กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม : ศาสตร์และศิลป์คนทำงานชุมชน


และสิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้ก็คือ อย่ายึดติดกับเครื่องมือ หัวใจหลักๆคือ ความเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิถีชุมชน ให้โอกาสให้ความสสำคัญศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ ข้อมูลนั้นเราสามารถเข้าถึงโดยง่าย ไดข้อมูล ได้ใจ

วันนี้นั่งเตรียมการสอน  ค่อนข้างยุ่งเลยทีเดียว

การไปแลกเปลี่ยนครั้งนี้กับ นศ.ปริญญาโท ผมหนักใจไม่น้อย เพราะด้วยตัวประเด็นที่ได้มาเป็นการบ้าน ความคาดหวังของจุดประสงค์ บวกกับเวลาที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยน เพียง ๓ ชั่วโมงของของวัน  ตามจริงผมอาจต้องเปิดการเรียนรู้แบบนี้เป็นเทอมเลยทีเดียว จากนั้นก็จะให้ นศ.เรียนรู้เพื่อทำวิทยานิพนธ์ต่อไป

งาน Thesis ที่ทำกับชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ นักวิจัย -นักศึกษา จะต้องลุ่มลึก และเข้าใจชุมชนมากพอที่จะเข้าไปเรียนรู้ ด้วยเวลาจำกัดเช่น ระยะเวลาเรียน ผมคิดว่าอาจน้อยไป แต่เบื้องต้นผมก็อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีอยู่กับงานชุมชน

เรื่องของ "เครื่องมือ" ส่วนใหญ่ผมใช้  "การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม"  หรือที่เราเรียกว่า PLP : Participatory Learning Process ที่มีเป้าหมายให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเท่าเทียม  สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ

และสิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้ก็คือ อย่ายึดติดกับเครื่องมือ หัวใจหลักๆคือ ความเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิถีชุมชน ให้โอกาสให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ข้อมูลนั้นเราสามารถเข้าถึงโดยง่าย ได้ข้อมูล ได้ใจ

สิ่งที่ผมบอกกล่าวให้ท่านอื่นๆได้ฟังกันบ่อยๆก็คือ "การถอดถอน" การถอดถอนในที่นี้คือ การดูที่วิธีคิดของเรา เรามักติดกับ มายาคติเดิม กระบวนทัศน์เก่าๆ รวมถึง อคติบางอย่างที่เป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เราเข้าถึงองค์ความรู้ที่ชุมชนมี  การถอดถอนกระบวนทัศน์เดิมของเราจึงจำเป็นสำหรับการเข้าหาชุมชนเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน

เปิดใจ ใฝ่รู้  ยกระดับ และปรับตัว

อย่างไรก็ตามเครื่องมือไม่ว่าจะดีแค่ไหน หากผู้ใช้ไม่เข้าใจ ไร้ศาสตร์และศิลป์ ก็อาจล้มเหลวได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นการใช้เครื่องมือ ที่เหมาะสมก็คือ สามารถปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ บริบท และบรรยากาศของชุมชน จึงจะประสบความสำเร็จในการเข้าถึงองค์ความรู้

----------------------------------------

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม นั้น สามารถ Download ได้จาก Link เหล่านี้ครับ

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  

(click download)

---------------------

ขอบคุณ

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนครับ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสรรค์ ผะ หญา เพื่อพัฒนาบ้านเฮา

----------------------

 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผม เชิญได้ครับที่ vjatuporn  (at) hotmail (dot) com  ครับ

หมายเลขบันทึก: 161126เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)
 นั่งทำสไลด์นำเสนอไป ก็เขียนบันทึกเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ร่วมกันด้วยครับ

อย่างไรก็ตามครับ กระบวนการทำงานชุมชน ไม่ได้มีบทเรียนสำเร็จรูป ขึ้นอยู่ที่เรานำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ให้เหมาะสม สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข อาจใช้เวลาบ้างก็อย่าใจร้อน

มีเรื่องราวเเลกเปลี่ยนสามารถ อีเมล หรือโทรศัพท์มาพูดคุยได้ครับ

ยินดีครับ
  •  ขอบคุณครับพี่
  • ผมกำลังต้องการข้อมูลและวิธีการลักษณะนี้อยู่พอดีเลยครับ
  • อิอิ  ..  มหัศจรรย์จริง ๆ
  • แค่นึกนะเนี่ยครับ  อิอิ

ครับน่าสนใจครับ...

มันป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ มันจึงเป็นเรื่องที่ยากและละเอียดอ่อน และที่สำคัญมันเป็นเรื่องของชุมชนจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ...

ขอบคุณครับ...

สวัสดีครับ น้องมะเดี่ยว
มานั่งฟัง แลกเปลี่ยน ที่ มช. วันเสาร์นี้ดีมั้ยครับ ในฐานะผู้มีประสบการณ์
หากต้องการอะไรเพิ่มเติมติดต่อได้ครับ

จะ"จัดให้" ครับ

 สวัสดีครับ คุณจตุพร  ขออนุญาตเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ 

                ในเรื่องของศาสตร์และศิลป์ คนทำงานชุมชน  ตามความคิดเห็นของผม ผมว่าเป็นเรื่องที่ยากและมีความละเอียดอ่อนมากครับ 

                โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของ "อคติ"  หรือ "กระบวนทัศน์เก่า ๆ ของเรา" นะครับ 
 
                และ ทั้งสองสิ่งนี้ ผมว่าบางครั้ง  ผู้เข้าไปทำงานชุมชนก็มองไม่เห็นครับ จนมันอาจกลายเป็นเป็น "อัตลักษณ์" ของเขาไปแล้วก็ได้

               ผมว่าถ้าปลด "อคติ" ออกไปได้  ก็น่าจะถอดถอนวิธีคิดแบบเดิมๆได้  ใช่ใหมครับ

              และ "แนวคิดแบเดิมๆ" ที่น่าจะถอดถอนออกไปอย่างแรก คือ แนวคิดแบบอำนาจนิยม  ซึ่งฝังลึกอยู่ในวิธีคิดของคนไทยเรามานานแสนนาน
 
                                        ขอบคุณครับ
 สวัสดีครับ ดิเรกMr.Direct

ทำงานกับ "คน" ก็ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ รวมถึงจิตวิทยาที่เพื่อนเรียนมาด้วยครับ เพราะชุมชน คือ คนทั้งนั้น มัน "ยุ่ง" ครับ

เมื่อกลางวันผมโทรคุยกับ จนท.โครงการหลวง หากโอกาสดี ผมจะพาเพื่อนไปสังเกตการณ์การทำงานด้วยครับ เป็นไปได้น่าจะออกเดินทางวันที่ ๓ เช้าเลยหลังจากที่เพื่อนลงรถครับ...
ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ผมคิดว่า ช่วง free day 5 วัน ไม่น่าเบื่อแน่ครับ

 
 สวัสดีครับ อาจารย์ small man
ผมเห็นด้วยตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ครับ
และเพิ่มเติมด้วยตารางนี้

กระบวนทัศน์เก่า

กระบวนทัศน์ใหม่

เน้นเศรษฐกิจนำ(บริโภคนิยม) วัดความเจริญเติบโตของประเทศด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น หรือ GDP

เน้นความสมดุลระหว่าง ๓ ส่วน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

(วัดด้วย ความสุขมวลรวมประชาชาติเบื้องต้น หรือ GDH)

รวมศูนย์อำนาจ (เน้นผู้นำ /อำนาจนิยม/ทำงานแบบสั่งการหรือสอน)

เน้นการมีส่วนร่วม (เชื่อว่าทุกคนมีดีเน้นการกระจายอำนาจ/กระบวนการกลุ่ม/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้)

จัดความสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง

จัดความสัมพันธ์แบบแนวราบ

มองแบบแยกส่วน(สร้างผู้ชำนาญเฉพาะทาง)

มองแบบองค์รวม (สหวิทยาการ)

เน้น การใช้ความรู้สำเร็จรูปจากภายนอกหรือตำรา

เน้น การผสมผสานทั้งความรู้ท้องถิ่นจากปราชญ์ ผู้รู้ ชุมชน บนฐานเดิมที่มีอยู่ ผสม ผสานความรู้จากภายนอก

มีการแข่งขันสูง(มุ่งเป็นที่ ๑ เป็นผู้ชนะ)

มุ่งความสัมพันธ์แบบเชื่อมโยง เกื้อกูลกัน(แบบ Win-Win)

การวัดผลเน้นมูลค่า (เชิงปริมาณ/เงิน)

เน้น คุณค่า(เชิงคุณภาพ/ความสุข/ความสงบ)

เกิดการพึ่งพาภายนอก

เน้น การพึ่งตนเอง

 

  •  ขอบคุณครับ
    ได้ความรู้อีกแล้ว  
  • บางครั้งเราอ่านและมีทฤษฏีมันก็คงแค่อุ่นใจไว้ก่อน 
  • ความจริงแท้ที่เกิดเมื่อเราเผชิญบางครั้งก็มึนได้เหมือนกันนะครับ

พี่นิรันดร์ ครับ

วันนี้ผมมาบทบาทของผู้ถ่ายทอดครับ ก็เป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง งานชุมชนก็ยังทำขนานไปด้วยกัน คิดโปรเจควิจัยขึ้นหลายๆชิ้นครับตอนนี้...

ทฤษฏีเอาไว้นำทางไปก่อน ส่วนรายละเอียดเก็บเอาที่พื้นที่

ที่สำคัญ

  • เป็นธรรมชาติ
  • เนียน
  • ศาสตร์ และศิลป์ครับ

สวัสดีค่ะ  คุฯเอก

    พี่คิดว่าเดี๋ยวนี้คนในชุมชน เค้าตามทันโลกกระแสใหม่แล้วนะคะ  สังเกตจากการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด กีฬาทำให้เกิดความรู้รักสามัคคี จริงๆค่ะ  เป็นกัลยาณมิตรที่ดี  กีฬาเลิก แต่ความสัมพันธ์ยังไม่จบ ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่บ่งบอกถึงความผิดหวัง จากการพลาดถ้วยรางวัลเลย

     การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน จึงต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปตามสถานการณ์จริงๆค่ะ

     อาชีพครูของพี่ก็ไม่ได้อยู่แค่หน้ากระดานดำและเด็กประถมฯ ตัวน้อยๆในโรงเรียนเท่านั้น มีโอกาสพี่จะไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนอีก

  • มาสมัครแล้วค่ะ ไม่ตกบันทึกสำคัญแล้ว

 

สวัสดีครับ อาจารย์จุฑารัตน์ ครับ

เกิดปรากฏการณ์ที่ว่าเราต้องลงไปเรียนรู้กับปราชญ์ชุมชน เรียนรู้วิธีคิดของชุมชน ที่เขาอยู่รอดท่ามกลางแรงกระแทกอย่างไร

ผมเชื่อได้เลยว่าคนทำงานระดับนักพัฒนา เมื่อต้องอยู่ในสถานะชาวบ้าน ประสบชะตากรรมเดียวกัน การแก้ปัญหาอาจไม่ทันวิธิคิดของชุมชน

อาจารย์โชคดีได้เรียนรู้กับชุมชน และนำผลึกผล ประสบการณ์มาบูรณาการกับการเรียนการสอน ...

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆครับ

ขอบคุณครับ

คุณดอกไม้น้อย

มาแลกเปลี่ยนกันสม่ำเสมอนะครับ หากมีประเด็นไหนที่ต่อยอด รบกวนต่อยอดเลยนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้องเอก(ขอเรียกตามที่น้องเอกขอเปลี่ยนสรรพนามจากที่เคยเรียกหมอเอกนะครับ)

  • เห็นด้วยครับการทำงานกับชุมชน "กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม" เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้กับชุมชนได้ดีมาก
  • และส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ ความเป็นธรรมชาติ และนักพัฒนาต้องคิดอยู่เสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และต้องไม่มีอคติ พร้อมกับเปิดใจให้กว้าง และเข้าให้ถึงหัวใจของคนในชุมชนนั้นๆ อย่างแท้จริง เพราะการทำงานกับคน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งจิตวิทยา ควบคู่กันไป   อย่าลืมบวกความจริงใจไปด้วยก็แล้วกัน

สวัสดีครับพี่  adisak

ใช่ครับผม "ความจริงใจ" นี่สำคัญมากๆครับ

การทำงานต้องใช้ใจแลกใจ งานชุมชนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ละเอียดอ่อนและเป็นธรรมชาติ

หนังสือที่ผมส่งไปคงได้รีบแล้ว นะครับ หากมีหนังสือที่เกี่ยวข้องผมจะส่งไปให้อีกนะครับผม

ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับเอก

พี่กำลังทำวิจัยความดี  มีข้อแนะนำบ้างไหม  พี่ว่ามันเป็นนามธรรมมากๆเลย  ยังมึนอยู่คงจะอิงการทำความดีถวายในหลวง  ไม่รู้ว่าถูกทางการวิจัยไหม?

ขอบคุณครับ

ศาสตร์และศิลป์เป็นอะไรที่น่าศึกษา หากใช้ไม่ถูกที่ถูกเวลา สิ่งที่ได้เรียนรู้มาอาจกลับกลายเป็นเพียง ศาสตร์ที่(ไร้)สาระก็เป็นได้ ยินดีที่ได้รูจักันครั้งแรกครับพี่ คงจำผมได้

  • รู้สึกดีกับคนที่พัฒนาเกี่ยวกับชุมชน..
  • เห็นด้วยกับการจัดการความรู้ชุมชน ไม่ควรยึดติดกับเครื่องมือมากเกินไป
  • ความมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดจากประโยชน์ที่จับต้องได้ ของชุมชนเอง ความมีส่วนร่วมย่อมมีมากกว่าปกติ

พี่ TAFS

ผมตอบพี่ช้ามาก จน พี่อาจทำเสร็จไปแล้ว

ต้องขออภัยครับผม

 

เสียงเล็กๆ  ยินดีครับ น้องชายครับ

คิดถึงน้องเสมอ

 

สวัสดีครับ คุณคนโรงงาน

ผมติดตามเรื่องราวดีๆจากคุณคนโรงงานเสมอๆครับ เขียนบันทึกดีๆบ่อยๆนะครับ ...

ผมรอคอยนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มค่ะ
  • เรื่องน่าสนใจมากค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะ ทำงานกับ "คน" ก็ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ รวมถึงจิตวิทยาที่เรียนมาด้วยค่ะ
  • เพราะ คน เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนวงล้อแห่งการพัฒนาระบบการทำงานทุกภาคส่วนค่ะ

คุณไก่...กัญญา

วันนี้นั่งฟัง หมอพลเดช ปิ่นประทีบ คุยในงานประชุมที่ โรงแรมแห่งหนึ่ง ใน กทม. ท่านบอกว่า ทุนที่สำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์ หากเราจะพัฒนาเราต้องเริ่มจากทุนนี้ก่อนที่จะไปพัฒนาอย่างอื่น

พัฒนาตัวเองไปด้วย พัฒนาคนรอบข้างเรา ...

เรียนรู้ไปด้วยกัน

 

ขอบคุณครับผม

  • ธรรมะ  สวัสดีค่ะ 
  • ไปเวียนเทียนไหมเอ่ย...
  • คืนนี้มี "จันทรุปราคาร " นะคะ
  • อย่าลืมชมกันนะคะ
  • งั้นต้องมาศึกษาข้อมูล  จากนิทานกล่อมฝัน  ก่อนดีไหมค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/childendream/240761ตำนานราหูอมจันทร์
  • มีความสุข ... วันพระนะคะ

 พรุ่งนี้  วันวาเลนไทน์  แล้วนะคะ

·    มีความสุข  สดชื่น  สมหวังนะคะ

·    จะเป็นดอกไม้หรือสิ่งของใด ๆ

·    หากเพียงเรามอบให้...เขา   หรือ เขา มอบให้เรา

·    ย่อมไม่สำคัญ...

·    เท่ากับการมอบหัวใจ...ที่มั่นคง และจริงใจ

·    มีความสุขกับความรักนะคะ

 

แวะมาอ่าน  ...ตำนานดอกกุหลาบ  ด้วยกันนะคะ

http://gotoknow.org/blog/childendream/241694

http://gotoknow.org/blog/childendream/241711

ปีนี้ ... จะได้ดอกกุหลาบสีอะไร...เอ่ย...

http://gotoknow.org/blog/loveflower/241736?page=1

 

  • เล่นเรื่องยากมาก ๆ เลยนะคะ
  • สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจและเข้าถึงธรรมชาติชุมชนให้ได้ค่ะ การได้พูดคุยใกล้ชิดกันและโยนปัญหาเพื่อขบคิดจะทำให้เข้าใจวิธีคิดและวิธีรู้สึกได้ดีค่ะ
  • เมื่อต้องทำ Focus Group จะบอกคนในกลุ่มที่เรียนรู้เสมอว่าอย่าเมากับเนื้อหา ให้จับ "วิธีคิด" "การมองโลก" ของผู้พูดให้ดี หากเข้าใจเรื่องนี้เรื่องเดียว จะเข้าใจได้ตลอดสายค่ะ ...เชื่อว่าคุณจตุพรเข้าใจแล้วล่ะ
  • อากาศร้อนมาชวนทานของว่างเย็น ๆ ค่ะ
  • ไอติมกะทิ พอดีไปงานทำบุญบ้านน้องที่สนิทกัน อาหารและขนมแบบไทย ๆ ทานแล้วก็อดถ่ายมาฝากไม่ได้ค่ะ (อุตส่าห์อดใจถ่ายรูป ก่อนทาน เกือบแหว่งจนไม่ได้ถ่ายแน่ะ)

 

แวะเข้ามาเยี่ยมและเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณเอก จตุพร

การเรียนรู้เกี่ยวกับคนนั้น
ความเข้าใจบริบทและ
ความเชื่อแห่งตนของ
บุคคลในชุมชนเป็นสิ่งที่
มีค่ายิ่งต่องานวิจัยประเภทนี้
การวิเคราะห์ที่ปราศจากอคติ
สูงค่านักหากทำได้สำเร็จ

คนไทยส่วนใหญ่ชอบปริมาณ
มากกว่าคุณภาพค่ะ...........
(ประเภทงานวิจัยนะคะ)




สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมนะครับ

เรียน คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

พอดีได้ผ่านมาเจอ blog นี้ ดีใจครับที่ได้เจอนักปฏิบัติการในชุมชนอีกท่านหนึ่ง

ผมทำงาน กศน. เน้นการศึกษาวิจัยชุมชน และให้น้ำหนักกับการมีส่วนร่วม บนพื้นฐาน การเรียนรู้ตามสภาพจริง การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ และจิตวิทยาการศึกษาผู้ใหญ่

ผมว่า ถึงแม้การดำเนินงานการพัฒนาชุมชน จะอยู่บนพื้นฐานของวิถี แต่นักพัฒนาคงต้องพัฒนาตนเองมากมาย เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หากใช้กระบวนการที่สอดคล้องกับวิถี ย่อมจะได้ผลต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ในที่นี้ไม่หมายรวมไปถึงการเอื้อประโยชน์จากภาครัฐ มองด้านการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก จากประสบการณ์ ผมว่าหากชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองเป็นหลักได้ โดยลดความช่วยเหลือจากปัญจัยถายนอกลง จะส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้

ขณะนี้ผมทำงานวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน

หากคุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร หรือสมาชิกท่านอื่นๆใน blog นี้ สนใจ ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมยินดีนะครับ

ขอบคุณในความรู้ที่เผยแพร่ ที่สำคัญ เพลงเพราะมากครับ ชื่อเพลงอะไร อยากได้มาฟังครับ

สุธี วรประดิษฐ

ต้องการติดต่อพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ @ มาได้ที่

[email protected]

ขอบคุณครับ น้องปลายฟ้าที่มาเยี่ยมตั้งสองครั้ง

มีโอกาสอยากอ่านบันทึกของ อ.Sila Phu-Chaya  ที่เกี่ยวข้องกับงานชุมชนบ้างนะครับ..

ขอบคุณ อ. ดร. ทิพวัลย์ สีจันทร์  และพี่  TAFS  ที่มาเยี่ยมครับ

ครูแป๋ม  ก็อาจจะให้ทางเลือกน้อยไปหน่อย หากแบ่งประเภทงานวิจัยออกเป็นปริมาณ และคุณภาพ โดยส่วนตัวเเล้วมองว่าแบ่งแบบนี้ แล้วปริมาณ ไม่มีคุณภาพเหรอ??? จะเกิดคำถามประมาณนี้ครับ

อาจต้องดูแบบแผนงานวิจัยว่าเหมาะกับ ประเภทงานวิจัยแบบไหน ปริมาณเองก็สำคัญ ส่วนเชิงคุณภาพเองก็สำคัญ ในประเด็นที่ต่างกัน

บางงานก็มีแบบผสม ก็แล้วแต่ว่าจะออกแบบงานวิจัยอย่างไร นั่นอีกเรื่อง

 

พี่ สุธี วรประดิษฐ

จริงๆผมเคยทำงานวิจัยชุมชนร่วมกับ กศน.นะครับ ช่วงที่ทำงานที่แม่ฮ่องสอน

กศน.เองมีจุดเเข็งมากเพราะใกล้ชิดชุมชน และมีข้อมูลเริ่มต้นพอสมควรเเล้ว ที่เหลือก็คือ พัฒนาศักยภาพของคน กศน.เองในส่วนของกระบวนทัศน์นะครับ ก็ดูแล้วไม่ยาก คน กศน.ลุยๆกันทุกคน

เห็นด้วยครับว่า ชุมชนเรามีปัจจัยกระทบมากมาย ความรู้เปลี่ยนแปลงเร็ว ปัญหาหนึ่งมีเงื่อนไขซับซ้อนไปหมด หากมองปรากฏการณแต่เพียงผิวเผิน ปัญหาที่แก้นอกจากจะไม่สำเร็จตามที่ควรจะเป็นแล้ว ยังเสียพลังงานไปเยอะ(คนทำงาน)

ยินดีอย่างยิ่งครับ ท่านสุธีครับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผมได้ตลอดครับ หากมีโอกาสจะได้ไปเยือนตราด จะได้ไปเเวะสนทนากับท่านด้วยครับ

:)

vjatuporn ฮอตเมลดอดคอม

 

*** เพลงประกอบเป็นเพลง แม่ฮ่องสอน เป็นเพลงที่รุ่นพี่ผมคนหนึ่งร้องไว้ครับ ผมเองลูกแม่ฮ่องสอน คนปายแต่กำเนิด เลยรู้สึกรักผูกพันกับถิ่นเกิดมากครับ

สวัสดีครับ คุณจตุพร

ยินดีครับ หากมาเที่ยวตราด บอกกันนะครับ ยินดีต้อนรับครับ

ยินดีมากครับ กับการมี blog ที่ประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เพราะว่าหายากมาก

ตอนนี้ ผมทำวิจัยอยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วม เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน

ผมออกแบบกระบวนการเรียนรู้ใหม่

ถึงแม้ว่า ในปัจจุบัน จะมีการขับเคลื่อนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนมากมาย แต่ผลที่เกิดขึ้น กลับทำให้ประชาชน งง และ งง เพราะ ทำแล้ว ก็เป็นกระดาษที่เย็บเล่มสวยงาม ขาดการเชื่อมประสานสู่การปฏิบัติ

ยอมรับครับว่า ชุมชนจะเข้มแข็งได้ ด้วยการพึ่งพาตนเอง แต่คงไม่ใช่ทุกกิจกรรมของการพัฒนา

อีกประมาณสัก 1 เดือน น่าจะประมวลผลงานวิจัยเสร็จ

ไม่ทราบว่า คุณจตุพร สนใจอ่านหรือไม่ ยินดีนะครับ เพราะ ผมคิดว่า คนทำงานเพื่อชุมชนไม่มีอะไรปิดบังกันอยู่แล้ว ทุกวันนี้ ผมใช้คำว่า แบกันเลย แต่บางคร้งก็มีคนโกยสิ่งที่ผมแบไปหมด ก็เป็นบทเรียนละครับ ว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่ทำงานเพื่อชุมชน จะเหมือนกันทั้งหมด

อยากมี blog แลกเปลี่ยน งานวิจัยชุมชน ด้วยจะดีมาก ผมคงไม่เก่งพอที่จะเปิด blog ประเภทนั้น มีแต่จิตใจที่อยากทำ

ไม่ทราบว่า คุณจตุพร ตอนนี้ทำงานที่ไหน หากมีเวทีดีๆ อาจไปร่วมสังเกตุการณ์ เติมเต็มประสบการณ์นะครับ เพราะคิดว่า เวทีแต่ละเวที มีอะไรใหม่ๆให้เราได้เรียนรู้

สุธี ครับ

คุณสุธีครับ

มีโอกาสไปแน่ครับ ที่ตราดมีหลายอย่างที่ผมสนใจครับ

ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชนในบทบาทนักวิจัยครับ ตอนนี้ผมมาเรียนอยู่ที่ ม.มหิดล ครับ เป็น ป.เอก สาขาที่เกี่ยวข้องกับประชากร ได้พักใหญ่เเล้วครับ สาขานี้ก็เชื่อมโดยตรงกับประสบการณ์เดิมของผม งานที่ทำตอนนี้ก็เป็นงานอิสระครับ ส่วนงานที่ทำไปด้วยเป็นงานพวกถอดบทเรียน บทบาทเป็นวิทยากรกระบวนการ กระบวนการ KM ,วิจัยชุมชน มีงานสอน(ชั่วโมงพิเศษ)บ้างส่วนใหญ่ก็ประเด็นเกี่ยวข้องเหล่านี้ ครับผม

น่าสนใจงานวิจัยของคุณสุธีมากครับ...หากไม่ลำบากมาก ผมขอรบกวนให้คุณสุธีส่งมาให้ผมได้เรียนรู้ร่วมด้วยนะครับ

ผมมีประสบการณ์การทำงานกับชุมชน ที่ผมเขียนเป็นหนังสือขนาดพ็อกเก็ตบุ้ค ส่งไปให้อ่านครับ ส่งที่อยู่ให้ผมทางอีเมลด้วยครับ จะได้ส่งไปให้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ยินดีครับ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท