CPAR: นวัตกรรมทางเลือกในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน


พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา ๓๐ ระบุ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน[CPAR]ด้วยสูตร  P = C-P โดย พิสุทธิ์ บุญเจริญพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ..2542 มาตรา  ๓๐   ระบุ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา                                 จึงเป็นข้อผูกพันที่เรา-ท่านที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย [STAKEHOLDERS]ในกิจการการศึกษาของบ้านเมืองของเราที่จักต้องดูแล  เอาใจใส่ร่วมกันในการแปลสาระบัญญัติดังกล่าวนี้ออกสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาการศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ถือ  ผู้เรียนสำคัญที่สุด                         และในที่นี่ก็จึงเป็นหนึ่งในหลายๆความพยายามในพันธกิจเพื่อให้บรรลุตามสารบัญญัติแห่งกฎหมายสำคัญดังกล่าวข้างต้น กรอบความคิด [FRAME]

CPAR

                  C : CLASSROOM                  P : PARTICIPATION                 A : ACTION                 R : RESEARCH

           

                   P = C-F            P : PROBLEM            C : CRITERIA            F  : FACT
      

อธิบาย/ขยายความ                ในการศึกษาวิจัย CPAR  นี้ดำเนินการภายใต้กรอบของความหมายของ คำ CPAR และสูตร P = C-F ดังนี้            CPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้        C : CLASSROOM ในที่นี่หมายถึง  ชั้นเรียน  เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในชั้นเรียนนั่นเอง  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในชั้นเรียน ในที่นี่เน้นที่ ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง                                ดังนั้น CPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในชั้นเรียนของตนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE] นั่นเองรูปแบบ [MODEL] การค้นหา ปัญหา [PROBLEM]            ในที่นี่เน้นให้ค้นหา ปัญหา  [PROBLEM]  ด้วยสูตร  P = C-Fอธิบาย/ขยายความ                นั่นคือ ผู้ศึกษาวิจัยต้องเก็บข้อมูล [DATA   /สารสนเทศ [INFORMATION COLECTING] ในชั้นเรียนที่สำคัญ 2 ตัว ือ

1. เกณฑ์ [C:CRITERIA /STANDARD /NORM /MEAN]

2.ข้อมูลจริง [F  : FACT] ที่ต้องการศึกษา ในระดับชั้นเรียน [CLASSROOM] เช่น                ค่าคะแนนเฉลี่ย [MEAN]     วิชา ภาษาไทย       ชั้น ป.6                                                                วิชา ภาษาอังกฤษ ชั้น ป.6                                                                วิชา คณิตศาสตร์  ชั้น ป.6                                                                วิชา …………… ..ชั้น ป.6      

 

การเก็บข้อมูล [DATA   /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING]  เน้นที่การเก็บรวบรวมในรูปของตาราง [TABLES] โดย COMPUTER โปรแกรม  EXCEL ดังเช่น 

    วิชา

   เลขที่
ภาษาไทย[%] อังกฤษ[%] คณิต[%] …….. เฉลี่ย[%]
1234….          
ค่า %เฉลี่ย          
โรงเรียนกลุ่มอำเภอจังหวัดเขตประเทศ          
  การแปลง ข้อมูล [DATA   /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING] ในตารางออกเป็นแผนภูมิ[GRAPH]  โดย COMPUTER โปรแกรม  EXCEL แปลความ/อธิบายความจาก แผนภูมิ[GRAPH]ระบุปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ ด้วยสูตร         P = C-Fวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา [ALTERNATIVES]  ด้วย  FGD.TECHNIQUEคัดเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ที่สุด [SELECTED ALTERNATIVE]จัดสร้างนวัตกรรม [INNOVATIN] ที่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหาข้อ เขียนรายงานการศึกษาวิจัย [REPORTING] เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ด้วย   SYMPOSIUM และหรือ อื่นๆ  *************พิสุทธิ์ บุญเจริญ                                                                                                                                         
เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
คำสำคัญ (Tags): #cpar#pc-f
หมายเลขบันทึก: 154633เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท