เด็กชายกับถั่วอบ


ความละโมบ

สอนคุณธรรมอย่างไร

ให้มีความพอเพียง

บทที่ 7

การควบคุมตนเองต่อความละโมบ    

จุดประสงค์ :   เพื่อรู้ รัก และฝึกจนเคยชิน

นิทานคติ  เรื่อง : เด็กชายกับถั่วอบ           

ในครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายวัยกำลังซน เขาชื่อคิด เขาเป็นคนที่ชอบกินถั่วอบมาก และชอบที่จะกำถั่วอบไว้ในมือมากๆ เพื่อที่เขาจะได้กินได้ทั้งวัน            

วันหนึ่งแม่ของคิดเตรียมอาหารเย็นไว้มากเป็นพิเศษ เธอกำลังจะทำขนมเค้กชิ้นใหญ่เป็นของหวาน เธอเตรียมที่จะใส่ถั่วบดเข้าไปเพื่อให้มันหวานมัน จึงเตรียมขวดถั่วเอาไว้บนโต๊ะ แต่ว่าเธอยังขาดน้ำตาลอยู่ ดังนั้นเธอจึงจะออกไปซื้อที่ร้านขายของใกล้บ้าน จึงร้องบอกกับคิดว่า

คิดแม่จะไปซื้อน้ำตาลนะ เดี๋ยวจะกลับมา           

คิดเดินเข้ามาในครัวเพื่อมาหาแม่ และเห็นถั่วที่อยู่ในขวดโหลบนโต๊ะ เขาอยากกินถั่วมาก จึงขอแม่ว่า

"แม่ครับผมกินถั่วได้ไหมครับ

เสียงแม่ตอบกลับมาจากหน้าบ้านว่า

 ได้ลูก แต่อย่ามากนะ

แล้วแม่ก็ออกจากบ้านไปคิดจึงเข้าไปคว้าขวดโหลเพื่อเอาถั่วมากิน เขาค่อยๆ หยิบกินทีละเม็ด ยิ่งกินก็ยิ่งอร่อย ดังนั้นเขาจึงนั่งลงที่เก้าอี้แล้วก็หยิบถั่วกินไปเรื่อยๆ  แล้วเขาก็คิดว่าจะหยิบไปทีละเม็ด เดี๋ยวแม่ก็จะกลับมาซะก่อน ควรหยิบไปเยอะๆ จะดีกว่า เขาจึงล้วงมือเข้าไปในขวดโหลและกำถั่วไว้ในมือ พอเขาจะเอามือออก เขาก็พบว่ามือของเขาติดอยู่ในขวดโหล คิดตกใจมาก พลางร้องไห้เสียงดัง

แม่กลับบ้านมาพอดีจึงรีบวิ่งเข้าไปในครัว แม่เห็นว่ามือของคิดติดอยู่ แต่มือมันกำอยู่ จึงบอกคิดให้แบมือออก จะได้เอามือออกได้แต่ว่าคิดกลัวว่าถ้าแม่รู้ว่าเขาจะเอาถั่วไปมากๆ แม่คงโกรธ และคงลงโทษเขา ดังนั้นคิดจึงไม่ยอมปล่อยมือ มือของเขาจึงยังติดอยู่ในขวดโหลอย่างนั้น นานร่วมชั่วโมง เขาเริ่มเมื่อยมือ สุดท้ายคิดก็ยอมที่จะแบมือ และแน่นอนเขาเอามือออกจากขวดโหลได้ในที่สุด           

 แม่ของคิดโกรธที่คิดไม่เชื่อฟัง ดังนั้นจึงลงโทษเขาไม่ให้กินถั่วเลยทั้งวัน และแน่นอนไม่ให้เขากินขนมเค้กด้วย             

ช่วยกันขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจ           

๑) ให้ช่วยกันหาคติพจน์และสุภาษิตส่งเสริมการควบคุมตนเองต่อความละโมบ           

๒) ให้ช่วยกันหาคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่กล่าวถึงการควบคุมตนเองต่อความละโมบ           

ในทั้งสองกรณีให้มีอาสาสมัครรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อทำเอกสารแจกให้เก็บไว้ โดยลงวันที่ไว้ด้วย 

ฝึกคุณธรรม            

๑) ฝึกรู้รอบ : เรื่องนี้เหมาะสมสำหรับสอนเรื่องการควบคุมตนเองต่อความละโมบหรือไม่ อย่างไร           

๒) ฝึกแข็งขัน : เราจะควบคุมตนเองต่อความละโมบอย่างเหมาะสมได้อย่างไร  และทำได้แค่ไหน           

๓) ฝึกพอเพียง : การควบคุมตนเองต่อความละโมบอย่างไร จึงเรียกว่าทำได้อย่าง พอเพียง                                   

- อย่างไรเรียกว่าขาด                                   

 - อย่างไรเรียกว่าเกิน           

๔) ฝึกความยุติธรรม : การควบคุมตนเองต่อความละโมบที่ดำเนินไปอย่างมีความยุติธรรมเป็นอย่างไร ให้ช่วยกันยกตัวอย่าง 

กิจกรรมสันทนาการ

๑.     ให้อาสาสมัครหาขนมมามากๆ แล้วให้แต่ละคนเลือกขนมไว้ในมือคนละอัน และเลือกขนมวางไว้ข้างหน้าแต่ละคน ตามแต่จะพอใจ จนขนมหมด แล้วทิ้งเวลาไว้ 2 นาที จึงให้หัวหน้าอาสาสมัครถามว่า ใครคิดว่าเพื่อนได้ขนมไม่ยุติธรรม? ให้ยกมือขึ้น จดบันทึกไว้ จากนั้นให้ถามว่า ใครคิดว่าได้ขนมมากกว่าคนอื่นให้ยกมือขึ้น? บันทึกไว้เช่นกัน ทั้งสองกลุ่มคือคนที่แสดงความละโมบและความไม่ละโมบอย่างเด่นชัด ตบมือให้ทั้งสองกลุ่ม 

เอนก สุวรรณบัณฑิต   ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เอกสารคุณธรรมและจริยธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปรับจากหนังสือ Discovering the Real Me, Universal Peace Federation Edition

หมายเลขบันทึก: 158586เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2008 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท