14 วิธีลดความขัดแย้ง ( Contrast )


ความขัดแย้ง  หมายถึง ความไม่ลงรอย  เข้ากันไม่ได้  การไม่ประสานสัมพันธ์กันของ องค์ประกอบศิลป์ทำให้ขาดความกลมกลืนในเรื่องรูปทรง ขนาด ลักษณะผิว ลักษณะเส้น รูปร่างและสิ่งที่แตกต่างกัน   ดังนั้นนักออกแบบที่ดี  จะต้องลดความขัดแย้งดังกล่าว ให้เป็น ความกลมกลืน  จึงทำให้งานออกแบบมีคุณค่าทางความงาม

     วิธีลดความขัดแย้ง  คือการลดหรือเพิ่มองค์ประกอบศิลป์ที่มีความขัดแย้งกันในส่วนใด ส่วนหนึ่งให้เหลือในปริมาณร้อยละ 20  ส่วนขนาดที่แตกต่างกันก็ควรเพิ่ม หรือลดขนาดให้ใกล้เคียงกันเพื่อให้องค์ประกอบมีความกลมกลืน หรือมีความขัดแย้งกันบ้าง  เพื่อทำให้งานออกแบบดูน่าสนใจยิ่งขึ้น 

ลักษณะของความขัดแย้ง 

1. ความขัดแย้งด้วยรูปทรง  หมายถึง  รูปทรงที่มีลักษณะต่างกันถูกนำมา จัดองค์ประกอบ เดียวกัน  เช่น  รูปทรงสี่เหลี่ยมกับรูปทรงกลม อยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน   ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน  วิธีลดความขัดแย้ง ควรเปลี่ยนรูปทรงกลมให้เป็นลักษณะเหลี่ยมใกล้เคียงกันก็จะให้ภาพเกิดความกลมกลืน 

2.  ความขัดแย้งด้วยขนาด  หมายถึงขนาดของรูปในองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กและใหญ่กว่ากันมากอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน  ทำให้เกิดความขัดแย้งกันด้วยขนาดวิธีแก้ความขัดแย้ง ก็คือลดหรือเพิ่มขนาดของรูปให้ใกล้เคียงกัน  ก็จะเกิดความกลมกลืน

3.      ความขัดแย้งด้วยลักษณะผิว  ลักษณะผิวหยาบและขัดแย้งกับลักษณะผิวละเอียด ต้องแก้ไขโดยให้ลดปริมาณของลักษณะผิวหยาบให้น้อยลงและเพิ่มปริมาณลักษณะผิวละเอียด ให้ใกล้เคียงกัน  หรือเกลี่ยลักษณะผิวให้ผสมผสานกัน 
 

4. ความขัดแย้งด้วยสี   การใช้สีตรงข้ามกัน เช่น สีแดงกับสีเขียวเป็นสีขัดแย้งกันได้แก้ไขโดยลดปริมาณของสีใดสีหนึ่งลงประมาณร้อยละ  20  ก็จะเกิดความกลมกลืนได้ 

5.  ความขัดแย้งด้วยความเข้มของสี   สีที่มีน้ำหนักของความเข้มต่างกันจะขัดแย้งกันแก้ไขโดยเพิ่มปริมาณความเข้มของสีอ่อนขึ้นให้ใกล้เคียงกับสีเข้ม   หรือลดปริมาณของเนื้อสีเข้มให้น้อยลง 

6. ความขัดแย้งด้วยเส้นเส้นที่มีลักษณะต่างกันจะขัดแย้งกัน  เช่น  เส้นโค้งขัดแย้งกับเส้นตรง   เส้นหยัก (ซิกแซ็กขัดแย้งกับเส้นแนวนอน  วิธีลดความขัดแย้งคือลดปริมาณ  ของเส้นใดเส้นหนึ่งให้น้อยลง  และอาจจะใช้ส่วนประกอบอื่นเข้าเสริมเพื่อลดความขัดแย้ง              

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 157939เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท