การตรวจสอบค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายของเมล็ดถั่วเขียวหลังจากปล่อยให้ด้วงถั่วเขียวเข้าทำลาย4เดือนเมื่อไม่มีการป้องกัน(วิธีการเปรียบเทียบ)


การตรวจสอบค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายของถั่วเขียวจะได้อยู่เท่าใดเมื่อปล่อยให้ด้วงถั่วเขียวเข้าทำลาย4เดือน(วิธีการเปรียบเทียบ)?
นำเมล็ดถั่วเขียว300กรัมใส่ในกล่องพลาสติกขนาด 12x12x6 ลบ.ซม. จากนั้นปล่อยด้วงถั่วเขียวตัวเต็มวัย 20 ตัวต่อกล่อง ทำ 4 ซ้ำ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ  25-26 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60% รอจนครบ 4 เดือน จึงนำเมล็ดถั่วเขียวมาวัดหาค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายจากเมล็ดถั่วเขียว  ทำ 4 ซ้ำ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 600.00µs  ,  406.00 µs , 270.00 µs ,  และ  404.00 µs  ตามลำดับ ใช้เครื่องวัดการนำไฟฟ้ายี่ห้อ EUTECH INSTRUMENT รุ่น con500 วัตถุประสงค์ของการวัดค่าการนำไฟฟ้าจะบอกถึงคุณภาพของเมล็ดถั่วเขียว ความมีชีวิต ความงอก ความแข็งแรงของเมล็ดหากเมล็ดดีจะวัดค่าการนำไฟฟ้าได้น้อย(ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย) แต่หากวัดค่าการนำไฟฟ้าได้มากแสดงว่าเมล็ดนั้นไม่ดี(เมล็ดรั่วสารอินทรีย์ในเมล็ดละลายออกมาในสารละลายมาก)   ค่าที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนและความแตกต่างกันทางสถิติด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มโดยสมบูรณ์ CRD : Completely Randomized Design มี9วิธีการทดลอง และหากตรวจพบความแตกต่างกันของค่าเฉลี่ย จึงจะวิเคราะห์ต่อไปด้วยวิธีของดันแคนนิวมัลติเปิลเร้นเทส(Duncan’s New Multiple Range Test :DMRT’s)การทดลองนี้เป็นตอนสุดท้ายของการวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายบ้านสมุนไพร-ODD 
หมายเลขบันทึก: 162302เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท