ประเด็นข่าว: อยุธยาอาจหลุดจากการเป็นมรดกโลก


ช่วงปลายปีที่แล้ว มีข่าวใหญ่ (แต่เงียบไปแล้ว) ว่า รมต. กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับรายงานจากกรมศิลปากรว่า อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา มีปัญหาด้านผังเมือง และมีโอกาสหลุดจากการเป็นมรดกโลก

{Culture Minister} Khaisri had received an initial report from the Fine Arts Department claiming the site, inscribed on Unesco's World Heritage List in December 1991, had problems with city planning that might lead to the site being removed from the list, the minister said.

ข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น (17 ตุลาคม 2550) 

ข่าวอื่นๆ จากหลายสำนักข่าว ทั้งสองมุม

ข่าวก็คือข่าวครับ ผมตรวจสอบกับข้อมูลในเว็บของยูเนสโก พบ Periodic Report ซึ่งประเมินในปี 2546 และจะต้องประเมินอีกครั้งหนึ่งในปี 2552 เพื่อดำรงสถานะของมรดกโลกต่อไป

การประเมินแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นรายงานของประเทศซึ่งมรดกโลกตั้งอยู่ ส่วนที่สองเป็นการประเมินกระบวนการการอนุรักษ์ตามคุณสมบัติของมรดกโลก ซึ่งสำหรับการประเมินครั้งล่าสุด ได้ตีพิมพ์เป็นรายงานฉบับเต็ม และฉบับย่อ

ในส่วนสุดท้ายของรายงานฉบับย่อ มี action items อยู่สามอย่าง 

Conclusions and Proposed Actions
  • “The historic city of Ayutthaya and associated historic towns is being preserved and managed to maintain its integrity.”
  • The proposed expansion of the preserved area to provide a buffer zone between the historic and the modern cities of Ayutthaya should take place as soon as possible.
  • Similarly, amendments to the ‘Master Plan on the Conservation and Development of the Historic City of Ayutthaya’ are planned in order to change the ancient city of Ayutthaya into the Ayutthaya Historic Park.

ผมคิดว่าสามประเด็นนี้ น่าจะเป็นจุดใหญ่เลยว่าอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา จะยังคงเป็นมรดกโลกต่อไปหรือไม่; จะเป็นมรดกโลกหรือไม่ กลับไม่สำคัญเท่ากับว่า อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยามีความสำคัญต่อคนไทยหรือไม่

แต่ตีความแบบคนไทยอ่านภาษาอังกฤษ ผมคิดว่าอย่างนี้ครับ

  • Bullet แรก อยู่ใน quote คาดว่าผู้เขียนรายงานนำมาจากรายงานในส่วนแรก รูปประโยคใช้ present continuous tense แปลว่ากำลังทำอยู่ในเวลาที่เขียนรายงาน ดังนั้นเมื่อผ่านไปหกปี ก็จะต้องมีความคืบหน้า (ในทางที่ดี)
  • Bullet ที่สอง ข้อเสนอที่จะขยายเขตอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา เพื่อป้องกันเขตเมืองประวัติศาสตร์ กับเมืองใหม่ ควรเร่งรัดดำเนินการโดยเร็วที่สุด; อันนี้เป็นประเด็นในข่าวว่ามีปัญหาจริงๆ
    • เรื่องการเติบโตของเมืองและเรื่องผังเมือง ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขได้ทันทีทันใด จะต้องวางแผนล่วงหน้า จะต้องมีการเตรียมการ มีงบประมาณ และมีการดำเนินการอย่างจริงจัง
    • เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับการจัดการชุมชนอื่นๆ เช่นกัน อย่ารอจนเกิดปัญหา แล้วค่อยมาคิดแก้ไข
  • Bullet ที่สาม คาดว่าเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม ถ้าอ่านไหว แนะนำให้อ่านรายงานฉบับเต็มครับ

คำสำคัญ (Tags): #มรดกโลก#อยุธยา
หมายเลขบันทึก: 157631เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2008 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ในขณะเดียวกันเมืองใหม่ๆ อย่าง Tel Aviv ได้เป็นมรดกโลกแล้วครับ

สวัสดีค่ะ

เมื่อช่วงปีใหม่ ได้ไปเยี่ยมบ้านริมน้ำป่าสักของอาจารย์ยุวนุชฯ จ.ว.อยุธยา จากนั้น ไปไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล ตามวัดต่างๆในจังหวัด

ได้ไปคุยๆกับชาวบ้าน จึงได้ทราบถึงความไม่เหมาะสม  กรณีที่เบียร์ยี่ห้อหนึ่งไปใช้พื้นที่ตั้งลานเบียร์อยู่กลางงานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา บริเวณหน้าวัดพระราม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยแรกเริ่มกรุงศรีอยุธยา

ทั้งนี้ พื้นที่ลานเบียร์ดังกล่าว เป็นกิจกรรมในงานประจำปี ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก และงานกาชาด ประจำปี 2550 ระหว่างวันที่ 7-16 ธันวาคม 2550  ของ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยกำหนดขายเบียร์ของมึนเมาแบบเบียร์การ์เด้นทั่วไป   ไม่ทราบว่า ทางการอนุญาตได้อย่างไร

มีชาวบ้านออกมาเรียกร้อง ก็เนื่องมาจากเห็นว่า เป็นการเอาพื้นที่โบราณสถานไปหากินแสวงผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงคำว่า อยุธยามรดกโลก

จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ถ้าอยุธยา อาจจะหลุดจากการเป็นมรดกโลก

แต่เราอาจ คิดวิตกกันไปเองก็ได้ค่ะ ทางการคงไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้แน่นอน เพราะ มันจะเสียหน้ามาก

ที่จังหวัดอยุธยานี้ไปบ่อยมาก ไปกราบท่านเจ้าอาวาสที่วัดสุวรรณดารารามก็บ่อยๆ นานมาแล้ว และยังมีกิจกรรม อยู่ที่จังหวัดนี้ อีกหลายอย่าง

เหตุผลที่ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อ 13 ธ.ค.2534  เพราะ....

เป็นภูมิปัญญาของการเป็นชุมชนเมืองน้ำ ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 

ผลการศึกษาของอ.ทิวา ศุภจรรยาและคณะ กล่าวไว้ว่าเมื่อ 1500ปีก่อนที่คูเมือง อ.อินทร์บุรี สิงห์บุรี  ในยุค ทวาราวดี มีการขุดคูคลองรอบๆเมือง เป็นตารางเล็กๆ เพื่อให้มีเนินดินเป็นที่อยู่อาศัย และใช้คูคลองเป็นเส้นทางคมนาคม

ดังนั้นคูเมืองที่อินทร์บุรี จึงเป็นเมืองน้ำเก่าแก่ยุคทวาราวดีเป็น 1000 ปี  ก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียอีก

ตัวกรุงศรีอยุธยา ก็ตั้งอยู่บนเกาะ มีคลองขุดต่อจากแม่น้ำ ตัดกันไปมาหลายสาย ไปไหนไกลๆ ต้องใช้เรือ

จากแม่น้ำใหญ่ สามารถใช้เรือไปจอดเทียบท่าพระราชวังได้

ภูมิปัญญาสำคัญ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการยกย่องมากคือ....

1.มีการขุดคูคลองมากมาย ไว้เป็นเส้นทางสัญจรไปมา

2.สร้างบ้านเรือนเสาสูง น้ำท่วมไม่ถึง มีเรือนแพด้วย

3.สร้างสาธารณูปโภคมารองรับได้เป็นอย่างดี เช่น สะพานแบบต่างๆมากมาย  อู่เรือ ทำนบ ท่าเรือ เป็นต้น

4.ฉลาดในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอันเป็นอุปสรรคให้กลับมาเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต สร้างเป็นชุมชนเมืองน้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะหลัก เป็นเอกลักษณ์ที่หาพบได้ยาก สำหรับชุมชนเมืองในโลก

อ้างถึง งานศึกษา ของอาจารย์ทิวา ศุภจรรยาและคณะ

ดังนั้น ถ้าจะมีความเสี่ยง ที่อาจจะหลุดจากการเป็นมรดกโลก ก็น่าเสียดายมากค่ะ


 

เพิ่มเติมอีกนิดค่ะ

สติปัญญาในการสร้างชุมชนเมืองน้ำนี้ มีมาเก่าแก่ 1500ปีก่อน

 และพระนครศรีอยุธยา ได้สืบทอดภูมิปัญญานี้มา และส่งต่อมาให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมาค่ะ

แต่ประสบการณ์นี้ ถูกมองข้ามไปค่ะ

เพราะเรามุ่งแต่เอาชนะธรรมชาติ ไม่ได้ทำตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ตอนนี้ ทราบว่า จะเร่งให้มีการอนุรักษ์เป็นการใหญ่....

1.การขุดลอกคูคลอง

2.ไม่ให้มีการบุกรุก ถมคูคลอง

3.บูรณะและอนุรักษ์สถานที่ๆเกี่ยวข้องกับเมืองน้ำ

 ที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์เช่น สะพาน อู่เรือ เป็นต้นค่ะ

ประเด็นว่า.....จะเป็นมรดกโลกหรือไม่ กลับไม่สำคัญเท่ากับว่า อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยามีความสำคัญต่อคนไทยหรือไม่

ต้องตอบว่า อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยามีความสำคัญต่อคนไทยมาก

แค่หลักฐานที่เห็น ก็พิสูจน์แล้วว่า อยุธยา เป็นเมืองน้ำอย่างแท้จริง

แต่หลักฐานดังกล่าว กำลังจะเสื่อมค่าและสูญหายอย่างรวดเร็ว ด้วยการบุกรุก และการพัฒนาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ในที่สุด ภูมิปัญญาคนเมืองน้ำชาวพระนครศรีอยุธยา ที่ได้สร้างสรรค์ติดต่อมาหลายศตวรรษ ก็จะสูญหาย

คนรุ่นหลัง จะไม่มีโอกาสสืบทอดและเรียนรู้ได้อีกต่อไปค่ะ

ดูแผนที่นี้แล้ว เข้าใจมากขึ้นครับ ว่าทำไมจึงยุ่งยาก 

คลิกบนรูปเพื่อชมรายละเอียด

สไลด์ประกอบการบรรยาย Urban and Regional Planning (มทส.) เพื่อความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวางผังเมือง

พี่ศศินันท์ชี้ประเด็นสำคัญเรื่องวัฒนธรรมของเมืองน้ำ ระหว่างที่เม้าท์กันนอกบล๊อก ก็ยังชี้ประเด็นมาอีกว่า คนไม่รู้ว่าทำไมอยุธยาจึงได้เป็นมรดกโลก ผมก็เลยไปค้นต่อครับ

นอกจากอยุธยาแล้ว ที่จ่อรอขึ้นแท่นคือหลวงพระบาง ข่าวมันออกมาแล้ว หากยังไม่มีการปรับปรุงก็น่าเสียดาย คือเขาไม่ได้อยากจะถอดแต่เป็นการเตือนเพื่อให้เกิดการปรับปรุงค่ะ หวังว่าจะมองในแง่นั้นกันบ้าง เรื่องภายในมันเยอะ ขี้เกียจจะเล่า เราก็ได้แต่หวังว่าจะเห็นความร่วมมือจากชุมชนที่อยู่ในบริเวณนั้น คนที่เข้าไปทำมาหากินกับนักท่องเที่ยว และคนที่เข้าไปเที่ยวจะมีจิตสำนึกเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
จริงเรื่องอยุธยามันเกิดมานาน เริ่มมาจากการต่อรองตั้งแต่ก่อนปี 2500 ที่จะประกาศเป็นมรดกโลก เดิมมันมีชาวบ้านเข้าไปอยู่อาศัยจับจองทำมาหากิน พอจะประกาศเป็นมรดกโลกก็เลยย้ายคนกลุ่มนี้ออกมา และให้สิทธิทำมาค้าขายอาหาร ของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวบริเวณด้านหน้า ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี และบทบังความงามทางภูมิทัศน์

เมื่อแรกๆ ก็ไม่เท่าไหร่ ต่อมาคนก่อเซ้งสิทธิขายช่วงให้คนอื่น เพิ่มการขยายแนวการค้าออกมา มีคนมาจับจองต่อแผงเพิ่ม ไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด และถึงต่อให้มีการจัดให้เป็นระเบียบมันก็ไม่ได้ทำให้เกิดความสวยงามขึ้นมาแต่อย่างใด เรียกว่าเป็นปัญหาของชุมชนกับโบราณสถานที่แก้ยาก พอจะมีคนแก้ ชาวบ้านร้านค้าก็ฮือกันใช้กฏหมู่เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียอะไรทั้งนั้น อาจจะต้องรอโดนถอดก่อนแล้วถึงจะสำนึกกันได้ค่ะ

สวัสดีครับพี่

        อ่านเรื่องนี้หัวข้อแล้ว ทำให้น่าเอามาขบคิดต่อครับ

การจะได้เป็นมรดกโลกหรือไม่ ไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญเท่่ากับว่า คนไทยให้ความสำคัญกับมรดกชิ้นนี้หรอกครับ ว่าบรรพบุรุษสร้างมาให้แบบนี้ เราจะทำลายหรือว่าให้หายไปในยุคเรา ส่วนจะเป็นมรดกโลก การเอาเข้าไปในรายการหรือถอดออกเมื่อไรก็ได้ เพราะขึ้นกับความเห็นของกรรมการพิจารณา ซึ่งคนที่ให้คุณค่าเหล่าันั้นไม่ใช่คนไทยทั้งหมด การเห็นคุณค่าเลยต่างกันไป

        บางทีการได้รับเป็นมรดกโลกอาจจะนำมาสู่การทำลายมากขึ้นก็ได้ครับ หรืออาจจะนำมาสู่การบูรณะมากขึ้นก็ได้ครับ  เรามักจะเห็นค่าตอนที่เราสูญเสียหรือตกไปอยู่ในมือคนอื่น

        ความสำคัญหลัก อยู่ที่คนไทยไม่ใช่หรือ เพราะเราต้องอยู่กับสิ่งนี้ ส่วนนักท่องเที่ยวเค้ามาเสพแล้วก็จาก ส่วนจะเอาไปขยายความดี ความประทับใจหรือไม่ แค่ไหนนั้น อยู่ที่เราว่าจะต้อนรับเค้าอย่างไร แต่แน่ๆ ว่าเรายินดีให้เค้ามาเืมืองเราเพื่ออะไร เพื่อให้เค้าชื่นชมผลงานของบรรพบุรุษหรือเพื่อเป็นรายได้ให้เรา ในการมาเยี่ยม อยู่ที่เรา่ว่าต้องการส่วนไหน แล้วหากตอบได้ความยั่งยืนจะเกิดหรือไม่ ก็อยู่ที่คำตอบเหล่านี้ด้วย

        หลายๆ ครั้งที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวบ้านเราแล้วเข้าหูผมหลายครั้ง เมื่อเค้าบอกว่า คนไทยไม่ัรักษาสิ่งแวดล้อมกันเลย น่าเสียดายมากที่บ้านเค้าไม่มีโอกาสมีสิ่งดีๆ แบบนี้ หากวันหนึ่งขาดหายไปคนไทยจะเสียดาย คุณโชคดีนะที่เกิดที่ประเทศนี้ อุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง เพราะนักท่องเที่ยวอย่างเรามาแล้วก็กลับไป

ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่นำมาให้ต่อยอดประเด็นนี้ครับ ว่าไปแล้วก็ไม่ใช่แค่ อยุธยา..รวมไปถึงหาดทรายสิ่งแวดล้อม เกาะต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมายครับ

    เราให้เค้ามาเพื่ออะไร....เพื่อเราได้เงินนักท่องเที่ยวหรือเพื่อให้เค้ามาเห็นสิ่งสวยๆงามๆที่เรามีแล้วกลับไปชื่นชม....

กราบขอบพระคุณมากครับ

 

ประเด็นที่เม้งว่ามาเราเห็นด้วยนะ ก็เคยคุยว่าจะสนอะไรกับสิ่งที่เขาตั้งมาให้ ไอ้ที่เราแคร์คือเรื่องจิตสำนึกต่อโบราณสถานต่างหาก เคยมีเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อโบราณสถานในแต่ละมุมมองของคน ขอเล่าให้ฟังแล้วกัน เรื่องมันเกิดเมื่อครั้งในหลวงเสด็จไปวางศิลาฤกษ์ที่อยุธยาเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ผู้ว่าราชการจังหวัดในยุคนั้นตั้งเต้นท์บนซากโบราณสถาน ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขออัญเชิญพระราชดำรัสมาให้ทุกท่านได้อ่านกันค่ะ

"…..อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่า  ควรช่วยกันรักษาไว้  ถ้าเราขาดสุโขทัย  อยุธยา  และกรุงเทพฯ  แล้ว  ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย  ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า  ควรจะรักษาของเก่าไว้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของพลเมือง  และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  จึงควรรักษาไว้….."
(พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทฯ. 2513 : 44)

P


ได้อ่านที่คุณ ภูธร ภูมะธน แปลสรุป

เหตุผลสำคัญข้อแรก ที่พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศให้เป็นสมบัติวัฒนธรรม ที่มีคุณค่าโดดเด่น โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ หรือ UESCO  จึงนำมาฝาก คือ

" อยุธยา มีความเป็นเยี่ยม ในการเลือกสรรทำเลที่ตั้งเมือง ในตำแหน่งที่ชุมนุม ของแม่น้ำ

 มีการออกแบบผังเมือง อย่างซับซ้อน เหมาะสมกับชุมชน ที่อาศัยการสัญจรทางน้ำเป็นหลัก อันเป็นธรรมชาติ ของการตั้งถิ่นฐานแบบไทยๆ

ลักษณะดังกล่าว เอื้ออำนวย ต่อการรักษาพระนคร การป้องกันรุกรานของข้าศึกศัตรู และการจัดระบบสาธารณูปการได้อย่างเหมาะสม กับสังคมเมือง จนสามารถพัฒนาการสู่ความรุ่งเรือง ในยามสงบสุข"

จึงขอนำมาประกอบไว้ค่ะ

หลวงพระบางครับ

  • Town of Luang Prabang
  • เกณฑ์ (ii) (iv) (v)
    • (ii) to exhibit an important interchange of human values, over a span of time or within a cultural area of the world, on developments in architecture or technology, monumental arts, town-planning or landscape design;
    • (iv) to be an outstanding example of a type of building, architectural or technological ensemble or landscape which illustrates (a) significant stage(s) in human history;
    • (v) to be an outstanding example of a traditional human settlement, land-use, or sea-use which is representative of a culture (or cultures), or human interaction with the environment especially when it has become vulnerable under the impact of irreversible change;
  • ดูตามเอกสาร UNESCO-ICOMOS เตือนรัฐบาลลาว และมี corrective action request เยอะครับ
เปรียบเทียบรูป อยุธยา กับ หลวงพระบาง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท