ผู้ทรงสิทธิ


               จากข้อความในบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการกำหนดอัตราค่าบริการตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ (เรื่องเสร็จ ที่ ๔๘๓/๒๕๔๖ )เพื่อตอบข้อหารือของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.) ตามหนังสือที่ สปสช.๐๓/๑๘๘๓ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ ในประเด็นที่ว่า...คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่๙)  เห็นว่า

 

" เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา๕ แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕  ประกอบกับเหตุผลในการออกพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหลักการและเจตนารมณ์ที่จะให้หลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทยโดยการกำหนดให้บริการสาธารณสุขที่ทุกคนจะได้รับจากหน่วยบริการต้องมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาคเท่ากันทุกคน ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และเป็นการดำเนินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม มาตรา ๕๒ และมาตรา ๘๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ "

 และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว มาตรา ๑๘ จึงให้อำนาจคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น รวมถึงกำหนดอัตราค่าบริการ และมาตรฐานการให้บริการเพื่อเป็นหลักประกันแก่ประชาชน  ดังนั้น การที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดอัตราค่าบริการสาธารณสุขที่ผู้รับบริการจะร่วมจ่ายแก่หน่วยบริการให้แตกต่างกันหลายอัตราตามฐานะทางเศรษฐกิจ จึงขัดแย้งกับหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมาย

             

หมายเลขบันทึก: 161212เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ กำลังอยู่ในช่วงหัดตั้งไข่ค่ะ

กิติวรญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท