จับมาขบต่อ...จากรศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล


ประเทศไทยละเลยและไม่ค่อยเห็นความสำคัญของข้อมูลพื้นฐาน(Database)...มักหวงกันจัง

จับมาขบต่อ...จากรศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล

             วันนี้ได้ติดตามอ.โก๋ไปคุยกับรศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงเรื่องการผลิตรายการหรือสื่อเพื่อเด็กและสตรี ซึ่งอาจารย์กฤตยาได้ให้ข้อคิดเห็นไว้มากมาย และหลายประเด็นน่าเก็บและจดจำมาใช้ อาทิ เรื่องของหลักการในการตั้งคำถามต่อประเด็นที่ตั้งไว้ คือรายการเพื่อเด็กและสตรีจะเลือกประชากรมาศึกษาอย่างไร ในประเด็นนี้อาจารย์ได้ให้หลักคิดไว้ว่า

ประการที่ 1 ต้องให้ผู้ชมเป็นผู้ตอบคำถามนี้ หรือเรียกว่า วิธี Audience Testing

ประการที่ 2 วิธีการที่เลือกคนมาตอบจะต้องมีหลักการที่ดี มีเหตุผลในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับได้

ประการที่ 3 การเลือกหรือตั้งคำถาม รวมถึงการเลือกวิธีการที่จะให้กลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบ จะต้องมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

ประการที่ 4 การเลือกสาระของเรื่อง (Content Analysis) หรือแง่มุมในการเลือกคำถามก็มีความสำคัญไม่แพ้ประการอื่นๆ

ประการที่ 5 คือสิ่งที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ก็คือ การจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (Database) เพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ได้อย่างหลากหลายแง่มุม

            ในเรื่องของข้อมูลพื้นฐานหรือ Database เรามักพบว่าเป็นข้อมูลส่วนที่สำคัญมากๆ เพราะจากข้อมูลจุดนี้จะสามารถต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ๆ ได้อีกมากมาย แต่ประเทศไทยละเลยต่อข้อมูลส่วนนี้อย่างมาก ส่วนหนึ่งมักมองว่าเป็นข้อมูลที่สมควรเป็นความลับ (แม้จะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง) เป็นข้อมูลที่แต่ละที่มักจะเก็บแยกออกจากกัน อุตสาหกรรมหลายประเภทของประเทศไทย ขาดข้อมูลศูนย์กลางในเรื่องดังกล่าว ไม่ค่อยมีแหล่งข้อมูลกลางของชาติ หรือหากมีข้อมูลก็มักเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ใช้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง

แต่ผู้ที่สนใจศึกษาหรือต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอื่นๆ จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้เลย นี่จะนับเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้ช้าหรือไม่ ต้องค่อยๆ คิดวิเคราะห์กันต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 169639เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2008 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่ใช่แค่หวงอย่างเดียวค่ะ

บางที่ไม่ทำ หรือทำก็ไม่มีการปรับฐานข้อมูลซะด้วยสิ

 

Sasinanda

การที่ข้อมูลบางอย่างเป็นความลับ แม้จะมิใช่เรื่องการเงินเพราะ คนกลัวว่า เขาจะเสียประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ถ้าข้อมูลรั่วไหลค่ะ

เข้าใจเรื่องประโยชน์ในเชิงธุรกิจนะคะ แต่เห็นในต่างประเทศ ข้อมูลที่เป็นเรื่องของสถิติต่างๆ (เช่น ยอดการขายตั๋วหนัง จำนวนหนังที่เข้าฉายในแต่ละปี ฯลฯ) ที่หน่วยงานรัฐของเขาทำ หน่วยงานนั้นก็จะมีการอัพโหลดไฟล์มาให้โหลดอ่านกันได้ เพราะเป็นความรู้ที่เผยแพร่ได้นี่ค่ะ แต่ของบ้านเรายังติดกรอบอะไรอยู่ไม่รู้ ข้อนี้แนทคงต้องไปศึกษาหาความรู้และวิเคราะห์เพิ่มแล้วหล่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท