นิสิต เรียนรู้การดูแลโรคเรื้อรัง ที่คลินิก ARV เด็ก


รักษาโรค ต้องรักษาจิตใจ และความรู้สึก และความคาดหวังด้วย

นิสิตทั้ง 24 คน มาเรียนรู้ตัวอย่าง การดูแลโรคเรื้อรัง

ที่คลินิคให้ยาต้านไวรัส เด็กที่มีเชื้อ เอชไอวีวันที่ 24 มค 50 

เริ่มด้วย - ตัวแทน นิสิต 8 คนให้ เข้าร่วมในกิจกรรม Morning meeting ตอนเช้า  8.15 น อีก 16 คนค่อยให้ตามมา ตอน 9 โมง

 

ไปฟังพี่ๆ เขาส่งข้อมูลผู้ป่วยแบบ Holistic care เพื่อสังเกตุ เก็บข้อมูลที่ได้มาเล่าให้เพื่อนๆทราบว่าทีมดูแลผู้ป่วย มีการสื่อสารกันอย่างไร

900 น  นิสิตมากันครบทั้งหมด 24 คน แล้ว ก็ได้เรียนรู้ ต่อ

เรื่อง ปัญหาที่พบในการรักษา ระยะสั้น ระยะ ยาว   การแก้ปัญหาในแต่ละคน และการจัดระบบในการให้การดูแลผู้ป่วย จำนวนมาก ซึ่งทุกคนจะได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ

จากการบรรยายปูพื้นฐานความรู้ให้ เข้าใจโรค และทฤษฏี โดย อาจารย์รวิวรรณ

จากการสัมภาษณ์ ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ผู้จัดการโครงการป้ายิ้ม  พยาบาลป้าตู่  ทีมเยี่ยมบ้าน NGOAccess แม่อ้อย และศูนย์องค์รวม พี่ลำดวน

และมีโอกาส ได้สัมภาษณ์ ผู้ป่วย เพราะน้องผู้ป่วย และคุณยายผู้ดูแล อนุญาติให้สัมภาษณ์ เป็นวิทยาทานให้คุณหมอรุ่นใหม่ด้วย

 สรุปตอนท้ายการดูงาน : สิ่งที่ได้นิสิตเรียนรู้

-          รู้จัก Access

-          การกินยาตรงเวลาสำคัญมาก ต้องใช้  DOT  ฯลฯ ช่วย

-          การบอกวินิจฉัยโรค ดูระยะที่เหมาะสม

-          คลินิก  HIV  ต้องมีหลายความร่วมมือ,

-          วัยรุ่นมีปัญหามากที่สุด

-          คนรอบข้างสำคัญให้กำลังใจช่วยเหลือ

-          Cotri และยาต้าน ARV   มี  Side effect  เหมือนกัน

-          ปัญหาเด็กไม่กินยาขึ้นกับผู้ดูแลด้วย

-          แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ร่วมกันเด็กได้ประโยชน์มากที่สุด

-          จัดค่ายให้เด็กอายุ   12 ปีเพราะเด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศ,จิตใจ

-          เริ่มยา ดูแต่ ข้อชี้บ่งทางการแพทย์ (อาการ และCD4)เท่านั้นไม่ได้ ต้องดูความพร้อมด้วย

-          แจ้ง disclosue  ควรบอกและค่อยๆให้ความรู้ตามอายุ

-          เด็กใหม่มีต้นแบบ เรียนรู้จากเด็กเก่า   มีตัวอย่างแนวทาง ปฏิบัติที่ดี

-          Abherence  สำคัญ ขนาดทำได้> 95 %   ก็ยังไม่ได้ผล 22 %

-          Side effect ของ D4T คือ lipodystrophy

-          การบอกว่าเด็กติดเชื้อแบบตรง ๆ อาจทำให้เกิด post – traumatic events

-          วิธีการให้ ARV  มี 5  Step การเตรียม ที่ รพ การเตรียมความพร้อม การเยี่ยมบ้าน การติดตามระยะแรก การติดตามต่อเนื่อง

-          ต้องบอกข่าวดีของการกินยา  เช่น  CD4  เพิ่มขึ้น

-          Access    ศอร มีใจทำงาน

-          เทคนิคการกินยาให้ตรง มีอุปกรณ์ ช่วย เช่น ใช้นาฬิกาปลุก, กล่องยา

-          การดูแลผู้ป่วยต้ององค์รวม ดู โรงเรียน,  อาหาร ,  เพื่อนเล่น

-          ความเศร้าของเด็กที่มีเชื้อ  ติดจากพ่อแม่ , เพื่อนรังเกียจ, พ่อแม่ตาย

-           GPO vir  ตอนนี้จากขนาด 40 เปลี่ยนเป็น 30 (D4 มากไป)

-          ปฏิกิริยาเด็กเล็ก จะมีความรู้สึก โทษตัวเอง

 

 นิสิตได้ สรุป ประเด็น การนำไปใช้ต่อ ในด้านการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังว่า

 -          ดูแลผู้ป่วยแบบ Halistic, องค์รวม,แสดงความรักความห่วงใย

-          ปัญหาหลักอาจไม่อยู่ตรงที่ตัวโรค  อาจอยู่ที่สังคม,ครอบครัว

-          ดูทั้ง illness  และ  disease

-          ติดตามเยี่ยมบ้านสำคัญ ไปดูสิ่งแวดล้อม

-          คนไข้  chronic ต้องสร้างแรงจูงให้มีความร่วมมือมากที่สุด

-          ดูแลองค์รวมทำคนเดียวไม่ได้  สหวิชาชีพดีกว่า

-          อาศัยความร่วมมือ   จากCompliance ให้เป็นความร่วมใจ Adherance

-          ดูแลผู้ป่วยให้ดูแลคนข้างเคียง  ดูจิตใจด้วย

-          ดูแลผู้ป่วยแบบญาติเราเอง

-          หลักสะท้อนความรูสึก  ให้พูดออกมา

-          สร้างสัมพันธ์ที่ดี  ไม่ใช้ดูแต่โรค

-          ติดตามเป็นระยะ  ให้มีความคุฯณภาพชีวิตที่ดี

-          ให้ความรู้ Care  giver ให้ดี

-          กำลังใจจากคนรอบข้าง  แพทย์  คนในครอบครัว  เพราะต้องกินยาตลอดชีวิต

-          ทำหน้าที่รักษาที่ดีที่สุด เราจะลดภาระของแต่ละคนและผู้ป่วยได้ประโยชน์

-          นัด  Follow Up   ถ้าไม่มา  ไม่ควรว่า  ไม่ดูแต่โรค  ดูสังคม  เศรษฐกิจด้วย  วิธีแก้ต้องเยี่ยมบ้าน

-          กินยาให้ได้ผล  ใช้เทคนิก DOT (กินยาต่อหน้า)

-          ผู้ป่วยอาจไม่ได้ต้องการรักษาโรค  แต่อาจต้องการแค่การดูแลที่ดี พูดดีๆ

-          ให้คิดผลเสียผลดีของการไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำ

-          รวมกลุ่มผู้ป่วยโรคเดียวกัน เทคนิค Peer  group

-          ระยะทางไกลมีปัญหาค่าใช้จ่าย  กระจายให้ไปรับยาใกล้บ้าน

-          โรค  chronic    ต้องดูสาเหตุ การที่ผลการรักษาไม่ดี เช่น DM น้ำตาลขึ้น  อาจเพราะ กินยาไม่ถูกต้อง

-          ปัญหาระดับชาติ ต้องจัดการให้ดี

หมายเลขบันทึก: 161276เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 06:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจอีกแล้วค่ะอาจารย์ หนูก็เป็น 1 ใน 8 คนในตอนเช้าที่เข้าฟังการทำงานของทีมผู้ป่วย HIV เป็นการทำงานเป็นทีมมากๆค่ะ มีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย พอเข้าฟัง lecture และก็เจอกับพวกพี่ๆ ก็ทำให้หนูเข้าใจมากขึ้น อได้เจอกับน้องที่เป็นก็รู้สึกเห็นใจค่ะ อยากให้เค้าหายจัง น้องน่ารักมากๆค่ะ

 

หนูขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ต่อไปนะคะ อาจารย์น่ารักมากๆเลย ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ถ้าพี่หมททำแบบนี้ได้ทั่วประเทศ หนูเชื่อว่าจิตใจของคนไข้ของเราต้องดีขึ้นมากๆแน่ๆค่ะ

ขอบใจมากจ้า หนูออมสิน

อาจารย์ ได้รับคุณค่าในตัวคนทำงานรอบๆ ที่ทำงานมีคุณภาพ อย่างมีความสุข พลอยมีสุขไปด้วย

ที่ท่านพุทธทาส ท่านสอนว่า บางคนทำงานไป ตกนรกไป บางคนทำงานไป ขึ้นสวรรค์ไป

คนรอบๆ ตัวอาจารย์ นั้น ขึ้นสวรรค์ ขณะทำงานเป็นส่วนมาก

 ตัวอย่างนิสิต มน สายพันธ์ เชียงราย ที่เรียนไป ดูคนไข้ไป มีความสุข ขึ้นสวรรค์ไป ดูจาก หน้าตาท่าทางก็ ทราบ

และอาจารย์ ดูว่า ออมเป็นหนึ่งในนั้นจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท