"เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ" พลิกจุดยืน..เป็นทั้งโอกาสและภาวะคุกคาม


มหาวิทยาลัยจะต้องมีปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลความรู้ต้องตรวจสอบได้ ปรับเปลี่ยนด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่ ดื้อแพร่งจากสังคม อันขึ้นอยู่กับคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ของมหาวิทยาลัยเอง

เมื่อสักวันสองวันที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสปลดปล่อยตัวเองโดยการไปเดินร้านสุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ ร้านหนังสือเจ้าประจำของผม ผมเป็นสมาชิกที่นี่นับ 10 ปีได้ จนปีนี้ได้โบนัสการต่ออายุสมาชิกเพิ่มเป็นทีเดียว 2 ปี

 

เดินไปสะดุดหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ "ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย" ของ ศ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ด้วยทุนเดิมที่มีความอยากรู้เรื่อง "ความคิดของการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย" อยู่แล้ว ทำให้ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นานในการใช้สตางค์ซื้อความอยากรู้นี้ซะ 220 บาท (ความรู้จากหนังสือ คือ ความรู้ที่มีราคาถูกของผม แต่อาจจะแพงตามสถานะการเงินของหลาย ๆ ท่าน เช่น นักศึกษาที่ยังไม่มีงานทำในขณะนี้)

คุมสอบไป ก็นั่งอ่านไปด้วย อ่านแบบเร็ว ๆ เพราะคำศัพท์ที่ใช้ยังไม่สันทัดใจเท่าไหร่ ไม่คุ้นเคย แต่อาศัยความมุ่งมั่นอยากรู้อ่านแทน กะว่า อ่านเร็วสักรอบ แล้วค่อยตามด้วยอ่านละเอียดอีกครั้ง

 

อ่านถึง บทที่ 3 ว่าด้วย "แรงกดดันมหาวิทยาลัยไทยจากรอบด้าน"

ชอบใจ หัวข้อ 3.4 "เทคโนโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ พลิกจุดยืน เป็นทั้งโอกาสและภาวะคุกคาม"

สาเหตุของความชอบใจ เพราะคงใกล้กับศาสตร์วิชาชีพของตัวเองอยู่ และอีกประการ ยิ่งอ่านยิ่งคิดถึงเรื่อง "การใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้ โดยเฉพาะกับ Gotoknow" เสียนี่กระไร ...

 

ขอยกข้อเขียนมาจากหน้า 54 -57 ... ดังนี้

 

"...

เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศได้เปลี่ยนโฉมการอุดมศึกษาออกไปเป็นอันมาก เปิดโอกาสการศึกษาให้ ข้ามเวลาและสถานที่ ออกไป

การถ่ายทอดความรู้และการแสวงหาความรู้ไม่ต้องจำกัดอยู่ในห้องบรรยายอีกต่อไป ผู้เรียนสามารถหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างมากและกว้างขวางกว่าที่อาจารย์สอน

การสอนของอาจารย์ไม่ต้องจำกัดอยู่ที่เวลาที่สอน การบันทึกเทปไว้ในห้องสมุดและให้เข้าถึงง่าย จะเป็นโอกาสให้ผู้เรียนสามารถศึกษาสะดวกขึ้น โดยจะเรียนเมื่อใดก็ได้ เรียนซ้ำกี่ครั้งก็ได้ เรียนที่ใดก็ได้ และหาความรู้ที่แตกต่างก็ได้

หากมีการจัดการที่ดีในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศในบริการอุดมศึกษา โอกาสที่บุคคลจะเข้าถึงอุดมศึกษาอาจเพิ่มขึ้นได้เป็นอันมาก

เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศยังมีผลไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทางการเรียนการสอนด้วย

การที่อาจารย์จำกัดความรู้เท่าที่สอนไป และ สอบตามนั้น อาจเป็น การจำกัด หรือ ดับปัญญาของผู้เรียนก็ได้

บทบาทของอาจารย์ก็เปลี่ยนไป มิใช่ ผู้เป็นแหล่งสาระความรู้ที่สมบูรณ์ เพื่อการบรรยายถ่ายทอดไปสู่ศิษย์ แต่เป็นผู้ที่ติดตามสะสมความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมไปกับการสอนเพื่อสร้างความสามารถในการหาความรู้ให้เกิดกับศิษย์ อาจทำหน้าที่เป็นผู้กลั่นความรู้ให้ง่ายขึ้น หรือ เป็นผู้สร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง หรือ เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้ ในที่สุดเป็นเพื่อนในการร่วมกันเรียนรู้

ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ ความรู้ ไม่ใช่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อาจารย์ หรือ ผู้รู้เป็นผู้ผูกขาดอีกต่อไป

เมื่อต้องการความรู้ไม่จำเป็นต้องเอาจากอาจารย์หรือผู้รู้เสมอไป ทำนองเดียวกับเมื่อเจ็บป่วยก็ไม่ต้องพึ่งแพทย์อย่างไม่ลืมหูลืมตาอีกต่อไป แต่ความรู้เป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ได้ หากมีความสามารถในการจัดการกับความรู้

บุคคลทั่วไปและประชาชนมีพลังของตนเองที่จะไม่เชื่อ หรือที่จะซักถาม หรือ คัดค้านความรู้ ความคิด และความเห็นของผู้ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นผู้รู้ ทั้งผู้ที่เป็นอาจารย์ หรือ ผู้ที่ได้รับปริญญาในสาขาวิชาการ หรือผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศนี้ ทำให้ต้องมีการรื้อกระบวนการในการศึกษาอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ และก่อให้เกิดความหลากหลายในเป้าหมาย และวิธีการของการศึกษา

เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศยังได้ทำให้มีข้อมูลมากมาย และอาจไม่ตรงสอดคล้องกันหรือแม้แต่ขัดแย้งกัน มีผลให้คนในสังคมเกิดความสับสนและความไม่แน่ใจในเรื่องต่าง ๆ

บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับไปด้วย ต้องเป็นที่พึ่งของสังคมได้มากขึ้น เนื่องจากความสับสนและความไม่แน่นอนที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

สังคมต้องอาศัยการกลั่นกรองข้อมูล ความรู้ และความคิดเห็นต่าง ๆ โดยมีการพิจารณาอย่างถูกต้องปราศจากอคติ และเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์หรือผลประโยชน์ทับซ้อน

สภาพนี้นำไปสู่ความจำเป็นเชิงจริยธรรมที่ขยายบริบท (คำนี้ผมไม่ชอบเป็นการส่วนตัว แต่เขียนเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา) กว้างขวางขึ้น พัฒนาการของความรู้และเทคโนโลยีทำให้เกิดสภาพและสิ่งใหม่ ๆ

เกณฑ์ความถูกต้องที่ใช้อยู่เดิมอาจไม่สามารถปรับใช้กับสภาพปัญหาใหม่ได้ ข้อกำหนดเชิงคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณจึงเป็นพลวัต (คำนี้ก็ไม่ชอบ เข้าใจยากเกินไปสำหรับคนเดินดิน) ด้วย

และต้องอาศัยความเชื่อถือไว้วางใจ ไม่ใช่ จากการสะสมความรู้เท่านั้น แต่จากการครองตน กำกับงานทางวิชาการให้ได้คุณภาพทั้งกระทำและคิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อันเป็นการสร้างความไว้วางใจได้

..."

สิ่งที่เห็นได้จากแนวความคิดของท่านอาจารย์จรัล ก็คือ

  • ICT จะปรับบทบาทของผู้เรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
  • ICT จะปรับบทบาทของผู้สอนหรืออาจารย์ ให้เป็นผู้ให้คำปรึกษา ตลอดจน สามารถเรียนร่วมไปกับผู้เรียนได้ทันที
  • มหาวิทยาลัยจะต้องมีปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลความรู้ต้องตรวจสอบได้ ปรับเปลี่ยนด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่ ดื้อแพร่งจากสังคม อันขึ้นอยู่กับคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ของมหาวิทยาลัยเอง

 

ท่านนักการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้อง ท่านคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ครับ

ความรู้จะไม่หยุดนิ่ง ถ้าเราช่วยกันต่อยอดให้เจริญงอกงามออกไป และต้องเกิดการยอมรับร่วมกัน และ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงใจ ก็ไม่ได้หมายถึง ผิด ... ความคิดเห็นที่ตรงกัน ก็ใช่ว่าจะถูก เสมอไป ครับ (เขียนแล้วงง อิ อิ)

 

ขอบคุณครับ :)

หมายเลขบันทึก: 166831เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

  น่าดีใจ ที่คนเริ่มมาสนใจ ให้ความสำคัญ การเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มันจะเป็นความรู้ที่ฝังแน่น อยู่ด้ยประสบการณ์ ยาวนาน เรียกว่าเกิดปัญญามั้ง แต่คงค่อยเป็น ค่อยไปค่ะ อาจต้องใช้เวลา เพราะ การเปลี่ยนอะไร ก็ไม่ยากเท่ากับเปลี่ยนความคิดค่ะ

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เชื่อในพลังแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง และเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในสิ่งที่รัก ชอบ และจำเป็นแก่ชีวิต

หัสชัย มช. รุ่น14

สวัสดีครับ คุณ ตันติราพันธ์

  • การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น น่าจะอยู่ในกรอบเดียวกับ "การเรียนรู้แบบค้นพบ" หรือ Discovery Learning ครับ คือ ครูเป็นที่ปรึกษา สอนให้นักเรียนค้นหาความรู้ตัวตนเองให้ได้ หรือจะอีกคำก็ Learning by Doing ครับ (ผมคิดได้ไงเนี่ย :)
  • การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง น่าจะมีอยู่การสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งแล้วครับ แต่บางแห่งก็ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เช่น ที่ทำงานผมเอง อิ อิ
  • คนเรา ถ้ามีใครมาให้เราเปลี่ยน เขาจะไม่เปลี่ยนครับ แต่ถ้ามีคนที่เขาเชื่อ มาบอก เขาจะเปลียนด้วยตัวของเขาเอง (วลีของ พอ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา)

ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มั้ง ไม่รู้มั้ง กันครับ :) ยิ้ม ๆ ครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ดร. หัสชัย สิทธิรักษ์

  • ยินดีครับที่ท่านได้แวะเข้ามาแลกเปลี่ยนกันครับ
  • ผมก็เชื่อในพลังของการเรียนรู้ด้วยตนเองครับว่า เมื่อเราค้นพบความรู้นั้นด้วยตนเอง เราจะมีความสุขมาก ๆ

ขอบคุณมากครับผม :) .. ผมมอชอรุ่นไหนหนอ จำไม่ได้ครับ แต่อาวุโสน้อยกว่าท่านอาจารย์แน่นอนครับ

ผมอาจจะแสดงมุมมองส่วนตัวครับ ^^
ผมเห็นโอกาสของ ICT มานานแล้ว แต่การใช้งานโจทย์ก็คือ การปรับตัว
ทั้งของ
1) ผู้สอน (ดูแล้วยังมีหลายท่านไม่ได้ใช้งานมากนัก คงต้องรอปรับตัว)
2) ผู้เรียน (ส่วนใหญ่ใช้งาน แต่เน้นไปทางเล่นเกมส์ ปัจจุบันเล่น Facebook เม้นท์เพื่อนมากกว่า อิๆ) ปรับตัวให้ทำอย่างไรเขาใช้เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลจริง
3) สถาบัน (หลายแห่งยังมีข้อติดขัดด้านการลงทุนระบบ ICT ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนจริง เช่น ไม่มี computer ที่พร้อมนัก หรือระบบ Internet ไม่เอื้ออำนวย ชอบล่มเป็นพักๆ ไร้การดูแลระบบ)

แต่เป็น trend ที่น่าสนใจมากๆ และปัจจุบัน เครื่องมือ ICT ทันสมัยมากขึ้น การสื่อสารรวดเร็วปานจรวด แค่กดปุ่ม ก็ข้อมูลที่ส่งออน์ไลน์ได้เลย อันนี้แหละ ความน่ากลัวของเครื่องมือ

"ครู" ต้องตามเทคโนโลยีให้ทันกับ "เด็ก" ครับ

เด็กใช้ได้ ครูก็ใช้ได้ เพื่อมีดักคอเกิดขึ้นในอนาคต

และรู้เท่าทันการทุจริตและความคิดของเขา

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ตี๋ ครูgisชนบท ;)...

In my time I did a lot of copying but not as much learning.

Now, I see a lot of copy/cut and paste and I don't see much learning.

Technologies = (innovative) applications or combinations of (basic) knowledge. We can use a hammer to sink a nail but do we learn to build a house?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท