การจัดการปัญหาการศึกษาชาติ


นับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่แล้วมา (ปี 2537) จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ (ปี2550) วงการศึกษาไทยเราเผชิญกับปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำตลอดมา ยืนยันได้จากภาพสะท้อนปัญหาดังกล่าวจากหลายแหล่งที่สำคัญเช่น เด็กอีสานทุกวันนี้ เป็นเด็กที่สุขภาพไม่ดี อ้วน เตี้ย ไอคิวต่ำ ....
การจัดการปัญหาการศึกษาชาติ พิสุทธิ์  บุญเจริญ[1]สภาพปัญหา          นับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่แล้วมา (ปี 2537) จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ (ปี2550) วงการศึกษาไทยเราเผชิญกับปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำตลอดมา ยืนยันได้จากภาพสะท้อนปัญหาดังกล่าวจากหลายแหล่งที่สำคัญเช่น เด็กอีสานทุกวันนี้ เป็นเด็กที่สุขภาพไม่ดี อ้วน เตี้ย ไอคิวต่ำ .....นายสง่ากล่าวว่า เด็กกรุงเทพฯ ไอคิวเฉลี่ย ร้อยละ 94.6 รองลงมา ภาคกลาง ร้อยละ 88.8 ภาคใต้ ร้อยละ 88.1 ภาคอีสาน ร้อยละ 85.9 และ ภาคเหนือ ร้อยละ 84.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในแถบยุโรปที่มีไอคิวเฉลี่ย ร้อยละ 98 จะพบว่า เด็กไทยจะมีไอคิวเฉลี่ยน้อยกว่ามาก  [2]  คุณภาพการศึกษายังอยู่ในระดับต่ำทุกระดับ โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษากำลังประสบปัญหาด้านคุณภาพ  การศึกษาไทยอาการเข้าขั้นโคม่า [3]  มาตรฐานคุณภาพผู้เรียนค่อนข้างวิกฤติ [4]    ผล NT ชี้เด็กไทยเรียนอ่อนลงแทบทุกวิชา  (NT 2549)[5]   ผลสอบเอนที"ป.6-ม.3"เด็กไทยยังต่ำ [6]   เด็กไทยโง่มากขึ้น สถิติมันฟ้อง ถ้านับคะแนนสอบผ่านที่ 50% ปรากฏว่าสอบตกระเนนระนาด[7]     ชี้มาตรฐานการศึกษาไทยต่ำกว่าเวียตนามเยาวชนร้อยละ 50 ไม่จบชั้นประถม  คะแนนโอเน็ต ภาษาไทย ต่ำศูนย์ [8]   ปี  2543   พบว่า มีนักเรียนอีกจำนวนไม่น้อยยังด้อยคุณภาพ [9]  (ปี 2550) แฉผลการเรียนภาษาอังกฤษ นร.ตกฮวบ [10]      เหล่านี้เป็นสภาพแห่งคุณภาพด้าน ความเก่ง (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน)   ส่วนด้าน สุขภาพนักเรียน ก็ปรากฏสภาพที่บ่งบอกถึงความด้อยคุณภาพเช่นกันดังเช่น  เด็กอ้วน ยังเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง[11]    ปี  2550  ศธ.ตะลึงข้อมูลสุขภาพเด็กแย่ระดมกึ๋นหายุทธศาสตร์รับมือ[12]  ตะลึงคนไทยครึ่งประเทศขาด ไอโอดีน[13]   สธ.เสนอวาระแห่งชาติ "โภชนาการในโรงเรียน" สู่การแก้ปัญหา"น.ร."ขาดอาหารเรื้อรัง[14]  ภาวการณ์ขาดสารอาหารเด็กไทย อายุ 0-5 ปี ภาคอีสานมากสุด ร้อยละ 28.1 รองลงมา คือ ภาคใต้ ร้อยละ 26.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 19 และภาคกลาง ร้อยละ 17.3 ขณะที่ เด็กนักเรียนเป็นโรคคอพอก ภาคใต้ มากที่สุด ร้อยละ 14 ภาคอีสาน ร้อยละ 8 ภาคกลาง ร้อยละ 3.5 และ ภาคเหนือ ร้อยละ 1.7  [15]โรงเรียนบางแห่งเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ เช่นโรงเรียนบ้านแม่คะเมย  ระบุว่า นักเรียนจำนวนมากจึงต้องช่วยผู้ปกครองทำงานในวันเสาร์ และวันอาทิตย์  ทำให้นักเรียนขาดการดูแลสุขภาพของตนเอง ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดเรียนบ่อย นักเรียนมีผลการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ค่อนข้างต่ำ [16]  ที่นี้ลองหันมาดูใน มุมสะท้อนด้านความดี ในสังคมไทยกันบ้าง    ฉุดสังคมไทยดิ่งเหว  แต่งลูกเสือเนตรนารี เชียร์เบียร์! เย้ย รมต. ร้านเหล้าไม่สนโคโยตี้โชว์     แดนเซอร์โป๊ เต้นในวัดอีก ต่อหน้าพระนั่งสลอน และล่าสุด     โชว์อนาจารท้านรก หมอลำซิ่งเต้น สุดเหวี่ยงเปิดของสงวน กลางงานฉลองนาค[17]                   ในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเด็กไทยกันบ้าง ก็มีข่าวที่ฉายภาพปัญหา สังคมที่บ่งบอกถึงสภาพไม่น่าพอใจอยู่เช่นกัน เช่น   นับวันเด็กไทยมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงแก้ปัญหามากขึ้นทุกวัน[18]คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เผยผลวิจัยแฉ นร.มัธยมฯท้องก่อนแต่งเพียบ ห้ามประกัน 11 โจ๋ลวงขืนใจ นร.ม.3” “ด.ญ. 13 แจ้งจับลุงหื่น ลวงขืนใจมาราธอนตั้งแต่อายุแค่ 9 ขวบ” “ตามหาต้นตอ วีดิโอคลิป นร.มั่วเซ็กซ์กันโจ๋งครึ่มและปิดฉากส่งท้ายปีจอด้วยพฤติกรรม ที่สะท้อนภาพความเหลวแหลกของสังคมให้เด่นชัดขึ้นไปอีก  โปรแกรมโชว์หวิว แคมฟรอกไทยสุดฮิต ติดอันดับ 3 ของโลกฯลฯ [19]                        จากการสะท้อนภาพแห่งปัญหาสำคัญออกสู่สังคมผ่านทางสื่อสารมวลชนดังกล่าวบางท่านถึงกับใช้คำว่า มันเป็น ปัญหาซ้ำซาก (คงเทียบเคียงกับคำ แล้งซ้ำซาก  น้ำท่วมซ้ำซาก นั่นแหละ) ซึ่งถึงแม้จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์ วิจารย์มาโดยตลอด แต่ ...แต่ ปัญหาเหล่านั้นก็ยังคงคำรงอยู่ แก้ไม่สำเร็จลุล่วงกันซักที  ซึ่งในมุมมองของผู้เขียนแล้ว เห็นว่า          ผู้แก้ไม่เข้าใจถ่องแท้ในปัญหา นั่นคือ                   1.ผู้แก้ไม่รู้จัก หยิบยกเอา ปัญหามาเป็นตัวตั้ง                        2.ผู้แก้มองไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง  มองปัญหาไม่ออก  มองไม่เห็นปัญหาหลัก                        3.ผู้แก้ตั้งสมมุติฐานการแก้ปัญหานั้นผิด                        4.ผู้แก้ใช้เทคนิค วิธีการไม่ถูกต้อง เหมาะสม                        5.ผู้แก้ไม่มีความแน่วแน่และ ขาดความต่อเนื่องในการจัดการกับปัญหา                        6.และอื่นๆ                        ดังนั้น วงการศึกษาไทยเราจึงยังต้องเผชิญกับ ปัญหาคุณภาพการศึกษาต่ำตลอดมาหากไม่ได้รับการแก้ไข เยี่ยวยา หรือป้องกัน ที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้วเด็ก  นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประชาชน ของชาติทั้งหลายทั้งมวลล้วนยังคงต้องตกอยู่ในภาวะ คุณภาพต่ำ สืบต่อไปอีก            ดังนั้น บทความนี้จึงเป็นการนำเสนออีกหนึ่งทางเลือก ในการจัดการกับสภาพดังกล่าวนี้ คำสำคัญ [Key words]          ก่อนอื่นใคร่ขออนุญาตทำความเข้าใจในคำสำคัญบางคำเพื่อสร้างความเข้าใจให้ได้ตรงกัน          1.ปัญหา ในที่นี่ให้หมายถึง  ส่วนต่างระหว่างเกณฑ์ [CRITERIA, MEAN,NORMหรือ SATISFACTION LEVEL]ที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานกับสภาพจริง [FACT]ที่ปรากฏดังกำหนดเป็นสูตรขึ้นไว้ดังนี้
                                                P = C-F                                                [P คือ  PROBLEM (ปัญหา)                                                C  คือ CRITERIA (เกณฑ์)                                                F  คือ  FACT (สภาพจริง)]
            นั่นคือ ถ้าความแตกต่างมีมากก็แสดงว่าสิ่งนั้นมีปัญหามาก  แต่หากค่าความแตกต่างมีน้อยก็ย่อมแสดงว่าสิ่งนั้นๆย่อมมีปัญหาน้อย                        ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาจแบ่งเป็น 3 ประภท คือ                        ปัญหาเชิงแก้ไขปรับปรุง (ปัญหาขัดข้อง) คือ ความแตกต่างระหว่างสภาพจริง(สิ่งที่เป็นจริง) กับสภาพที่ต้องการให้เกิดในปัจจุบันหรืออาจเป็นมาทั้งในอดีตและอาจจะยังมีต่อไปในอนาคต                         ปัญหาเชิงป้องกัน  คือ ความแตกต่างระหว่างสภาพจริงกับสภาพที่ต้องการให้เกิด ซึ่งคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่มีเครื่องชี้วัด [Indicators] บ่งบอกว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

                        ปัญหาเชิงพัฒนา คือ สภาพที่เกิดขึ้นจริงในอดีตและปัจจุบัน ไม่แตกต่างจากสภาพที่คาดหวังในปัจจุบัน แต่เกิดความต้องการเพิ่มคุณภาพ หรือเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม

                        ทั่งนี้ ในการจัดการกับปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไข เยี่ยวยา หรือการป้องกันกับปัญหาใดๆ นั้น ต้องตั้งต้นที่ ปัญหา กันเสียก่อน          ซึ่งขอตั้งชื่อประเด็นนี้ว่าProblem  Oriented  นั่นเอง(...โปรดติดตาม....) ……………….. 


[1] นักวิชาการศึกษา 8ว หน.กลุ่มติดตามและประเมินผล สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 9(สตรข.9)  กระทรวงศึกษาธิกา
[2] ดูรายละเอียดประกอบใน  นักวิชาการเผยเด็กอีสานไอคิวต่ำ   ไทยรัฐออนไลน์  12 ตุลาคม 2548  : 10
[3] ดูรายละเอียดประกอบใน  ชี้ปฏิรูปไม่คืบขาดพลังประชาชนหนุน จบอุดมฯตก งานอื้อจี้เฟ้นตัวเสมา1เข้าใจรากเหง้าการศึกษาชาติ  ไทยรัฐออนไลน์  17 ส.ค. 2550
[4] ดูรายละเอียดประกอบใน    แฉการศึกษาไทยอาการเข้าขั้นโคมา คอลัมน์การศึกษา    ไทยรัฐออนไลน์  17 ส.ค. 2550
[5] ดูรายละเอียดประกอบใน มติชนออนไลน์   ข่าวการศึกษา  25 เมษายน 2550 หน้า 26 ผลสอบเอนที"ป.6-ม.3"เด็กไทยยังต่ำ
[6] ดูรายละเอียดประกอบใน มติชนออนไลน์   ข่าวการศึกษา  25 เมษายน 2550 หน้า 26
[7] ดูความเห็นเพิ่มเติมที่  ไทยรัฐออนไลน์ คอลัมน์ ตรีศูล  ศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 50 หน้า 4
[8] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ทิ่  11 มิถุนายน 2550  คอลัมน์ การศึกษา ศาสนา-สาธารณสุข หน้า 15
[9]  กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2543 : 5-8 ปี  2543   พบว่า มีนักเรียนอีกจำนวนไม่น้อยยังด้อยคุณภาพ
[10]  ดูข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไทยรัฐออนไลน์  หน้าการศึกษา  ปีที่ 58 ฉบับที่ 18109 วันอังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2550   (ปี 2550) แฉผล  การเรียนภาษาอังกฤษ นร.ตกฮวบ
[11]ดูข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไทยรัฐออนไลน์  วันที่  21 มี.ค. 50 หน้าการศึกษา  
[12]  เป็นการเปิดเผยข้อมูลโดย นพ.โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยระหว่างการประชุมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน ท่านสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ไทยรัฐออนไลน์ 22 มี.ค. 2550
[13] ดูข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไทยรัฐออนไลน์  22 มี.ค. 50
[14]  ดูรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่  วาระแห่งชาติ "โภชนาการในโรงเรียน" สู่การแก้ปัญหา"น.ร."ขาดอาหารเรื้อรัง[14]โดย สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  มติชนออนไลน์  วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10756:27
[15] ดูรายละเอียดประกอบใน  นักวิชาการเผยเด็กอีสานไอคิวต่ำ   ไทยรัฐออนไลน์  12 ตุลาคม 2548  : 10
[16] โรงเรียนบ้านแม่คะเมย  ตั้งอยู่หมู่  5  ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน  จ.เพชรบุรี    เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่  1   ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.
[17] ดูรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่  ฉุดสังคมไทยดิ่งเหว  ไทยรัฐออนไลน์  ทีมการศึกษ 24 เม.ย. 50
[18] ดูรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่  เด็กใช้ความรุนแรง ครูมีส่วน..บ่มเพาะ  ไทยรัฐออนไลน์   สกู๊ปหน้า 1   วันที่ 15 มกราคม 2550
[19]ดูรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่  ถึงเวลา 2 กระทรวงสร้างคน ถอดรหัสวิกฤติสังคมไทยอนาคตที่ยังน่าห่วง ทีมข่าวสังคมและวัฒนธรรม ไทยรัฐออนไลน์  วันที่  29 ธ.ค. 2549
เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
หมายเลขบันทึก: 154460เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท