จดหมายข่าว โครงการจัดระดับความเหมาะสมสื่อ PROJRCT ME E-NEWS (2)


เรื่องการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ อินเตอร์เน็ต นั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ยากมากเนื่องจากเป็นการไปจัดการกับเนื้อหา และข้อมูลมากมายมหาศาลในโลกใบนี้ รวมทั้งมองว่า ที่มาของ”คน”อาจจะเป็นตัวชี้วัดจุดบางอย่าง อาจจะไม่ใช่เนื้อหาอย่างเดียว ทำให้โครงการของชาว ME นี้เป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อนมาก

Internet Friendly Visit No1: อาจารย์แอน แห่ง Nectec

วันที่ 21 มกราคม 2551 ชาว Me ได้ไปพบกับ อาจารย์แอน สาวหน้าหวานแต่มาดเท่ห์คนนี้ด้วยวาระแห่งการทาบทาม อ.แอนมาเป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยเรื่องจัดระดับความเหมาะสมของสื่ออินเตอร์เน็ต
วันนี้เรานัดพบกันที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ หลังจากอาจารย์บรรยายเสร็จ ก็สละเวลามานั่งคุยกับพวกเรา
โดย อ. อิทธิพล เล่าแนวคิดเกี่ยวกับโครงการนี้ว่าเป็นการหาสูตรสำหรับนำมาวัดระดับเนื้อหาของสื่อ อินเตอร์เน็ต โดยใช้วิธีการ Rating lab นำเวปไซด์ยอดนิยมของคนไทยมาให้ กลุ่มคนหลายกลุ่ม ไม่ว่า ภาควิชาการ ภาคผู้ผลิต และ ภาคผู้บริโภค มากช่วยกันมองว่า เนื้อหาไหนเป็นสีอะไร ระหว่างขาว เทา ดำ และ นำช่วยกันหา Criteria ว่าสีต่างๆนั้นมาจากเกณฑ์อะไรบ้าง

อ. แอน ยินดีมากที่จะเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้ และพูดถึงเรื่องความล้าสมัยของเราเองที่อาจจะไปทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันซะแล้ว อ.แอนนมองว่าเรื่องการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ อินเตอร์เน็ต นั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ยากมากเนื่องจากเป็นการไปจัดการกับเนื้อหา และข้อมูลมากมายมหาศาลในโลกใบนี้ รวมทั้งมองว่า ที่มาของ”คน”อาจจะเป็นตัวชี้วัดจุดบางอย่าง อาจจะไม่ใช่เนื้อหาอย่างเดียว ทำให้โครงการของชาว ME นี้เป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อนมาก
(อันที่จริงชาว ME ก็ละเอียดอ่อนนะ) จึงเสนอว่านอกจากการจัดการเรื่องระดับความเหมาะสมของสื่อแล้ว การทำงานเชิงรุกควรมีมากขึ้น ไม่ว่าการเข้าใจปัญหา และ การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายด้วยภาษาง่ายๆ เช่นเรื่อง การปลูกฝังวัฒนธรรมอันดีงามของตนไทยเข้าไป อาจเริ่มจากการปลูกฝังง่ายๆเช่น การเข้าแถว การรอคิว เป็นต้น อยากให้มีการทำควบคู่กันไป วัฒนธรรมการใช้ ICT ในเมืองไทยนั้น อ. แอนมองว่ารากฐานของปัญหามันลึกมาก และ น่าเป็นห่วงมาก เพราะ เดี๋ยวนี้เด็กเล็ก ก็ใช้ Photoshop ตกแต่งภาพส่งการบ้านคุณครูแล้ว และ เด็กไทยก็มีปัญหาเรื่อง เด็กติดเกมมาก ซึ่ง อ. แอนบอกว่าเพื่อนชาวเกาหลีของอาจารย์ บอกว่า บ้านเขาไม่เห็นมีปัญหาเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่า บ้านเราต้องมีปัญหาเรื่องคุณภาพของคนมากกว่า ประเทศเกาหลี ซึ่งเขาส่งออกเกมเป็นอุตสาหกรรมเสียอีก
อ.แอน เชื่อว่าการปลูกฝังและให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมนั้น น่าจะมีส่วนช่วยให้เด็กไทยเข้มแข็งมากกว่า อ.แอนยกตัวอย่าง หนังสือนิทานเรื่อง มังกรไฟไม่เรียนหนังสือ ว่าเป็นนิทานที่เป็นสื่อที่ดีควรค่าแก่การนำมาเผยแพร่ขยายผลออกไปในวงกว้าง แต่ปัจจุบันพื้นที่ของสื่อที่ไม่เหมาะสมมีมาก เลยให้การบ้านมานั่งคิดกันว่า จะทำอย่างไรให้เด็กรู้ทัน และ ผู้ใหญ่มีความตระหนักถึงความเหมาะสมของสื่อต่างๆ...คำถามนี้น่าสนใจจริงๆ

 

เรื่อง โดย Lady genius: 1Feb 2008


หมายเลขบันทึก: 163331เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท