ชนเผ่าว้า : อดีตนักล่าหัวมนุษย์แห่งรัฐฉาน


ชนเผ่าว้า : อดีตนักล่าหัวมนุษย์แห่งรัฐฉาน พม่าเรียกชนชาติว้า ว่า วะ(;) เดิมทีว้าส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า เขตว้า(;opN) เขตว้าตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ติดชายแดนจีน-พม่า
ชนเผ่าว้า : อดีตนักล่าหัวมนุษย์แห่งรัฐฉาน
พม่าเรียกชนชาติว้า ว่า วะ(;)  เดิมทีว้าส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า เขตว้า(;opN) เขตว้าตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ติดชายแดนจีน-พม่า (ระหว่างละติจูต ๒๓ ๕๐‘ – ๒๒ ๑๐‘) ด้านเหนือจรดเขตโกกั้ง(d6btdoNhopN) ซึ่งเป็นพวกจีนก๊กมินตั๋งหรือจีนขาว(9U69Nez&)ที่ตกค้างอยู่ในประเทศพม่า ด้านใต้จรดเขตมายลวน(,6b'Nt]:oNtopN)เดิม ด้านตะวันตกจรดกับแม่น้ำสาละวิน และด้านตะวันตกจรดชายแดนจีน เขตว้าเดิมมีขนาดพื้นที่ราว ๒,๕๐๐ ตารางไมล์ อันที่จริง นับแต่อดีตว้ามิได้อาศัยอยู่เฉพาะในเขตว้าเท่านั้น แต่ยังพบมีว้าบางส่วนอาศัยลงมาทางด้านใต้ในเขตมายลวนและเชียงตุง(dy7b'Nt96"opN)อีกด้วย
ในอดีต ว้าเป็นชนพื้นเมืองที่ออกจะล้าหลังมาก ในขณะที่ฝ่ายโกกั้งและไทใหญ่ต่างมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองเหนือกว่าว้า หากเทียบความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างว้ากับโกกั้งและไทใหญ่แล้ว ว้ามีฐานะเยี่ยงบ่าว ในขณะที่ฝ่ายโกกั้งและไทใหญ่นั้นอาจถือเป็นนายของว้า แต่ในปัจจุบัน จากการที่ผู้นำว้ามีความใกล้ชิดกับรัฐบาลกลางมากกว่าแต่ก่อน พวกว้าจึงมีโอกาสขยายพื้นที่ลงมาทางตอนล่างในพื้นที่ของพวกฉานหรือไทใหญ่ จนประชิดชายแดนไทย ว้าในปัจจุบันจึงเริ่มกลายเป็นว้าที่ได้รับการยกฐานะเพื่อให้หลุดจากการที่เคยถูกตีตราว่าเป็นเผ่าล้าหลัง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของพม่านั้น เคยมองว้าว่าล้าหลัง งมงาย และโหดร้าย ดังเรื่องราวของว้า ตามที่ปรากฏในสารานุกรมพม่า ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๗๒ ได้สะท้อนภาพอดีตของว้าเมื่อราว ๓๐ ปีก่อนไว้อย่างน่าพิศวง
ว้าเป็นชนชาติที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่นเดียวกับเผ่าขมุ(-,^) และปะหล่อง (xg]k'N) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานของพม่าเช่นกัน ว้ามีตำนานเล่าถึงการกำเนิดของชนเผ่าของตนไว้ว่า เผ่าว้าเกิดมาจากถ้ำศิลาหลวง (gdykdN8^Wdut) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองปัตกะเต๊ะ (x9Ndg9H) เชื่อกันว่าแรกๆว้าอาศัยอยู่แถบเมืองปะเต๊ะ(xg9H) และลวยเลง(]:pN]boNt) แล้วจึงอาศัยกระจายไปทั่วเขตว้า เรื่อยมาจนถึงเขตมายลวนและเชียงตุงทางด้านใต้ ตำนานยังกล่าวว่าคราหนึ่งได้เกิดเสียงกระหึ่มดังก้องมาจากถ้ำ ซึ่งเป็นนิมิตว่าถ้ำจะให้กำเนิดชนเผ่ากลุ่มใหม่อีก ด้วยกลัวว่าชนเผ่าใหม่จะมาครอบงำและขับไล่พวกตน ว้าจึงได้ยิงธนูเข้าไปในถ้ำเพื่อหยุดเสียงประหลาดนั้นเสีย ถ้ำนั้นจึงแท้งด้วยฤทธิ์ธนูของว้า
โดยนิสัยแล้ว กล่าวกันว่าคนว้าไม่นิยมอาบน้ำและไม่ชอบการซักเสื้อผ้า เวลาเจ็บไข้ก็มักจะพึ่งการทำนายของหมอผี โดยหมอผีจะทำพิธีเซ่นผีอาจด้วยไก่เพื่อการรักษา หากไม่หายจากโรคก็ต้องเซ่นผีซ้ำตามแต่ที่หมอผีจะกำหนด ว้ายังนิยมการรักษาด้วยรากไม้ที่เชื่อว่ามีสรรพคุณรักษาได้ทุกโรค (พม่าเรียกโรคเก้าสิบหก) รากไม้นั้นจะขึ้นอยู่ ณ ดอยลวยมู (]:pN,^tg9k'N) ดอยนี้อาจเทียบได้กับเขาโปปา(x6x»ktg9k'N)ของพม่าซึ่งอยู่ทางเมืองพุกาม (พม่ามีความเชื่อเกี่ยวกับรากไม้วิเศษบนเขาโปปาว่าสามารถรักษาโรคได้เช่นกัน บนยอดเขาโปปาจึงมีแท่นหินสำหรับฝนยาวางไว้ ซึ่งชาวบ้านก็ยังใช้อยู่จนบัดนี้) ดอยลวยมูจึงเปรียบดุจเขาโปปาสำหรับชาวว้านั่นเอง นอกจากนี้ ว้าไม่ชอบการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัด หากจำเป็นก็จะไม่ยอมค้างคืน พอเสร็จธุระแม้จะลำบากเพียงไร ก็จะต้องเดินทางออกมาให้พ้นจากที่แห่งนั้น ว้าจึงเป็นคนติดที่ด้วยกลัวความรุนแรงของสภาพอากาศในต่างถิ่น
ว้ายังเป็นที่รู้จักของโลกภายนอกว่าเป็นนักล่าหัวมนุษย์ และเรื่องนี้ก็เป็นความจริงเช่นกัน ดังพบว่าเมื่อราว ๓๐ ปีก่อน ชาวว้าบางส่วนยังนิยมล่าหัวมนุษย์ ตำนานมีอยู่ว่า ตาลี (9k]u)และยานำ (pko,N) เหล่ากอของว้าได้กำเนิดออกมาจากถ้ำศิลาหลวง แล้วก็เดินทางมายังลวยเลง ในระหว่างทางจึงได้หยุดพักเอาแรง ฝ่ายลูกชายคนโตของคนทั้งสอง(บ้างว่าเป็นหลานของตาลีและยานำ)จึงนั่งฝนมีด แล้วก็ใช้มีดนั้นลองตัดเส้นผมของยานำเพื่อทดสอบคม แต่กลับพลาดไปตัดคอของยานำจนขาด และปักใจเชื่อว่าเป็นเพราะผี(o9N)คงปรารถนาหัวมนุษย์เป็นเครื่องเซ่น นับแต่นั้นมา ชาวว้าจึงมีพิธีกรรมล่าหัวมนุษย์เพื่อนำมาบูชาผี และเชื่อว่าหากพื้นที่ใดมีการบูชาผีหรือเทพด้วยหัวมนุษย์ผู้คนก็จะล้มตายน้อยลง พืชผลจะดี และชาวว้าก็จะอยู่อย่างสงบสุข กล่าวกันว่าชนเผ่าว้านิยมการเซ่นผีด้วยหัวมนุษย์ต่างถิ่นมากว่าคนในท้องถิ่น เหตุเพราะเชื่อว่าวิญญาณของผู้ตายจะถูกตรึงให้วนเวียนอยู่ในพื้นที่และไม่อาจออกนอกหมู่บ้านของว้าได้อีก
ส่วนการออกล่านั้น หมอผีจะทำหน้าที่ทำนายด้วยการดูนิมิตจากการเซ่นผีด้วยไก่อ่อน เพื่อบอกว่าควรจะต้องไปล่าหัวมนุษย์ในทิศใด แต่ถ้าด้านนั้นเป็นทิศของฝ่ายตน หรือทำนายว่าอาจมีการสูญเสียมาก ก็จะไม่ออกล่า แต่จะไปหาซื้อกระโหลกมนุษย์จากผู้ที่สะสมไว้ ในราคาหัวละ ๒๐๐ - ๓๐๐ จั๊ตมาเซ่นสรวงแทน หากหาซื้อไม่ได้ก็จะไปขุดหาเอาตามป่าช้า แล้วตัดหัวศพมาใช้เป็นเครื่องเซ่น คนว้าหรือคนแถบนั้นจึงมักฝังศพผู้ตายไว้ที่จำเพาะของตนโดยล้อมรั้วไว้ หรือไม่ก็แอบฝังศพกันในบ้าน เพื่อป้องกันการขโมย เมื่อ ๓๐ ปีก่อนนี้ เขตซังโทง(CoN56")เคยมีการซื้อขายหัวมนุษย์ และเคยมีการล่าหัวมนุษย์ในแถบดอยลวยมู บางหมู่บ้านมีเสาแขวนหัวมนุษย์ตั้งไว้ถึง ๑๐๐ - ๑๕๐ เสา ส่วนที่บ้านลวยเลงและซีต่อ(Cug9kN)พบว่ามีการเซ่นไหว้ผีด้วยหมาดำแทนการใช้หัวมนุษย์ และพบว่าหัวมนุษย์นั้นสามารถตั้งบูชาผีไว้ได้นานถึง ๑๐ ปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ปัจจุบันการล่าหัวมนุษย์ทำได้ยากขึ้น ชาวว้าจึงต้องหันมาเซ่นผีด้วยการฆ่าสัตว์ อาทิ ควายและสุนัข แทนการสังเวยด้วยหัวมนุษย์
กล่าวกันว่าว้าเป็นชนเผ่าที่มักผูกพยาบาทและรักพวกพ้อง ว้าจะไม่ยอมให้ชนเผ่าอื่นมารังแกเผ่าตนหรือวุ่นวายกับหมู่บ้านของตน หากมีเรื่องราวกับผู้อื่นก็มักจะคอยจ้องหาหนทางต่างๆนานาเพื่อล้างแค้น  และไม่มีวันเลิกลาไปได้ง่ายจนกว่าแค้นจะถูกชำระ แต่ถ้าคบหากันอย่างมิตรก็มีความจริงใจ ว้ามีพิธีผูกมิตรด้วยการดื่มน้ำสาบาน โดยจะมีผู้แทนของทั้ง ๒ ฝ่ายมาร่วมพิธี มีการฆ่าควายเพื่อแบ่งปันกันกิน และเอาเหรียญเงินเก่าๆกับกระสุนและปลอกดินปืนใส่ลงในเหล้าแล้วดื่มร่วมกัน จากนั้นจะแบ่งของที่แช่สุรานั้นให้แต่ละฝ่าย พิธีสาบานนั้นเป็นการตั้งสัตย์ที่จะช่วยเหลือกันในยามจำเป็น โดยช่วยกันไม่ว่าจะเป็นในด้านกำลังคนหรืออาวุธ แต่ก่อนพบว่าพวกว้าใช้ปืนใหญ่ขนาดกระบอกกว้าง ๑ นิ้วครึ่งถึง ๒ นิ้ว และยาวประมาณ ๑๐–๑๒ ฟุต สามารถยิงได้ไกลถึง ๓๐๐–๔๐๐ หลา บางหมู่บ้านมีการทำป้อมค่าย มีการขุดคูรอบค่ายและทำหลุมพรางฝังแหลน โดยอาจอาบยางพิษไว้ที่ปลายแหลม หากเป็นคนภายนอกจะเข้าหมู่บ้านไปโดยมิได้บอกกล่าวไม่ได้ และหากว้าไม่วางใจอาจจะไม่ปล่อยให้ออกมาอีกเลยก็เป็นได้ พื้นที่ว้าจึงเป็นแดนหวงห้ามสำหรับคนภายนอก
ว้านิยมสร้างบ้านกันในเดือนตุลาคม-มกราคม เมื่อสร้างบ้านใหม่ก็จะมีงานเลี้ยงฉลองกันด้วยเหล้าถึง ๑ - ๓ วัน พม่าว่าว้านั้นงมงายเอามาก ในบ้านนั้นจึงกำหนดพื้นที่หวงห้ามไว้ไม่ให้คนภายนอกเข้า แขกไม่ควรเดินผ่านที่สำหรับเจ้าบ้านนั่ง และห้ามวางหม้อข้าวทับที่นั่งของเจ้าบ้าน แม้แต่ใบไม้สำหรับมวนบุหรี่ ผู้อื่นจะหยิบไปโดยไม่บอกกล่าวไม่ได้เป็นอันขาด ว้าห้ามวางสิ่งของไว้ในมุมด้านขวาของบ้านด้วยเป็นมุมตั้งหิ้งผี และเชื่อว่าหากทำสิ่งใดไม่ควรก็จะผิดผี และเจ้าของบ้านก็จำเป็นต้องเซ่นผีขอขมา หากคนภายนอกทำให้ผิดผีก็จะต้องเสียค่าปรับ มิเช่นนั้นจะสร้างความไม่สบายใจให้กับเจ้าของบ้านได้
วิถีชีวิตของชนเผ่าว้าในอดีตนับว่าออกจะลึกลับอยู่ไม่น้อย จึงยากยิ่งที่คนภายนอกจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวโดยมิได้เรียนรู้วิถีชีวิตของว้าเป็นอย่างดี และยิ่งว้าเคยเป็นคอมมิวนิสต์มาก่อน (ช่วง ค.ศ.๑๙๖๘–๑๙๘๙) ภาพลักษณ์ของว้าในสายตาของพม่าจึงย้ำภาพที่ออกจะเป็นภัยมากกว่าเป็นมิตร พอระยะหลัง เรื่องราวเกี่ยวกับว้าหันมาผูกติดกับเรื่องยาเสพติด แต่ก็กลับมีภาพเป็นมิตรกับรัฐบาลพม่ามากกว่าแต่ก่อน ส่วนว้าในภาพของชนเผ่าล้าหลังอย่างที่พม่าเคยเขียนไว้เมื่อ ๓๐-๔๐ ปีก่อนนั้นกลับเลือนไป วิถีชีวิตของว้าทั้งเก่าและใหม่จึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษาและเปิดเผยให้โลกรู้มากขึ้น
วิรัช  นิยมธรรม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15497เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากรุ้ว่า ถ้าอยากเข้าไปอยุ่ดูวิถีชีวิตของ ชนเผ่าว้า

จะเข้าไปได้มั้ย

ถ้าได้จะต้องเข้าไปโดยวิธีไหน

ผมชอบความแข็งแกร่ง และความรักเพื่อนพ้อง

ของชาวว้ามากเลยครับ

ชนเผ่าว้าในปัจจุบันหาชมได้ยากมาก ถ้าำไม่ไปฝั่งพม่าก็แทบไม่มีให้เห็น ฝั่งไทยก็ไม่ค่อยจะมี ถึงมีก็น้อยมาก..พิธีกรรมต่างๆของเผ่าว้าอาจดูงมงายก็จริง แต่ก็เป็นความเชื่อในแบบของเค้า..แล้วแต่ความคิดของแต่ละคนว่าจะคิดในแบบไหน....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท