกษตรหรอกค่ะ

แต่อยากรู้จัก น่ะค่ะ

  • P สวัสดีครับคุณครูอ้อย
  • ผิดกติกาครับ..ไม่ทำการเกษตรแต่แอบมารู้ 555+++
  • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • นับเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลที่ครูอ้อยมาเยี่ยมด้วย
  • ก่อนกลับขอธุ..ครูหน่อย

  • ตามมาขอบคุณครับ
  • เพลี้ยแป้ง
  • กินถั่วฝักยาวไหมครับ
  • อิอิๆๆ
  • P สวัสดีครับอาจารย์ขจิต
  • เพลี้ยแป้งกินทั้งถั่วฝักยาว และฝักไม่ยาวครับ..(แต่กินสด..ไม่ได้ตำ..หรือเอามาต้มใส่มาม่า..555++)
  • บนคบมะพร้าวก็เคยพบ ลูกหมากก็มีครับ ระบาดไปทั่ว
  • แต่ในนาข้าวนี่ พึ่งสังเกตุเห็นไม่นาน ก็เลยพยายามบอกกล่าวให้ระวังกัน เพราะถ้ารู้แต่ต้นแล้วปราบไม่ยากครับ
  • เคยพบที่ต้นมะพร้าว
  • ลูกมะพร้าวหล่นเลย
  • อย่างง งง ไป
  • มันคือกระรอก
  • อิอิๆๆ
  • ปลา-กฏ-ว่า-เป็น-กระ-รอก-ซะ-งั้น
  • หายง่วงเลยเรา 555 ขอบคุณครับ
  • พี่ครูพรรณา
  • บอก่าจะมาสุพรรณบุรี
  • มาถึงวันไหนครับ
  • ส่งข่าวด้วย
  • อยากเจอๆๆๆ

มาแอบดูเกษตรหนีจากจังหวัดไปอยู่กับเพลี้ยแป้ง  เวลามาสุพรรณเอามาแต่แป้งนะครับ  เพลี้ยมาเอาไปสุพรรณ..อิอิ  ให้สุขภาพแข็งแรงครับ 

  • P สวัสดีตอนเช้าครับอาจารย์ขจิต ฝอยทอง
  • เป็นเกียรติอย่างสูงครับท่านพี่..
  • คงไปถึง กทม. เช้าวันอาทิตย์..แล้วเข้าสุพรรณ..
  • อยากเจออาจารย์เหมือนกันครับ...แต่เห็นวุ่นซะไม่กล้าชวน..
  • แต่ถ้ามาได้ก็อยากเจอครับ..ขอบคุณครับ
  • P สวัสดีครับท่าน ผอ.
  • เพลี้ยนะอร่อยนะครับ..ไม่เชื่อถามครูพรรณาดู..โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน..ทำแจ๋วเพลี้ย..ฮิ ฮิ..
  • วันอาทิตย์คงได้มีโอกาสคาระวะท่าน ผอ. นะครับ
  • วันอาทิตย์กี่โมงครับ
  • เดินทางทางไหน
  • จะได้หนีไปเที่ยวด้วยคน
  • วี้ดวิ้วๆๆๆๆ
  • คืนวันเสาร์เข้า กทม.ถึงคงสว่าง..
  • ตอนเช้าจับรถเข้าสุพรรณต่อ..(ยังไม่รู้จักทาง..หรือสายรถเลย ฮิ ฮิ..)
  • ประกาศ...ประกาศ..ใครอยากทานแหนมเนืองเมืองหนองคายเชิญที่บ้านครูพรรณาคราบบบบบ...

สวัสดีค่ะ P

แวะมาดูความร้ายกาจของเพลี้ยแป้ง

อยู่หนองคายในตัวเมืองใช่ไหมคะ พอดีนุ้ยก็มีคนรู้จักอยู่หนองคายเหมือนกันค่ะ  ไม่ได้ไปเยี่ยมท่านมานานแล้ว ว่างๆต้องหาเวลาไปซะหน่อย

ขอบคุณค่ะ

  • P สวัสดีครับคุณนุ้ยcsmsu
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ
  • ชาวหนองคายยินดีต้อนรับครับ
  • มาเยี่ยมท่านวันไหนก็บอกได้ครับ
  • ผมจะได้หลบ 555 ล้อเล่นนะครับ...

ได้ความรู้มากมายเลยครับ

  • P หวัดดีเด็ก ๆฟ้ามิกแม็ก
  • รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
  • เผื่อมีโอกาสแนะนำชาวบ้าน
  • มีอะไรให้ช่วยก็บอกได้นะ
  • มาบอกว่า
  • รออ่านบันทึกใหม่ครับ
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • มาบอกท่านเกษตรว่า
  • ที่มหาสารคาม บ้านเม็กดำ
  • ชาวบ้านทดลองเลี้ยงความในนาข้าว
  • ปรากฎว่าได้ผลดี
  • ขี้ควายเป็นปุ๋ยแก่นาข้าว
  • เจ้าสองตัวนี้ฉลาด กินแต่หญ้า
  • เลยเอามาฝาก
  • คนที่ไปด้วยกับผม คือ ดร วรภัทร์  พ่อครูบา พี่ทวีสินคนปูน พี่จุ๋ม กรมวิชาการเกษตร
  • พวกเราอึ้งมากกก
  • นึกแล้วว่าต้องเป็นแปลงข้าว
  • ควายน้อยถึงชอบกินข้าว..เพราะความแปลก..หรือแยกไม่ออกนึกว่าเป็นหญ้า
  • จริงๆใบข้าวคงไม่อร่อย..เหมือนหญ้า..
  • ไม่รู้สิไม่เคยเป็นควาย 555
  • ที่เสียหายก็คงเป็นรอยเท้าควายที่เยียบข้าวบ้าง
  • ก็ยอมรับว่าทึ่งกับความคิดของเจ้าของนาครับ
  • กล้าแหกกฏดี..หุ หุ..

เด็กหญิงอรวรรณ นิ่มฟัก

ขอบคุณท่านมากที่ท่านได้มาเยี่ยมชมผลงานของดิฉัน

และขอให้ท่านชวนเพื่อนมาชมผลงานของดิฉันมากๆนะค่ะ

พี่คู่ชื่นชีวันสุดที่รักๆๆ ของน้องใบไม้ คะ

ไหนคะ  วายร้าย...  เดี๋ยวน้องจะช่วยกำจัด  แต่ขออยู่ข้างหลังพี่คู่ชื่นชีวัน  เป็นกองหลัง กองหนุน...... นะคะ  

คิดถึง มากมาย เช่นกันค่ะ    อิ อิ อิ

เด็กหญิงอรวรรณ นิ่มฟัก
ขอบคุณท่านมากที่ท่านได้มาเยี่ยมชมผลงานของดิฉัน

และขอให้ท่านชวนเพื่อนมาชมผลงานของดิฉันมากๆนะค่ะ

  • สวัสดีครับ...
  • แหมพูดเป็นพิธีการจัง..
  • คุยกันธรรมดาก็ได้..ไม่ต้องเกร็งนะ..
  • ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ครับ

สวัสดีครับ

เพลี้ยที่เกาะตามไม้ประดับในอาคารจะจัดการอย่างไรดีครับ

พ่นยาฆ่าแมลงจะได้หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ

P ใบไม้

พี่คู่ชื่นชีวันสุดที่รักๆๆ ของน้องใบไม้ คะ

ไหนคะ  วายร้าย...  เดี๋ยวน้องจะช่วยกำจัด  แต่ขออยู่ข้างหลังพี่คู่ชื่นชีวัน  เป็นกองหลัง กองหนุน...... นะคะ  

คิดถึง มากมาย เช่นกันค่ะ    อิ อิ อิ

  • ใครจะกล้าบอกรักกันโต้ง ๆ แบบที่เห็น
  • ใครจะเป็นคนกระตุกยิ้มอย่างที่เป็น
  • ใครจะคอยปลอบโยนยามน้ำตากระเซ็น..
  • เท่าที่เห็นมีใน โกทูโน..นี่ละจ๊ะ..(แต่ก็ต้องระวังนะ..คนดีมีคนไม่ค่อยดีก็น่าจะมี)
  • วายร้าย..แอบอยู่ในบ้านหลังนี้อ..อะเปล่า..ฮิฮิ
  • Chinesecentermflu_119
  • ลุงปรีดา เจ้า งานใกล้สำเร็จแล้ว เน้อ ได้ฤกษ์งามยามดี 19 วันพฤหัสบดี มีนาคม เจ้า

    Pครูใหม่บ้านน้ำจุน
    ลุงปรีดา เจ้า งานใกล้สำเร็จแล้ว เน้อ ได้ฤกษ์งามยามดี 19 วันพฤหัสบดี มีนาคม เจ้า

    • อุ๋ย..ดีใจจัง...ใกล้เสร็จแล้วรึ..
    • คิดถึงน้องพอน้องเพียงจะแย่...
    • อยากเห็นความน่ารักของบ้านพอ-เพียง..เร็ว ๆ
    • วันเปิดตัว หมายเลข 9 วันพฤหัสด้วย..ดีจัง..
    • ขอให้เตรียมตัวให้พร้อม..เพราะต้องเซ็นต์ชื่อในหนังสือที่เปิดตัวเป็นการใหญ่แน่ ๆ ...
    • ของเกษตรเอาไว้ว่าง ๆ ค่อยว่ากัน..ไม่ว่ากันอยู่แล้ว..(ตกลงจะว่ากันหรือไม่ว่ากันแน่..ฮิฮิ..ดีใจ)
    • เป็นกำลังใจด้วยบรรยากาศริมทะเล...

    P วัชรา ทองหยอด

    สวัสดีครับ

    เพลี้ยที่เกาะตามไม้ประดับในอาคารจะจัดการอย่างไรดีครับ

    พ่นยาฆ่าแมลงจะได้หรือเปล่าครับ

    ขอบคุณครับ

    • สวัสดีครับ..ใช้น้ำผงซักฟอกก็พอได้ครับ..เน้นความประหยัด
    • แต่ถ้าจะเน้นประสิทธิภาพ..ก็ต้องคุยกันยาวหน่อย...ลงทุนหน่อยครับ..

    สรุปวิเคราะห์ผลการติดตามเพลี้ยแป้ง

    1.การระบาดของเพลี้ยแป้ง มีความสัมพันธ์กับความชื้นในดิน บริเวณที่ระบาดเป็นบริเวณความชื้นในดินต่ำทั้งหมด

    2.ความแข็งแรงของต้นมันสำปะหลังไม่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของเพลี้ยแป้ง

    เพราะมันสำปะหลังที่อ่อนแอจากน้ำสารเคมีจากรถขยะเคมีไม่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง แต่มันสำปะหลังที่อ่อนแอจากขาดน้ำเกิดเพลี้ยทั้งหมด

    3. การระบาดของเพลี้ยแป้งมีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงมันสำปะหลัง เพลี้ยชอบกินน้ำเลี้ยงต้นที่มีความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงสูง เมื่อเจือจางน้ำเลี้ยงถึงระดับหนึ่ง เพลี้ยแป้ง ไม่สามารถใช้เป็นอาหารได้(สมมุตติฐาน)

    4.การเจือจางน้ำเลี้ยงมันสำปะหลังเป็นการป้องกันตัวเองจากเพลี้ยของมันสำปะหลังที่ได้ผลที่สุด

    ปัจจัยที่ทำให้ความเข้มข้นน้ำเลี้ยงมันสำปะหลังสูงขึ้น

    1 ดินขาดสารอินทรีย์ สารอินทรีย์ทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดี และดูดซับสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงไว้ในตัวเองสูง

    2.การใส่ปุ๋ยเคมี และสารเคมี เกลือของ ซัลเฟต ไนเตรด คลอไร มีค่าการละลายสูง ถ้าน้ำมีจำกัด เกลือเหล่านี้จะแย่งน้ำมาใช้ในทำละลายเป็นอันดับแรก

    ประการที่2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ สารเคมีประเภทเกลือซัลเฟต ยังไปเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายโดยตรง เพราะเป็นสารที่ละลายน้ำได้มากความเข้มข้นสูง เมื่อมันสำปะหลังดูดสารลายที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไป ทำให้น้ำเลี้ยงมีความเข้มข้นสูงตามไปด้วย

    3.การใส่ปุ๋ยคอกที่ยังไม่ผ่านการหมักที่สมบูรณ์ การย่อยสลายของปุ๋ยคอกต้องการน้ำและเกิดความร้อน ยังมีสารพิษด้วย เป็นการแย่งน้ำและเพิ่มความร้อนให้กับดินอีกทางหนึ่ง ความร้อนและสารพิษพอที่จะเป็นอันตรายต่อรากมันสำปะหลังได้ ทำให้ระบบลำเลียงน้ำชำรุดลงด้วย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ต่ำก็ส่งผลเช่นเดียวกัน

    4. ดินขาดร่มเงาจากใบมันสำปะหลัง ทำให้น้ำในดินระเหยออกไปมาก เป็นผลมาจากมันสำปะหลังไม่สมบูรณ์

    การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งระบาดโดยวิธีลดความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงมันสำปะหลัง

    1.สร้างระบบเก็บน้ำที่สมดุลและเพียงพอในดิน โดยระบบbuffer (แก้มลิง) แก้มลิงจะต้องเก็บน้ำให้ใช้เพียงพอในแต่ละวัน น้ำที่นำเข้า (input) แก้มลิงในแต่ละวันได้จากน้ำค้างตอนกลางคืนสมดุลกับน้ำที่สูญเสีย(Out put)ในแต่ละวัน

    การคำนวณการสร้างแก้มลิงจาก ค่าอินทรียวัตถุ OM ในปุ๋ยอินทรีย์

    จากการทดลอง

    ความต้องการ ค่าอินทรียวัตถุ OM ในดินร่วนปนทราย พื้นที่ราบทั่วไป = 40 กิโลกรัมต่อไร่

    ถ้าปุ๋ยอินทรีย์มีค่า OM = 20%

    ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อจะสร้างแก้มลิง (Buffer) ที่เพียงพอในการเก็บน้ำแต่ละวัน

    ดินที่ขาดความชื้น เช่นที่เนิน หรือดินเสื่อมโทรม ควรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น

    พิจารณาจากราคาปุ๋ยอินทรีย์ในปัจจุบันแล้ว เกษตรกรต้องทำปุ๋ยใช้เอง

    ปุ๋ยที่ค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์GI สูงจะมีประสิทธิภาพในการสร้างแก้มลิงที่สูงกว่า เพราะขนาดที่ละเอียดสร้างช่องว่างในดินได้มากกว่า ยังอุ้มน้ำได้มากกว่าด้วย ค่าGIไม่ควรน้อยกว่า100% ควรใส่ตอนยกร่องปลูกมันสำปะหลัง

    2.อย่าใช้ปุ๋ยเคมี และอินทรีย์เคมี ในช่วงหน้าแล้ง ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจากการระบาดของเพลี้ยแป้งผ่านไปแล้ว

    3.อย่าใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมสมของเกลือซัลเฟต เช่น ยิปซั่ม เพราะทำให้ดินเป็นกรดและแย่งน้ำจากพืช

    4.อย่าใช้ปุ๋ยคอก ถ้าจะใช้ควรหมักให้สมบูรณ์ก่อน การย่อยสลายของปุ๋ยคอกนอกจากต้องการน้ำและคายความร้อนแล้ว มีราบางชนิดทีสร้างสารกันความชื้น ทำให้ดินขาดความชื้นและขาดการซึมน้ำ OM จากปุ๋ยคอกประสิทธิภาพในการสร้างแก้มลิงต่ำเพราะซึมน้ำได้น้อย

    5.เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่า การนำไฟฟ้าEC ต่ำ เพราะมีปริมาณเกลือน้อย

    6.เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ GI สูง เพราะจะไม่มีการย่อยสลายต่อในดิน

    7.เลือกปุ๋ยอินทรีย์ทีมีส่วนผสมของซิลิก้าละลายน้ำ ความเข้มข้นเมื่อเป็นสารละลาย อย่างน้อย 100 ppm

    8.ฉีดพ่นสารเคลือบลำต้นใบด้วยสารละลายซิลิก้า Silica Solution ในช่วงหน้าแล้ง

    9.อย่าใช้สารเคมี เพราะทำให้ศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งหมดไป

    ฟิล์มซิลิก้า มีคุณสมบัติ แข็ง ดูดความชื้นจากอากาศ ลดการคายน้ำทางใบ ทำให้มีน้ำในต้นมันสำปะหลังมากขึ้น ความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงลดลง เพลี้ยแป้งไม่สามารถใช้เป็นอาหารได้อีกต่อไป

    ซิลิก้าทำให้ก้านใบแข็งแรง ทำให้รังเพลี้ยถูกเปิดอ้าออก ตัวอ่อนและไข่ถูกมดกินเป็นอาหารต่อไป

    ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการลดความเข้มข้นน้ำเลี้ยงในมันสำปะหลัง เพื่อทำลายแหล่งอาหารของเพลี้ยให้หมดไป

    ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ทดลองครั้งนี้ ค่า OM=40.19% GI=189.5% EC=2.88dS/m Ph = 6.49

    สนั่น บุญทองใหม่

    [email protected]

    โทร. 0810101567

    ไม่ตรงประเด็น

    ลอง ใช้ดอก ดาว เรือง ดู สิ คับ วิที่ ง่าย ๆ 

    เดี๋ยว ผม จะบอกให้

    นำดอกดาวเรือง 1 กก. มาใส่ในหม้อต้ม เติม น้ำ 4 ลิตร 

    ต้มจนเดือด แล้ว นำ ดอกดาว เรือง มาคั้น น้ำ (เอาแต่น้ำ)อย่ารีบ รอ ให้ มัน เย็น ด้วย น่ะ

    จากนั้น เอามา ผสม น้ำ เปล่า อีก 4 ลิตร แล้ว ใช้พ่นได้เลย

    (ลองหาขวดน้ำยาเช็ดกระจกที่ไม่มีน้ำยาแล้วมาใช้พ่นจะดีที่สุดเพราะไม่เปลืองน้ำยา)

    วันเดี๋ยวเห็นผล

    จาก

    เด็ก วิลัยเกษตรและเทคโนโลยีสันป่าตอง จ. เชียงใหม่

    อยากรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆของเพลี้ยช่วยบอกหน่อยดิ.......................?

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท