เปิดประตูชุมชน (๓) กระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อความเข้าใจชุมชน


จากบันทึกก่อนหน้านี้

@ เริ่มต้นทำงานชุมชน ควรจะเริ่มยังไง?  

@ เปิดประตูชุมชน (๑) เรียนรู้ร่วมกับชุมชน

@ เปิดประตูชุมชน (๒) เราจะศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างไร?

การเรียนรู้ชุมชนได้นำเสนอมาในสองบันทึกก่อนหน้านี้แล้ว มาถึง ประเด็นที่ ๓  กันแล้วครับ

ประเด็นนี้เราจะทำรู้จักชุมชน โดยผ่านกระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์

เป็นมุมมองของนักวิจัย ต่อ วิถีชีวิตของชุมชน

การวิเคราะห์ภูมิปัญญา เพื่อตีความข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่จัดเก็บได้ เป็นการค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ โดยอาศัยการมองแบบองค์รวม เชื่อมโยงเป้าหมาย องค์ประกอบเข้าหากันอย่างมีเหตุผล พร้อมกับอธิบายได้หลายมิติ

ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ มักกำหนดหัวข้อวิจัยจากภายนอก และให้ผู้วิจัยทำการศึกษาข้อมูลมือสอง เพื่อกำหนดประเด็นศึกษาและแยกแยะเป็นหมวดหมู่ เช่น ข้อมูลทางเศรษฐกิจ/สังคม/วัฒนธรรม/การปกครอง ฯลฯ จากนั้นให้ค้นหา ผู้รู้(key man / key person) เพื่อให้ตอบในประเด็นนั้นๆ ระเบียบวิธีเช่นนี้จึงไม่สอดคล้องกับหลักการของกระบวนการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม

หลักการสำคัญในการสร้าง การเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการศึกษาคือ ความเชื่อที่ว่าคนในชุมชนต่างเป็น ผู้รู้ ที่มีองค์ความรู้ในดำรงชีวิตที่แตกต่างกันตามสถานะ ยกตัวอย่าง เช่น เราจะได้เรียนรู้ในเรื่องของพืชที่ใช้สร้างบ้าน-ทำฟืน ทำเครื่องมือจับสัตว์จากกลุ่มพ่อบ้าน และจะได้เรียนรู้พรรณพืชที่ใช้เป็นอาหาร ใช้ย้อมสีผ้าจากแม่บ้าน และที่น่าสนใจก็คือเราจะสามารถได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์เล็กๆ เช่น แมลง นก หนูป่า หรืออาหารของวัว-ควาย ได้จากกลุ่มเด็กและเยาวชน ฯลฯ องค์ความรู้และผู้รู้จึงมิได้ติดอยู่เพียงผู้อาวุโสหรือผู้นำท้องถิ่นเท่านั้น แต่ความรู้เหล่านั้น ได้กระจัดกระจายไปในกลุ่มคนต่างๆ ในชุมชน ทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานภาพ

กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจึงเป็นกระบวนการที่ดึงเอาผู้คนเหล่านั้นมาร่วมเรียนรู้ ร่วมค้นหา เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงคุณค่าและศักยภาพของชุมชน เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนได้ตระหนักถึง ศักดิ์ศรีและสิทธิ ของตนในการร่วมมีส่วนในทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาที่จะเกิดแก่ชุมชนอันจะนำไปสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจในการกำหนดแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาโดยชุมชน

ถึงตรงนี้เราได้ทำความเข้าใจ ภาพรวมของข้อมูลของชุมชนแล้วว่ามีอะไรบ้าง และ การเข้าถึงระบบองค์ความรู้นั้นต้องผ่านมิติ-กระบวนการอย่างไร?

ในบันทึกต่อไป จะนำเสนอ กระบวนการเก็บข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ ในการศึกษา วิจัยชุมชน


ข้อมูลบางส่วน 

ที่มาจาก : จดหมายข่าว สิทธิชุมชน  ฉบับที่ 3 เดือนธันวาคม 2546-มีนาคม 2547 (หน้า 12-15)

 

หมายเลขบันทึก: 159074เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สบายดีเจ๊า หนุ่มน้อย

* มาเรียนรู้ เรื่อง PAR ค่ะ

* กลับถึงปายหรือยังเอ่ยคะ

ปีหนึ่งๆกลับปาย ประมาณ สามครั้งครับ คุณปู

คิดว่า   การมีส่วนร่วม  จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความรักค่ะ

รักในสิ่งที่  เค้าๆ มีส่วนร่วม

เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน

และจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง   ในที่สุดค่ะ

คิด  เช่นนั้น

การเข้ามาร่วมมือกัน เป็นจุดเริ่มของความสำเร็จที่ผมเชื่อว่า มากกว่าครึ่งแล้วครับ

ขอบคุณครับ ครู @..สายธาร..@

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท