คณิตศาสตร์ กับ ภูมิปัญญาการทำเกษตรบนเนินเขา (The "Cow Back" Method)


สวัสดีครับทุกท่าน

       กว่าจะได้มาเขียนในลานคณิตศาสตร์แต่ละครั้งห่างๆ กันพอสมควร ตามภารกิจนะครับ วันนี้ ไปค้นเจองานทางด้านการเกษตร อันหนึ่งครับ เห็นแล้วแบบว่าเข้าทางเลยครับ คือทั้งคณิตศาสตร์ และ การเกษตรบนเนินเขาครับ  มาดูภาพกันเลยดีกว่าครับ จะไ้ด้ตื่นเต้นพร้อมคำถามชวนคิดนะครับ


 (ภาพจาก ICRAF )

        จากภาพด้านบนนี้ เป็นการทำการเกษตรบนเนินเขา หรือว่าบนพื้นที่ไม่ราบเรียบนั่นเอง การทำเกษตรบนพื้นที่ลาดเอียงแบบนี้ จำเป็นต้องใช้ความรู้และการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้ดีครับ ไม่งั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ สิ่งที่เราควรคำนึงมีอะไรบ้างครับ คร่าวๆ

  • ควรจะออกแบบแนวการปลูกอย่างไร (ส่วนใหญ่เราทราบกันดีว่า ควรจะปลูกแบบขั้นบันได ใช่ไหมครับ)

  • การจัดการชะลอการไหลของน้ำ กรณีฝนตก จะจัดการอย่างไรไม่ให้เกิดการชะล้างหน้าดิน หรือลดการไหลของน้ำไม่ให้เร็วนั่นเอง จะทำอย่างไร

  • ตามนิสัยคุณสมบัติของน้ำ หากไหลจากยอดเนินลงสู่พื้นที่ต่ำ มักจะไหลในแนวทางไหน จะออกแบบอย่างไรให้สอดคล้องเพื่อให้น้ำอยู่กับผักและเก็บความชื้นเอาไว้ในดินให้พืชใช้ได้นานที่สุด (ตามคุณสมบัติของพืชที่จะปลูก)

  • ควรมีการวางแผนอย่างไร ระหว่างพืชแ่ต่ละชนิด ควรจะปลูกสลับกันอย่างไร เป็นช่วงอย่างไรในการชะลอการไหลของน้ำเป็นช่วงๆ เช่นกัน

  • การไหลของน้ำ หรือความเร็วในการไหลจะมีผลต่อการพัดพาสารอาหารต่างๆ เช่นการทับถมของสารอาหารบริเวณหน้าดินและปุ๋ยต่างๆ ที่มีการใ่ส่ให้กับพืช ควรจะออกแบบอย่างไร

  • และอื่นๆ

       สำหรับสิ่งที่ผมจะถามและชวนคุณคิดกันเล่นๆ นะครับ จากภาพด้านบนนั้น ผมชอบแนวคิด The "Cow Back" Method นี้มากๆ เลยครับ

โจทย์มีอยู่ว่า 

  • จะำำทำอย่างไร ที่จะใช้วัวไถร่องหรือแนวของการปลูกเพื่อให้ได้เส้นคอนทัวร์ (Contour) เป็นระดับที่มีความสูงหรือแถวอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อลดการชะลอของการไหลของน้ำได้และเกิดผลดีต่อการออกแบบจากข้อกำหนดที่กล่าวมาแล้ว

  • หากคุณเป็นเจ้าของพื้นที่นี้ คุณจะวางแผนอย่างไร

  • คุณสามารถออกแบบการไถหรือบังคับวัวหรือควายได้เป็นอย่างดีในการสั่งให้เลี้ยวซ้ายขวา ขึ้นหรือลง เรียกไ้ด้ว่ารู้ใจกันครับ (แต่ให้สังเกตน้องวัวด้วยนะครับ เพราะต่างจากควายเหล็กครับ หยุดให้เค้าดื่มน้ำพักผ่อนด้วยนะครับ)

  • คุณมีโอกาสในการสั่งให้วัวหรือควายเิดินออกนอกเส้นคอนทัวร์ได้โดยห้ามผิดพลาดเกิน 2% ของเส้นคอนทัวร์จริง

คำอธิบายเพิ่มเติม ได้แก่

  • เส้นคอนทัวร์ คือ เส้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่ากันตลอดทั้งแถว ในระดับแนวคอนทัวร์ความสูง  เช่น เส้นคอนทัวร์ ที่มีความสูงเท่ากับ 50 เมตร คือ เส้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล Sea level (Contour = 0) เท่ากันตลอดเส้น  หากเรามองจากด้านบน จะเห็นเส้นเหล่านั้นเป็นวง เหมือนการตัดเฉือนดินออกทีละชั้น หรือ อาจจะมองเส้นคอนทัวร์ความสูงในแผนที่ก็ได้ครับ

  • ตัวอย่างเ้้ส้นคอนทัวร์บนภูเขานะครับ ดังภาพด้านล่าง

http://www.pacificislandtravel.com/nature_gallery/mapprojection5.gif

ภาพจาก http://www.pacificislandtravel.com/nature_gallery/mapprojection5.gif

    ใจจริงแล้วไม่ค่อยชอบภูเขาหัวโล้นเท่าไหร่ครับ บทความนี้ไม่สนับสนุนให้ถางป่าเพื่อหันมาทำเกษตรนะครับ แต่หากภูเขาหัวโล้นอยู่แล้ว แล้วจะบริหารจัดการ ก็ควรจะหาทางที่ดีที่สุดในการทำการเกษตรให้เหมาะสมนะครับ 

อื่นๆ เพิ่มเติมไว้ได้นะครับ 

        อาหารสมองอีกจานหนึ่งสำหรับคนทำเกษตร หรือชาวนาชาวไร่ ชาวสวนนะครับผม

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ ขอให้มีความสุขนะครับ

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 155084เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2007 06:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ตอบ เม้ง แทนส่งการ์ด ส.ค.ส. 2551

  1. การที่มีภูเขา มีป่าไม้ใบบังเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ระบบความรู้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้เรียนรู้ ได้ทดลอง วิจัย อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นตำราในภูมิภาคนั้นๆ  เช่น มองหยาบๆ  ทำไมมีสัตว์-พืชเมื่องร้อน เมื่องนาว มีพรรณไม้แตกต่างกันไป นั่นคือ มันนมีปัจจัยแวดล้อมเป็นหลักกำหนด จะเรียกว่ากติกาธรรมชาติ ธรรรมมะในธรรมชาติ หรือพวกเราเรียกKM.ธรรมชาติ
  • มนุษย์สมัยใหม่ส่วนใหญ่ ไม่คำนึง ไม่ตระหนักถึง ความรู้ในระบบธรรมชาติ ตาบอดสีแล้วมักเข้าใจว่าตนเองสร้างความรู้ใหม่ ขึ้นมาจากการวิจัย ค้นคว้า ที่เราเรียกว่า สาขาต่างๆ บังเอิญว่าความรู้ที่มนุษย์เรียนรู้หรือศึกษากันมามันยังด้อยประสิทธิภาพ อาจจะเป็นเพียงใบไม้ใบเดียว1กำมือ ก็ได้ แต่ความเป็นมนุษย์ขี้เหม็น กิเลิศเยอะ ก็ดิ้นรน แสวงหาความรู้ ก็ได้ชุดความรู้โหลๆขึ้นมาบ้างแต่แตกแยกและไม่สอดคล้องกับความรู้ในธรรมชาติ จุดนี้ จำเป็นพอสมควร ในการตั้งต้นสร้างความรู้ในโลกนี้ เพราะในที่สุดแล้ว เจ้าความทันสมัยก็จะย้อนเข้าหาตัวเอง เหมือนสิ่งที่เรากำลังได้รับมลภาวะในขณะนี้
  • โจทย์ที่เม้งตั้งมา  นั่นแหละคือระกึ๋นของมนุษย์ ที่ยังไม่เรียนรู้ที่จะอยู่บนโลกนี้กับธรรมชาติ ถ้าดูต้นทุนทางธรรมชาติเป็นหลัก  มีหลายเรื่องที่เราก้าวล้ำไป หากิน แล้วมันไม่คุ้ม กับประโยชน์ หรือทุนธรรมชาติที่สูญเสียมูลค่าในระบบ  ยกตัวอย่างเช่น คนไทยบุกรุกป่าดงดิบ เพื่อที่จะมาปลูกมันสำปะหลัง และอ้อย ผลลัพธ์ในที่สุดออกมาเป็นอย่างไร
  • สิ่งที่เม้งควรเรียนและเสนอชาวโลกหยาบๆเบื้องตระหนักก็คือ มีบ้างพื้นที่ มนุษย์ไม่ควรจะไปเตะต้อง เพราะมันมีคามสำคัญมากกว่าที่จะเข้าไปหากิน เว้นแต่มนุษย์จะมีกึ๋นดีพอ ซึ่งไม่น่าจะมีและเป็นไปได้ มนุษยชาติควารจะทำแผนที่โลกเชิงนิเวศร่วมกัน และบอกให้รู้ว่าในแผนที่โลกแผ่นนี้ ทั้งโลกมีใบเดียว ไม่ได้แยกเป็นทวีปหรืออะไร เพราะในความเป็นจริงแล้วมันโยงถึงกันหมด น้ำแข็งขั่วโลกเหนือละลาย ก็มากระทบลาวอีสานทุ่งกุลาได้เหมือนกัน
  • ในทางวิทยาการมนูษย์ ทำได้แค่กำหนดพื้นที่เป็นวนอุทยาน เขตอนุรักษ์ เขตลุ่มน้ำที่1-2-3 เขตป่าสงวน ต่อมามีเขต สปก. เขตบ้าๆบอๆ  
  • ภาพที่เม้ง ส่งมา ก็เข้าใจได้ว่า มนุษย์กำลังเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้ดีและกระทบระบบธรรมชาติให้น้อยที่สุด ถ้าอย่างคิดดี ก็อาจจะบอกว่า ยังเห็นความเป็นธรรมชาติในแววตา แต่ก็นั่นแหละ อีตาไถควาย แกมีโจทย์เดียว จะต้องไถๆๆๆ  ถ้าแกคิดขุดหลุมปลูกต้นไม้ ก็แค่ขุดหลุม ไม่ต้องไถ ยังมีช่องให้ทำอีกเยอะแยะ
  • ถ้าเกิดการเรียนรู้วิธีออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่อย่างที่สุด โจทย์จะไม่ออกมาเหมือนลากตะบองออกจากถ้ำเช่นนี้ ความรู้ในการทำมาหากินที่เอื้อต่อสภาพแวดล้อมยังไม่เกิดขึ้น มีแต่ตำราหาประโยชน์จากสภาพแวดล้อม
  • วิชา ดูตาม้าตาเรือ นี่เม้งควรทำ จะได้ประโยชน์ทั้งโลก
  • โจทย์ที่คิดบนฐานกิเลศ จะต่างจากโจทย์ธรรมชาติ ที่ปลอดกิเลศ
  • ถ้ามองเชิงที่เป็นโจทย์คณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร หรือสิ่งแวดล้อมก็เถอะ เหมาะกับมนุษย์ขี้เหม็นในขณะนี้มาก
  • แต่ก็ควรคิดต่อว่า..จะโยงโจทย์ปลีกย่อยของมนุษย์นี้ไปหาโจทย์หลักของธรรมชาติได้อย่างไร
  • บางทีในพื้นที่ลาดชัน ไม่ควรจะไถก็ได้ ถ้าเราเปลี่ยนเรื่องหรือวิธีทำมาหากิน ให้เหมาะ ให้เข้า ให้รู้กับสภาพความจริงของธรรมชาติ
  • ไม่อย่างนั้นมนุษย์  ก็จะตกอยู่ในวงจรไม่รู้ไม่ชี้นี้ตลอดไป ความรู้ไม่รู้ไม่ชี้มีเยอะมาก อาจจะเรียกชื่อใหม่ว่า อีแอบศาสตร์  เพราะมันยังไม่ใช้ความที่ถูกต้องรู้จริง
  • เม้ง ต้องดึงไปสู่คำถามว่า
  • วันนี้ มนุษย์อยู่กับความรู้อะไร
  • ความรู้ที่ใช้มันดี มันถูกต้องแล้วหรือยัง
  • ไม่ใช่มาพัฒนาความโง่
  • ให้มันซับซ้อนจนลืมโง่ตัวเอง อิอิ 
  • ด่าเป็น สคส.เสียเลย 

 

  • โจทย์ เบื้องต้น  มนุษย์อยู่ที่ไหน ต้องเรียนให้มีความรู้พอที่จะ ทำอยู่ทำกินในพื้นที่ตรงนั้น ให้ไม่กระทบสภาพแวดล้อมมากนัก ถ้าให้ดีควรจะ จะสร้างความเจริญให้พื้นที่ทำกิน มันถึงจะยั่งยืน ไม่ใช่ทำลายๆๆ สร้างปัญหาให้ตนเอง ให้สังคม และให้โลก
  • ถ้าความรู้สมัยใหม่ดี ชาวนาคงไม่ร้องเรื่องปุ๋ยแพง ยาแพง ปัจจัยการผลิตแพงๆๆๆ

กราบสวัสดีครับ ท่านครูที่เคารพ

  • แบบว่าโพสต์ก่อนนอน ได้ ส.ค.ส. ก่อนนอนเลยะครับ อิๆๆๆ ขอบอกว่ามันๆ คันๆ แสบๆ จริงๆ ครับ แต่นั่นหล่ะครับ เป้าหมายที่อยากได้
  • เพราะเราอยู่กับความรู้ เอาใจเราไปใส่ใจเขา มากเกินไปกว่า จะเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือเปล่าครับ เราถึงได้ภูเขาหัวโล้นครับ
  • พอได้ภูเขาหัวโล้นมาแล้ว สภาพดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ มีดินมีทั้งสารอินทรีย์วัตถุที่สมบูรณ์ กลับกลายเป็นดินหน้าแห้ง รอรับแสงให้สาดส่องในทุกทิศทาง
  • มีคนบอกว่า การไถพรวนนั้น เป็นการแก้ผ้าพระแม่ธรณี ควรจะมีการเอาฟาง เอาซังข้าว หรือเอาใบไม้ หรืออะไรก็แล้วแต่คลุมอันนี้ก็ต้องใช้ความรู้อะไรบ้างครับ ในการศึกษา หากเรามองไม่เห็นสิ่งมีชีวิตใต้ใบไม้บนผิวดิน แล้วเราก็มองไม่เห็นค่าใดๆ เลย เพราะเรามองไม่เห็นค่าของป่าไม้ตั้งแต่เราคิดนโยบายโค่นป่าแล้วหล่ะครับ
  • เพราะเราลืมคิดไปหรือเปล่าครับ ว่าต้นไม้นั้น ป่าไม้นั้นช่วยเหลือเรื่องใด หรือว่าเราแกล้งโง่กัน หลับหูหลับตากันจากรุ่นสู่รุ่นครับ เพื่อจะถางแล้ววนเวียนไปเรื่อยๆ คนใช่ไหมครับ ไม่ใช่แบคทีเรีย ที่จะหยอดเชื้อแล้วกินอาหารในจานเลี้ยงเืชื้อแล้วเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เมื่อสารอาหารหมด เหมือนไฟลามทุ่งเลยครับ จนในที่สุดก็ต้องมานั่งไถและจัดการกับภูเขาหัวโล้นนี่หล่ะครับ
  • คำถามถึงมาอยู่ที่ว่าจะจัดการกับภูเขาหัวโล้นนี้อย่างไร
  • จะทำให้โล้นต่อไปหรือว่าจะฟื้นฟูกลับไปไม่ให้โล้น อันนี้อยู่ที่สมอง ความเข้าใจ ต้นทุนต่างๆทั้งภายในและภายนอก
  • อย่างบ้านเราชัดๆ ตอนนี้ แค่จะบอกชาวบ้านว่า ปลูกยางในนาน้ำลึกนั้นดีหรือไม่ เรายังมึนกันอยู่เลยหรือเปล่าครับ ต่อไปเราจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอีกเท่าไรไม่ทราบครับ ทราบแต่ว่าเป้าหมายจะลงมาปลูกทางใต้อีกไม่รู้เท่าไร ผมเลยไม่แน่ใจว่านี่คือหลงทางหรือว่าถูกทาง ช่วยๆ กันตอบด้วยนะครับ
  • ผมว่าเราอาจจะหลงทางมาตั้งแต่เราค้นพบหรือรู้จัก NPK ตั้งแต่ในห้องทดลองหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ ธรรมชาติมีการเติมปุ๋ยให้กับพื้นที่เองอยู่แล้ว มีคนมากมายไหมว่า ธาตุไนโตรเจนนั้น ธรรมชาติเติมให้อยู่ตลอด เช่นจากฟ้าผ่า ก็เป็นการเติมปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพื้นที่นั่นๆ
  • ทุกอย่างเป็นจริงอย่างที่ท่านครูว่านะครับ ในเรื่องของการเป็นองค์รวม ความรู้อยู่ในธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติขาดความรู้
  • อย่างจากบทความ ถามง่ายๆ เช่น จงหาความรู้บนภูเขาหัวโล้น แล้วไล่ให้อีกคนไปหาความรู้ในป่าเขาขนาดเท่ากันที่ไม่มีหัวโล้น ความหลากหลายอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยของแต่ละพื้นที่
  • คราวนี้ มาถึงภูเขา บางพื้นที่บางประเทศนั้น ก็ไม่มีต้นไม้บนเนิน บางประเทศก็มีต้นไม้ขึ้นเป็นป่าหนาแน่น ตรงนี้จำเป็นต้องบริหารและศึกษาที่มาที่ไป อย่างที่ท่านครูว่าครับ คือ วิชา ดูตาม้าตาเรือ
  • วกกลับไปอีกรอบครับสำหรับเรื่อง ปุ๋ยทั้งหลายที่เรานำมาใ่ส่ในกระสอบแล้วขายๆ กัน ตามสูตรต่างๆ ที่แสดงกันนั้น ประมาณว่าแล้วแต่จะบำรุงกันเลยหล่ะครับ (ว่าแล้วทำให้นึกไปถึงสูตรบำรุงความงามความหล่อกันเลยหล่ะครับ มีครบเลย อิๆๆ บำรุงกันทุกชิ้นส่วน อิๆๆ)
  • ระบบการทำเกษตรเราเปลี่ยนมาตั้งแต่ยุคนี้หรือเปล่าครับ เพราะว่าการให้น้ำเกลือนั่นอาจจะเห็นผลเร็ว ได้โดยตรง ดีกว่ากินข้าวแล้วไปรอการย่อย เลยทำให้ทุกวัน หรือว่าเรารอระบบย่อยแบบธรรมชาติไม่ไหวครับ  ทำไมเราถึงสูบเอาๆ ครับ อย่างกาสธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหินและอื่นๆ จนเรากำลังจะเข้าสู่ยุควิกฤตขาดแคลนน้ำัมันกัน
  • อิๆๆ พาไปไกลเลยครับ วัวตัวข้างบนลากคนที่เดินตามวัวไปทั่วไปหมดเลยครับ ห้าๆๆๆๆ
  • ยังต้องมาร่ายรำกันต่อครับ.....

    จบบทท่อนนี้ด้วยคำถามท่านครูอีกรอบครับ

  • วันนี้ มนุษย์อยู่กับความรู้อะไร
  • ความรู้ที่ใช้มันดี มันถูกต้องแล้วหรือยัง
  • ไม่ใช่มาพัฒนาความโง่
  • ให้มันซับซ้อนจนลืมโง่ตัวเอง อิอิ 

  • เอิ๊กๆๆ ฝันดีก่อนนอนครับ อัจจึ๋ยๆ....
กราบขอบพระคุณมากครับ เขียนไว้ต่อนะครับ มันหยดครับผม....

  • ตามมาอ่านแนวคิดของพ่อครูบากับน้องเม้งค่ะ
  • ได้ประโยชน์มากทีเดียว แล้วจะกลับมาอ่านแนวคิดของท่านอื่นๆในวันหลัง
  • ต้องขอกลับบ้านไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 23 นี้ก่อนนะ ก็พี่เป็นคนไทยนี่นา..อิอิ

สวัสดีครับพี่อ๊อต naree suwan

  • สบายดีนะครับผม
  • แนวคิดสนุกๆ ครับ ชวนคิดให้แตกเรื่องของบ้านเรา โลกของเรา ชีวิตในระบบนิเวศน์ครับผม
  • ขอให้เกิดสิ่งดีๆ หลังเลือกตั้งนะครับ ให้เกิดศรัทธาแล้วศรัทธาสู่หัวใจของทุกคะแนนเสียงไปยังหัวใจของคนที่จะทำประโยชน์เพื่อแผ่นดินครับ
  • บ้านเราเมืองเราจะได้ร่มเย็น เกื้อกูลกันอย่างที่ธรรมชาติควรจะเป็นครับ
  • ขอบคุณพี่มากครับ 

รูปที่เห็น แทบไม่เหลือซากของธรรมชาติ หรือความมีชีวิตอยู่เลย ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า

ความพยายามในการอนุรักษ์แบบนี้ขอใช้ภาษาฝรั่งมาพูดว่า

 

"Piss in the ocean"

คิด(?) จะอนุรักษ์ แต่ทำลายไปจนหมดไม่เหลือหลอ

ถ้าจะพูดเรื่องนี้ต้องถอยหลังไปอีกอย่างน้อยสิบปี

ก่อนการทำลายจนราบคาบ แล้วก็มา.....พูดว่าอนุรักษ์

แบบเดียวกับฆ่าช้างแล้วก็พยายามอนุรักษ์ งา เอาไว้

ใครได้อะไร

นี่คือโสกนาฏกรรมทางวิธีคิดของนักทำลาย และนักวิชาการครับ

ผมเห็นบ่อยมาก ในโครงการ "อนุรักษ์" ทั้งหลาย

ก็ไม่พ้นอีหรอบเดิม

ไล่ฆ่าช้างให้หมด เพื่อจะได้เอางา กระดุก หนัง มาอนุรักษ์ ประมาณนั้นแหละครับ

เห็นทีไร เศร้าทุกทีครับ

และถ้ามองเป็นภูมิปัญญา ก็ขอเรียกว่า "ภูมิปัญญาแห่งการทำลายครับ"

That is the most optimistic I could do for this type of technology!!!

 

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

ทั้งพ่อครู ฯ และอ.แสวงพูดถึงเรื่องของการอนุรักษ์ แนวทางการพัฒนาที่ไม่คิดถึงอะไรนอกจากสิ่งที่นั่งและกระเป๋าของตัวเอง ความย่ำแย่ของวิชาการและเทคโนโลยี่ไปแล้ว

เบิร์ดเลยนั่งสงสัยว่าทำไมเจ้าวัวตัวนี้เค้าถึงเดินไม่ตรงทางล่ะคะ ? เป็นเพราะเราบังคับเค้าให้เดินแบบนั้นหรือว่าเค้าเดินลากเรื่อยเปื่อยของเค้าเองแล้วเราเดินตาม ? 

 

แสดงว่า วัวมีความรู้มากกว่าคนมั้งครับ

 

คนก็เลยต้องเดินตามวัว และใช้หลังวัว (cow back)เป็นเตรื่องมือนำทาง

 

ใช่ไหมครับ

ตกลงว่า ใครมีสมองมากกว่ากัน

ระหว่าง คน กับ วัว

หรือ

ใครใช้สมองอะไรอยู่ครับ

สวัสดีครับท่าน อ. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ขอบพระคุณมากครับ ที่กรุณาเข้ามาช่วยกระตุกเอ็นความรู้ หรือจี้จุดความโง่ให้พวกเราตื่นกันครับ
  • ผมอยากให้ีตีวัวกระทบคราด ตีคราดกระทบ(กระ)ทรวงบ้างแบบนี้หล่ะครับ จะได้มองคิดกันหากเราคิดที่จะคิดถึงรุ่นลูกหลานนะครับ แต่หากเพียงแค่เราเกิดมาเพียงแค่เสพในช่วงชีวิตนี้เป็นพอ ก็ไร้ค่ายิ่งครับ
  • น่าสนใจครับผม แนวคิดฆ่าช้างสะสมงา เผาป่าสะสมเห็ดแครงนะครับ จริงๆ แล้วเราๆ ก็เพิ่งตื่นกันในยุคนี้หล่ะครับ ก่อนหน้านี้เราๆ ทุกคนก็หลงระเริงอยู่กับปมหลายๆ อย่างๆ เรามักจะตื่นเอาตอนที่เกือบสาย หรือชักช้าไปแล้ว เรามักจะเป็นแบบนี้เสมอ
  • เรามักจะเห็นค่าเวลาสิ่งนั้นกำลังจะหายจาก แล้วเราก็ลืมเมื่อมันผ่านไปได้ในไม่นาน
  • เรายังมีวิธีการพูดคุยให้คนไทยเข้าใจกันยังไม่ได้เลยครับ จะมุ่งหาเข้าใจธรรมชาติได้ขนาดไหนเราก็ยังไม่ทราบเลยครับ แม้เราเป็นคนพูดภาษาเีดียวกันยังขัดแย้ง ขัดขากันได้เลยครับ ว่าไปแล้วก็เศร้าเหลือหลายครับ
  • สำหรับภูมิปัญญานั้น ผมไม่แน่ใจว่า ปัญญาของที่หนึ่ง อาจจะเป็นปัญหาของอีกที่หนึ่งได้หรือเปล่าครับ อันนี้ ต้องลองดูว่าจะเอาธรรมะจากธรรมชาติข้อไหนมาตัดสินดีครับ
  • กลุ่มหนึ่งขัดแย้งกับอีกกลุ่มหนึ่ง ต่างโต้กันเรื่องภูมิปัญญา ในการหาทางออก ปัญหาน่าคิดคือการผสานผลประโยชน์ร่วมกันทำได้อย่างไร บางครั้งภูมิปัญญากับผลประโยชน์มันเลยไม่ค่อยไปทางเดียวกัน
  • สำหรับภาพวัวด้านบนนั้น เป็นเพียงการไถด้วยเหตุผลหนึ่งเท่านั้นครับ เป็นการไถเพื่อทำแนวของการปลูกพืชที่จะกันดิน ชะลอการไหลของน้ำ แนวทางของการกรองดิน ลดการชะล้างส่วนหนึ่งครับ แต่หากไถทั้งเนินนั้น คงไม่น่าจะใช่คำตอบครับ
  • ผมรอวันที่คนเกษตรในระดับผู้ปฏิบัิติการกับนักวิชาการคุยภาษาเดียวกันได้นะครับ คุยด้วยภาษาใจเดียวกันได้ครับ
  • เหมือนคนกับวัวที่เดินตามกันนั้น เรียกได้ว่าใจเดียวกันนะครับ ถึงสามารถเดินร่วมกันได้ และพูดคุยภาษาสื่อสารกันได้ ให้เดินไปตามแนวทางเส้นระดับคอนทัวร์นะครับ ไม่มีใครฉลาดหรือโง่กว่าใครนะครับ เพียงแค่เค้าร่วมกันทำงานช่วยเหลือเกื้อกูลกันนะครับ ในสิ่งที่ผมมองผมคิดว่าคนหรือสัตว์หรือธรรมชาติ ควรจะไร้กำแพงกั้น เนินเขาแม้จะวางอยู่ห่างกัน แต่ก็สามารถสื่อสารถึงกันได้ใช่ไหมครับ เหมือนที่ท่านครูบาฯ ว่าครับ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ก็มากระทบอีสานได้ เพราะระบบมีวัฏจักรใช่ไหมครับ
  • แล้ความรู้ของคนเราหล่ะครับ ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา เป็นวัฏจักรด้วยหรือเปล่าครับ
  • ใครใช้สมองอะไรอยู่ครับ
  • ผมคิดว่าในภาพนั้น น่าจะใช้สมองร่วมกันนะครับ ไม่งั้นงานไม่สำเร็จได้แน่ครับ คนเอาใจวัวมาใส่ใจคน วัวเอาใจคนมาใส่ใจวัว ทั้งคนและวัวเอาใจดินและภูเขาเนินเขามาใส่ใจตัว และอื่นๆ ธรรมชาติอะไรอื่นๆ อีกครับ
  • คนส่วนใหญ่่ก็เรียนรู้เอาจากธรรมชาติ การที่เราค้นพบวันนี้ แล้วบอกว่าเราคิดได้ ความรู้นั้น มันอาจจะไม่ได้ใหม่อะไรเลยครับ เพียงแต่ว่าเราได้พบมันวันนี้แค่นั้นก็ได้ แต่องค์ความรู้นั้น มีอยู่ครบหมดแล้ว เพียงแต่ว่าจะมาบรรจบกับภาวะที่จะทำให้เกิดหรือเปล่าครับ หรือว่าความรู้ในเชิงสิ่งประดิษฐ์นั้นต้องสร้างสมสะสม มีหลายๆ อย่างที่เกิดจากธรรมชาติส่วนใหญ่ที่เราเอามาใ้ช้อยู่ ปัญหาคือการเอามาใช้นั้นเพื่ออะไร เพื่อใคร เพื่อผลประโยชน์ใคร
  • ถกผสมบ่นๆ กันสนุกๆ นะครับ ผมว่าเรามาโง่กันให้จงหนักนี่หล่ะครับ จะดีที่สุด แล้วซึมซับความรู้เอาจากธรรมชาติครับ แต่ปัญหามันคือ เด็กเกิดมาไม่พบธรรมชาติแบบสมบูรณ์นี่ซิครับ ใครจะรับผิดชอบครับ เราจะหลอกลูกหลานของพวกเราว่าอย่างไรดีครับ หรือว่าเพียงแค่เก็บไว้เป็นเพียงตำนานใบไ้ม้แห้งใต้กองฟางเล่าให้ลูกหลานฟังดีครับ
  • ร่วมกันต่ออีกนะครับ แบบเผ็ดๆ มันๆ บ้าง สนุกๆ กันนะครับ
  • กราบขอบพระุคุณทุกท่านที่ร่วมสนุกนะครับผม สำหรับประเด็นแก่นของบทความไว้ค่อยนำเสนอในภายหลังนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณ เบิร์ด

  • สบายดีนะครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ เข้ามาร่วมสร้างสีััสันสนุกๆ บ้างครับ
  • สำหรับเรื่องอนุรักษ์นั้น คงเป็นโจทย์ใหญ่ที่คนไทยต้องทำความเข้าใจร่วมกัน แล้วปฏิบัติร่วมกันหรือเปล่าครับ เพราะหากในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งร่วมอนุรักษ์ป่า ต้นน้ำกัน แต่ในขณะหนึ่งอีกกลุ่มหนึ่งก็โค่นเอาๆ ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลองกัน จนคลองแสนแสบนี้ เราจะต้องชื่อใหม่เป็นอะไรดีครับ  จะตั้งเป็นคลองล้านแสบ หรือ กิกะแสบ หรือว่าเทอระแสบทรวง ดีครับ ห้าๆๆๆๆ (สนุกๆนะครับ )
  • สำหรับคำถามคุณเบิร์ดน่าสนใจครับ

    เบิร์ดเลยนั่งสงสัยว่าทำไมเจ้าวัวตัวนี้เค้าถึงเดินไม่ตรงทางล่ะคะ ? เป็นเพราะเราบังคับเค้าให้เดินแบบนั้นหรือว่าเค้าเดินลากเรื่อยเปื่อยของ เค้าเองแล้วเราเดินตาม ?
  • เพราะเค้ารู้ใจคน และคนรู้ใจวัว ไงครับ สัตว์เรียนรู้ได้ คนเรียนรู้ได้ ฝึกตนได้ มีสมอง ที่สำคัญในตัวอย่างด้านบนนั้น ทั้งคนและวัวเข้าใจกันว่าจะทำอะไรอย่างไร ไม่งั้น ไ่ม่วัวหรือคนคงเคียดแค้น ไม่วัวก้นลาย ก็คนไส้ทะลักครับ แต่หากเค้าทำงานแบบเข้าใจกันแล้วการทำในครั้งต่อๆ ไปเค้าจะทำได้และเข้าใจกันอย่างดีครับ
  • วันก่อนมีสารคดีหนึ่ง เค้าฝึกหนูให้ตามหาหลุมระเบิดครับ โดยจับหนูมาฝึกครับ มีการทดลอง เอาหนูให้มาดมหลุมที่มีระเบิดอยู่ พอหนูมาตรงที่หลุมนั้นที่มีระเบิดก็ให้อาหาร แต่หากไปที่หลุมเปล่าๆ ไม่มีอะไร ก็ไม่ได้กินอาหาร ฝึกอยู่อย่างนี้จนชำนาญ  จนในทีุ่สุดเค้าก็สามารถจะใช้หนูในการติดตาม ตามหาระเบิดได้จริง เพราะหนูน้ำหนักเบาและเข้าถึงในพื้นที่เสี่ยงได้ เห็นไหมครับ ไม่ต้องใช้สุนัขก็ได้ หนูก็ยังฝึกได้เลยครับ คนเราฝึกไม่ได้ก็แย่แล้ว มีสมองใหญ่กว่าหนูเยอะ
  • สัตว์ที่ผ่านการฝึกได้เหล่านี้ เราจะเรียกว่าเค้านิพพานในด้านนั้นๆ แล้วได้หรือยังครับ
  • ในกรณีภาพด้านบนนั้น ขณะที่คนสั่งให้วัวเดินไปเลี้ยวขี้นบนลงล่าง ก็สังเกตกันที่วัวนั้นหล่ะครับ หากเราเข้าใจเรื่องความชัน และเวกเตอร์ที่ผิวสัมผัสนั้น การที่ทั้งคนและวัวร่วมกันทำนั้นเพื่อเข้าถึงคำตอบที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คำนวณ ก็เป็นเรื่องที่ผมยกให้เป็นภูมิปัญญาได้ครับแต่การสังเกตกันอย่างนั้น ลองไปคิดกันต่อครับ
  • หากเราใช้ควายเหล็กทำ แ่น่ๆ คือล้อของควายเหล็กคงอยู่คนละระดับกันครับ แ่ต่ก็ทำได้เช่นกันครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ฝากไว้ได้ต่อนะครับ สวัสดีปีใหม่นะครับ
  • การทำContour  Line เป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อการปลูกพืชที่ดีมากๆวิธีหนึ่ง..
  • ผมเป็นคนเกษตรในระดับผู้ปฏิบัติการคนหนึ่งลองทำดูแล้วในพื้นที่ ที่ลาดชันไม่มากนัก แต่ชะล้างพังทลายถึงขั้นปานกลาง    (แปลงปลูกของผมเอง)     ปรากฏว่าสามารถแก้ปัญหาเรื่องการชะล้าง-พังทลายได้ดีมากครับ
  • วิธีการนี้นับ เป็นวิทยาการที่เป็นสากลวิธีหนึ่งที่แนะนำให้เกษตรกรใช้กันโดยทั่วไป..แต่ที่สำคัญคือต้องประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่และ แต่ละชนิดพืช..ที่สำคัญที่สุดคือต้องทำความเข้าใจว่า วิธีการนี้เป็นเพียงวิธีเพื่อการแก้ปัญหาการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ ที่จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ลาดชัน หรือใช้พื้นที่ลาดชันเพาะปลูกพืชอยู่แล้วในปัจจุบันเท่านั้น...ไม่แนะนำส่งเสริมให้ใครก็ตาม..ไปแสวงหาพื้นที่ลาดชันมาใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เนินเขา เนินไพรซึ่งกฎหมายได้หวงห้ามเอาไว้แล้ว มาเพื่อทำContour แล้วทำการเพาะปลูกพืช...จะได้ไม่คุ้มเสีย
  • ขอบคุณ คุณเม้งแทนพี่น้องเกษตรกรด้วยนะครับ สำหรับความตั้งใจ และความพยามในการนำวิทยาการที่เกี่ยวข้อง(คณิตศาสตร์)มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางการเกษตรของบ้านเรา...เก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์จากต่างแดนนำกลับมาฝากที่บ้านเราเยอะๆนะครับ..คุณคือความหวังของบ้านเมือง...สวัสดีปีใหม่ 2551โชคดีครับ...

สวัสดีครับคุณเกษตรตำบล

  • สบายดีนะครับ ขอบพระคุณอีกครั้งครับที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนกันนะครับ
  • การทำเส้นคอนทัวร์นั้น เป็นแนวทางหนึ่งอย่างที่คุณว่านะครับ อย่างทางใต้ก็จะเห็นกรณีการปลูกยางบริเวณที่ชันเนินเขา หรือการปลูกพืชอย่างอื่นๆ
  • ส่วนภาพวัวไถดินด้านบนนั้น ประเด็นที่จะบอกคือ การไถอย่างไรกับวัวเพื่อให้ได้เส้นคอนทัวร์
  • แนวทางก็คือ สังเกตหัววัว ก้นวัว จากในระดับปกติว่ามีรูปแบบอย่างไร แล้วก็ดูรูปแบบนั้นตอนไถ เพื่อป้องกันไม่ให้วัวลากไถขึ้นเนินหรือว่าลากไถลงเนิน เพื่อรักษาระดับของระนาบเส้นแนวคอนทัวร์ครับ
  • ตอนนี้หากเราไม่บุกรุกป่า ก็คงไม่มีพื้นที่ลาดชันเพิ่มขึ้นครับ แต่ปัญหาหนักกว่านั้นคือ พื้นที่ราบๆ ก็เริ่มจะหาคนปลูกต้นไม้หรือทำเกษตรครับ บางที่ทิ้งพื้นที่ไว้ว่างเปล่า อย่างพื้นที่นาบางที่หาไม่ทำหนึ่งปี แล้วมีต้นกกขึ้น ก็รับรองได้เลยครับ ว่าปีถัดไปหาจะทำนาก็คงสนุกไม่เบาครับ
  • ผมเป็นห่วงเรื่องเหล่านี้ และไม่อยากให้พี่น้องเกษตรกรต้องทิ้งรากของประเทศเราครับ อาชีพเกษตรเราเน้นการอยู่กินแบบพอเพียงครับ ความร่ำรวยมันฉาบฉวย เงินทองนั้นมีน้อยก็ลำบาก มีมากก็ทุกข์ใจครับ และเงินก็เป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของเท่านั้น จะมีค่าเื่มื่อจำเป็นสิ่งของในสิ่งที่เราไม่มี อย่างเมื่อก่อน เรามีแลกเปลี่ยนกัน แลกกันแบบน้ำใจกันมากกว่าเงิน เรามองเงินเป็นเรื่องต่ำ เอามาวัดใจกันไม่ได้ในระดับคนนักเลง วัดด้วยเงินกันไม่ได้ เพราะน้ำใจนั้นสูงส่งกว่า
  • แต่เมื่อแนวทางทุนนิยมวิ่งมามากๆ แนวคิดเปลี่ยนประกอบกับอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย หลายๆ อย่างก็เริ่มเปลี่ยนครับ
  • ผมหวังว่าวันหนึ่งเราคงมีอะไรเป็นของไทยเราและอนุรักษ์ของดีของไทยเอาไว้ครับ ตอนนี้ต้นไม้พื้นบ้านเริ่มตายหมดครับ โดยยาพิษกำจัด ประกอบกับความแห้งแล้งในบางครั้งครับ ว่าไปแล้วผมก็เสียดายหลายๆ อย่างรอบบ้านครับ อาจจะฟื้นได้ครับ แต่ใช้เวลาหลายปีเลยครับ
  • ขอบพระคุณมากๆ นะครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท