15 การเขียนแบบรูปด้าน


การเขียนแบบ หมายถึงกระบวนการทางความคิดที่ออกมาในรูปแบบของการแสดงรายละเอียดในการออกแบบจะถ่ายทอดออกมาให้เห็นรูปร่างแบบ 2 มิติและ 3 มิติ  แสดงให้เห็นรูปด้าน ต่างๆ  ขนาด ความกว้าง ยาว สูง  ต่ำ สี   และวัตถุที่ใช้   การเขียนแบบส่วนมากจะย่อขนาดลงตาม มาตราส่วนสามารถนำแบบที่เรียนไปผลิตหรือสร้างงานตามแบบได้  ในการเขียนแบบนั้นจะต้อง ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

 1. การร่างแบบ ( Sketching ) หมายถึงการใช้ความคิดเพื่อหารูปแบบของงานเป็น การวางเค้าโครงหรือรูปร่างของงานอย่างคร่าว ๆ  มีการร่างแบบหลาย ๆ ครั้งจนเป็นที่พอใจแล้วจึงดำเนินงานเขียนแบบในขั้นต่อไป   งานศิลปะทุกชนิดจำเป็นต้องมีการร่างแบบก่อน  เพื่อหาแนวความคิด   เทคนิค  วัสดุ  และส่วนประกอบอื่น ๆ
                              

2. การถ่ายแบบ ( Orthographic) การแสดงภาพแบบมิติเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอ  จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจแบบได้ทั้งหมด   เพราะยังมีส่วนประกอบอีกหลายด้านรวมทั้ง ส่วนที่อยู่ภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภาพแสดง  3  มิติ   ดังนั้นการเขียนเพื่อแสดงรายละเอียด จึงจำเป็นต้องเขียนแยกเป็นด้าน ๆ   โดยให้ทุกด้านมีความสัมพันธ์ กันพร้อมทั้งการใช้รายละเอียดประกอบภาพซึ่งเราเรียกว่าการถ่ายแบบ ( Orthographic )  การเขียนแบบรูปด้านเราใช้การมองวัตถุจากมุมต่าง ๆ เข้าช่วยเพื่อให้แบบมีรายละเอียด ครบทุกส่วนทุกด้านโดยแยกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

 

ส่วนที่ภาพด้านบน  ( Top - view )  หมายถึงการมองวัตถุจากด้านบนจะมองเห็น เพียงความกว้างและความยาวในแนวราบเท่านั้น  เราจะไม่เห็นความสูงของวัตถุ  เช่นการเขียนแบบ  ผนังหรือแปล

 

ส่วนที่  2   ภาพด้านหน้า ( Front  View )  หมายถึงการมองวัตถุทางด้านหน้าตั้งแต่ระดับ พื้นขึ้นไป   ทำให้มองเห็นความยาวและความสูง

 

ส่วนที่  3    ภาพด้านข้าง ( Side  View )  หมายถึงการมองวัตถุทางด้านข้างจากระดับ พื้นทำให้มองเห็นความกว้างและความสูง

 

ส่วนที่  4   ภาพด้านอื่น ๆ  อาจแสดงเพิ่มเมื่อเขียนวัตถุที่มีความซับซ้อนมาก ด้านข้างซ้าย    ด้านข้างขวา   ด้านหลัง  ด้านล่าง  หรือรูปตัด  ฯลฯ

      

3.  การฉายแบบ ( Projection )  หมายถึงการเขียนแบบโดย  ผู้เขียนจะต้องนำภาพ    ด้านต่าง ๆ    มาวางเรียงกันตามระบบของการเขียนแบบ   การเขียนแบบมาตรฐานมี  2 ระบบ คือ

 

3.1  การเขียนแบบภาพฉายระบบยุโรป  กำหนดให้วางภาพด้านหน้าไว้ข้างบน วางภาพด้านบนหรือด้านผนังไว้ข้างล่างตรงกันข้ามกับภาพด้านหน้าและวางภาพด้านข้าง  ในระดับเดียวกับภาพ

 3.2  การเขียนภาพฉายระบบอเมริกาวางภาพด้านบนไว้บน  วางภาพด้านหน้าไว้ข้าง ต่างกัน    ตรงด้านบน  ส่วนภาพด้านล่างซ้าย  หรือภาพด่านล่างขวาอยู่ในระดับแนวเดียวกับภาพด้านหน้า   โดยตั้งแกนสมมุติติดกันเป็นมุมฉาก  เพื่อช่วยให้เขียนแบบง่ายขึ้น                                                   
                                          
คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 157942เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 04:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมอยากให้สอนผมเขียนแบบหน่อยครับ

ต้อนนี้ผมเรียนที่ ราชมงคลขอนแก่นครับ

เรียนช่าง โยธา

อาจารย์ไม่ค่อยสอน

ผมอยากเขียนเป็นมากเลยครับ

ถ้ามีแบบฟร์อมการเขียนแบบก็ส่งมาให้หน่อยนะครับ

พร้อมบอกวิธีเขียนด้วยนะครับ

จะเป็นพระคุณอย่างมากครับ

ช่วยสอนการเขียนแบบหน่อยนะคับ เวลาอาจารที่มหาลัยสอนไม่ค่อยเข้าใจเลย เวลาสั่งให้เขียนมาส่งเลยได้แต่ลอกเพื่อน อยากทำเป็นเขียนเป็นจริงๆสักทีตอนนี้เรียนปี 2 แล้ว แต่ยังไม่มีความรู้เรื่องเขียนแบบเลย

แอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท