กิจกรรม "กระจก" : ฝึก Storytelling แบบง่ายๆ


การฟัง เป็นทักษะสำคัญจริงๆ

     กิจกรรม "กระจก"

จุดประสงค์ :  ฝึกทักษะ Storytelling อย่างง่าย แต่ได้ผล  (การฟัง, การเล่า)

    วิธีเล่น 

      1.  ให้จับคู่กันเป็น A กับ B

      2.  ให้ A ใช้เวลา 10 นาที เล่าเรื่องราววัยเด็ก ของตัวเองให้ B ฟัง  (เอาตั้งแต่จำความได้ จนถึงวัยรุ่นเลยก็ได้ค่ะ  เล่าไปเรื่อยๆ จนครบ 10 นาที   fa. จะบอกหมดเวลาเอง)

       3. (fa. บอก) ให้ B  เล่าสะท้อนเรื่องราวที่ได้ฟังทั้งหมดโดยไม่ตีความกลับมาให้ A ฟัง  โดยให้เวลา 3 นาที

       4. สลับบ้าง  ให้ B ใช้เวลา 10 นาทีเล่าเรื่องวัยเด็ก ของตัวเองให้ A ฟัง  แล้วให้ A สะท้อนเรื่องราวกลับ 3  นาทีเหมือนกัน

        5. เมื่อจบแล้ว 26 นาที   อาจให้ทั้งคู่กอดกัน หรือ มอบรูปภาพ, บทกลอน หรืออะไรก็ได้ให้แก่กัน โดยอาจให้เวลาไปคิดสร้างสรรค์สัก 2-3 นาที

     ผลตอบรับ (ยกตัวอย่างของที่พึ่งให้ "กรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ"  เล่นนะคะ)

       1. ต้องตั้งใจฟังเพื่อนดีๆ  เพราะไม่งั้นจะเล่าสะท้อนกลับได้น้อย บางคนเล่ากลับได้แค่ 2 นาทีก็หมดแล้วค่ะ  (ฝึก Deep listening)

       2. คนที่เป็นฝ่ายเล่าเรื่องตัวเองก็ได้เล่าเป็นลำดับๆ โดยไม่ต้องวิเคราะห์ชีวิตตัวเองค่ะ (เป็น Storytelling)

       3. ทำให้ได้เรียนรู้ชีวิตของเพื่อน (เป็นสภาวะการเปิดใจให้กันค่ะ)

       4. ผลตอบรับเพิ่มจากกลุ่มนี้ คือ ผู้เล่าก็รู้สึกดีใจ เพราะเพื่อนตั้งใจฟังมาก (ผิดกับชีวิตประจำวัน)  ก็เลยยิ่งรู้สึกอยากเล่าเข้าไปอีก  (เพื่อนส่งสายตา + ท่าทาง เร้าพลัง มากค่ะ)

        5. ผู้ร่วมกิจกรรมบางท่าน รู้สึกว่า กิจกรรมเล่าชีวิตวัยเด็กนี้สร้างบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเองให้กับพวกเขามากขึ้นค่ะ ในการทำกิจกรรมต่อๆ ไป

          *** ใครสนใจก็ทดลองเอาไปใช้ได้นะคะ  ได้มาจากตอนไปทำ "นพลักษณ์" เหมือนกันค่ะ

อ้อ_สคส. 

 

คำสำคัญ (Tags): #km#workshop
หมายเลขบันทึก: 158243เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มีประโยชน์มากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • น่าสนใจจริงๆ ค่ะ
  • ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ กับชาวกรมอนามัย หน่อยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท