ประเพณีนางกวัก บ้านหาดเสี้ยว สุโขทัย


ประเพณีนางกวัก
 “ นางกวักเอย นางกวักเจ้าแม่กวัก อีพ่อหยักแหย่ อีแม่แหย่หย่อ ก้นหยุกก้นหยอมาสูงเอียงข้าง เจ้าอวดอ้างต่ำหุ เดือนหงาย ตกดิน ตกทราย เดือนแจ้ง เจ้าแม่แอ้งแม่ง จากฟ้าลงมา นางสีดาแก่งแหน ต้อนแต้น ต้อนแต้น .... ”

        เสียงเพลงอัญเชิญดวงวิญญาณในการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่า “ การเล่นนางกวัก ” ยังคงก้องกังวาน ในยามค่ำคืน ของวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เสมอ การเล่นนางกวัก เป็นการละเล่นที่นำกวัก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ในการทอผ้า มาตกแต่ง ใส่หัว ที่นำมาจากกะลามะพร้าว แล้วเขียนคิ้ว ทาปากให้สวยงาม แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษ มาเข้าสิงสถิต เพื่อทำการ เสี่ยงทาย ซึ่งอาจจะเสี่ยงทาย ในเรื่องของคู่รัก การทำงาน หรือโชคชะตาชีวิต

        ในสมัยก่อน ตอนค่อนแจ้ง กะพอแสงเงินแสงทอง จับขอบฟ้า ลูกหลาน จะเตรียมหาบซ้าแฮ ( ตะกร้าใส่อาหารคาวหวาน ) ไปถวายพระที่วัด ครั้นพอพระสงฆ์ ฉันอาหารเสร็จ อาหารคาวหวานและข้าวจี่ที่เหลือ จะแบ่งปันกันกิน ( ข้าวจี่ หมายถึง ข้าวเหนียวนึ่ง ที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆ รีๆ เหมือนผลมะตูม หรือฟองไข่เป็ด แล้วนำไม้ไผ่ ที่เหลายาว ประมาณศอกเศษ เสียบทะลุตรงกลาง นำไปปิ้งไฟให้ข้าวเหนียวสุก อาจจะนำเกลือป่นโรยสักนิดก็ได้ )

หมายเลขบันทึก: 164326เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2008 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คอบเจอหลายๆแหละ อ่านแล้วได้ความฮู้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท