การปฏิรูปการเรียนรู้ตาม พรบ.2542


การปฏิรูปการเรียนรู้ตาม พรบ.2542
 การปฏิรูปการเรียนรู้ตาม พรบ.2542
กับบทบาทของ มจธ. ที่ต้องดำเนินการ
นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 มีผลให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นวาระสำคัญแห่งชาติ มีสาระสำคัญทั้งสิ้น 9 หมวด สำหรับหมวดที่ว่าด้วยการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของชาติไทยในครั้งนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 3 ปี อาจกล่าวได้ว่าการปฏิรูปครั้งนี้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาอย่างรุนแรงและกระทบกระเทือนกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มมีการปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องตาม พรบ. มากขึ้น โดยเฉพาะสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มีการจัดตั้งหน่วยงานดูแลและรับผิดชอบงานปฏิรูปการศึกษา มีการจัดตั้งโรงเรียนต้นแบบ และครูต้นแบบ ในขณะที่สื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ มีการเผยแพร่ความรู้และวิธีการที่สอดคล้องกับพรบ.การศึกษานี้มากขึ้น ครูประถมและมัธยมได้รับการฝึก อบรมมากขึ้นและจัดอย่างต่อเนื่อง มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาทุกระดับ สิ่งเหล่านี้บอกเราได้ว่าการปฏิรูปครั้งนี้ไม่ธรรมดาซะแล้ว ผลกระทบนี้จะค่อยๆมาถึงเรามากขึ้นๆจนเต็มรูปแบบ เพราะผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมต่างๆที่กำลังปรับตนเองอยู่นี้ ก็คือผู้ที่จะเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยของเรา หากเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเราให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อีกไม่นานเราจะถูกมองว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ล้าหลังในการจัดการศึกษา ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่สมาชิกทุกคนใน มจธ. จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ โดยเฉพาะหัวใจสำคัญของการปฏิรูปในครั้งนี้ คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนที่จะกล่าวถึงบทบาทของมจธ.ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษา หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา เราควรทราบว่า ทำไมถึงต้องปฏิรูปการเรียนรู้ ปัญหานำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ปัญหาทางการศึกษานั้นมีขอบข่ายกว้างขวาง ในที่นี้จะกล่าวถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับหมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา โดยเน้นเรื่องของการเรียนการสอนในระบบเป็นสำคัญคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้1 ได้กล่าวถึง สิ่งที่บ่งบอกว่าต้องปฏิรูปการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนไว้ดังนี้1.       คนทุกวัยตั้งแต่เกิดจนจบมหาวิทยาลัย เรียนแต่วิชา รู้หนังสือ ถูกล้อมกรอบด้วยตารางสอนและห้องเรียน การพัฒนาคนจึงไม่เอื้อให้มีคุณสมบัติ มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน ชาญชีวิต 2.       วิธีการเรียนการสอนไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนได้พัฒนาในด้านการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนขาดคุณลักษณะช่างสงสัย และใฝ่หาคำตอบ ยังเน้นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน นอกจากนั้นยังขาดการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย 3.       ครูยังเป็นผู้มีอำนาจในชั้นเรียน ครูยังยึดมั่นว่าตนเองเป็นผู้รู้มากที่สุด ถูกที่สุด และมีอำนาจมากที่สุดในกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนมีหน้าที่รับและปรับตัวให้สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้และวิธีการของครู สถานศึกษาจึงไม่เป็น โรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่เป็นโรงสอน4.       กระบวนการเรียนรู้เป็นทุกข์ อับเฉา น่าเบื่อหน่าย ทั้งพ่อ แม่ ครูนักเรียน ยึดหลักสูตรเป็นเกณฑ์ เนื้อหาสาระทั้งหมด การสอบและคะแนนสอบ เป็นสิ่งพิพากษาความสำเร็จ ทุกคนจึงเครียด ขาดความสุขในการศึกษา 5.       โรงเรียนไม่สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นอาณาเขตที่ขาดความสัมพันธ์กับชีวิตชุมชน ห่างไกลธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้ที่ปลุกเร้าบรรยากาศทางปัญญา ครอบครัวและชุมชนไม่มีโอกาสร่วมคิดสร้างกระบวนการเรียนรู้ 6.       กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นพฤติกรรมถ่ายทอด สัดส่วนการฝึกปฏิบัติ การฝึกหัด และการ อบรมบ่มนิสัย ยังมีน้อยกว่าการท่องบ่นเนื้อหา ผู้เรียนเคยชินต่อการทำตาม เชื่อฟัง นั่นนิ่ง จึงขาดความคล่องในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่ได้รับรู้การปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ 7.       ตลอดเวลาอันยาวนานในระบบโรงเรียน เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่มีโอกาสน้อยที่จะได้รับการ อบรมบ่มนิสัยให้พากเพียร สู้งาน ยึดมั่นความสุจริตทั้งกาย วาจา ใจ การบ่มเพาะคุณธรรมและสุนทรีย์ภาพยังไม่เข้มแข็งพอจนเกิดผลแก่ผู้เรียน จากสิ่งที่กล่าวมาบอกได้ว่าการจัดการศึกษาของเราเกิดปัญหาเกิดขึ้น ตั้งแต่หลักสูตรที่ยึดวิชาเป็นตัวตั้งมีการแยกเนื้อหากันอย่างชัดเจนทำให้ไม่สอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตจริง การเรียนการสอนที่ไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนไม่รู้จักใฝ่เรียนใฝ่รู้ แถมยังเกิดความทุกข์ในการเรียน และปัญหาการขาดศิลธรรมในการดำเนินชีวิต ปัญหาต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาของไทยมานานมากและถูกสะสมจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันการจัดการศึกษาที่เป็นปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบกับเรื่องอื่นๆอีกมากมาย หากเราพิจารณาถึงวิกฤติที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ จะเห็นว่ามิใช่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมเท่านั้น แต่เมื่อมองให้ลึกจะพบว่าปัญหาสำคัญก็คือ ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางภูมิปัญญาขึ้น ทั้งนี้เพราะ ภูมิปัญญาของชาติจะสะท้อนออกมาในรูปของการจัดการทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และอื่นๆ หากประเทศไหนมีการจัดการที่ดีย่อมแสดงถึงภูมิปัญญาของคนในประเทศนั้น และในทางกลับกันประเทศใดมีปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เกิดขึ้นมากๆก็แสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาของคนในประเทศนั้นเกิดปัญหาขึ้น และหากพิจารณาให้ดีจะพบว่าการสร้างภูมิปัญญานั้นเกิดจากการจัดการศึกษา ดังนั้นการแก้ปัญหาของประเทศจึงต้องแก้ที่ต้นเหตุสำคัญนั่นคือ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างภูมิปัญญาของประเทศนั่นเอง เป้าหมายการสร้างภูมิปัญญาของประเทศนั้น ก็คือการสร้างภูมิปัญญาให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศและหากมองในระบบการศึกษา ทรัพยากรมนุษย์ก็คือ ผู้เรียน การปฏิรูปการศึกษาจะสร้างภูมิปัญญาให้กับผู้เรียนในลักษณะใด เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่โยงถึงอนาคตของชาติไทย เรามีคำตอบให้ในหัวข้อ ต่อไปนี้ลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในการจัดการศึกษาของประเทศนั้น มีสิ่งที่มุ่งหวังอย่างหนึ่ง คือ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ ลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์นั้นเป็นอย่างไร ในเรื่องนี้ คณะกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้2 ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะผู้เรียนและลักษณะกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้ คือลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ผู้เรียนที่พึงประสงค์ คือ ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุขคนดี คือ คนที่ดำเนินชีวิตอย่างมี คุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น มีวินัย มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ ขยัน มีความเสียสละ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุขคนเก่ง คือ คนที่มีสมรรถภาพสูง ในการดำเนินชีวิต โดยมีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งหรือรอบด้าน หรือมีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง เช่น ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา มีภาวะผู้นำ รู้จักตนเอง ควบคุมตนเองได้ เป็นต้น คนมีความสุข คือ คนที่มี สุขภาพ ดีทั้งกาย และจิต เป็นคนร่าเริง แจ่มใส ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรักต่อทุกสรรพสิ่ง มีอิสรภาพปลอดพ้นจากการตดเป็นทาสของอบายมุข และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ คุณลักษณะทั้งสามด้านนี้นับเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์โดยแท้ หากทรัพยากรมนุษย์ของเราเป็นไปตามที่เขียนไว้ ชาติเราจะไม่มีปัญหาวิกฤติทางภูมิปัญญาอีกต่อไป ในคนๆเดียวกันจะเป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีความสุขในการดำรงชีวิต หากพิจารณาลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งสามด้านที่กล่าวมา จะพบว่าการจัดการเรียนการสอนต่อไปนี้มิใช่เพื่อให้ความรู้หรือวิทยาการกับผู้เรียนเท่านั้น แต่จะต้องให้ครอบคลุมและครบทั้งสามด้านตามที่กล่าวมา เราจะทำอย่างไรในการผลิตผู้เรียนให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กล่าวมา เรื่องนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2543 ได้ให้แนวทางในการดำเนินการกับสถานศึกษาไว้ในหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2543 หมวด 4 แนวจัดการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มีสาระสำคัญทั้งสิ้น 9 หมวด โดยเฉพาะหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งทุกหมวดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนสาระของหมวดนี้ครอบคลุมหลัก สาระ และกระบวนการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างให้แนวทางการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ใหม่ทางการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน สาระสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ ตามหมวดนี้เริ่มตั้งแต่มาตรา 22 ถึงมาตรา 30 มีสาระสำคัญ 8 เรื่องหลักๆ สรุปได้ ดังนี้มาตรา 22 : หลักการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 23 : สาระการเรียนรู้ เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องต่อไปนี้ ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลย์ยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา ความรู้ด้านการประกอบอาชีพและการดำรงค์ชีวิตอย่างมีความสุข มาตรา 24 :กระบวนการเรียนรู้ : หัวข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นบทบาทของสถานศึกษา (รวมทั้ง มจธ.) จะกล่าวในหัวข้อต่อไปมาตรา 25 : บทบาทของรัฐในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ โดยการส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกรูปแบบอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพมาตรา 26 : การประเมินผลการเรียนรู้ พิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไปตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา มาตรา 27 และ 28 : การพัฒนาหลักสูตรแต่ละระดับ โดยหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เพิ่มการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง การค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคมมาตรา 29 : บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคลครอบครัว องค์กร ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งหาวิธีการแลกเปลี่ยนการพัฒนาระหว่างชุมชนมาตรา 30 : การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษามาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ บทบาทที่ มจธ. ต้องดำเนินการจากสาระสำคัญ ของมาตรา 22 - 30 ในหมวด 4 การจัดการศึกษา ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นภาพรวมของแนวการจัดการศึกษาที่สถานศึกษาแต่ละละดับต้องนำไปปฎิบัติให้เหมาะสมกับตนเอง แต่มีมาตราหนึ่งที่มีความสำคัญและระบุไว้ชัดเจนถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่สถานศึกษาทุกระดับรวมถึง มจธ. ต้องดำเนินการ คือ มาตรา 24 มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้(7)จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(11)ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(15)จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(23)จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(31)ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
(33)จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จากมาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เสนอมา สามารถสรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ นั่นคือ 1) การจัดหลักสูตรที่บูรณาการสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ 2) การจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ และ3) การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และจัดแหล่งความรู้ประเภทต่างๆอย่างเหมาะสมกับหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยทั้ง 3 สิ่งนี้จะต้องจัดให้สอดคล้องกัน ในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้นั้นเท่าที่ผู้เขียนศึกษามา มีเอกสารหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่าต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกคนทุกหน่วยงานในองค์กรนั้น ผู้บริหารทุกระดับ คณาจารณ์ เจ้าหน้าที่ทุกระดับทุกหน่วยงานรวมถึงผู้ปกครองจะต้องรับทราบและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับการเริ่มต้นในการดำเนินการนั้นผู้เขียนมีความคิดว่า ควรจะเริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีและเราเป็นอยู่ค่อยๆดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องมีคณะกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจน(คณะกรรมการควรหลากหลายจากทุกหน่วยงาน) สิ่งที่สำคัญก็คือต้องสร้างความเข้าใจกับทุกองค์กรทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยให้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษานี้ เห็นว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงสำหรับการดำเนินการระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่ ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมกับการปฏิรูปการเรียนรู้ดังที่กล่าวมา เพราะยังขาดภาพรวมที่สำคัญ ได้แก่ 1)การจัดหลักสูตรที่บูรณาการกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ 2) การจัดระบบการเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ 3)การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งสามสิ่งนี้ยังไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในดัชนีหรือตัวบ่งชี้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วแต่จะต้องมีการให้ความรู้ในแนวลึก(อย่างต่อเนื่อง)เพื่อจะนำไปปฏิบัติได้จริง การปฏิรูปการเรียนรู้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ทำแล้วเห็นผลในทันทีทันใดแต่จะต้องค่อยๆทำค่อยๆสะสมไป (เปรียบเสมือนกับการปลูกต้นไม้ที่ต้องรอให้เมล็ดพันธ์ที่ปลูกไว้ค่อยๆเจริญงอกงามขึ้น) มีผู้ให้ความเห็นว่าหากเราเริ่มปฏิรูปอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ เราจะเห็นผลได้ในอีกหนึ่งชั่วรุ่นเป็นอย่างเร็ว จากศักยภาพของบุคลากรในมจธ. ผู้เขียนมีความมั่นใจว่าหากพวกเราทุกคนเห็นความสำคัญและร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังแล้ว เราจะไปถึงจุดหมายของการปฏิรูปการเรียนรู้ครั้งนี้ได้แน่นอน นอกจากนั้นแล้วยังมีสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนมั่นใจยิ่งขึ้นก็คือจากวิสัยทัศน์ของมจธ. ในข้อแรก บอกอะไรบางอย่างว่า มจธ.นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่กล่าวไว้ว่า มุ่ง  สรุปนับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดได้แก่สถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา สำหรับผลกระทบนี้ในปัจจุบัน มจธ. เองก็ได้รับจากการที่ต้องทำระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา แต่ต่อไปผลกระทบจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆเพราะนักเรียนระดับมัธยมทั่วประเทศกำลังถูกสอนในระบบใหม่ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนที่สร้างคนครบทุกด้านทั้ง คนดี คนเก่ง และมีความสุขในการดำเนินชีวิต ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่บุคคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในมจธ. จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อช่วยกันจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยประเทศชาติและลูกหลานของเราในอนาคต ช่วยให้เขาเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งทางความคิด สติปัญญา และทางใจ ช่วยปลดปล่อยความทุกข์ของผู้เรียนในการเรียน รวมทั้งคืนอำนาจและให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคลของเราเป็นอันดับหนึ่ง นั่นก็คือทุกคนจะต้องมีความคิดว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด เพราะทุกๆคนคืออนาคตของชาตินั่นเองเอกสารอ้างอิงกระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับเป็นกฏหมาย . กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ดร. ศึกษาแห่งศตวรรษที่21:แนวปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย, 2539เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ดร. คลื่นลูกที่5 - ปราชญ์สังคม : สังคมไทยที่พึงประสงค์ใรศตวรรษที่ กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย, 2542คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, สำนักงาน. ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เอกสารการสอนชุดเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 9-15. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2523รุ่ง แก้วแดง, ดร. ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, 2543http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/improve.html
หมายเลขบันทึก: 159448เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

ไม่ทราบว่าพอมี

เวลาวิเคราะห์ พรบ.การศึกษาแห่งชาติมาตรา22ปี2542อะเป่าฮะ

ถ้ามีเวลาขอความกรุณาวิเคราะห์ให้ได้เป่าฮะ

ขอบคุณฮะ

อ่านแล้วดีมากเลยครับ

อันนี้คือการวิเคราะห์รึเปล่าครับ

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

อ่านแล้วดีมากครับ

ไม่ทราบว่ามีวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางมั้ยครับ

ถ้ามีก็ขอความอนุเคราะห์ด้วยน่ะครับ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากนะคะกำลังเรียนเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท