ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการที่เป็นมิตรกับคอมพิวเตอร์เก่า


     ทุกท่านที่ใช้งาน gotoknow คิดว่าคงต้องมีคอมพิวเตอร์นะครับ ไม่ว่าจะเป็นของที่ทำงานหรือส่วนตัว ใครมีความมั่นใจว่าตัวเองใช้คอมพิวเตอร์รุ่นที่เก่าที่สุดอยู่บ้าง รู้สึกอย่างไรครับกับเจ้าคอมพิวเตอร์ที่รู้สึกว่าเก่า ช้า ไม่ทันใจ อยากได้รุ่นใหม่จังเลย มาอ่านเรื่องนี้นะครับพอดีผมเขียนไว้ที่ http://linux.sothorn.org คิดว่าจะมีประโยชน์กับสังคมตรงนี้บ้างก็เลยนำมาฝากเป็นอีกก๊อปปี้หนึ่ง

     เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่วนตัวผมเองไม่ได้ติดตามข่าวของ CPU เลยว่าตอนนี้พัฒนาไปถึงความเร็วเท่าไหร่ ทุกบ้านทุกหน่วยงานพอใช้คอมพิวเตอร์ไปซักระยะหนึ่งก็จะต้องมีการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์เนื่องมาจาก

  • หมดอายุการใช้งาน (จริงหรือ 3 ปี 5 ปี ต้องเปลี่ยน)
  • ไม่ทันสมัย
  • เสียไม่อยากซ่อมซื้อใหม่ดีกว่า
  • ไม่รองรับระบบปฏิบัติการใหม่ ที่กินทรัพยากรมากขึ้น

     ถ้าทุกคนเอาเหตุผลข้างบนมาอ้างเพื่อเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ แล้วคอมพิวเตอร์เก่าๆ จะไปอยู่ไหนล่ะครับ ขยะคอมพิวเตอร์คงล้นโลก ยิ่งสำหรับเหตุผลข้อสุดท้ายนี่ผมคิดว่าไม่ยุติธรรมกับคอมพิวเตอร์เก่าๆ เลยครับ

     ถึงแม้ว่าลีนุกซ์ทั่วๆ ไปจะใช้งานได้กับเครื่องสเปคต่ำๆ อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีกลุ่มคนหรือทีมพัฒนาที่ยังเห็นความสำคัญของคอมพิวเตอร์เก่าอยู่นะครับที่พยายามทำลีนุกซ์ให้ใช้กับคอมพิวเตอร์สเปคตำกว่าลงไปอีก เช่น Xubuntu และ Fluxubuntu

มาดูความต้องการขั้นต่ำเของ Xubuntu

Minimum system requirements
To run the Desktop CD (LiveCD + Install CD), you need 128 MB RAM to run or 192 MB RAM to install. The Alternate Install CD only requires you to have 64 MB RAM.

To install Xubuntu, you need 1.5 GB of free space on your hard disk.

Once installed, Xubuntu can run with 64 MB RAM, but it is strongly recommended to have at least 128 MB RAM.

ที่มา : http://www.xubuntu.org/get

มาดู Fluxbuntu กันบ้าง

Minimum Specs?
Fluxbuntu uses 35-46mb of ram. If you have 64MB of ram we would definitely recommend having adequate swap space.

ที่มา http://wiki.fluxbuntu.org/index.php?title=FAQ

     จะเห็นว่าลีนุกซ์สองตัวนี้ต้องการทรัพยากรต่ำมากต่ำจนหาเครื่องเก่าระดับนี้ยากมากแล้ว เห็นแล้วยังครับว่าคอมพิวเตอร์เก่าไม่ควรทิ้ง

     คราวนี้คนที่บอกว่าถ้าคอมพิวเตอร์เสียล่ะ ก็ต้องดูก่อนว่าเสียระดับไหนครับถ้ายังมี CPU มี RAM มี Floppy Drive และยังบูทขึ้นก็ยังมีประโยชน์ มาดูกันต่อนะครับว่ายังทำประโยชน์อะไรได้ ยังมีกลุ่มนักพัฒนาที่ยังเห็นความสำคัญของคอมพิวเตอร์เก่าแถมไม่มีฮาร์ดดิสก์อีกต่างหาก กลุ่มนี้ชื่อว่า Linux Terminal Server Project สำหรับเรื่องนี้อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานตามบ้านเท่าไหร่นักเพราะต้องลงทุนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่เหมาะสำหรับโรงเรียนประถมที่ไม่มีงบประมาณและได้รับบริจาคคอมพิวเตอร์เก่าๆ ไปหลายเครื่อง หลักการของมันก็คือ ใช้เครื่องลูกข่ายที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์ไปดึงทรัพยากรของเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาใช้งาน ทำให้เครื่องลูกข่ายที่ว่าเก่าๆ ช้าๆ ทำงานได้เร็วขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนั้นก็ยังมี Edubuntu ที่เขาทำเพื่อเด็กโรงเรียนประถมเขาใส่ LTSP มาให้แล้วทำให้ติดตั้ง LTSP ง่ายขึ้น และใส่เกมที่เหมาะสำหรับเด็กประถมมาให้ด้วย

     ครับก็เห็นแล้วนะครับว่ายังมีกลุ่มคนหรือนักพัฒนาที่เห็นความสำคัญของคอมพิวเตอร์เก่าๆ เราเองก็ขอให้ยึดหลักความพอเพียง อย่าไปตามเทคโนโลยีจนกระเป๋าแห้ง กระเป๋าฉีก ของเก่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

     ใครมีคอมพิวเตอร์เก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไม่รู้จะเอาไปไหนวางไว้แล้วก็รกบ้านก็ส่งมาให้ผมได้นะครับ ผมเองยังใช้ PII 350 MHz ติดตั้ง Debian ใช้งานอยู่เลย หรือใครที่รู้จักกับโรงเรียนไหนที่มีคอมพิวเตอร์เก่าหลายๆเครื่องแล้วอยากนำ LTSP ไปใช้ในโรงเรียนก็บอกผมได้นะครับยินดีให้ความช่วยเหลือ

 

คำสำคัญ (Tags): #edubuntu#fluxbuntu#ltsp#linux#xubuntu
หมายเลขบันทึก: 154975เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โอ้ นี่เหรอครับ คนเขียน linux.sothorn.org ผมเคยเข้าไปอ่านบ่อยๆ ... พี่เจ๋งมากครับ กลางวันทำสวน กลางคืนเล่นลินุกซ์ เขียนโปรแกรม เหมือนพวกฝรั่งชนบท กลางวันเลี้ยงแกะเลี้ยงวัวในฟาร์ม ขี่มอเตอร์ไซค์สี่ล้อ ตกกลางคืนเขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก ... นับถือครับ

ลิงค์ http://linux.sothorn.org ในบันทึกผิดนะครับ :-)

สวัสดีครับน้อง ต้นกล้า

  • แก้ลิงค์แล้ว ขอบคุณมากครับ 
ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะคุณโสทร ทำยังไงถึงจะขยายผลให้คนในพื้นที่ใกล้ๆภายในตรังนี่แหละรู้ก่อนว่ามีคนใจดีคนนี้อยู่ ถ้าได้ทำนำร่องสักโรงเรียนแถวๆตรังน่าจะเป็นตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆได้นะคะ ชื่นชมความคิดนี้มากๆและอยากให้ได้ทำจริงๆนะคะ คอมพิวเตอร์เก่าๆจากหลายๆที่จะได้ไม่ต้องกลายเป็นขยะไปจริงๆ  

สวัสดีครับพี่ โอ๋​-​อโณ

  • ผมเองก็อยากขยายผลครับ ผมเขียนคู่มือเรื่อง LTSP ไว้ตั้งแต่ 23 กันยายน 2548 ก็คิดว่าคงไม่มีใครนำไปใช้ เพราะมันเป็นลีนุกซ์ สถานศึกษาบ้านเราหลายๆที่ ยังห่างไกลลีนุกซ์อยู่ครับ ถึงแม้ทุกปีจะมีการแข่งขันระบบปฎิบัติการลีนุกซ์ที่ NECTEC จัด ก็ยังมีโรงเรียนจำนวนไม่มากที่เข้าร่วมแข่งขัน
  • ผมจะลองเอาลีนุกซ์ไปแพร่เชื้อในโรงเรียนมัธยมที่ผมเคยเรียนก่อน ว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน

สวัสดีครับโส

        เยี่ยมมากๆ นะครับเพื่อน แนวคิดในการให้แบบนี้เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ครับ ลองทำเป็นโครงการดูไหมครับ รับบริจากเครื่องเก่าๆ ที่คนไม่ใช้กันแล้ว แล้วมอบให้โรงเรียน จากนั้นค่อยไปปัดฝุ่นลงลีนุกซ์เป็นตัวอย่างซักที่ ที่โสเข้าถึงและช่วยเหลือได้ ให้เป็นโครงการต้นแบบ โดยการอบรมให้ครู และนักเรียน ซึ่งผมว่าจะทำงานได้ยอดเยี่ยมเลยหล่ะครับ คราวนี้ เมื่อต่อเข้าเป็นเครือข่ายแล้ว เครื่องเหล่านั้นก็จะเป็นคลัสเตอร์สำหรับการคำนวณเชิงขนาดสำหรับให้เกิดงานวิจัยในโรงเรียนได้เช่นกัน เราค่อยๆ ต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ ให้คุณครูทำการวิจัยได้ด้วย อาจจะเป็นการวิจัยร่วมกับ อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย หรือร่วมกับชุมชนรอบข้างก็ได้เช่นกันครับ

        จริงๆ เครื่องเก่าๆ ทั้งหลาย หากเราใช้ระบบปฏิบัติที่ติดมาด้วยกับมัน เราก็ใช้ได้ตลอด หากเครื่องยังทำงานปกติ เว้นแต่เราอยากเพิ่มเนื้อในเช่น โปรแกรมต่างๆ เกินกว่าที่เครื่องจะรับได้ ก็กลายเป็นเครื่องเก่าหรืออืดไปทันทีครับ แต่หากใช้กับชุดที่มากับเครื่องนั้นๆ ก็ใช้ได้เร็วเช่นกันครับ ประิสิทธิภาพก็กองอยู่ตรงนั้นครับ

ขอบคุณมากครับผม 

สวัสดีอีกรอบครับ

    ลืมไป พอดีมีอาหารสมองมาฝากสำหรับคนทำไร่ ทำนา ทำสวน ทางการเกษตรครับ มีบทความมาชวนคิดกันสนุกๆ นะครับ

คณิตศาสตร์ กับ ภูมิปัญญาการทำเกษตรบนเนินเขา (The "Cow Back" Method)

ให้เพื่อนเป็นของขวัญปีใหม่ครับ ว่าแต่ว่า บ่อปลาเป็นไงบ้างแล้วครับ คิดถึงบ่อปลาครับผม

ขอบคุณมากครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท