สัมปชัญญะ


ในการประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะต้องมีทั้งสติและสัมปชัญญะ มิใช่มีแต่เพียงสติ เช่น ขณะที่เราเดินอยู่ ถ้าเรารู้ตัวว่าเรากำลังเดินอยู่ รู้ตัวอย่างแจ้งชัดว่าเรากำลังเดินอยู่ นี่คือ สติ แต่มิใช่ สัมปชัญญะ แต่ถ้าในขณะที่เราเดินอยู่ เรามีสติรู้ตัวว่ากำลังเดินอยู่และในขณะเดียวกันนั้น เราก็รู้ว่ามีความรู้สึกเกิดขึ้นกับกาย (รูป) หรือใจ (นาม) แล้วก็ดับไป คือตระหนักรู้ถึงความเป็นอนิจจังของความรู้สึกทั้งสบายหรือไม่สบายหรือเฉย ๆ (อันเป็น แต่เพียงความรู้สึก)
  • เมื่อวานพาภรรยาไป รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างที่นั่งรอคิดตรวจ เลยแวะไปหาหนังสือที่ศูนย์หนังสือมาอ่าน ได้หนังสือมาสองเล่ม
  • เล่มแรก ชื่อ โรคลมปัจจุบัน (Stroke) (หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก) เขียนโดย Dr.Richard Lindley แปลโดย รศ.เกษมศรี วงศ์เลิศวิทย์ เท่าที่อ่านคร่าว ๆ พบว่าเป็นหนังสือที่เนื้อหาดีมาก กระชับ และทันสมัย
  • เล่มที่สอง ชื่อ เซน..ปฎิบัติ เขียนโดย บุรัญชัย จงกลนี
  • เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ได้มีโอกาสเสวนาธรรมกับท่าน อ.ประสพสุข ในสนามกอล์ฟ ท่านสอนว่า "การภาวนาเจริญสติจะต้องมีสัมปชัญญะ" ในตอนนั้นกระผมเองยังไม่เข้าใจกระจางมากนัก
  • จนมาพบในหนังสือ เซน..ปฏิบัติ ท่านได้ให้ความหมายไว้ดีมาก จึงขอนำเสนอต่อเพื่อเป็นธรรมทานครับ
  • .. ท่านอาจารย์อุบาขิ่น กล่าวว่า "สัมปชัญญะ คือ การตรัสรู้ของพระพุทธองค์ สัมปชัญญะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ประทานให้แก่โลก" ... สัมปชัญญะนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้พระพทธองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สัมปชัญญะทำให้เกิด"สัญญาเวทยิตนิโรธ" นั่นคือสภาวะนิพพาน เพราะเมื่อนามและรูปดับ อายตนะทั้ง 6 ก็ดับด้วย เมื่ออายตนะ ทั้ง 6 ดับ "ผัสสะ" ก็ดับด้วย เมื่อไม่มีผัสสะก็ไม่มี "เวทนา" และนี่คือสภาพแห่ง "นิพพาน" ซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติได้เพิ่ม "สัมปชัญญะ" เข้าไปในการประพฤติปฏิบัติ (ธรรมบรรยายหน้า 216)
    ... ดังนั้น ในการประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะต้องมีทั้งสติและสัมปชัญญะ มิใช่มีแต่เพียงสติ เช่น ขณะที่เราเดินอยู่ ถ้าเรารู้ตัวว่าเรากำลังเดินอยู่ รู้ตัวอย่างแจ้งชัดว่าเรากำลังเดินอยู่ นี่คือ สติ แต่มิใช่ สัมปชัญญะ แต่ถ้าในขณะที่เราเดินอยู่ เรามีสติรู้ตัวว่ากำลังเดินอยู่และในขณะเดียวกันนั้น เราก็รู้ว่ามีความรู้สึกเกิดขึ้นกับกาย (รูป) หรือใจ (นาม) แล้วก็ดับไป คือตระหนักรู้ถึงความเป็นอนิจจังของความรู้สึกทั้งสบายหรือไม่สบายหรือเฉย ๆ (อันเป็น แต่เพียงความรู้สึก) จึงจะถือว่าเราปฏิบัติธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน...

 

 

หมายเลขบันทึก: 167652เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เจริญในธรรมครับ และขออนุโมะนาในบุญครับ http://gotoknow.org/blog/56485/160013

สวัสดีครับ P 1. นายศักดิ์ณรงค์

 

สวัสดีครับ P 2. DSS "work with disability" ( หนิง )

  • กำลังตามรอยธรรมอยู่ครับ ถ้าพบเจออะไรดี ๆ จะนำมาลงเรียนรู้ร่วมกันครับ
  • ขอบคุณครับที่ติดตาม

สวัสดีครับ P 2. DSS "work with disability" ( หนิง )

  • กำลังตามรอยธรรมอยู่ครับ ถ้าพบเจออะไรดี ๆ จะนำมาลงเรียนรู้ร่วมกันครับ
  • ขอบคุณครับที่ติดตาม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท