นักกล้ามกับเด็กชาย


การไม่ยอมแพ้

สอนคุณธรรมอย่างไรให้มีความพอเพียง

บทที่ 15การไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค      

จุดประสงค์ :   เพื่อรู้ รัก และฝึกจนเคยชิน

นิทานคติ  เรื่อง : นักกล้ามกับเด็กชาย

            เด็กชายคนหนึ่งขโมยรถของที่บ้านมาขับเล่น เขาขับไปตามทางที่ถมใหม่ ผ่านท้องทุ่งต่างๆ แต่ไม่นานนักฝนก็เกิดตกขึ้นมา ฝนที่ตกหนักขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ถนนลื่น มีโคลนจำนวนมากติดที่ล้อ เด็กชายเริ่มรู้สึกว่าควบคุมรถได้ยากขึ้น ทันใดนั้นรถก็เบี่ยงไปทางขวา ล้อก็ติดอยู่ในปลักโคลนอันหนึ่ง แล้วรถก็ดับลง เด็กชายยอมแพ้ต่อโชคชะตา เขาออกจากรถและเดินไปนั่งที่รั้วอีกฟากหนึ่งของถนน           

เด็กชายเพียงคิดอยู่ในใจว่าเขาแค่อยากจะสนุกเท่านั้น แต่กลับเกิดเรื่อง คงต้องใช้เวลาทั้งวันถึงจะเอารถของจากหล่มโคลนนั้นได้ เด็กชายยังคงพร่ำบ่นและโทษแต่โชคร้ายที่เกิดขึ้น           

ไม่ไกลนักมีชายคนหนึ่งกำลังเดินมา เขาเป็นชายร่างใหญ่ ท่าทางคงเป็นนักกล้ามที่ดูแข็งแรงทีเดียว พอเด็กชายมองเห็น เขาก็ดีใจเป็นอย่างมากที่จะมีคนมาช่วยเขาแล้ว เขาจึงลุกขึ้นพลางโบกมือและร้องขอความช่วยเหลือ

ช่วยด้วยครับ รถผมติดหล่มโคลน ผมลากมันไม่ไหวครับ

ชายนักกล้ามนั้นเดินมาถึง แต่เขาเพียงยิ้มแล้วตอบกลับมาว่า

 เด็กน้อย พี่เห็นเจ้าตั้งนานแล้ว ตั้งแต่รถนี่เริ่มตกหล่ม แต่ดูเหมือนเจ้าจะไม่พยายามลองเอารถออกจากหล่มเลยนี่ เจ้ายอมแพ้ง่ายๆ อย่างนี้ มันไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยนะ เจ้าต้องพยายามบ้าง พี่ถึงจะช่วย

เด็กชายคิดตามและตัดสินใจเชื่อคำพูดของชายแปลกหน้านี้ เขาเดินกลับไปที่รถ แล้วเริ่มติดเครื่องเพื่อให้มันเคลื่อนที่ ชายนักกล้ามจึงเข้าไปช่วยผลักที่รถ รถเริ่มขยับและโยกไปมา ไม่นานนักรถก็ขยับออกจากหล่มได้

ชายนักกล้ามยกมือขึ้น แสดงความดีใจด้วย แล้วก็โบกมือลา แล้วเดินจากไป

เด็กชายหยุดรถ แล้วลงจากรถ เขารู้สึกภูมิใจในผลงานของตนเอง เขาสามารถทำในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะทำได้ได้สำเร็จนั่นเอง เด็กชายเกิดความมุ่งมั่นที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ เขาจะไม่ยอมแพ้อีก อย่างน้อยมันก็จะมีทางออกอย่างแน่นอน            

ช่วยกันขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจ           

๑) ให้ช่วยกันหาคติพจน์และสุภาษิตส่งเสริมการไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค           

๒) ให้ช่วยกันหาคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่กล่าวถึงการไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค           

ในทั้งสองกรณีให้มีอาสาสมัครรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อทำเอกสารแจกให้เก็บไว้ โดยลงวันที่ไว้ด้วย 

ฝึกคุณธรรม            

๑) ฝึกรู้รอบ : เรื่องนี้เหมาะสมสำหรับสอนเรื่องการไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคหรือไม่ อย่างไร           

๒) ฝึกแข็งขัน : เราจะแสดงการไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคได้อย่างไร  มีความมุ่งมั่นที่จะทำแค่ไหน 

๓) ฝึกพอเพียง :การไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคอย่างไร จึงเรียกว่าทำได้อย่าง พอเพียง  

- อย่างไรเรียกว่าขาด                                   

- อย่างไรเรียกว่าเกิน           

 ๔) ฝึกความยุติธรรม : การไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่ดำเนินไปอย่างมีความยุติธรรมเป็นอย่างไร ให้ช่วยกันยกตัวอย่าง 

กิจกรรมสันทนาการ๑.     ให้นำขนมแขวนไว้ที่กิ่งไม้ที่อยู่สูงจากพื้นและไกลจากลำต้นของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง แล้วให้อาสาสมัครหาทางที่จะเอาขนมนั้นลงมาให้ได้ ใครทำได้ก็ให้ได้ขนมนั้นไป  

เอนก สุวรรณบัณฑิต   ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เอกสารคุณธรรมและจริยธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปรับจากหนังสือ Discovering the Real Me, Universal Peace Federation Edition

หมายเลขบันทึก: 159892เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท