ประสบการณ์การใช้ธนาคารในอเมริกา


การมีบัญชีธนาคารเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง เพราะจำเป็นต่อการกินอยู่ในอเมริกามากๆ... แต่อย่างว่า ไม่มีเงิน ที่ไหนก็อยู่รอดยาก... ทำให้นึกถึงเศรษฐกิจพอเพียงและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติขึ้นมาทีเดียว...

จำได้ว่ามาถึงวันที่สอง ๒๐ ก.พ. ก็ต้องไปเปิดบัญชีธนาคารทันที เพราะทางฟูลไบรท์ส่งเช็คค่าใช้จ่ายในชื่อเรา แต่ฝากมาทางอาจารย์ เราก็ต้องเอาเช็คไปขึ้นเงินในบัญชีของเรา

ธนาคารแถบนี้มีหลายธนาคาร ด้วยกัน เป็นทั้งธนาคารในพื้นที่ หรือธนาคารระัดับชาติ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารในพื้นที่มากกว่า อันนี้ก็คล้ายๆ กับที่ตอนอยู่ที่อินเดียนน่า ธนาคารที่ใช้ก็เป็นธนาคารพื้นที่เหมือนกัน

ที่ บริเวณดาวน์ทาวน์ของเมือง(ที่เล็กมาก กินพื้นที่ประมาณบล็อคเดียว) มีธนาคารอยู่ประมาณ ๒-๓ แห่ง แต่ไม่ได้เดินไปถึงที่นั่น ตัวเองไปเปิดที่ธนาคารสาขาที่อยู่ที่ Student Union เป็นธนาคารในพื้นที่

ไป ถึงเขาก็ให้เขียนชื่อลงไปในสติ๊กเกอร์ที่ใช้เป็นบัตรคิว (สำหรับคนที่มารับบริการนอกเหนือจากฝาก/ถอนทั่วไป)  ก็ถามเขาว่า "อะไรนะ" งงน่ะค่ะ "ให้เขียนชื่อลงในสติ๊กเกอร์เหรอ" เขาบอกว่า "ใช่" แล้วก็ให้เรานั่งรอ เพราะเขาให้บริการคนอื่นๆ อยู่  อันนี้เป็นไอเดียที่แปลกดี โลว์เทค แต่ใช้ได้ เวลาเขาจะให้บริการใครก็จะเดินมาแกะสติ๊กเกอร์ชื่อเราไป เอาไปลอกเขียนชื่อในบัญชีได้อีกต่างหาก เรียกชื่อเราก็ได้เลย (ถ้าออกเสียงได้นะ 5555) ทำให้ Friendly ขึ้นอีกนิดหนึ่ง

โดยหลักๆ แล้วบัญชีธนาคารของอเมริกามี ๒ ประเภท คือ saving กับ checking แบบแรกเอาไว้สะสมเงินจริงๆ เพราะแบบหลังนี้เอาไว้ใช้จ่าย  ที่อเมริกาก่อนที่เครดิตคาร์ดจะแพร่หลายขนาดนี้ การใช้เช๊คซื้อของเป็นเรื่องปรกติมากๆ เวลาไปไหนมาไหนไม่ต้องพกเงินสดมาก แต่พกเช็คไปเล่มหนึ่ง บนเช๊คจะมีชื่อที่อยู่ของเรา แล้วก็รายละเอียดเช็คตามปรกติเหมือนที่บ้านเรา  แต่เวลาใช้ซื้อของก็เซ็นเช็คสั่งจ่ายใครต่อใคร แล้วก็แสดงใบขับขี่เป็นหลักฐานว่าฉันเป็นเจ้าของเช็คใบนี้จริง  เวลาใช้ก็ต้องทำบัญชีจดเองไปเื่รื่อยๆ เหมือนที่เช๊คบ้านเราจะมีต้นขั้วเอาไว้จดน่ะค่ะ (แต่เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเคยเอ๋อไม่รู้เรื่อง จะให้ธนาคารปรับ book ให้ 5555 ก็เพิ่งมาจากเมืองไทยที่ธนาคารเขาปรับ book ให้นี่นา เขาบอกว่า"ยูต้องจดเอง" อิอิ)

ตอนนี้การใช้เช็คยังมีเหมือนเดิม มีลวดลายเช็คให้เลือกมากมาย จะเอาการ์ตูนดีสนี่ย์ ดอกไม้ สัตว์ป่า หมีพูห์ เฮโหลคิตตี้ หรือตราโรงเรียนก็มีให้เลือกเต็มไปหมด แต่ก็แพงเหมือนกันเดี๋ยวนี้รู้สึกประมาณ ๒๐ เหรียญ รวมของแถมสารพัด พวกตรายางชื่อที่อยู่เราอะไรแบบนี้ สมัยก่อนจำได้ว่า ๖-๗ เหรียญเอง

check

ภาพจาก clarkeamerican.com

สรุปแล้วก็เปิดบัญชี checking ค่ะ เป็นบัญชีแบบนักศึกษา ไม่มีดอกเบี้ย (ใช่แล้วค่ะ... ไม่มี ก็เป็นบัญชี checking ไม่ใช่ saving ค่ะ ^ ^)   เปิดง่ายดี ใช้แค่พาสปอร์ตกับเงิน 5555 ตัวเองใช้เช็คที่จะไปขึ้นเงินนั่นแหล่ะค่ะเปิดบัญชี ไม่งั้นต้องเปิดด้วยข้นต่ำ ๒๕ เหรียญ  โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเปิดบัญชีจะต้องขอเลขประจำตัว (social security number) ด้วยค่ะ แต่เขาบอกว่าเราเป็นต่างชาติ เปิดบัญชีระยะสั้นแบบนักเรียน ไม่ต้องใช้ เพราะนักเรียนที่มาใหม่ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่มีเลข SSN มาก่อนค่ะ แต่ถ้าเปิดแบบ saving จะต้องใช้ค่ะ เพราะมีภาษีดอกเบี้ย เลข SSN จะลิงค์กับการจ่ายภาษีเหมือนที่บ้านเราใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนนั่นแหละค่ะ

ตอนเปิดเขาทำบัญชีออน์ไลน์ให้เลย เป็นพวก internet banking ทั้งหลายนี่แหละค่ะ คือเช็คยอดการใช้จ่ายได้ผ่าน internet เลย สะดวกมาก ให้เราเลือกชื่อ login และพาสเวอร์ดตามปกติ แล้วก็ให้เราเลือกพินสำหรับใช้กับ atm  บัตร atm นี้เขาให้ฟรีค่ะ เป็นบัตรวีซ่าเดบิต คือใช้ได้ทั่วโลกแล้วหักบัญชีทันที (ไม่ใช่เครดิตที่เราใช้กันเยอะๆ ที่บ้านเรานั่นเองค่ะ จริงๆ บ้านเราก็พอมีบัตรเดบิตให้ใช้ แต่คนไม่นิยม เพราะมันตัดบัญชีเลยเวลาใช้เงินเนี่ยแหละค่ะ) 

พอดีตัวเองซื้อเงินมาอเมริกาไม่เยอะ จ่ายค่าเช่าบ้านด้วยเงินสดไปบ้าง ทำให้เงินสดเหลือน้อยมาก เราก็แจ้งเขา เขาก็ทำ cash back ให้เลย คือเอาเงินมาจากเช็คที่ยังไม่เคลียร์มาให้เราก่อนเลย นับว่าไว้ใจลูกค้ามาก แล้วก็สะดวกมาก ก็เลยได้เงินมาใช้ก่อน มีตังค์ซื้อข้าว(เบอร์เกอร์)กิน อิอิ

คราวนี้ละก็สะดวกมาก บัตรเดบิตเนี่ยใช้ดีใช้คล่องมากค่ะ 5555 ที่สะดวกมากเพราะซื้อข้าวกลางวันประมาณ ๖ เหรียญก็รูดปื๊ดๆ ได้เลย ไม่ต้องรอทอนตังค์ ยิ่งไปใหม่ๆ ยิ่งนับเศษตังค์ลำบาก ขนาดตัวเองเคยอยู่มาก่อนยังต้องทบทวนความจำนับเลขจำเหรียญกันใหม่เลย ^ ^ เพราะฉะนั้นพอมีบัตรเดบิตก็สบายมากค่ะ รูดทุกอย่าง ตั้งแต่ตั๋ว metro ซื้อข้าว ซื้อลูกอม ขนม ซื้อกับข้าว ซื้อของใน internet ฯลฯ ไม่ต้องพกเงินสดมากมายนักค่ะ

ตอนเปิดบัญชีเขาแถมเช็คที่คู่กับบัญชีเรามาให้ ๕ ใบ เอาไว้ใช้ได้เหมือนกัน อ้อ..ลืมบอก เปิดบัญชี checking ที่นี่ไม่มีสมุด book เหมือนบ้านเรานะคะ มีแต่กระดาษบัตรใบเล็กๆ บอกว่าบัญชีเราเบอร์อะไร ให้เช็คมา ๕ ใบ กับ deposit slip อีก ๒-๓ ใบ   เจ้า deposit slip นี้คือใบนำฝากที่มีเบอร์บัญชีเราเรียบร้อย สำหรับแจกให้กับคนที่จะเอาเงินเข้าบัญชีเราน่ะค่ะ จะได้ไม่ต้องจดรายละเอียดกันให้ยุ่งยาก ทำนองนั้นน่ะค่ะ  เนื่องจากไม่มี book ถ้าอยากได้ record ค่าใช้จ่ายก็ต้อง download มาจาก internet account น่ะค่ะ

ลืมเล่าไปว่าการใช้ตู้ atm หรือรูดบัตรเครดิตที่นี่แปลกจากบ้านเราอย่างหนึ่งค่ะ คือเขาจะให้ swipe หรือรูดบัตรด้านทีมีแถบแม่เหล็กผ่านเครื่องอ่าน ไม่เหมือนบ้านเราที่ดูด card ไปแช่ไว้ในตู้หรือเครื่องอ่านน่ะค่ะ เพราะฉะนั้นจะไม่มีการโดนตู้ atm ยึดบัตรเนื่องจากสาเหตุต่างๆ แน่ๆ เพราะบัตรเราถืออยู่ในมือ รูดไปครั้งนึงแล้วก็ทำ transaction ได้เลย  แล้วก็ระบบบัตรเครดิตเวลาใช้จ่าย เราก็เป็นคนรูดเอง กดแป้น authorize เอง ลงชื่อลงบน pad ที่เป็น electronics คือไม่ใช้ปากกาเซ็นชื่อลงสลิปแบบบ้านเรา เท่าที่ดูคิดว่าประมาณร้อยละ ๗๐ เป็นแบบเซ็น electronics ทั้งนั้น  เครื่องจะอ่านที่เราเซ็นไปเก็บว่า ซึ่งนำไปเทียบกับที่เราเซ็นชื่อตอนเปิดบัญชีได้ด้วย

ก็เป็นประสบการณ์การใช้เงินและการธนาคารที่อเมริกานะคะ แต่ๆ ละที่แต่ละธนาคารก็คงแตกต่างกันออกไปบ้าง สรุปแล้วก็สะดวกดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 168882เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ตามอ่านตามมาฝากความคิดถึงและรับเอาความรู้ค่ะ
  • เทคแคร์นะคะ

โห อาจารย์ครับ

นี่คือ International Student Manual เลยนะเนี๊ยะ ดีจริงๆครับ ให้น้องๆนุ่งๆ ลูกหลานได้ศึกษาก่อนไปเรียน

ดีหลายโพด..อิอิ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะป้าแดง

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ มาอย่างรวดเร็วเลย ยังแก้บันทึกไม่เสร็จเลยค่ะเมื่อกี๊ ^ ^

 

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

คงไม่ถึงขนาดนั้นหรอกค่ะ รายละเอียดมีเยอะแยะเลยค่ะ รูปก็น้อยไปหน่อย เขียนไม่หมดค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ ^ ^

อย่ารูดการ์ดเพลินนะคะ ที่โน่น ของมีให้ซื้อเยอะเสียด้วยซี

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ตุ๋ย

หนิงก็เคยใช้ของธนาคารพื้นที่ค่ะ  อิอิ ตอนนี้ยังเก็บบัตรเอทีเอ็มไว้เป็นที่ระลึกเลยค่ะ  มี 2 ใบ 2 ธนาคารเป็นแบบ checking เช่นกันค่ะ  ตอนนั้นธนาคารเมืองไทยยังไม่มี แบบ internet baking เราเลยตื่นเต้นกับของใหม่  สนุกดี  เข้าไปโหลด statement เองเกือบทุกวัน  อิอิ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

แถวนี้ไม่มีอะไรให้รูดบัตรมากนอกจากของกินค่ะ ^ ^ ใช้ประจำสะดวกดี กาแฟแก้วเดียวก็รูดได้ สะดวกดีค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณหนิง

ตัวเองก็เก็บของเก่าเป็นที่ระลึกเหมือนกัน แต่เก่ามากๆ แล้ว บัตรไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ รุ่นโบราณน่ะค่ะ  สมัยที่อยู่เมื่อรอบที่แล้วยังไม่มี internet banking ค่ะ ตอนนั้นเขายังพัฒนาระบบ internet กันอยู่เลย มีใช้แต่ในวงนักวิจัย กับทหาร  ได้ใช้ internet banking ก็เมื่อสักปีสองปีที่บ้านเราเนี่ยแหละค่ะ ^ ^

  • ตามมาอ่าน
  • ดีจังเลยครับ
  • ผมจะได้ทราบล่วงหน้า
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

ยินดีค่ะอาจารย์ แถวๆ โอเรกอนคงคล้ายๆ กัน เพียงแต่เปียกกว่า ก็ฝนตกบ่อยมากนี่นา แถวนั้นน่ะ ^ ^

 

สวัสดีค่ะอ.ตุ๋ย

เล่าละเอียดดีจังค่ะ เป็นคู่มือให้นักศึกษาที่จะไปได้จริงๆ แล้วครั้งอ.ตุ๋ยได้ใช ้SSN บ้างหรือเปล่าคะ  แล้วใช้อันเดิมหรือเปล่า?  คือไม่ทราบว่านักเรียนที่กลับไปใหม่ต้องใช้ หรือต้องมีหรือเปล่า?

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อุ๊

ใช้ SSN ตัวเดิมค่ะ เพียงแต่ทำใบหาย แต่จำเลขได้ ก็เลยไปขอใหม่มาแล้วค่ะ แต่กว่าเขาจะส่งมาใหม่ให้ได้คงอีกเป็นเดือนค่ะ

จริงๆ ถามว่านักเรียนที่กลับไปใหม่ต้องใช้ไหม ก็คงต้องใช้ในกรณีที่เรียนไปเรียนมาแล้วมีงานทำมั้งคะ คือทำงานห้องสมุด  เสริฟ์อาหาร เป็นผู้ช่วยสอน ผู้ช่วยวิัจัย มีงานทำแล้วต้องจ่ายภาษี ก็เลยต้องมี SSN แล้วก็เข้าใจว่าเอาไว้ใช้สำหรับสวัสดิการด้านอื่นๆ ด้วยนะคะ medicade medicare อะไรทำนองนี้น่ะค่ะ แต่อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจ รู้แต่ว่า SSN เกี่ยวกับภาษีแน่ๆ ค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะอาจารย์

มาตามอ่านประสบการณ์ การใช้ธนาคารในต่างประเทศ  น่าจะสนุกดีนะ  แต่ค่าเงินของเขาแพงจัง  อดีตหลายปีที่แล้ว  เคยไป เมืองลองบีส   ของ สหรัสอเมริกา  อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทค่ะ/ เหรียญ

สวัสดีค่ะุคุณอนงค์ MSU-KM :panatung

ก็สนุกดีเหมือนกันค่ะ แต่ถ้าในธนาคารไม่มีตังค์ก็อยู่ที่นี่ยากค่ะ ^ ^

ลองบีช..แคลิฟอร์เนียใช่ไหมคะ อากาศน่าจะดีแล้วก็สวยนะคะที่นั่นน่ะ ตัวเองไม่เคยไปลองบีชค่ะ

แล้วก็ถ้าเป็นสมัย ๒๕ บาทต่อดอลล่าร์ละก็..นานแล้วเหมือนกัน เพราะนั่นก็คืออัตราสมัยที่เรียนอยู่เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วค่ะ  ตอนนี้น่าจะ ๓๓ ไหม ดีว่าไม่ใช่เมื่อปีสองปีที่ผ่านมาที่อัตราขึ้นไปสูงมาก สี่สิบกว่าๆ  แต่ตอนนี้ผู้ส่งออกก็แย่หน่อยค่ะ ถ้าดอลล่าร์ตก

ยินดีต้อนรับและขอบคุณที่แวะมาให้ข้อคิดเห็นนะคะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท