เริ่มต้นทำงานชุมชน ควรจะเริ่มยังไง?


การทำความเข้าใจระบบที่เกี่ยวข้องในชุมชนในทุกมิติ เป็นการเข้าใจโลกและระบบที่ซับซ้อน (Understanding Complexity & Conceptualization) เป็นการทำความเข้าใจความสลับซับซ้อนของเรื่องราวต่างๆ สารพัดบนโลก ทั้งนี้ เพื่อมองเห็นการเชื่อมโยงของสรรพสิ่งว่าเกี่ยวพันกันอย่างไร และเกี่ยวโยงกับตัวเรา ชุมชนเองอย่างไร ซึ่งสำคัญมากในการเชื่อมต่อนักพัฒนากับชุมชนในช่วงเริ่มแรกเดินเข้าเรียนรู้ชุมชน

หลายๆคนบอกผมว่า เริ่มทำงานชุมชน  ควรจะเริ่มยังไง??

ผมมองว่า เราต้องทำใจก่อน  ทำใจในที่นี้หมายถึง รักที่จะเรียนรู้กับชุมชนเพราะสิ่งที่เราเห็นมีมิติที่ซ่อนๆลึกกว่าสิ่งที่เราเห็นมาก หากเราสนุกที่จะได้เรียนรู้ร่วมกับผู้คนหลากหลาย เรายอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  

ชุมชนเป็นขุมความรู้ที่ให้เราได้เรียนรู้อย่างไม่มีจำกัด ตามพลวัตของวิถีของคนท้องถิ่น ที่ความรู้ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆเช่นกัน

หากจะเริ่มทำงานชุมชน สิ่งสำคัญที่สุดที่เราควรเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการเข้าไปทำงานกับชุมชนไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย เชิงปฏิบัติการ หรืองานพัฒนา คือ  เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

เข้าใจชุมชน  อย่างไร??

เข้าใจว่าชุมชนมีพัฒนาการมาอย่างไร ชุมชนประกอบด้วยกลุ่มใดบ้าง มีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างไร (ความรู้ดั้งเดิม,ศิลปะ วัฒนธรรม) บริบทอื่นๆที่อยู่รอบๆชุมชน   ที่ประกอบด้วย ๔ ระบบใหญ่ๆ ที่จะเป็นตัวกำหนด(เป็นปัจจัยเอื้อ หรือขัดขวาง) การเสริมพลังอำนาจชุมชน มีดังนี้

J ระบบชุมชน เป็นระบบคุณค่าความเชื่อและการจัดความสัมพันธ์ของชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น เฉพาะเผ่าพันธุ์ ที่เป็นเครื่องยืดโยงสายสัมพันธ์ของคนไว้ด้วยกัน หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรม นั่นเอง  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ระบบทรัพยากร วิถีชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทนั้นอิงอยู่กับทรัพยากร เช่นดิน น้ำป่า ในฐานะเป็นฐานการผลิต เป็นที่มาของปัจจัยสี่ ที่เชื่อมโยงไปสู่แหล่งอาหารธรรมชาติ และบางครั้งเราได้เห็นว่า ทรัพยากรก็เกี่ยวข้องกับวิธีคิด ประเพณีของชุมชน เช่น ป่าสะดือ หรือ ป่าเดปอ ของชาวปกาญอ เป็นป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ห้ามมีการตัด เพราะชาวปกาญอมีความเชื่อว่าเด็กทารกที่คลอดต้องเอารกไปแขวนที่ต้นไม้ประจำตัว คนละหนึ่งต้น ตัดไม่ได้ ป่าผืนนั้นจึงเป็นป่าสะดือ ที่ไม่มีการตัดไม้ จึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรไปในตัว นอกจากนี้เรายังพบว่าแหล่งทรัพยากร  เช่น ป่า เป็นแหล่งรวมของพรรณพืช สมุนไพร เป็นซุปเปอร์มาเกตขนาดใหญ่ของชุมชนด้วย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ระบบความรู้ ในการดำรงชีพภายใต้บริบทของระบบชุมชน และระบบทรัพยากรที่มีอยู่ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะอยู่รอดได้ จึงมีการ จัดการ ทั้งทรัพยากร และความสัมพันธ์ของคนให้เหมาะสมอยู่เสมอ จนในที่สุดความสามารถในการจัดการได้กลายเป็น องค์ความรู้ ของชุมชนนั้นๆที่มีอยู่ในทุกชุมชน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">J ระบบเหนือชุมชน เป็นระบบเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ตำบล และแปรออกมาในรูปนโยบายรัฐ เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ในรูปยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ที่เข้ามาอยู่ในชุมชนโดยโครงข่ายความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง ซึ่งชุมชนต้องตั้งรับให้ได้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การทำความเข้าใจระบบที่เกี่ยวข้องในชุมชนในทุกมิติ เป็นการเข้าใจโลกและระบบที่ซับซ้อน (Understanding Complexity & Conceptualization) เป็นการทำความเข้าใจความสลับซับซ้อนของเรื่องราวต่างๆ สารพัดบนโลก ทั้งนี้ เพื่อมองเห็นการเชื่อมโยงของสรรพสิ่งว่าเกี่ยวพันกันอย่างไร และเกี่ยวโยงกับตัวเรา ชุมชนเองอย่างไร ซึ่งสำคัญมากในการเชื่อมต่อนักพัฒนากับชุมชนในช่วงเริ่มแรกเดินเข้าเรียนรู้ชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ส่วนกระบวนการมาได้ซึ่งข้อมูลในแต่ละระบบของชุมชน จะนำเสนอในบันทึกอื่นๆต่อไปครับ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 158915เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2008 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตามมาเก็บความรู้เรื่อง ชุมชนค่ะ

แต่ก่อนพี่ไม่เข้าใจว่า...ทำไมเวลาซักประวัติผู้ป่วยเราต้องถามว่าบ้านอยู่ไหน ชุมชนเป็นอย่างไร ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมเป็นอย่างไร

แต่ตอนนี้รู้ซึ้งว่า สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการดำเนินชีวิตของเขา และเป็นผลต่อการเจ็บป่วย การหายและภาวะสุขภาพเป็นอย่างมากค่ะ

สวัสดีครับพี่อุบล จ๋วงพานิช

บันทึกใน Blog นี้ผมตั้งใจจะให้เป็นที่แลกเปลี่ยนสำหรับคนทำงานชุมชน รวมถึง นศ.ที่ผมได้สอนบ้างในบางรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ งานวิจัยชุมชน ครับ ผมพยายามจะเขียนเป็นลำดับความคิดตั้งแต่พื้นฐานจนถึงปฏิบัติการ ในชุมชน

การเรียนรู้โลกของคนในชุมชน ทำให้เราเข้าใจมิติของชุมชนได้ รวมถึงนำไปสู่การเข้าใจซึ่งกันและกัน ปรองดอง สมานฉันท์ครับผม

ต้องขอบคุณมากครับสำหรับการเข้ามาแลกเปลี่ยนครับ

ขอแจมด้วยคนนะครับน้องเอก

 
คำกล่าวของน้องอุบลนั้น เป็น แนวทางหนึ่งในการอธิบาย พี่เองก็ใช้บ่อยๆ คือ คุณหมอมีกระบวนการตรวจคนไข้ที่มีหลายขั้นตอน เราก็ใช้กระบวนการนี้กับการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนในทำนองเดียวกัน แต่ทางงานพัฒนาซับซ้อนมากกว่าเพราะชุมชนเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า
   
  การศึกษาชุมชนนั้นอาจจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้หลายแบบ  อย่างที่น้องเอกนำเสนอนี่ก็เป็นแนวทางหนึ่ง พี่อยากจะขอขยายความครับ 
  • เรารู้ข้อมูลเชิงระบบทั้งหมดไปทำไม...  ตอบ เราต้องรู้เพราะเราเป็น คนนอก เราต้องเข้าใจชุมชนให้เข้าใกล้การเป็น คนใน ให้มากที่สุดเพื่อเข้าไปทำงานกับชุมชน
 
  • ประเด็นไหนที่เราจะต้องเข้าใจ...ตอบ ข้อมูลชุมชนมีมากมาย เราต้องเข้าใจข้อมูลที่เป็นโครงสร้างหลักๆให้ได้ก่อนเพื่อเข้าใจเป็นเบื้องต้น ก่อนเข้าไปลงลึกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงทำงาน เหมือนคุณหมอที่เก็บประวัติคนไข้ไปทุกครั้งที่คนไข้ไปหาหมอ ทุกครั้งที่คุณหมอตรวจคนไข้ด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการสังเกต ข้อมูลทั้งหมดนั้นเพื่อเข้าใจในประเด็นที่เราตั้งไว้เป็นสมติฐานก็ได้ เช่น โดยทั่วไปก็ศึกษาข้อมูลเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่เคยมีในอดีต อะไรกำลังเปลี่ยนแปลง อะไรเป็นจุดเด่นจุดด้อย อะไรกำลังเปลี่ยนแปลง อะไรคือปัญหา อะไรคืออุปสรรค อะไรคือโอกาศ...ฯลฯ อาจเรียกว่า ศักยภาพต่อระบบต่างๆ ที่เอกกล่าวมานั้น(ขั้นเข้าใจและเข้าถึง)
 
  • รู้แล้วเอาไปทำอะไร....ตอบ หากเรารู้ชัดเจนแล้ว ก็สามารถนำไปสู่กระบวนการทำแผนงาน และทำงาน ติดตามงาน สรุปงาน เขียนรายงาน ฯลฯ นำข้อคิดไปพัฒนาในกิจกรรมอื่นๆต่อไป (ขั้นพัฒนา)
 
  • ทั้งหมดนั้นผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม(ขั้นเข้าถึง)
   
ประเด็นสำคัญจากทั้งหมดนั้นก็คือ เราไม่ได้หาข้อมูลมาเป็นแบบชิ้นๆ ก้อนๆ แท่งๆ  ยิ่งข้อมูลจำนวนมาก ก็ต้องพยายามจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน ในขณะเดียวกันก็ศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลระบบต่างๆด้วยว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร อย่างที่พระไพศาล วิสาโลกล่าวว่า ชีวิตจริงไม่ได้แบ่งวิชา แต่ความรู้เรานั้นแบ่งเป็นวิชา  ที่เราเรียกวิถีชีวิต ซึ่งในชีวิตจริงมันคลุกคลีเป็นเนื้อเดียวกัน  ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันในวิถีประจำวัน

สวัสดีค่ะ

"มหาอยู่ สุนธรทัย" (อดีต) ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองสุรินทร์ กล่าวไว้ว่า "ศรัทธา" มีความสำคัญ และย้ำว่า ถ้าจะพัฒนาอะไร ต้องเตรียมสิ่งสำคัญในแต่ละเรื่อง คือ

  • จะปลูกพืชอะไร  ต้องเตรียมดิน
  • จะกินอะไร  ต้องเตรียมอาหาร
  • จะพัฒนาการ  ต้องเตรียมประชาชน
  • จะพัฒนาคน  ต้องเตรียมที่จิตใจ
  • จะพัฒนาใครเขา  ต้องพัฒนาที่ตัวเราก่อน

เป็นความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันค่ะ

เห็นด้วยค่ะที่ว่า "ต้องทำใจ" ให้รักและศรัทธา (ฉันทะ) ก่อน สิ่งอื่นจะง่ายเข้า

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ พี่ครูรัตน์ มากครับสำหรับ ข้อเสนอแนะเติมเต็มนี้

  • จะปลูกพืชอะไร  ต้องเตรียมดิน
  • จะกินอะไร  ต้องเตรียมอาหาร
  • จะพัฒนาการ  ต้องเตรียมประชาชน
  • จะพัฒนาคน  ต้องเตรียมที่จิตใจ
  • จะพัฒนาใครเขา  ต้องพัฒนาที่ตัวเราก่อน
  • ขอบคุณพี่บางทราย และ พี่ครูรัตน์ มากครับสำหรับ ข้อเสนอแนะเติมเต็มนี้

  • จะปลูกพืชอะไร  ต้องเตรียมดิน
  • จะกินอะไร  ต้องเตรียมอาหาร
  • จะพัฒนาการ  ต้องเตรียมประชาชน
  • จะพัฒนาคน  ต้องเตรียมที่จิตใจ
  • จะพัฒนาใครเขา  ต้องพัฒนาที่ตัวเราก่อน
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท