เก็บตกจากงานสัมมนาเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ปี2551


วิจัยสู่ชุมชน

วันที่ 3 มีนาคม 2551 

เช้า มีชาวบ้านจากพื้นที่วิจัย  หลายแห่งมาร่วมงานนับร้อยคน  ชาวบ้านรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เข้ามาประชุมในรั้วมหาวิทยาลัย  เพราะมองว่าเป็นหน่วยราชการระดับสูงของจังหวัด  

      พอเวลา 09.30 น. ท่านผู้ว่าฯ(สันทัด จัตุชัย)มาเป็นประธานเปิดงาน  โดยมีท่านอธิการบดี(รศ.โกวิท เชื่อมกลาง)กล่าวรายงาน   หลังจากนั้นมีการให้ประธานมอบวุฒิบัตรให้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน(พ่อสมศรี ทองหล่อ)  ผอ.ธงชัย สนหอม (ประชาสังคมบุรีรัมย์) หลวงพ่อพระมหาสุวรรณ (วัดป่าตะครองใต้ เจ้าคณะตำบลสูงเนิน  อ.กระสัง)พระนักพัฒนา และคณะวิทยากร   และมอบให้นักวิจัยที่ขึ้นนำเสนอผลงาน  และผู้เขียนบทความลงวารสารวิจัยและพัฒนา  จากนั้นอธิการบดีมอบทุนกองทุนส่งเสริมวิจัยข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มข้าวอินทรีย์ บ้านสำโรงน้อย ต.วังเหนือ อ.บ้านด่าน บุรีรัมย์  แล้วนำประธานชมนิทรรศการ โปสเตอร์เสนองานวิจัยของอาจารย์ ชาวบ้าน นักศึกษา นักพัฒนา  นิทรรศการการท่องเที่ยวเส้นทางอารยธรรมขอม (ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.บุรีรัมย์)  ชมสินค้าชุมชนเช่น ผ้าไหม สมุนไพร นวดแผนไทย เป็นต้น  ชาวบ้านเคียนผ้าขาวม้าให้ท่านผู้ว่าฯ และอธิการบดี  เป็นการขอบคุณตามธรรมเนียมพื้นบ้าน

      10.30 เริ่มการอภิปราย"บทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการวิจัยเพื่อท้องถิ่นท้องถิ่น" โดย ดร.     เทิดชาย ช่วยบำรุง (สกว.)   ครูบาสมศรี  ทองหล่อ  อ.บัณฑร  อ่อนดำ(นักวิชาการอาวุโส ภาคอีสาน)  ผอ.ภูมิภักดิ์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์ (สำนักบริหารงานวิจัย มข.)  รศ.วิสุทธิ์  ภิโญวาณิชกะ(นักวิชาการอาวุโส)  ดร.สรเชต  วรคามวิชัย(นักประวัติศาสตร์อาวุโส)  ผศ.เต็มดวง ตรีธัญญพงศ์ (เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ) ผศ.พัชรินทร์  ดำรงกิตติกุล (สกว.)   ทุกท่านมีแนวคิดที่ชี้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏควรหาอัตลักษณ์ตนเองให้พบ  หรือหาจุดเด่นให้พบ (ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยที่อยุ่ติดท้องถิ่น) ควรเน้นส่งเสริมทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของท้องถิ่น  โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัดอย่างใกล้ชิด  อาจจะใช้วิธีการลงขันงบประมาณการทำวิจัยและการพัฒนา  เพราะงบประมาณของประเทศส่วนใหญ่ถ่ายโอนไปท้องถิ่นแล้ว   และควรร่วมมือกับองค์กรชาวบ้าน  ปราชญ์ชาวบ้าน ในการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาระดับชุมชนด้วย   ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ท้าทายมากเพราะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยังมีประสบการณ์น้อย  ในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นหรือวิจัยแบบมีส่วนร่วม หรือวิจัยเชิงปฏิบัติการ   คงต้องมีการวางแผนทำการอบรมการวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้มากขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ  หลังจากนั้นมีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยน โดยตัวแทนชาวบ้านเสนอให้อาจารย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏออกไปทำงานวิจัยและพัฒนาในชุมชนมากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 169223เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์

  • ไม่ได้พบกันเสียนานเลยนะครับ
  • น่ายินดีที่สถาบันมีความคิดผลักดันงานวิจัยและพัฒนาลงสู่ชุมชน โดยเฉพาะราชภัฎในท้องถิ่นนะครับ
  • ผมว่ามีประเด็นหรือหัวข้อมากมายที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่ในตัวเกษตรกรจนไกลไปสู่เรื่องไกลแต่จริงๆใกล้ตัว เช่นประเด็นโลกร้อนในมิติชุมชน
  • หวังว่ากลุ่ม NGO ในท้องถิ่นคงมีโอกาสช่วยแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆในงานมาให้ทางอาจารย์บ้างนะครับ
  • จะติดตามงานของอาจารย์ครับ

สวัสดีครับพี่บู๊ต

งานสัมมนาวิจัยสุ่ชุมชน ปีที่แล้ว ได้เชิญพี่เปี๊ยก(บำรุง บุญปัญญา)มาเป็นวิทยากร แล้ว   และได้เชิญ โกวิท กุลสุวรรณ และทีมนักพัฒนาจาก NET มาจัดนิทรรศการพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกด้วยครับ  ถือเป็นเวทีที่นักวิชาการ NGO และชาวบ้านได้มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท