บทคัดย่องานวิจัย การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำ


เด็ก LD

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือครูการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ และหาประสิทธิภาพของคู่มือครูตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.เดิม) จำนวน ๒๗ โรงเรียน ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ จำนวน ๒๗ คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือครู การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำสำหรับเด็กพิเศษ เรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การศึกษาคู่มือครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติร้อยละ และทดสอบสมมติฐานใช้ t - test

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า คู่มือครูการสร้างแบบฝึกนี้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๑.๓๙/๘๐.๖๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง ครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สามารถทำกิจกรรมที่ ๑ – ๔ ได้ถูกต้อง โดยเฉลี่ยร้อยละ ๘๑.๓๙ และสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ความรู้ความเข้าใจหลังศึกษาคู่มือครูได้ถูกต้อง โดยเฉลี่ยร้อยละ ๘๐.๖๒ แสดงว่า คู่มือครูมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนศึกษาคู่มือครูและหลังศึกษาคู่มือครู โดยใช้การทดสอบ t – test คะแนนผลสัมฤทธิ์การศึกษา คู่มือครูการสร้างแบบฝึกของครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ หลังศึกษาคู่มือครูสูงกว่าก่อนศึกษาคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ แสดงว่าคู่มือครูที่สร้างขึ้น สามารถทำให้ครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ และสามารถนำไปให้ครูศึกษาและใช้เป็นคู่มือครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้

 

คำสำคัญ (Tags): #เด็ก ld
หมายเลขบันทึก: 167647เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นายทวีศักดิ์ ปรีชาติวงศ์

เป็นงานวิจัยที่ดีมีประโยชน์กับผู้สนใจในการสอนเด็กLD ขอให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นจากอำเภอบางกล่ำ สงขลา แม้จะไม่ค่อยมีเวลาอ่านมากนัก หากมีเวลาจะกลับมาอ่าน ขอขอบคุณครับ

อ.รักษ์สุดา ทรัพย์มาก

เรียน ศน. ประจักษ์ ทองเลิศ

อยากทราบบรรณานุกรมงานวิจัยเล่มนี้ค่ะ ต้องการอย่างมากเพราะกำลังทำผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่คะ หวังว่าท่าน ศน.คงจะกรุณานะคะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

24 ต.ค. 52

ุสวัสดีค่ะ มีลูกชายเป็นค่ะ หาครูที่เข้าใจ และสอนด้านนี้ให้ได้ยากมากค่ะ ตัวเองก็จนปัญญาเพราะ ไม่แข็งแรงด้านภาษาเป็นอย่างมาก สนใจงานวิจัยชิ้นนี้มากค่ะ อยากอ่าน full paper ไม่ทราบพอจะอนุเคราะหืได้ไหมคะ ...คนแรกเป็นไปแล้ว กำลังลุ้นคนที่สองอยู่ค่ะว่าจะเป็นหรือเปล่่า เพราะ ผลสอบออกมา ได้ 1 ภาษาไทยค่ะ เด็ก ป 1 ได้เกรด 1 อยากร้องไห้ค่ะ ไม่คิดว่าจะมีได้ด้วย ส่วนคนโตหาคนสอนด้านนี้ไม่ได้ ก็ไปตามบุญตามกรรมไปแล้วค่ะ ม. 2 จะแก้ไขทันไหมคะ

เป็นงานวิจัยที่ดีค่ะ อยากให้ท่าน ศน. ลงเกี่ยวกับแบบฝึกที้ใช้กับเด็ก ld ด้วยค่ะที่โรงเรียนมีเด็กที่อ่านไม่ได้เยอะจะนำมาใช้ฝึกเด็กค่ะ

ตอบคุณป้อมเอกสารมีสามชุดสำหรับเด็กบกพร่องด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ เอกสารพิมแล้วงัยก็ติดต่อนะครับเผื่อมีประโยชน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท