Srinon
นาย อนนท์ นนท์ ศรีพิพัฒน์

Srinon Model


พัฒนาช่องทางการนิเทศในระบบ ICT พัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธภาพ เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาครู ให้ครูมีสมรรถนะเต็มศักยภาพ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่คุณภาพของนักเรียน.
กระบวนการพัฒนาแบบจำลองรูปแบบการอบรมทางไกลและการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม (Srinon Model) ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนของครู โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากการสรุปผลการนิเทศติดตามของศึกษานิเทศก์ เรื่องการจัดการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษา ศึกษาข้อมูลจากการนิเทศติดตามสถานศึกษาที่รับผิดชอบ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากการวิเคราะห์ หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้ของครู วิเคราะห์นโยบาย และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ การศึกษาแต่ละระดับ เพื่อเลือกหลักสูตรที่จะพัฒนาตามลำดับ ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาชุดฝึกอบรมอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นที่ 3 ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Web Based Training: WBT) ขั้นที่ 4 ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 5 สร้างหลักสูตรฝึกอบรม ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากขั้นที่ 1-4 เกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาตนเองของครู นำมาสังเคราะห์องค์ประกอบหลักของหลักสูตรฝึกอบรม เลือกเนื้อหาได้เนื้อหาเรื่องแนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น นำมาพัฒนาเป็นชุดฝึกปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และนำมากำหนดเป็นโครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม กำหนดรายละเอียดตามโครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม เขียนหลักสูตรฝึกอบรม เขียนแผนการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรฝึกอบรม นำหลักสูตร แผนการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรฝึกอบรม และคู่มือการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเสนอต่อที่ประชุมคณะ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพสูงขึ้น ขั้นที่ 6 ตรวจสอบประเมินคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการประเมินความสอดคล้องภายในองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้องภายในของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ขั้นที่ 7 นำหลักสูตร(ชุดฝึกอบรม) ไปทดลองใช้พัฒนาครู(กลุ่มตัวอย่าง)ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 2 ดำเนินการประเมินความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยใช้แบบประเมินที่พัฒนาขึ้น จากนั้น ดำเนินการฝึกอบรม ตามแผนการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ โดยพัฒนาครูจำนวน 4 ครั้งต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในทุกวันเสาร์ และหลังฝึกอบรม ได้ประเมินความรู้ความเข้าใจการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และประเมินความคิดเห็นของครู ต่อหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกให้สมบูรณ์ตรงตามสภาพใช้งานจริง ขั้นที่ 8 นำหลักสูตรที่ปรับปรุงแล้วขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหาร สพท.นฐ.2 เพื่อประกาศใช้ และมีผลต่อการรับรองวุฒิบัตร ในโอกาสต่อไป.
หมายเลขบันทึก: 154446เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท