แสงสีกับชีวิตประจำวัน


แสงสีกับชีวิตประจำวัน


ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มีอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเสมอ เรื่องนี้อาจจะทำให้เราเห็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่มีตาที่ดีเหมือนงูหรือแมลงบางชนิด นั่นก็คือเรื่องของแสงสี


ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด "แสงสี" ซึ่งถ้าใครที่เรียนศิลปะมาแล้วจะคุ้นกับคำว่าแม่สีมากกว่า แต่แสงสีกับแม่สีคนละอย่างกัน


แม่สีประกอบด้วยสามสี คือ แดง น้ำเงิน และเหลือง ซึ่งจะทำให้เราผสมแม่สีเหล่านั้นแล้วกลายมาเป็นสีอื่นๆ ตามความต้องการได้ แต่แสงสีเราจับต้องไม่ได้ เราจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อมันไปกระทบกับอะไรสักอย่างซึ่งเราจะเรียกว่าฉาก เมื่อแสงสีไปกระทบกับฉากจึงจะมองเห็นแสงสีนั้น


แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสีด้วยกัน คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว  ทำไมมีแค่สามแสงสี นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น แล้วแสงสีเหล่านี้มาจากที่ไหน คำตอบก็คือดวงอาทิตย์นั่นเอง เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก ความสว่างนั่นเองก็คือแสง แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดงนั่นเอง แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง หมายความว่า แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากัน


เราจะเอาเรื่องนี้ไปอธิบายสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวได้ก็ต่อเมื่อเราได้รู้จักการทำงานของตัวเราเกี่ยวกับการรับความรู้สึกของการมองเห็นแสงสีต่างๆก่อน

ดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ภายในดวงตาของเราจะมีส่วนที่รับแสงสีที่มีชื่อว่า เรตินา ส่วนเรตินานี้เองที่จะมีหน่วยรับสัมผัสเกี่ยวกับแสงสี เพราะในเรตินาจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เมื่อเรามองไปยังวัตถุที่มีสีแดง แสงสีแดงจะไปกระตุ้นให้เซลล์รับรู้สีแดงในเรตินาทำงาน และส่งกระแสประสาทไปยังสมองแปลความทำให้เรารู้ว่านั่นคือสีแดง

เมื่อเรามองไปยังวัตถุที่มีสีเหลือง ทั้งแสงสีแดงและแสงสีเขียวจะไปกระตุ้นให้เซลล์ที่รับรู้แสงสีแดง และ แสงสีเขียวให้ทำงาน ทั้งสองจะส่งกระแสประสาทไปยังสมองให้เราแปลความว่าเรามองเห็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีแสงสีใดไปกระตุ้นให้เซลล์รับแสงสีทำงานเลย เราจะแปลความว่าเป็นสีดำ ตรงข้ามกับสีขาวซึ่งจะเป็นการทำงานของเซลล์รับแสงสีทั้งสามให้ทำงานพร้อมกัน

คราวนี้เรามาอธิบายการมองเห็นสิ่งต่างๆ จากแสงของดวงอาทิตย์กันบ้าง ตัวอย่างเช่น ใบไม้สดที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว ก็อธิบายได้ว่า
เมื่อแสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยแม่แสงสีหลักๆ สามแสงสีคือ แสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน และแสงสีเขียว แต่ใบไม้สดมีสารที่เราเรียกว่าคลอโรฟิลล์นั้นทำหน้าที่ดูดกลืนแสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว ทำให้แสงสีเขียวนั้นสะท้องออกจากคลอโรฟิลล์ในใบไม้ เข้าสู่ดวงตา เซลล์รับรู้แสงสีเขียวถูกกระตุ้นให้ทำงาน แปลส่งไปยังสมองบอกว่า ใบไม้มีสีเขียว อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นถ้าใบไม้มีคลอโรฟิลล์น้อย เราจะมองเห็นสีเขียวน้อยลงด้วย และใบไม้แห้งไม่มีคลอโรฟิลล์ เราจะมองไม่เห็นสีเขียวในใบไม้แห้งเช่นกัน

หลักการรวมแสงสีที่เราควรรู้จักก็มีดังนี้
แสงสีแดง + แสงสีเขียว = แสงสีเหลือง
แสงสีแดง + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีม่วงแดง
แสงสีเขียว + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีฟ้า
แสงสีเขียว + แสงสีแดง + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีขาว
ส่วนแสงสีอื่น ๆ ที่เรามองเห็นก็จะมีสัดส่วนของแสงสีต่างๆ ที่ไม่เท่ากัน ตามแต่โทน ถ้าโทนร้อนก็หมายถึง มีส่วนผสมของแสงสีแดงมาก โทนเย็นก็มีส่วนผสมของแสงสีน้ำเงินมากนั่นเอง

หลักการผสมของแสงสีเหล่านี้ ได้นำไปใช้ในการผลิตโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มือถือ เครื่องฉายดิจิตอลทั้งหลาย และอื่นๆ ที่อาศัยการมองเห็นภาพ

สัตว์อื่นๆ เช่น งู จะมองเห็นสิ่งอื่นๆด้วยเช่น รังสีอินฟราเรด หรือรังสีความร้อน คนเรามองเห็นแค่รังสีของแสงเท่านั้น รังสีที่ต่ำกว่านี้(รังสีอินฟราเรด) หรือรังสีที่สูงกว่านี้(รังสียูวี) คนเราไม่สามารถรับสัมผัสได้ก็เลยมองไม่เห็นแต่สัตว์มีอวัยวะพิเศษในการรับสัมผัสรังสีที่ว่านี้ทำให้มันมีความพิเศษ งูจะมองเห็นสิ่งมีชีวิตในเวลากลางคืน เพราะสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีรังสีอินฟราเรดแผ่ออกจากร่างกายเสมอ ส่วนแมลงจะมองเห็นรังสียูวี จากใบไม้ ทำให้แมลงรับรู้ได้ว่าใบไม้ไหนที่อ่อนหรือแก่ โดยที่มันไม่ต้องเรียนรู้ แต่ได้จากการรับสัมผัสนั่นเอง

เมื่อคนเรารู้ดังนี้จึงได้ทำสิ่งประดิษฐ์เลียนแบบสายตางูหรือแมลง เช่น กล้องอินฟราเรดที่ใช้มากในกองทหารที่ต้องการรู้ความเคลื่อนไหวของศัตรู หรือจะเป็นเครื่องฉายแสงยูวี ที่สามารถตรวจสอบธนบัตรปลอม เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #การผสมสี#แสงสี
หมายเลขบันทึก: 160813เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2008 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่ให้ความรู้นะฮะ

คำตอบของแสงสีไม่ชัดเจน

ที่เข้ามาเพื่อมาหาข้อมูลแล้วได้คำตอบอย่างนี้เราก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้

ขอบคุณที่ให้ความรู้นะค่ะ

แ่ทำไมใบไม้ถึงมีโคโรฟิลล์อยู่ในตัว

แล้วทำไมตอนใบไม้มันแห้งถึงไม่่มีโคโรฟิลล์อยู่ในใบไม้แห้ง

แล้วโคโรฟิลล์หายไปไหนค่ะ

(คำถามเยอะไป 555+)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท