Problem Oriented Solving กับการจัดการปัญหาการศึกษาชาติ


ท่านที่เคารพครับ ท่านเองต้องได้ผ่านประสบการณ์กับการ แก้ปัญหาการศึกษา มาก่อนนี้แล้ว คงตระหนักแล้วว่า มันหนักหนาสาหัสเอาการ โดยเฉพาะปัญหาคุณภาพเด็กไทยต่ำ (ซ้ำซากเหมือนภาวะฝนแล้ง นั่นแหละ !! คงถึงคราวแล้วที่เราท่านจักมาร่วมแรง ร่วมใจกันจัดการ ตามอำนาจหน้าที่แลศักยภาพแห่งตนครับท่าน ..!!!
Problem  Oriented Solving  กับการจัดการปัญหาการศึกษาชาติ; กรณีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำพิสุทธิ์  บุญเจริญ [1]******************          ความนำ   เมื่อได้รู้จัก  Disruptive Innovation [2] ผมก็เริ่มเสาะแสวงหาองค์ความรู้  นวัตกรรมตามแนวคิดนี้ โดยเฉพาะที่ประยุกต์ใช้ในวงการศึกษาของไทยเราตลอดมาเพื่อนำมาใช้ตรวจสอบองค์ความรู้ ความเข้าใจของตนเองที่มีต่อ คำ นี้ กับทั้งเพื่อใช้ในการอ้างอิงเพื่อต่อยอด  แต่ยังไม่พบ  แนวคิดของเคลย์ตัน  คริสเทนเซนต์ เจ้าของ  Disruptive Innovation นั้น  พอสรุปสาระสำคัญ ได้ว่า เป็นนวัตกรรมที่ใช้  นวัตกรรมและเทคโนโลยี่เป็นตัวขับเคลื่อน   สามารถเกิดโดยลำพังโดยอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ  องค์ประกอบสำคัญคือความต่อเนื่องในการพัฒนา   เป็นการวางแผนในระยะสั้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ความสามารถในการแข่งขันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีพลวัตรสูงเพราะมีการเปลี่ยนผู้นำตลาดอยู่ตลอดเวลา    ในที่นี้ผู้เขียนเองได้กำลังพยายามคิดค้น เสาะแสวงหา สิ่งนี้อยู่เสมอมาแหละต่อไปนี้ ก็จึงเป็นหนึ่งความพยายามประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว มาใช้ในวงการศึกษาไทยเราครับ.โดยเฉพาะ ในการจัดการการศึกษาลองพิจารณาติดตามดูนะครับ !! Problem  Oriented Solving  กับการจัดการปัญหาการศึกษาชาติในแวดวงวิชาการแล้ว น้อยท่านนักที่จักไม่รู้จัก คำ  ปัญหาการศึกษาหลายต่อหลายท่านต้องผ่านประสบการณ์กับการ แก้ปัญหาการศึกษา มาก่อนแล้วคงตระหนักแก่ใจแล้วว่า มันหนักหนาสาหัสเอาการทีเดียวแต่ละท่าน  แต่ละหน่วยงาน แต่ละสถาบันต่างก็งัดเอาสารพัดวิธีการ  เทคนิค รูปแบบ ยุทธศาสตร์ อำนาจหน้าที่แห่งตนมาใช้เพื่อการนี้ผลถาวรที่เกิดปรากฏให้เห็นเด่นชัดก็คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ตกซ้ำซาก (ช่างเหมือนกับภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก  ยากจนซ้ำซาก  ฝนแล้งซ้ำซากประมาณนี้ !!) บริบทจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาการศึกษาพึงรับรู้รับทราบร่วมกัน มีมากมายสุดแต่ใครจะนำมาเป็นตัวชี้นำในการจัดการปัญหาดังกล่าวในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอหยิบยกเอาประเด็นที่เห็นว่า มีพลัง พอที่จะนำมาเป็นตัว นำพา ไปสู่การจัดการปัญหาการศึกษา ดังกล่าวได้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำอันเป็นสภาพปัญหาที่เคยเป็นมา  เป็นอยู๋ในปัจจุบันและจักดำรงคงอยู่อีกต่อไป (แน่ๆๆ)            จากคำบรรยายของผู้บริหารสูงสุดของวงการศึกษาไทย ณ บัดนี้ ( กันยายน 2550)  พอสรุปได้ว่า  พบว่าคุณภาพการศึกษายังด้อย จากการติดตามเรื่องที่ สมศ. ได้ประเมินคุณภาพภายนอกโดยการประเมินโรงเรียนจำนวนกว่า ๑๐,๐๐๐ โรงเรียน รอบแรกยังเป็นเพียงการทดสอบเครื่องมือ แต่ในรอบที่ ๒ อยู่ในขั้นที่สามารถรับรอง หรือไม่รับรอง และ เป็นที่ชัดเจนว่า ผลการประเมินยังไม่ดีขึ้น   หากคุณภาพการศึกษาไม่ดี ไม่ส่งผลไปสู่การพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น ยุทธศาสตร์การจะที่ทำให้สังคมเป็นฐานความรู้ ทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ พัฒนาได้ แข่งขันได้ ก็จะเพียงความฝันที่ไม่อาจจะทำให้เป็นความจริง[3]ขอหยิบยกคำ  คุณภาพการศึกษา มาอธิบายพอสังเขป ดังนี้            เมื่อเอ่ยถึงคำ คุณภาพการศึกษา ย่อมต้องทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับคำที่เกี่ยวเนื่องเช่น   มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  ซึ่งต้องนำองค์ความรู้ [Body  of  knowledges] เรื่อง  ดัชนี [Indicators / PI : Performance  Indicator / KPI : Key Performance  Indicator ] ข้อมูล  สารสนเทศ [Data & Information] การวัดและประเมินผล   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้ นวัตกรรม [Innovotion] ที่เหมาะสมมาใช้เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ในลักษณะ การบูรณาการ [Integrated Models]ดังกล่าวนี้ด้วย  สูตรการจัดการปัญหาการศึกษา ดังนี้  P  =  C – F[4] ที่ผู้เขียนตั้งใจให้เกิดขึ้นเป็น  Disruptive  Innovation Problem  Oriented Solving  กับการจัดการปัญหาการศึกษาชาติ; กรณีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ                        ภายใต้ความพยายามอย่างยิ่งยวดของผู้มีส่วนได้เสีย [Stakeholders] ทั้งในระดับหน่วยงาน องค์กร สถาบันหรือแม้แต่นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายในการดำเนินจัดการกับ ปัญหาหารศึกษา  ซึ่งได้ทุ่มเทสรรพทรัพยากรทางการบริหารจัดการทั้งด้านกำลังคน งบประมาณ  เทคนิคการบริหารจัดการ  เวลา วัสดุอุปกรณ์มาตลอด แต่เราท่านก็ยังพบพานกับคำว่า คุณภาพการศึกษายังด้อย.....เป็นที่ชัดเจนว่า ผลการประเมินยังไม่ดีขึ้น......ซึ่งหาก....หากคุณภาพการศึกษาไม่ดี ไม่ส่งผลไปสู่การพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น ยุทธศาสตร์การจะที่ทำให้สังคมเป็นฐานความรู้ ทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ พัฒนาได้ แข่งขันได้ ก็จะเพียงความฝันที่ไม่อาจจะทำให้เป็นความจริง..แต่ยังไม่มีใครชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของคุณภาพที่ตกต่ำ อันเกิดจากหลักสูตร คุณภาพครู การขาดแคลนครู การให้ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่เกินไป หรือการไม่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน จึงมอบหมายให้ สกศ. วิเคราะห์ให้ถึงรากเหง้าของปัญหา เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกจุด และสามารถประเมินได้[5]..            ณ บัดนี้ จึงนับเป็นจังหวะอันดี ที่ใคร่ขอนำเสนอ Disruptive Innovation[นวัตกรรมเชิงปะทุ]เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการปัญหา ดังกล่าวคำสำคัญและความหมาย                        ก่อนอื่นใคร่ขอนำเรียนเสนอ คำสำคัญ [Keywords] และความหมายเพื่อจักได้รู้และเข้าใจความหมายที่ตรงกันหรือใกล้เคียงกัน             1.ปัญหา                            ความหมาย                         ปัญหา : ข้อสงสัย, คำถาม, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข                  ปัญหาเฉพาะหน้า : ข้อที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว                  ปัญหารัก : ข้อที่จะต้องแก้ไขในเรื่องความรัก                ปัญหาโลกแตก : ปัญหาที่หาข้อยุตอไม่ได้( พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ..2530 วัฒนาพานิช สำราญราษฏร์ 2531 หน้า 334-335)Problem n. a  question hard to understand; something to be worked or solved.( ปัญหา,ข้อ  ปัญหา,เรื่องที่ต้องแก้ไขหรือต้องพิจารณากัน (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม An Advanceed Desk  English - English –Thai  Dictionary โรงพิมพ์อักษรพิจารณา กทม. 2540  หน้า 823)Problem      1.a difficulty; a matter about which it is difficult to decide what to do. (ความยุ่งยาก ปัญหา                      2.a question to be answer or solve ( คำถามที่ต้องตอบ หรือแก้ไข) (กนิษฐา นาวารัตน์และคณะ Learners,  Dictionary  English – Thai  สำนักพิมพ์ดอกหญ้า กทม. 2540   หน้า 474-475)              ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงสร้างของระบบการจัดกระบวนการเรียนรู้อาจเกิดปัญหาที่ระดับปัญจัย หรือระดับกระบวนการ หรือระดับผลผลิต หรือระดับผลกระทบ            ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว สามารถแบ่งเป็น 3 ประภท คือ                        ปัญหาเชิงแก้ไขปรับปรุง (ปัญหาขัดข้อง) คือ ความแตกต่างระหว่างสภาพจริง(สิ่งที่เป็นจริง) กับสภาพที่ต้องการให้เกิดในปัจจุบันหรืออาจเป็นมาทั้งในอดีตและอาจจะยังมีต่อไปในอนาคต                         ปัญหาเชิงป้องกัน  คือ ความแตกต่างระหว่างสภาพจริงกับสภาพที่ต้องการให้เกิด ซึ่งคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่มีเครื่องชี้วัด [Indicators] บ่งบอกว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

                        ปัญหาเชิงพัฒนา คือ สภาพที่เกิดขึ้นจริงในอดีตและปัจจุบัน ไม่แตกต่างจากสภาพที่คาดหวังในปัจจุบัน แต่เกิดความต้องการเพิ่มคุณภาพ หรือเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม

              อนึ่ง ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพ  เราควรพิจารณาโครงสร้างของระบบและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้                                 รูปแบบในการศึกษาวิเคราะห์      ในการศึกษาครั้งสำคัญนี้ ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอใน  6 ประเด็นหลักคือ1.      นำเสนอสภาพปัจจุบันในรูปของข้อมูลเป็นตาราง2.      จัดกระทำเป็นแผนภูมิ (GRAPH)3.      วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบด้วยการอธิบาย/ขยายความ  ตามสูตร P=C-F[P: Problem (ปัญหา), c:criteria(เกณฑ์) และ F:Fact(สภาพจริง)]                             4.  ชี้ประเด็นที่เป็นปัญหา/จุดที่ยังไม่น่าพอใจ5.  ชี้โอกาสการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาในประเด็นปัญหานั้นๆ6.  การสร้างนวัตกรรม / แนวคิด / ทฤษฏี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่ง   ศักยภาพ   ให้หมายถึงขีดความสามารถในการลดช่องว่าง (GAP) ระหว่างเกณฑ์ (CRITERIA) กับสภาพจริง (FACT)และ  การเพิ่มศักยภาพก็ให้หมายถึงการใส่ทรัพยากรการบริหารจัดการ  (ADMIINSTRATIVE RESOURCES)  เข้าไปในระบบ  (SYSTEM  APPROACH) คือ ปัจจัย (INPUT) กระบวนการ  (PROCESS) เพื่อส่งให้เกิดผลผลิต  (OUTPUT) และผลลัพท์ (OUTCOME) ของการพัฒนาใดๆ  ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน  (STANDARD LEVEL) ที่กำหนดไว้ขั้นการนำเสนอ   1. นำเสนอในรูปตาราง                    และ       2.แสดงในรูปกราฟเพื่อง่ายต่อการเปรียบเทียบ ( เช่น Bar Graph )            สร้างกราฟโดยใช้  PROGRAM  EXCEL หรือ POWER POINTจุดเน้น     ในการมองสภาพปัญหาจากข้อมูลในตารางและกราฟนั้น            * หากได้พิจารณาร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วย FGD.Technique  แล้ว  ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้นการสรุปสภาพปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ  (ด้วยสูตร P = C – F)นั้น            * หากได้พิจารณาร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วย  FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การแสวงหาแนวทางการเพิ่มศักยภาพ นั้น            * หากได้พิจารณาร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วย  FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้นการกำหนด การระบุ สร้างนวัตกรรม/ทฤษฏี/แนวคิด ในการเพิ่มศักยภาพใดๆ นั้น            * หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย  FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น           2.มาตรฐานคุณภาพการศึกษา

  คำสำคัญอีกคำหนึ่งคือ  มาตรฐานการศึกษา  ที่จักต้องนำมา ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ต่อไป

                         มาตรา 4 วรรค : มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ    คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล  การตรวจสอบ  การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา อธิบายความ            คำว่า  มาตรฐานการศึกษา  ที่กฏหมายบัญญัติความหมายเอาไว้นั้น  อาจนำมาแยกแยะออกได้เป็น  ประเด็น สำคัญๆเพื่อแจกแจงรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การ ปฏิบัติ ในการปฏิรูปการศึกษา ได้ดังนี้1.ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ   ที่พึงประสงค์ 2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพ ที่พึงประสงค์ และ3.มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน  4.สถานศึกษาทุกแห่ง และ  5.เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับ  6.การส่งเสริมและ     7.กำกับดูแล   8.การตรวจสอบ   9.การประเมินผล และ    10.การประกันคุณภาพทางการศึกษา.  นั้น        ณ ที่นี่ใคร่ขอขยายความตามมุมมองของผู้ศึกษาวิเคราะห์(นายพิสุทธิ์  บุญเจริญ)เอง ตามลำดับไป ดังนี้           คำว่า มาตรฐานการศึกษา  ในภาคปฏิบัตินั้นให้หมายความรวมเอาว่า                    เกณฑ์ [เป็นตัวเลข] ที่  รัฐ  กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานในการจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มี           คุณภาพชีวิตที่ดี [Quality  of  Life] โดยมุ่งเน้นให้เป็นคน  เก่ง  แข็งแรง  ดี มีรายได้  มีวิถีชีวิต                             ประชาธิปไตย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดทั้งมีความสุขที่แท้จริง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้น. อธิบายเพิ่มเติม :ต่อประเด็นที่  1.ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ   ที่พึงประสงค์  และ2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพ ที่พึงประสงค์ เราต้องจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนมี คุณภาพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์   คือ ให้เป็นคนเก่ง แข็งแรงดี มีรายได้ มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดทั้งมีความสุขที่แท้จริง ตามเกณฑ์ (ซึ่งน่าจักต้องเป็นตัวเลข) ที่กำหนดไว้  เพื่อให้พวกเขามี  คุณภาพชีวิต [QUALITY OF LIFE] ซึ่งในที่นี้ให้หมายถึง การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในมิติของการศึกษา นั่นคือ มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชน เป็นผู้ที่กอปรด้วยคุณลักษณะที่ดี ตามรายการดังนี้1.เก่ง 2.แข็งแรง 3.ดี  4.มีรายได้  5.มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย  6.มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  7.มีขนบธรรมเนียมประเพณี และ 8. มีความสุขอย่างแท้จริงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษา  ในที่นี่ให้หมายถึง การปรับเปลี่ยน/เปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด  หรือ คือ            : การพัฒนาการศึกษาให้ได้ตามเกณฑ์ ตามมาตรฐานที่กำหนดนั่นเอง            และนอกจากนี้ผู้เขียนยังมองอีกว่า ในการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ ให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวนั้น ต้องผ่านกระบวนการ [PROCESS]ที่เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างน้อยก็ 3-4 ขั้นตอน   นั่นคือ ต้องเป็นไปตาม  กระบวนการ สำคัญคือ            1.การศึกษานั้นต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น (เรียกว่าพัฒนา”)            2.ต้องเป็นการพัฒนาจนทำให้การศึกษานั้นมีคุณภาพจึงจะได้ชื่อว่าการศึกษาที่มีคุณภาพ หรือ คุณภาพการศึกษา นั่นเอง            3.แล้วนำการศึกษาที่มีคุณภาพนั้น ไปเทียบ กับ เกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้ว(น่าจักเป็นตัวเลข)               หากถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนด ก็จักได้ชื่อว่า มี มาตรฐานขั้นต่ำ                หากถึงเกณฑ์ขั้นกลาง            ก็จักได้ชื่อว่า มี มาตรฐานขั้นกลาง            และหากถึงเกณฑ์ขั้นสูง              ก็จักได้ชื่อว่า มี มาตรฐานขั้นสูง          (หากตั้งเกณฑ์มาตรฐานไว้หลายระดับ)            นั่นคือรัฐต้องจัดให้มี เกณฑ์  ที่กำหนดระดับของมาตรฐานไว้  ดังเช่น                         กค. ก็กำหนด  มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง  ไว้ให้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่ง กำหนดระดับและขั้นเงินเดือนสำหรับข้าราชการครู เป็นต้น หรือแม้แต่ในการประเมินผลการเรียน ก็ได้มีการกำหนดเกณฑ์ไว้แล้ว ดังนี้ คือ            เกณฑ์ในการประเมินผลการเรียนในการประเมินผลการเรียนนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้สถานศึกษาแจ้งผลเป็นระดับผลการเรียน โดยใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียน ดังนี้                                    4          หมายถึง            ผลการเรียนดีมาก                                    3         
เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
หมายเลขบันทึก: 154742เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท