Gutjang
อ. สุดารัตน์ [กั๊ต] เสาวโค

เกษตรอินทรีย์ชีวภาพ : เกิดได้ถ้า (((((ใจ))))) ปรารถนา


การนำสารสกัดสะเดาไปให้เกษตรกรทดลองใช้ ผลปรากฏว่ามีประสิทธิภาพไม่แพ้ยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรใช้เป็นประจำ แต่เมื่อถามเกษตรกรว่าปีหน้าจะใช้สารสกัดจากพืชหรือเปล่า เกษตรกรตอบแบบไม่ลังเลเลยค่ะว่า "ไม่" เพราะใช้ยาฆ่าแมลงสะดวกกว่า "ขี้เกียจเก็บเมล็ดสะเดา"

  เกษตรอินทรีย์  เป็นการเกษตรที่ไม่พึ่งพาสารเคมีใดๆ แม้กระทั่งน้ำที่นำไปใช้ในแปลงเกษตรก็ไม่อาจปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสารเคมีกำจัดวัชพืช หัวใจของการทำเกษตรอินทรีย์คือการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลโดยตรงให้ต้นพืชแข็งแรงและมีความต้านทานต่อโรค/แมลงศัตรูพืชได้

 

ถ้าหากพืชที่ปลูกมีโรคหรือแมลงศัตรูพืชรบกวน เรามีวิธีจัดการสำหรับการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์คือการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่นสารสกัดจากพืชชนิดต่างๆ

 

ข้อมูลทางวิชาการ สารสกัดจากพืชเพื่อการป้องกันกำจัดแมลงมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามสารออกฤทธิ์ ดังนี้ค่ะ*
1. มีฤทธิ์ฆ่าแมลง เช่น ยาสูบ พญายอ พริกไทย น้อยหน่า พลู สบู่ดำ มะกล่ำตาหนู ฟ้าทะลายโจร ผักเสี้ยนฝรั่ง เสี้ยนบ้าน เสี้ยนผี
2. มีฤทธิ์ยับยั้งการกินอาหารของแมลง เช่น เอกมหาชัย สะเดาอินเดีย สะเดาบ้าน สะเดาช้าง (มีมากในเมล็ด)
3. ออกฤทธิ์ทำให้กระบวนการเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น โหระพา
4. ออกฤทธิ์ไล่แมลง เช่น ขิง ข่า กระทือ แมงลัก ตะไคร้หอม

 

ข้อได้เปรียบของการใช้สารสกัดจากพืช
1. แมลงสร้างความต้านทานได้ยาก
2. เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
3. ไม่มีผลกระทบต่อแมลงที่เป็นประโยชน์รวมทั้งตัวห้ำ ตัวเบียนต่างๆ
4. ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผล/สิ่งแวดล้อม
5. ให้ผลทางอ้อมต่อการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ผลผลิตเพิ่มขึ้น 30-40 % เนื่องจากในสารสกัดจากพืชมักมีองค์ประกอบของไนโตรเจนสูง

 

แต่ข้อจำกัดของการใช้สารสกัดจากพืชก็มีไม่น้อยค่ะ
1. ต้องใช้ในลักษณะป้องกัน (จะได้ผลมากกว่า)
2. ส่วนใหญ่ใช้ได้ผลดีกับแมลงระยะตัวอ่อนหรือตัวหนอน
3. การควบคุมคุณภาพของสารสกัดทำได้ยาก (ทั้งอายุ แหล่งปลูก วิธีการปลูก วิธีสกัด)
4. สลายตัวเร็วเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกแสงแดด

 

ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดและเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ได้ยากมากๆ คือ "การยอมรับ" ของเกษตรกรที่มีต่อสารสกัดจากพืช ถึงแม้ว่าจะรับรู้ด้วยตนเองว่าสารสกัดจากพืชมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงได้จริง แต่ความยุ่งยากในกระบวนการเก็บ/การเตรียม ทำให้เกษตรกรตัดสินใจไปใช้ยาฆ่าแมลงซึ่งให้ความสะดวก และเห็นผลรวดเร็วกว่า

 

มีตัวอย่างจากการนำสารสกัดสะเดาไปให้เกษตรกรทดลองใช้ ผลปรากฏว่ามีประสิทธิภาพไม่แพ้ยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรใช้เป็นประจำ แต่เมื่อถามเกษตรกรว่าปีหน้าจะใช้สารสกัดจากพืชหรือเปล่า เกษตรกรตอบแบบไม่ลังเลเลยค่ะว่า "ไม่" เพราะใช้ยาฆ่าแมลงสะดวกกว่า
"ขี้เกียจเก็บเมล็ดสะเดา" (แถมถามกลับมาอีกว่า ...มีแจกมั๊ยล่ะ....อิ.อิ.)

 

....


การเปลี่ยนใจให้ยอมรับ เป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องใช้เวลา
ไม่เว้นแม้แต่ที่บ้านครูกั๊ตค่ะ...เรื่องมีอยู่ว่า....

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคนที่บ้านได้มาบอกว่า "ได้เวลาบอกลาผงซักฟอกแล้ว...น้ำยาซักผ้าที่ทำเองน่ะมันซักผ้าได้สะอาดไม่แพ้ผงซักฟอกที่เราใช้อยู่"

เฮ้อ....เราผลิตน้ำยาซักผ้ามาตั้ง 2 ปีกว่าแล้ว..พึ่งจะยอมรับในสรรพคุณ...หมายความว่าไงคะท่านผู้ชม...!!!

มันจะไม่ช้าไปหน่อยรึ....แต่ไม่เป็นไร...มาช้าดีกว่าไม่มา

 :)

................
*บันทึกจากคำบรรยายในงานสัมมนาเกษตรอินทรีย์ชีวภาพฯ หัวข้อ การใช้สารสกัดจากพืชในการป้องกันและกำจัดแมลง 
โดย รศ.ดร.สุภาณี พิมพ์สมาน ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ่านบันทึกเรื่องน้ำยาซักผ้าได้ที่บันทึกนี้ Pโรงเรียนเกษตรอินทรีย์ » สวยวันละสูตร : น้ำยาซักผ้า

และบันทึกนี้ Pโรงเรียนเกษตรอินทรีย์ » คุณยาย น้ำยาซักผ้ากับยาฆ่าแมลง

หมายเลขบันทึก: 168590เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีครับคุณครูกั๊ต

  • มาช้าดีกว่าไม่มา แต่ เอ๊ะ มาคนแรกนี้ช้าหรือเปล่าหน๋อ
  • การสร้างโรงเรือน เพาะปลูก พืชผักสวนครัว เพื่อลดการใช้ยาฆ่าแมลง ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่านะครับ
  • ผลผลิตออกมาได้ราคาสูง ประหยัดไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง หน้าดินไม่แห้งเร็วเกินไป ประหยัดน้ำ
  • ถ้าหากเป็นการสร้างโรงเรือนที่ใช้งานระยะยาวนะครับ

 

สวัสดีค่ะพี่นึก

  • การปลูกผักในโรงเรือน หรือผักกางมุ้งเป็นการป้องกันแมลงรบกวนได้ดีและช่วยลดการใช้สารเคมีได้มาก
  • ซึ่งโรงเรือนปลูกผักขนาด 6x30x2.5 เมตร ใช้ต้นทุนประมาณ 30,000 บาท เกษตรกรที่ลงทุนเพื่อการค้านับว่าคุ้มค่า เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายค่ายาฆ่าแมลงได้มาก (แต่เกษตรกรรายย่อยคงต้องคิดหนักค่ะ)
  • หากเริ่มทำจากเล็กๆ แล้วค่อยขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ (ตามกำลัง) ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับเกษตรกรที่กำลังเริ่มต้นในแนวเกษตรอินทรีย์
  • "ทำจากเล็กไปหาใหญ่ ทำจากง่ายไปหายาก"

ขอบคุณค่ะ

(ไปทำหน้าที่ "พลเมืองดี" ก่อนค่ะ มีเวลาอีกหลายชั่วโมง)

:)

เป็นธรรมชาติของคนเราที่ไม่คุ้นชินกับการเปลี่ยนแปลง และตีค่าในสิ่งที่มีอยู่ในมือค่อนข้างน้อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควรที่จะกระตุ้นให้คนใกล้ตัวเห็นความสำคัญ .. แต่ทุกบันทึกที่เขียนถึงเรื่องเหล่านี้ ผมยืนยันได้ว่า ชื่นชมและศรัทธาต่อกระบวนคิดและกระบวนการขับเคลื่อนเป็นอย่างมาก ... เป็นกลังใจให้เสมอ..นะครับ

สวัสดีครับ

  • ที่นี่ก็เหมือนกันครับจัดคลิกเกษตรเคลื่อนที จังหวัดเคลื่อนที่ อำเภอเคลื่อนที่ หน่วยงานจะแจก น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้
  • แต่ประเมินแล้วคนเอาไปใช้จริง แค่ 5 %
  • น่าเสียดาย
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์แผ่นดิน

ใช่เลยค่ะ...คนเราที่ไม่คุ้นชินกับการเปลี่ยนแปลง และตีค่าในสิ่งที่มีอยู่ในมือค่อนข้างน้อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควร...

  • ถ้าหันมาทดลองใช้ แล้วเปรียบเทียบประสิทธิภาพอย่างจริงจัง (=การเรียนรู้) คงจะช่วยตัดสินใจให้หันมาใช้สิ่งที่มีอยู่ (ทำได้เอง) ไม่ยากนัก
  • แต่ปัญหาคือ "เอาไว้ก่อน" หรือ "ประเดี๋ยวก่อน"
  • ผ่านไปตั้ง 2 ปี จึงยอมรับ
  • ...(น่าตีไหมคะ)...

:)

สวัสดีพี่ยาวค่ะ เกษตรยะลา

  • ..คลินิกเกษตรเคลื่อนที จังหวัดเคลื่อนที่ อำเภอเคลื่อนที่ หน่วยงานจะแจก น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ แต่ประเมินแล้วคนเอาไปใช้จริง แค่ 5 %
  • ทราบมาว่าช่วงแรกๆ ที่มีการรณรงค์ให้ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งเพิ่มผลผลิต เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณ (อัตรา) การเพิ่มของประชากร
  • หน่วยงานส่งเสริมฯ ต้องใช้แรง+งบประมาณ+เวลาเป็นอย่างมาก
  • เพื่อให้เกษตรกรหันมายอมรับว่าปุ๋ยเคมี/สารเคมี สามารถเพิ่มผลผลิตได้จริง
  • วิธีการรณรงค์ส่งเสริมก็มีหลากหลาย ทั้งอบรม กระตุ้น ลดแหลกแจกแถมฯ
  • ดังนั้น...การปรับความคิดให้กลับมาใช้ในสิ่งที่มี...ใช้ในสิ่งที่สามารถผลิตได้เอง คงต้องใช้เวลามากกว่าเดิมค่ะ

อีกสักหน่อยคงยอมรับบ้าง (แหละนะ)      :)

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องกั๊ต

  • มาช้าดีกว่าไม่มาค่ะ.... 
  • เคยได้ยินสรรพคุณของสารสกัดจากสะเดามานานแล้วค่ะ เชื่อว่าหากเกษตรกรไทยเราได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการนำไปผลิตใช้.....จะช่วยเกษตรกรให้ลดต้นทุนการผลิตได้เยอะเลยค่ะ  แถมยังไม่ต้องกังวลกับสารเคมีตกค้างอีกต่างหาก.....
  • ยอมรับและเชื่อมั่นในคุณภาพเสมอค่ะ  (....ก๊อ...กลัวโดนตีนะซิ...อิอิ)

สวัสดีค่ะพี่หญ้าบัว

  • น่ารักแบบนี้...ตีไม่ลงค่ะ
  • :)

ปีนี้หนาวนานนะคะ....รักษาสุขภาพด้วยเน้อค่ะ

 

สวัสดีคะน้องกั๊ต พี่หมูชื่นชมสาวเท่ห์คนเก่งคนนี้จังเลยคะ ได้มาเรียนรู้เรื่องดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้อย่างดี ขอบคุณคะ

สวัสดีค่ะพี่กั๊ต

เบิร์ดกระโดดเข้ามาแบบจงใจเพราะ อยากแลกเปลี่ยนมากเลยค่ะ

จากที่เบิร์ดทำเบิร์ดเห็นด้วยกับพี่กั๊ตเลยว่าส่วนใหญ่เค้าเห็นดีแต่เค้าขี้เกียจทำเอง..เลยต้องไปตะลุยศึกษาวิธีการของวิสาหกิจชุมชนจึงพบแนวคิดที่ต้องทำให้ชุมชนแยกแยะให้ออกให้ได้ว่า พวกเขาจะผลิตอะไรเพื่อการบริโภคภายในชุมชน ในตำบล ในเครือข่ายท้องถิ่น จะผลิตอะไรออกไปขายตลาดภายนอก  อย่างแชมพู น้ำยาล้างจาน สมุนไพร ปุ๋ยชีวภาพ น้ำปลา และอื่นๆ ที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน พวกเขาก็ทำกินเองใช้เองเพื่อลดรายจ่าย ซึ่งเท่ากับเพิ่มรายได้เนาะคะพี่กั๊ต โดยอาจมีกลุ่มหนึ่งผลิตแบบหนึ่ง อย่างกลุ่มผลิตปุ๋ย ผลิตน้ำหมัก เพราะที่เบิร์ดทำเค้าก็มีกลุ่มย่อยในนั้นเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของคนในชุมชนน่ะค่ะ


ถ้าบางแห่งมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีคุณลักษณะพิเศษก็อาจจะผลิตออกไปขายข้างนอกได้ เพราะเชื่อว่าไปแข่งขันกับของคนอื่นได้แต่ไม่ใช่การผลิตเพื่อออกไปขายข้างนอกเพียงอย่างเดียวแบบที่ผ่านมาเนาะคะ...สาเหตุหลักที่ทำให้โอทอปเจ๊งกะบ๊งก็เพราะไม่มีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ความรู้อย่างจริงๆ แต่ทำเพราะเลียนแบบกัน ทำตามๆกัน ที่ส่งออกได้นั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะมีผู้ส่งออกไปเด็ดยอดเอาต่างหาก วุ้ย ชักคันเขี้ยว เดี๋ยวงับเรื่องโอทอปแล้วจะบานปลาย เบิร์ดหยุดก่อนดีกว่าค่ะ แหะ แหะ

 

  • วันก่อนไปดูที่บ้านเก่าน้อย มหาสารคามก็น่าสนใจ
  • เป็นสินค้าของโรงเรียนและท้องถิ่นก็ดีครับ
  • มาทักทาย
  • พี่สบายดีไหมครับ

การเปลี่ยนใจให้ยอมรับ เป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องใช้เวลา <<   เห็นด้วยค่ะ  บางเรื่องเป็นแบบนี้จริงๆ

ป.ค.คิดถึงมากๆๆ

สวัสดีค่ะพี่หมู อ.หมู

  • มาถึงก็ชมกันเลยนะคะ...เขินๆๆๆ
  • บังเอิญตกร่องปล่องชิ้นกับการเกษตรแบบไม่รู้ตัว จากการนำนโยบายของจังหวัดฯ ไปใช้ในโรงเรียน...หันหลังกลับไปอีกที..อ้าว...มาไกลแล้วนี่....แต่เน้นหนักไปทางแปรรูปผลิตภัณฑ์ (ตามแนวถนัด)
  • อยากเจอพี่หมูจังค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องเบิร์ดสาวสวยหมัดหนัก  เบิร์ด

  • นั่งอมยิ้มอยู่น๊านนาน....กับคำนี้ค่ะ>>>สาเหตุหลักที่ทำให้โอทอปเจ๊งกะบ๊งฯ
  • น้องเบิร์ดทิ้งหมัดเข้ามุมเรื่องวิสาหกิจชุมชนกับโอทอป น่าสนใจค่ะ
  • พี่กั๊ตเคยร่วมก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ และดำเนินกิจกรรมมาหลายปี ได้รางวัลมาก็หลายเข่ง
  • พบปัญหาหลักๆ ที่ทำให้กิจกรรมการรวมกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มโอทอป ไปไม่รอดหรือไปไม่ถึงฝั่งก็คือการเน้นทำ "เงิน" หรือดำเนินกิจกรรมอยู่บนฐานของเงิน ไม่อยู่บนฐานของการเรียนรู้/การพึ่งตนเอง/พึ่งพาซึ่งกันและกันในชุมชน
  • ผลิตเพื่อขาย หรือผลิตเพื่อส่งออก (นอกหมู่บ้าน นอกอำเภอ/จังหวัด/ต่างประเทศ) แบบเอาเป็นเอาตาย....และก็ได้ตายสมใจ...อิ.อิ.
  • พอเงินหมด..ก็รอเงินอัดฉีด....ฯลฯ
  • ชุมชนเข้มแข็งคงเป็นเพียงความฝันเนาะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

:)

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต [ขจิต ฝอยทอง]

  • จะทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน คงต้องใช้เวลาอีกนานถึงนานมากค่ะ จึงจะตีตลาดเดิมได้
  • ก็ ขนาดที่บ้านยังใช้เวลาตั้ง 2 ปี กว่าจะสลัดตัวหลุดจากผงซักฟอก เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง
  • ไปแบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ แล้วเรียนรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์กับเด็กๆ ทำเอง/ใช้เองไปก่อนดีกว่าค่ะ

เพิ่งฟื้นไข้ค่ะ...ก็เลยแวะไปทักทายพี่หน่อย "เด็กรักป่า" เอากอดมาฝากด้วย  ^ ^

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะน้องต้อม [เนปาลี]

  • การเปลี่ยนใจให้ยอมรับ เป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องใช้เวลา
  • ยอมรับแล้วให้เปลี่ยนใจอีก ก็ยากเนาะค่ะ

แต่ความคิดถึง >>> ไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ....อิ.อิ.

  • ใจปรารถนามาแล้วค่ะ
  • นอนดึกจังค่ะอากาศเย็น ๆ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะครูรักษ์ [... RAK-NA ]

  • เร่งทำงานค่ะ กลัวเสร็จไม่ทันกำหนด
  • กลับจาก ร.ร. หลับได้สองงีบแล้ว ตื่นมาทำงานต่อ
  • อิ.อิ.
  • ขอบคุณค่ะ
  • หวัดดีอีกครั้งค่ะ
  • การเปลี่ยนใจให้ยอมรับ เป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องใช้เวลา
  • เห็นด้วยค่ะ...มันต้องใช้เวลาจริง ๆ ที่จะทำให้ใครยอมรับอะไรได้ง่าย ๆ 
  • สู้ ๆ ต่อไปค่ะพี่
  • ว่าแต่ขอไปทดลองใช้สักขวดก่อนได้ไหมพี่...แบบว่าหมดพอดี อิอิ 

สวัสดีค่ะน้องอ้อย อ้อยควั้น

  • "การยอมรับ" ตอนนี้ถือว่าได้ผลในระดับหนึ่งค่ะ แต่ยังคงจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม หรือมีการใช้ในวงแคบๆ
  • จึงต้องใช้เวลาอีกสักพัก ... คงจะขยายวงกว้างมากขึ้นเนื่องจากปัจจุบันผู้คนให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากกว่าเดิม
  • ....

แรกๆ ที่ทำน้ำยาซักผ้าก็มีอาการกล้าๆ กลัวๆ เหมือนกันค่ะ เพราะเราเองก็ไม่แน่ใจว่าซักแล้วผ้าจะสะอาดไหม...หรือจะทำให้เนื้อผ้าเสียหรือเปล่า...แต่สุดท้ายก็สรุปได้ว่า "ใช้ได้ค่ะ"....น้ำทิ้งจากการซักล้างเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ได้ด้วย......คุ้มๆๆๆๆๆๆ...

ลองทำและใช้ดูด้วยกันนะค่ะ   :)

ช่วยบอกสูตร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเมล็ดสะเดา หน่อยค่ะ

ขอบคุณม๊ากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท