ความปวดของเด็กมะเร็ง


Nursing role for pain management in children with cancer, K. BOONYAWATANANGKOOL 2008

                     ความปวดเป็นความรู้สึกที่ไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมาน บั่น

ทอนคุณภาพชีวิต ดังนั้นความปวดหมายถึง ประสบการณ์ของความ

ไม่สบายทางด้านความรู้สึกและอารมณ์ ซึ่งเกิดร่วมกับการทำลายเนื้อ

เยื่อของร่างกาย องค์ประกอบความปวดครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย  จิต

ใจ พฤติกรรม และสังคม ความรู้สึกปวดเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย วัย

เด็กมีความเข้าใจความปวดแตกต่างกันตามระดับพัฒนาการ ปัจจัย

ทางสังคม วัฒนธรรม เพศ และประสบการณ์เผชิญความปวดที่ผ่านมา

 ฉะนั้นความหมายของความปวดในเด็กจึงมีความเฉพาะหมายถึงการ

รับรู้ทางประสาทสัมผัสที่บอกความรู้สึกไม่พึงพอใจ เป็นความรู้สึกซับ

ซ้อนของอารมณ์  เสมือนการถูกลงโทษ และเจ้าตัวเท่านั้นที่รับรู้ถึง

ความรู้สึกนั้น โดยแสดงออกในลักษณะความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

 และมีปฏิกิริยาโดยการร้องไห้เมื่อเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งเป็น

การเจ็บป่วยที่เข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ใช้เวลารักษานานเป็นปี

หรือหลายปีหากโรคกลับมา (relapsed) ผลการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้

กระทบต่อเด็กโรคมะเร็งด้านพัฒนาการ (development) ด้านความ

สามารถในการเรียนรู้ (learning ability) รวมทั้งภาพลักษณ์อื่นๆ ตามมา

 (body image) และสิ่งที่เด็กต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือความ

เจ็บปวดตลอดระยะเวลาการรักษาต่อเนื่อง โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิด

ความปวดในเด็กโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในคลินิก  เช่น การเจาะเลือด

 การแทงน้ำเกลือ การดูดเสมหะ การเจาะหลัง การเจาะไขกระดูก ซึ่ง

เป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดความปวดแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้ผู้ป่วย

เด็กโรคมะเร็งบางรายอาจต้องเผชิญกับความปวดเรื้อรัง เช่น ปวดจาก

มะเร็งขั้นลุกลามหรือระยะที่มะเร็งแพร่กระจาย เกิดการกระตุ้น

ประสาทรับความรู้สึกทำให้ผู้ป่วยเด็กรู้สึกปวดตลอดเวลาเป็นๆหายๆ

 โดยเฉพาะในรายที่มะเร็งกระจายไปที่กระดูก ความปวดเป็นสิ่งที่รอ

ไม่ได้  ทำให้เด็กได้รับความทรมาน  ดังนั้นควรได้รับการจัดการดูแล

ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ สอดคล้องกับ

ความต้องการของเด็กและครอบครัว 

ความสำคัญและปัจจัยที่มีผลต่อความปวดในเด็กโรคมะเร็ง                    ความปวดเป็นตัวบ่งชี้อันตราย  เกิดได้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ

เมื่อเกิดในเด็กโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังและใช้เวลารักษานาน เด็ก

มีโอกาสเผชิญกับความปวดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งความปวดเฉียบ

พลัน หรือบางรายต้องเผชิญกับความปวดเรื้อรังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประสบการณ์เผชิญความเจ็บปวดทั้งด้านร่างกายและจิตใจในเด็กโรค

มะเร็ง อาจเนื่องมาจากตัวโรคเอง การรักษาต่างๆ หรือการทำหัตถการ

ทางการแพทย์  เช่น เด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันหลังจากได้

รับการวินิจฉัยในขวบปีแรก ต้องเผชิญการเจาะเลือด เจาะหลัง เจาะไข

กระดูกผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดต่อเนื่องตามตารางการรักษา

ทั้งนี้การควบคุมความปวดระหว่างทำหัตถการในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง

มีผลต่อคะแนนความปวดในหัตถการครั้งต่อไป ดังนั้นหากไม่ได้รับ

การดูแลอย่างเหมาะสมและควบคุมความปวดไม่เพียงพออาจส่งผลให้

เกิดปัญหาด้านจิตใจ และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ตามมา   

          ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้หรือตอบสนองต่อความปวดใน

เด็กโรคมะเร็ง ได้แก่ 1)ปัจจัยด้านการเรียนรู้และการรับรู้ความปวด

ของเด็กแต่ละคน หมายถึง ความเข้าใจ ความคาดหวัง วิธีการเผชิญ

ปัญหา หรือกลวิธีควบคุมความปวดของเด็กแต่ละคน 2) ปัจจัยการ

แสดงออกด้านพฤติกรรมเมื่อเผชิญความปวดซึ่งแตกต่างกันตามอายุ

เพศ ระดับการเรียนรู้ ประสบการณ์ความปวด ความไวต่อความปวด

วัฒนธรรม การเลี้ยงดู หรือความเชื่อของแต่ละครอบครัว   และ 3)

ปัจจัยด้านอารมณ์ประกอบด้วย ความวิตกกังวล ความกลัว ความ

โกรธ ความคับข้องใจ อาการซึมเศร้า                    

 การช่วยบรรเทาความปวดในเด็กโรคมะเร็ง                    การบรรเทา

ปวดในเด็ก ณ ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าพัฒนาไปได้ช้ากว่าในผู้ใหญ่ ทั้งนี้

อาจเนื่องมาจากเหตุผล เช่น ความเชื่อของบุคลากรที่ว่าเด็กไม่สามารถ

รับรู้ความปวดได้เท่ากับในผู้ใหญ่ มีความยุ่งยากในการประเมินความ

ปวดในเด็กแต่ละวัย ขาดความเข้าใจเรื่องยาระงับปวดในเด็ก และผล

แทรกซ้อนของยาระงับปวด  ขาดทักษะการนำกิจกรรมการบรรเทา

ปวดโดยไม่ใช้ยามาใช้ในคลินิกให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ภาระ

งานที่มาก เป็นต้น             ปัจจุบันการบรรเทาปวดมี 2  วิธี  คือการ

รักษาทางยา (pharmacological method)  สามารถระงับปวดได้โดยตรง

 เช่น  paracetamol, TWC  เป็นยาแก้ปวด (weak analgesia) ที่ให้กรณี

ปวดไม่รุนแรง หรือถ้ากรณีปวดรุนแรง จะให้ยาแก้ปวดชนิด strong

analgesia เช่น mo, pethidine, fentanyl  ส่วนการรักษาทางเลือกด้วยวิธี

ไม่ใช้ยา (non- pharmacological method) ซึ่งเป็นบทบาทโดยตรงของ

พยาบาล เป็นวิธีช่วยบรรเทาหรือลดความรุนแรงของความปวด แต่

โดยตัวมันเองจะไม่สามารถใช้เป็นการระงับปวดได้โดยตรง เช่น การ

ใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ( muscle relaxation techniques) การ

สะกดจิต (self- hypnosis) การจินตนาการ (guided imagery) การสัมผัส

 (healing touch) การนวด (massage therapy) น้ำมันหอมบำบัด (aroma

 therapy) ดนตรีบำบัด (music therapy)  ศิลปบำบัด (art therapy) อย่าง

ไรก็ตามควรใช้ร่วมกันกับการใช้ยา (pharmacological  method) ซึ่ง

กิจกรรมเสริมหลากหลายเหล่านี้ เป็นการบำบัดทางการพยาบาล ที่

พยาบาลควรมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะ สามารถเลือกใช้ให้

เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน และพัฒนาให้มีการนำมาใช้ในคลินิกอย่าง

ต่อเนื่อง เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดี ไม่มีผลข้างเคียง  สามารถนำ

มาใช้ระงับปวดที่ไม่รุนแรง หรือนำมาใช้ร่วมกับการให้ยาระงับปวด

รวมถึงการนำมาใช้ในการระงับปวดจากการทำหัตถการต่างๆ ซึ่งจะ

ช่วยลดความวิตกกังวล ประสบการณ์ที่ไม่ดีของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง

กับการเผชิญความปวดได้                                               

              จากประสบการณ์การปฏิบัติงานในคลินิก พบว่าเมื่อผู้ป่วย

เด็กโรคมะเร็งได้รับการเจาะหลังหรือเจาะไขกระดูกครั้งแรก  หากได้

รับการเตรียมจิตใจหรือวิธีฝึกปฏิบัติเพื่อบรรเทาปวดก่อนได้รับ

หัตถการจะทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจต่อความปวด สามารถ

ควบคุมสถานการณ์เผชิญความปวดด้วยตัวเอง เช่น การฝึกการหายใจ

 การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การเบี่ยงเบนความสนใจตามความชอบของ

เด็ก (การเล่าเรื่องและให้ดูภาพประกอบ การให้บีบลูกบอล การเป่า

กังหัน ฯลฯ) นอกจากนี้ผู้เขียนมีประสบการณ์นำการสะกดจิตกับมา

ใช้ในเด็กโรคมะเร็ง เมื่อเด็กจิตเป็นสมาธิมากๆ (trance

state/deepening) สามารถชักนำ (suggestibility)ให้เด็กเคลื่อนย้ายจุด

สนใจจากความปวดไปสู่สถานที่หรือกิจกรรมที่ชอบ ทำให้ลดความ

กลัว ความกังวล รวมทั้งความปวดในเด็กได้ และทำให้เด็กสามารถ

ควบคุมตัวเองได้ดีระหว่างได้รับหัตถการครั้งต่อมา กล่าวคือผู้ป่วย

เด็กมีความรู้สึกมั่นใจ กล้าเผชิญสถานการณ์ด้วยตัวเอง และให้ความ

ร่วมมือในหัตถการนั้นๆ มากยิ่งขึ้น                   

                การจัดการความปวดในเด็กโรคมะเร็งเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน

สามารถประเมินได้จากพฤติกรรม การรายงานความปวดของเด็ก หรือ

อาศัยการประเมินหลายวิธีร่วมกัน  การที่จะประเมินความปวดได้

อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งทักษะ

 ประสบการณ์  สามารถเลือกวิธีการและเครื่องมือที่มีให้เหมาะสมกับผู้

ป่วยเด็กแต่ละราย ทั้งวิธีใช้ยาและไม่ใช้ยา เพื่อบรรเทาความรุนแรง

ของความปวดและช่วยให้ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งรับรู้และเผชิญความ

ปวดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการจัดการเรื่องความปวดในเด็กเป็นสิ่ง

ท้าทายที่บุคลากรทีมสุขภาพจะต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้เป็นสิทธิของผู้

ป่วยเด็กที่ควรได้รับการดูแลทันทีเมื่อมีความปวด ทีมการดูแล

สามารถช่วยผู้ป่วยเด็กได้ทั้งการให้ยาตามแผนการรักษา และใช้

กิจกรรมบำบัดเพื่อบรรเทาปวด โดยมีการประเมิน การวินิจฉัย การ

วางแผนให้การดูแลรักษา และการประเมินผลการดูแลรักษา เพื่อให้

การจัดการความปวดในเด็กแต่ละรายมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การจัดการ

ความปวดในเด็กโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพควรเป็นแบบทีมสหสาขา

วิชาชีพ 

หมายเหตุ: ตัดตอนมาจากบทความที่เขียนตีพิมพ์ ในวารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อยู่ระหว่าง รอการตีพิมพ์ ปี 2551)

 

 
หมายเลขบันทึก: 158006เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท