แมลงวันกับหม้อน้ำผึ้ง


ข้อห้ามและกฎ

สอนคุณธรรมอย่างไร

ให้มีความพอเพียง

บทที่ 8

การใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎ   

จุดประสงค์ :   เพื่อรู้ รัก และฝึกจนเคยชิน

นิทานคติ  เรื่อง : แมลงวันกับหม้อน้ำผึ้ง             

ในเช้าวันสดใสวันหนึ่ง ชาวนาผู้หนึ่งวางหม้อใส่น้ำผึ้งใส่บนโต๊ะหน้าบ้านของเขา กลิ่นของน้ำผึ้งล่องลอยไปไกล ช่างแสนหอมหวานเหลือเกิน แต่กลุ่มแมลงที่ได้กลิ่นก่อน กลับเป็นเหล่าแมลงวัน ปกติมันจะได้กลิ่นและเข้าไปตอมเศษอาหารได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นก็ทำให้มันได้กลิ่นน้ำผึ้งเร็วเช่นกัน ตอนนี้แมลงวันกำลังบินตอมอยู่เหนือหม้อน้ำผึ้ง ไม่ใช่แค่หยดน้ำผึ้ง แต่เป็นน้ำผึ้งทั้งหมดทีเดียว           

เหล่าผึ้งซึ่งอยู่ในรังผึ้งใกล้ๆ นั้นต่างพากันร้องเตือนว่า

 ระวัง อันตรายนะ

แต่เหล่าแมลงวันต่างพากันไม่เชื่อ น้ำผึ้งหอมหวานช่างยั่วยวนใจอย่างมาก น้ำผึ้งนั้นเหนียวมากและนั่นเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่นเหล่าแมลงวันนั่นเอง           

เหล่าแมลงวันยังคงบินอยู่รอบๆ หม้อน้ำผึ้ง เตรียมพร้อมที่จะเกาะที่หม้อ เหล่าผึ้งยังพยายามร้องเตือน อย่าเข้าไป พวกเจ้าจะตึดหนึบกับน้ำผึ้งนะ            

 

 แต่ตอนนี้พวกแมลงวันเข้าใกล้หม้อน้ำผึ้งมากแล้ว พวกมันต่างตื่นเต้นที่จะได้ลิ้มชิมรสน้ำผึ้ง แม้ฝูงผึ้งจะบินมาขวาง แต่พวกมันก็พากันบินฝ่าเข้าไป แล้วพากันเกาะลงที่หม้อน้ำผึ้งนั้น พวกมันต่างพากันกินน้ำผึ้งอย่างสุดแสนอร่อย พวกมันไม่ได้สังเกตสักนิดว่าตอนนี้ทั้งปีกและขาของพวกมันติดหนึบอยู่กับน้ำผึ้งแล้ว พวกผึ้งพากันเสียใจและเห็นเหล่าแมลงวันที่ไม่สามารถบินหรือเดินได้อีกต่อไปแล้ว เมื่อพวกผึ้งกลับมาถึงรัง เหล่าผึ้งงานพากันบอกเล่าต่อราชินีผึ้ง  ราชินีฟังอย่างตั้งใจจากนั้นก็แสดงความคิดเห็นแก่เหล่าผึ้งของนางว่า

 พวกเจ้าทำสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่เตือนพวกแมลงวันถึงอันตราย แต่น่าเศร้าที่พวกนั้นไม่รู้จักฟัง     

 ช่วยกันขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจ         

๑) ให้ช่วยกันหาคติพจน์และสุภาษิตส่งเสริมการใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎ           

๒) ให้ช่วยกันหาคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่กล่าวถึงการใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎ           

ในทั้งสองกรณีให้มีอาสาสมัครรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อทำเอกสารแจกให้เก็บไว้ โดยลงวันที่ไว้ด้วย

 ฝึกคุณธรรม            

๑) ฝึกรู้รอบ : เรื่องนี้เหมาะสมสำหรับสอนเรื่องการใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎหรือไม่ อย่างไร           

๒) ฝึกแข็งขัน : เราจะใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎอย่างเหมาะสมได้อย่างไร  และทำได้แค่ไหน           

๓) ฝึกพอเพียง : การใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎอย่างไร จึงเรียกว่าทำได้อย่าง พอเพียง       

- อย่างไรเรียกว่าขาด                                   

- อย่างไรเรียกว่าเกิน           

๔) ฝึกความยุติธรรม : การใส่ใจต่อข้อห้ามและกฎที่ดำเนินไปอย่างมีความยุติธรรมเป็นอย่างไร ให้ช่วยกันยกตัวอย่าง 

กิจกรรมสันทนาการ

๑.     ให้อาสาสมัครนั่งล้อมวงกัน แล้วเล่าเรื่องที่พวกเขาได้ทำในสิ่งที่พ่อแม่ หรือครูเตือนแล้วว่าอันตราย ให้บอกว่าพวกเขาตื่นเต้นแค่ไหน สนุกแค่ไหน และอันตรายเกิดขึ้นหรือไม่ อันตรายเคยเกิดกันคนอื่นๆ หรือไม่ พวกเขารู้สึกอย่างไร ให้บอกเล่าประสบการณ์ต่อกัน แบ่งปันและร่วมกันแสดงความคิดเห็น จะได้เรียนรู้ร่วมกัน 

เอนก สุวรรณบัณฑิต   ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เอกสารคุณธรรมและจริยธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปรับจากหนังสือ Discovering the Real Me, Universal Peace Federation Edition

หมายเลขบันทึก: 158984เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท