อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

ภาพรวม การบริหารเชิงกลยุทธ์


ความหมาย การบริหารเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ฯลฯ เป็นสิ่งท้าทายของการจัดการสมัยใหม่ ที่ศิษย์ ทั้งหลาย ได้เรียนรู้ไป ข้อมูลใน blog นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับทบทวน และควรศึกษาจากเว็บอื่น ๆ ประกอบด้วย จะเกิดประโยชน์สูงสุด

อาจารย์ยม 

 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมเปิด Blog นี้ ขึ้นมาเพื่อ ให้ศิษย์ ทั้งนักศึกษา ป.โท  ผู้เข้าร่วมสัมมนาภาคเอกชน ผู้นำระดับล่าง ระดับกลาง ระดับสูง คณะกรรมการบริหาร  รวมทั้งภาครัฐ  นักปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ นักบริหารงานบุคคล ปลัด อบต. และผู้นำท้องถิ่น ทั่วประเทศ ที่ได้มีโอกาส เข้าสัมมนาองค์ความรู้ กับผมในเรื่อง "การบริหารเชิงกลยุทธ์" ได้มีโอกาสทบทวน สิ่งที่ได้เรียนรู้ไป เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  โดยสาระใน blog นี้ แบบภาพรวม เพราะจำกัด ด้วย ระบบ และเวลาในการเขียน

 

 

นักวิชาการ อบต. อบจ.

ว่าที่นักวิชาการ จาก อบจ. อบต. กว่า 160 ชีวิต (2 ห้องอบรม) มาจากทั่วประเทศ เข้ารับการอบรม ที่สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย  เพื่อพัฒนาตน สู่การเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพ  ในภาพเป็นการรับความรู้วิชา การจัดการเชิงกลยุทธ์ บรรยาย โดย อาจารย์ ยม นาคสุข

ผมได้ย้ำกับผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาอยู่เสมอว่า หากท่านต้องการเป็นผู้รอบรู้ ท่านก็ควรหมั่นค้นคว้า หมั่นศึกษา หมั่นทบทวน  ท. ทบทวน จับประเด็น สำคัญ ๆ ให้ได้ แล้วคิดต่อยอด ซึ่งที่จริง ถ้าจะให้ดี ศิษย์ที่ได้เรียนองค์ความรู้ในเรื่องนี้ ควรเขียนความคิด สิ่งที่ตนได้เรียนมาแชร์ในสังคมการเรียนรู้แห่งนี้ จะดีที่สุด แต่ศิษย์หลายคนก็มีภาระหน้าที่งานมากก็เข้าใจ แต่ขอให้หมั่นทบทวนองค์ความรู้ที่เรียนไป  ซึ่งผมจะทยอยสรุปไว้ใน Blog ตอนท้ายนี้

ศิษย์ล่าสุด ขณะนี้ เป็นนักวิชาการ จาก อบจ. อบต. ทั่วประเทศ กว่า 80 ชีวิต  ขอชื่นชมว่า ตั้งใจศึกษาด้วยดี  หวังว่า ท่านทั้งหลาย จะได้นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติภารกิจของท่านให้สมปรารถนา ขอให้ท่านเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติ ปัญญา จะเป็นเครื่องนำพาท่านไปสู่ความสุข และความสำเร็จ อย่างยั่งยืน

เชิญศิษย์ และท่านผู้สนใจทุกท่านติดตาม ข้อความโดยย่อ หรือสรุป เกี่ยวกับ "การบริหารเชิงกลยุทธ์" จาก Blog ตอนท้ายนี้

สวัสดี

 

 

 

อาจารย์ยม
อาจารย์ยม  นาคสุข ผู้อำนวยการศูนย์บริหารและพัฒนาทุนมนุษย์ บรรยาย "การจัดการเชิงกลยุทธ์"
นักวิชาการ อบต. อบจ.
ห้องที่สอง ว่าที่นักวิชาการ  หน้าตาสดใส กันทุกคน เขาเหล่านี้ จะเป็นนักวิชาการที่มีฝีมือ ประจำอยู่ตาม อบจ. อบต. ทั่วประเทศ
ขอให้ประสบความสำเร็จ รุ่งโรจน์ 
ต้นไม้แห่งปัญหา
ต้นไม้แห่งปัญหา ต้นไม้แห่งความสำเร็จ กับการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยประยุกต์ใช้กับแนวคิด ทางพุทธศาสตร์ "อริยสัจสี่"
นักวิชาการ อบต อบจ กับ อาจารย์ยม
บรรยากาศ เป็นกันเอง และเน้นวิชาการ ในภาพว่าที่นักวิชาการ ที่เข้ารับการอบรม จัดโดยสถาบันพัฒนาบุคลากรส่วนท้องถิ่นฯ
ยม
อีกมุมมองหนึ่ง ของบรรยากาศการเรียนรู้ ในเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์ จัดโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองฯ กระทรวงมหาดไทย
อาจารย์ยม ยม กับศิษย์ นักวิชาการ อบต. อบจ.
ระหว่างพัก เป็นกันเองกับ ศิษย์ ผู้เข้ารับการอบรมฯ
นักวิชาการ อบต. อบจ.
อีกมุมหนึ่ง ของ บุคลากรทีมีคุณภาพ กำลังเข้ารับการอบรม ในหลักสูตร "นักวิชาการ" ของสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองฯ กระทรวงมหาดไทย
ยม ศูนย์บริหารและพัฒนาทุนมนุษย์
เป็นเกียรติอย่างยิ่ง และขอขอบคุณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองฯ กระทรวงมหาดไทย
ที่ให้เกรียรติเชิญ ผมเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรที่กำลังพัฒนา ตน พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศ
นับว่าเป็นงานที่มีคุณค่ายิ่ง ในการมีส่วนร่วมช่วยเหลือ สังคม ประเทศชาติ ของเรา


ความเห็น (3)

ภาพรวมการบริหารเชิงกลยุทธ์

กลยุทธ์ คืออะไร 
Henry Mintzberg  ได้ใช้หลัก 5 P , อธิบายความหมายดังนี้
กลยุทธ์ คือ แผน (Strategy is a Plan)
กลยุทธ์ คือ แบบแผนหรือรูปแบบ (Strategy is a Pattern)
กลยุทธ์ คือ การกำหนดฐานะ หรือตำแหน่ง (Strategic is Position)
กลยุทธ์ คือ ทัศนภาพ (Strategy is a Perspective)
กลยุทธ์ คือ กลวิธีในการเดินหมาก (Strategy  is a  Ploy)


กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
 "Strategy is defined as a course of action aimed at ensuring that the organization will achieve its objectives." (Certo and Peter, 1991: 17)

การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึงอะไร
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงกระบวนการต่อเนื่องในการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทําให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

กลยุทธ์เป็นการกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน(guidelines) หรือ การกำหนดวิถีปฏิบัติที่ชัดเจน (courses of action)   ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสถานการณ์แวดล้อมที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างแยบยล

กลยุทธ์เป็นการกำหนดแบบแผนในเชิงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานคำนึงถึงความสอดคล้องกับการปฏิบัติที่ได้ผลในอดีตเน้นความยืดหยุ่นที่ผู้ปฏิบัติสามารถปรับแผนให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  กลยุทธ์เป็นการกำหนดสถานะหรือตำแหน่งของการทำงานหรือการบริการให้สอดคล้องกับลักษณะของความต้องการของผู้รับบริการ

กลยุทธ์เป็นการกำหนดแนวคิดหรือค่านิยมร่วมขององค์การ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามแนวทางที่กำหนดเป็นอุบายหรือชั้นเชิงในการทำงาน ที่ต้องใช้สิ่งจูงใจในเชิงบวกและการสร้างภาวะกดดันต่างๆ

ขั้นตอนของการบริหารเชิงกลยุทธ์

  1. การวิเคราะห์สถานการณ์/ปัญหา/นโยบาย/ความปรารถนา  
  2. การกำหนดกลยุทธ์-วางแผนกลยุทธ์
  3. การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์
  4. การควบคุม-การประเมินผลกลยุทธ์
  5. การพัฒนาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

 

ติดตามตอนต่อไป ใน blog ถัดไป ในเร็ว ๆ นี้

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

สำหรับ "ศิษย์" ท่านใด ที่ถ่ายภาพไว้ ขอเชิญชวนให้ส่งมาให้อาจารย์เพื่อนำมาพิจารณา ลงภาพไว้ใน Blog นี้

กำหนดกลยุทธ์

จากการวิเคราะห์ปัญหา

 

สวัสดีศิษย์รัก  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

วันนี้ ผมนำข่าวจาก น.ส.พ. มติชน เกี่ยวกับ ปัญหาของการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้าน ICT ของประเทศไทย มาให้พวกเรา ได้ฝึกคิด ค้น และเรียนรู้  ครับ

 

ตามที่อาจารย์ได้บรรยายไว้ว่า  เราสามารถศึกษา "การบริหารเชิงกลยุทธ์" ได้อย่างน้อย 3 รูปแบบ คือ

  1. รูปแบบของ ซุนวู  นักบริหาร นักวิชาการหรือผู้นำ ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน คือผู้นำเชิงกลยุทธ์        ผู้นำที่ชาญฉลาดจะวางแผนอย่างแยบยลและขุนพลที่สามารถจะนำแผนไปปฏิบัติอย่างสุดฝีมือ
  2. รูปแบบ  SWOT ANALYSIS  ของ   Harvard Business School  และ
  3. รูปแบบ พุทธศาสตร์ "อริยสัจสี่" ของพระพุทธเจ้า ซึ่งผมทำเป็นรูปต้นไม้แห่งปัญหา และต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 กำหนดกลยุทธ์ ตามแนวพุทธศาสตร์  จากการวิเคราะห์ปัญหา  หาสาเหตุ แล้ว กำหนดแนวทางแก้ไข ที่ 1 ... 2.... 3...... และเลือกแนวทางที่ดีที่สุด มาสู่การปฏิบัติการอย่างมีการกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า  ติดตาม ตรวจสอบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผมได้นำข่าว "การจัดอันดับประเทศไทย เกี่ยวกับ ความพร้อมด้าน ไอที" ของประเทศทั่วโลก ว่าเราอยู่ในอันดับที่ 47 เมื่อปี 2549 และสิ่งที่เข้าใช้ประเมินความพร้อมก็คือ

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ด้านสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
  3. ด้านระดับการใช้ ICT ของผู้บริโภค
  4. ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
  5. ด้านกฎหมาย
  6. ด้านนโยบายภาครัฐ

จากประเด็นที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ระดับความพร้อมของประเทศไทย ด้าน IT  เมื่อวัดออกมาแล้ว  ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 47  แสดง จึงอาจกล่าวได้ว่า ประเด็นที่ใช้วัดดังกล่าว เป็นประเด็นปัญหา ที่น่าศึกษา ที่นักวิชาการที่เรียนกับอาจารย์ จะนำไปเป็นกรณีศึกษา เพื่อฝึก เขียน ชื่อต้นไม้แห่งปัญหา "ปัญหา ความไม่พร้อมด้าน ไอทีของไทย" โดยอาจยกเอา ประเด็นที่ใช้วัดผล มาเป็นตัวกำหนด รากหญ้าของสาเหตุแห่งปัญหา ได้แก่

  1. โครงสร้างพื้นฐานไม่เหมาะสม
  2. ปัญหาสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
  3. ระดับการใช้ ICT ของผู้บริโภคต่ำ
  4. สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่เอื้ออำนวย
  5. กฎหมาย ไม่ครอบคลุม ไม่เอื้ออำนวย
  6. นโยบายภาครัฐ อาจขาดประสิทธิภาพ

 

จาก 6 สาเหตุของปัญหาอาจ นำไปกำหนดเป็นต้นไม้แห่งความสำเร็จ ดังนี้

 

ชื่อต้นไม้แห่งความสำเร็จ คือ "ความพร้อมด้าน ไอทีของไทย"  มียุทธศาสตร์ ดังนี้

  1. ยุทธศาสตร์การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับการใช้ ICT ของผู้บริโภค
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างความพร้อมด้าน IT
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านกฎหมาย ให้ครอบคลุม และเอื้ออำนวย ต่อการสร้างความพร้อมด้าน ไอที
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนานโยบายภาครัฐ ด้าน IT ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น
  6. ยุทธศาสตร์พัฒนาสภาพแวดล้อมของธุรกิจ

ในการกำหนดกลยุทธศาสตร์ ดังกล่าว อย่ามองข้าม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยภายนอก PEST และปัจจัยภายใน ไม่จะเป็น โครงสร้าง ระบบ วัฒนธรรมองค์การ คน ความรู้ ทักษะฯ  และให้มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ กำหนดเจ้าภาพ คณะทำงาน แผนงาน การตรวจสอบ และการประเมินผล ทำการเปรียบ กับประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านไอที แล้ว เป็นต้น  โดยรวม ผมเขียนมาเพียงเท่านี้ก่อน ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา  ไม่สามารถลงในรายละเอียดได้ ขอให้ ศิษย์ ทบทวน  สนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นผู้รอบรู้ เป็นนักวิชาการที่ประสบความสำเร็จ ครับ

ขอให้ศิษย์ ทุกคนโชคดี

 

 

 

ข่าวจาก น.ส.พ. มติชน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10940 หน้าที่ 26

นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสถิติแห่งชาติ เปิดสัมมนา "สสช เชิงรุก ตอน : สร้างเครือข่ายภาคประชาชน : ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอซีที" กล่าวว่า จากการจัดอันดับความพร้อมด้านไอทีของประเทศทั่วโลก (e-Readiness Ranking) ของ Economist Intelligence Unit (EIU) พ.ศ.2550 ประเทศไทยถูกจัดอันดับความพร้อมด้านไอทีให้อยู่ในอันดับที่ 49 จากผลสำรวจ 68 ประเทศทั่วโลก ตกลงมาจากอันดับที่ 47 เมื่อปี 2549 โดยดูความพร้อมจาก 6 ด้านคือ โครงสร้างพื้นฐาน (20%), สภาพแวดล้อมของธุรกิจ (15%), ระดับการใช้ ICT ของผู้บริโภค (25%), สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม (15%), กฎหมาย (10%) และนโยบายภาครัฐ (15%) สำนักงานสถิติฯจึงร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ในการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอซีทีนี้เป็นปีแรกเพื่อเป็นแรงผลักดันไปสู่การสร้างตลาดและการแข่งขันในเวทีโลกต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท