งานวิจัยต่างๆก็มีไม่น้อย..แต่ทำไมการนำไปต่อยอดหรือพัฒนาต่อ..ดูเหมือนยังมีอยู่น้อย....??


สำคัญ..และควรคิด..ว่าทำไม..และควรทำอย่างไร..ต่อไป..

จะเห็นว่างานวิจัยในประเทศไทยก็มีไม่น้อย..หลายชิ้นก็ได้รับรางวัลกันมากมาย..จนนับไม่ถ้วน..แต่ไม่ทราบว่างานเหล่านั้น..นำไปขึ้นหิ้งไว้หรือเปล่า..หรือเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์แล้ว.....

ที่พูดเช่นนี้เพราะ..บางครั้งเมื่อมีโอกาสไปตามชนบทก็มักจะหาโอกาสไปคุยกับชาวบ้าน..โดยเฉพาะหัวหน้าชุมชน..ซึ่งมีบทบาทในชุมชนนั้นๆ..คนเหล่านั้นมักบ่นว่า.."พวกอาจารย์ นักวิจัย..มาหาข้อมูล มาสัมภาษณ์..เสร็จแล้ว..หลังจากนั้นก็หายเงียบไปเลย.." คือเขาอยากรู้ว่า ที่คุณ..ไปทำวิจัยไปขอข้อมูล..เกี่ยวกับท้องถิ่นของเขาน่ะ..ตกลงผลออกมาเป็นอย่างไร...ช่วยไปแจ้งให้เขาทราบกันด้วย..เพราะเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องที่เขาสามารถนำไปต่อยอดได้ เช่นการพัฒนาพันธุ์พืช การเกษตร การเพาะปลูก ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น หรือแม้แต่เรื่องอื่นๆก็ตาม ก็ควรไปรายงานผลให้เขาทราบ..ไม่ใช่รายงานผลให้กับเฉพาะคนจ่ายเงิน...เสร็จแล้วก็นำงานวิจัย..เก็บไว้ในห้องสมุดหรือที่บ้าน..ก็ขอให้ช่วย(กรุณา)นำไปบริจาคให้หมู่บ้าน ชุมชน จังหวัดนั้นๆสักเล่มสองเล่ม ก็ได้..เผื่อจะได้ประโยชน์..เขาจะได้ไม่มาต่อว่า..ได้..และโอกาสต่อไป..เขาก็จะได้ยินดีให้ข้อมูลต่างๆอีก..(ขอบพระคุณแทนชาวบ้านค่ะ)

ดังนั้นจึงมีความคิดเห็น(ส่วนตัว)ว่า..ควรอย่างยิ่งที่ต้องมีองค์กรใดองค์กรหนึ่งอาจเป็นองค์กรมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ สักหน่วยงานหนึ่ง..เป็น"ศูยน์ข้อมูลที่ได้มาตรฐาน.." เมื่อใดที่นักวิจัย ประชาชน ..ต้องการข้อมูลใดก็สามารถเข้ามาที่หน่วยงานนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเข้าไปค้นคว้า หรือหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็ตาม..ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของการนำข้อมูลเหล่านั้นไปพัฒนาต่อยอดต่อไป และเป็นการเอื้อให้เกิดการพัฒนาทางด้านการวิจัยอีกทางหนึ่งด้วย..(ไม่ใช่ว่าใครจะทำวิจัยชิ้นหนึ่ง..เช่นนักวิจัยที่อยู่ต่างจัวหวัด..ก็จะต้องลาราชการมาค้นคว้าที่กรุงเทพ วันเดียวก็ไม่พอแน่ๆ ต้องอยู่กันหลายวันหรืออาจเป็นเดือนๆเพราะต้องไปหลายที่ แต่ละที่มีข้อมูลให้หรือเปล่าก็ยังไม่รู้..เป็นต้น..ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น  และการให้ทุน..ก็ควรกระจายไปตามต่างจังหวัดหรือชนบทให้มากขึ้น..โดยเฉพาะเรื่องของต่างจังหวัดหรือชนบทเพราะคนในชนบทหรือในท้องถิ่นด้วยกันเอง น่าจะมีความเข้าใจคนในท้องถิ่นหรือปัญหาต่างๆในชนบทหรือท้องถิ่นได้ดีกว่า(ความน่าจะเป็น)..เป็นต้น.)

ทั้งนี้ โดยในส่วนของข้อมูลที่มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เป็นต้น ก็อาจมีขอบเขตในการให้ข้อมูลพอสมควร แต่ไม่ควรถึงขนาดต้องหวงกัน จนไม่ต้องการเผยแพร่เลย ขอเก็บไว้ในองค์กรของข้าพเจ้าหรือที่บ้านข้าพเจ้าก็พอแล้ว.. (อย่าลืมว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามันก็มีข้อยกเว้นไว้ว่า ถ้าใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย และมิได้ทำให้เกิดความเสียหายแต่ผู้สร้างสรรค์และหรือเจ้าของเดิม..อันนี้ก็ต้องอนุญาตให้คนอื่นเขาไช้ประโยชน์ได้....แล้วจะไปหวงกัน.. กันทำไม..)และควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ ที่พึงต้องตระหนักว่า..ถ้าใช้แล้วทำให้เขาเกิดความเสียหาย ล่วงละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของ..ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย..และนอกจากนั้นควรมีการช่วยเหลือ ประสานงานต่อไปยังเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา หากกรณีใดผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลมากกว่าที่เขาอนุญาตไว้ หน่วยงานนี้ก็มีหน้าที่ต้องช่วยประสานงานต่อให้ เป็นต้น..ก็น่าจะเกิดประโยชน์มากขึ้น..

ขออย่าได้ไปคิดว่าข้อมูลที่มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ต่างคนต้องต่างเก็บไว้ หวงกันไว้..หวงไว้ทำไม..จะเกิดประโยชน์อะไรถ้าคุณคิดอะไรขึ้นมาแล้วไม่ให้ประโยชน์กับสังคมส่วนรวมให้มากที่สุด...

และอีกประการ แหล่งเงินทุนการทำวิจัย...ก็ควรคำนึงอย่างมากในการพิจารณาให้ทุน..ความเห็นส่วนตัว คิดว่าการทำวิจัยแต่ละชิ้น.ส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวโยงกับหลายศาสตร์ หลายสาขาแน่นอน..(ถ้าคิดให้ดีๆ) ดังนั้น การพิจารณาให้ทุนต้องมองทีมวิจัยด้วยว่าควรมาจากหลากหลายสาขาหรือเปล่า หลากหลายหน่วยงานหรือไม่..จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ..(สร้างเครือข่าย และได้กระจายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้..) ยกตัวอย่างเช่น ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ก็จะเห็นว่าต้องอาศัยทั้งนักวิชาการเกษตร นักกฎหมาย ชาวบ้านเกษตรกร นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์(เพราะมีเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ด้วย) เป็นต้น ..ผู้ให้ทุนก็ต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย..โดยถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆเลย..ว่าจะให้ทุนทีมวิจัยไหน....เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด..

ยังมีความคิดด้วยซ้ำไปว่าเรื่องไหนที่เป็นปัญหาใหญ่ๆสำคัญมากๆของประเทศ..รัฐบาลให้ทุนมาเรียน..ก็ควรกำหนดหัวข้อเหมือนกัน..และอาจส่งไปศึกษาในประเทศที่คิดว่าจะนำความรู้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศได้.. และมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเองระหว่างการทำวิจัย..ระบบตรงนี้รัฐบาลผู้ให้ทุนต้องเป็นคนประสาน(ทำให้เป็นเรื่องเป็นราวเลย)..เพราะคนมาเรียนจะไม่ทราบว่าใครเรียนที่ไหน เรียนอะไรกันบ้าง..ซึ่งถ้าทำเรื่องที่เกี่ยวโยงกัน .....  ก็จะสามารถเป็นทีมที่จะพัฒนางานวิจัยนั้นๆให้ดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปได้..ไม่ใช่ต่างคนต่างเรียน..จบไปต่างคนต่างทำงานของตัวเองไป..องค์ความรู้ที่มีก็ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้.. คือกำลังมองในเรื่องของการพัฒนาองค์ความรู้ ..ซึ่งต้องมีอย่างต่อเนื่อง..เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อไป...(ความเห็นส่วนตัวค่ะ)

ด้วยรักจากใจ ยายหมูอ้วนเอง I love u "วันละนิดจิตแจ่มใส" บ๊าย บาย

หมายเหตุ มีแต่คนอ่าน ไม่มีคนตอบ สงสัย..คงเขียนเรื่องที่ไร้สาระจริงๆแหละ..อิๆๆ

หมายเลขบันทึก: 169062เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท