~ ผู้หญิงคนหนึ่งกับตัวเลข AHS ~
นางสาว ~ ผู้หญิงคนหนึ่งกับตัวเลข AHS ~ เซี่ยงว่อง

เรียนรู้ "เรื่องน่ารู้ก่อน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต...."


บริการด้วยใจ ใส่ใจทุกคำถาม Rd Call Center 0-2272-8000

แวะเข้าไปยื่นภาษี ผ่าน  net มาค่ะ ก็แอบแวะเอาเรื่อง

เรื่องน่ารู้ก่อน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต มาให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ต้องยื่นชำระภาษี ปี 2550 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2550) มาฝากให้กับทุกคนที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปให้สรรพากรให้วุ่นวาย แถมประหยัดค่าเดินทางด้วยนะคะ

 

 การลงทะเบียน 

 

1.  ต้องเปิดเว็ปไซต์โดยใช้ Internet Explorer เวอร์ชั่น 6 เท่านั้น

     หากใช้ Internet ExplorerVersion 7 ให้ลงโปรแกรม Service Pack 1  ท่านสามารถ Download ได้จาก www.rd.go.th >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต >> แนะนำบริการ (รายละเอียด) >>แนะนำโปรแกรม (ดำเนินการต่อ) >> คำแนะนำการติดตั้งโปรแกรม(ตัวอย่างการแก้ไข)

2.  ต้องลงทะเบียนใหม่ ทุกราย  เลือกเมนู  “ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิ๊กที่นี่”  เลือก  “ลงทะเบียน”

3.  การลงทะเบียนจะต้องกรอกชื่อ/ชื่อสกุล ของบิดา มารดา

4.  การเลือกคำถาม  จะต้องจำคำตอบที่เลือกให้ได้  เพราะหากท่านลืมรหัสผ่าน ท่านต้องใช้คำถาม/     คำตอบเดิมตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ หากจำคำตอบไม่ได้ จะไม่สามารถทำรายการต่อได้อีก

(เป็นระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเอง)

5.  กรณีลืมรหัสผ่าน และไม่สามารถจดจำคำตอบได้

 ให้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกับระบุว่า “ขอยกเลิกการลงทะเบียน  ภ.อ.01 เนื่องจากลืมคำถาม/คำตอบที่ได้เคยระบุไว้”  และส่งโทรสารไปที่หมายเลข 0-2617-3463   จึงจะสามารถลงทะเบียนได้อีกครั้งในวันถัดไป

6.  กรณีชาวต่างชาติพบว่า ชื่อ-ชื่อสกุล หรือ วันเดือนปีเกิดไม่ตรงกับฐานข้อมูลขอให้ยื่นคำร้อง ล.ป.10.1 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่/พื้นที่สาขา ตามที่อยู่ที่ทำงานของชาวต่างชาติ เพื่อติดต่อหน่วยงานผู้ออกบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทำการแก้ไขฐานข้อมูลให้ถูกต้อง

7.  กรณีชาวต่างชาติลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ไม่ต้องกรอกชื่อ บิดา/มารดา แต่หากเป็นคนต่างด้าวที่มีเลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกชื่อ-ชื่อสกุลบิดา/มารดา

 

การกรอกแบบ

 

1.  ต้องระบุสถานะของผู้มีเงินได้ และข้อมูลของคู่สมรส ให้ครบถ้วน

1.1  คู่สมรสเป็นคนไทย ให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน โดยไม่ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร   

1.2  คู่สมรสเป็นคนต่างด้าว และมีเงินได้ ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี แทนเลขบัตรประจำตัวประชาชน

1.3   คู่สมรส เป็นคนต่างด้าว และไม่มีเงินได้  ให้เลือกระบุ “ไม่มีเงินได้”  แล้วจึงเลือก “ต่างด้าว”  พร้อมระบุเลขหนังสือเดินทาง และสัญชาติ  

(จะต้องเลือก “ไม่มีเงินได้”ระบบจึงจะให้ระบุว่าเป็น “ต่างด้าว” ได้)

2.  ช่องรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ต้องกรอกตัวเลขจำนวนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายให้ถูกต้อง  แต่ถ้าไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ต้องใส่ 0.00

3.   เพิ่ม รายการให้กรอกเกี่ยวกับ “ผู้จ่ายเงินได้” ต้องบันทึกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  หรือเลขประจำตัวประชาชนของผู้จ่ายเงินได้ ทุกประเภทของเงินได้ที่ได้รับ อย่างน้อย 1 ราย

4.  ค่าลดหย่อนประกันสังคมให้กรอกเฉพาะผู้มีเงินได้ตาม ม.40(1) เท่านั้น และหักลดหย่อนได้ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม คือไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินได้ และไม่เกิน 9,000 บาท  

(ห้ามปัดเศษทศนิยมขึ้น)

 

การตรวจสอบว่ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 ผ่านหรือไม่

 

1.  ตรวจสอบที่ >> http://www.rd.go.th/ >> ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิกที่นี่ >> ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ยื่นแบบ  ภ.ง.ด.91  >> ใส่หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน  หาก

1.1 ยื่นแบบปกติผ่านแล้ว  ระบบจะมีข้อความแจ้งว่า ท่านได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  หรือ      ภ.ง.ด.91 ปี 2550 ผ่าน Internet แล้ว

             1.2 ไม่มีข้อความเตือน แสดงว่ายังยื่นแบบปกติไม่ผ่าน

2.  กรณีทำรายการเร็วมาก เข้าไปถึงหน้าแบบฯ เลย วิธีการตรวจสอบอีกขั้นหนึ่งคือดูในส่วน ก ระหว่างข้อ 15 และ 16 หากมีเครื่องหมาย  ü ระบุว่า ยื่นแบบฯเพิ่มเติม ให้อัตโนมัติ แสดงว่ายื่นแบบปกติผ่านแล้ว

 

หมายเหตุ :   ตรวจสอบได้เฉพาะการยื่นแบบปกติ เท่านั้น

 

การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 เพิ่มเติม

 

1.  ต้องกรอกรายการในส่วน ก. ข้อ 18  โดย

1.1  กรณีแบบฯที่ยื่นไว้ก่อนเป็นแบบฯที่มีภาษีชำระให้ระบุจำนวนเงินที่ชำระตามแบบที่ยื่นไว้ก่อนนั้น

1.2  กรณีเป็นแบบฯที่ขอคืนหรือไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ใส่ 0.00

2.  การยื่นแบบฯเพิ่มเติม จะไม่สามารถ แก้ไข ชื่อ/นามสกุล และที่อยู่ได้ เพราะถือว่าท่านแจ้งความประสงค์ไว้แล้วในการยื่นแบบปกติ(ฉบับแรก)

 

การชำระภาษี

 

1.  เมื่อยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต้องชำระภาษีตามช่องทางที่ระบุไว้บนระบบเท่านั้น ไม่สามารถนำเงินไปชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

2.  เมื่อทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ทางอินเทอร์เน็ตแล้ว  จะพิมพ์แบบดังกล่าวออกมานำไปใช้ยื่นแบบฯที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาไม่ได้

3.  การชำระภาษีสำหรับการยื่นแบบฯผ่านอินเทอร์เน็ต  ต้องชำระภาษีทั้งจำนวนไม่สามารถขอผ่อนชำระเป็นงวดๆได้

4.  เมื่อเลือกช่องทางการชำระภาษีไปแล้ว หากไม่สะดวกที่จะใช้ช่องทางดังกล่าว ด้วยเหตุประการใดๆ  ก็ตาม ท่านสามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงินได้ โดยเข้าเวปไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/ >>ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตคลิกที่นี่ >>  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  หรือ  ยื่นแบบ      ภ.ง.ด.91  >> ใส่หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน  จะปรากฏรายการค้างชำระ     ให้เลือกเข้าไปในแบบ       ภ.ง.ด.90 หรือ แบบ ภ.ง.ด.91 โดยคลิ๊กที่  “หมายเลขอ้างอิง” จะปรากฏแบบแสดงรายการ  เมื่อเข้าสู่หน้าจอแบบ  ให้เลื่อนลงไปล่างสุด แล้วกดปุ่ม ตกลง จะเข้าสู่หน้าจอการชำระเงิน ให้เลือกช่องทางการชำระเงินที่ต้องการใหม่ได้ โดยไม่ถือว่าซ้ำซ้อนใดๆ

 

การขอผ่อนชำระ 

 

1.  กรณียื่นแบบฯ ผ่าน Internet ไม่ สามารถผ่อนชำระได้

2.  กรณียื่นแบบฯ กระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาและมีภาษีที่ต้องชำระจำนวน ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอผ่อนชำระภาษีได้ เป็น 3 งวดเท่าๆ กัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ  โดยใช้แบบ บ.ช.35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น มีข้อความเหมือนกัน

งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการปีภาษี 2550 ภายใน 31 มีนาคม 2551

งวดที่ 2 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1 คือภายใน 30 เมษายน 2551

งวดที่ 3 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2 คือภายใน 31 พฤษภาคม 2551

     ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิ์ที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของยอดภาษีงวดที่เหลือ

 

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 

 

     ผู้ที่มีเงินได้ในระหว่างปีภาษี มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้

     1.  ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น

(ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

          -  กรณี ไม่มี คู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท

          -  กรณีที่ มี คู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 100,000 บาท

     2.  ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น

(ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90

          -  กรณี ไม่มี คู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมิน เกิน 30,000 บาท

          -  กรณี มี คู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมิน รวมกัน เกิน 60,000 บาท

 

ตรวจสอบการขอคืนและการส่งเอกสารประกอบการขอคืน 

 

          เลือกหัวข้อ "สอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี" จากหน้าหลัก www.rd.go.th กรณีตรวจสอบสถานะคืนเงินภาษีว่า อยู่ในขั้นตอนใด

          หากมีการขอเอกสารเพื่อตรวจก่อนคืน ขอให้รวบรวมเอกสารให้ครบถ้วน และ ต้องพิมพ์  "ใบนำส่งเอกสาร"  ส่งพร้อมกับเอกสารภายในกำหนดเวลาตามช่องทางที่ปรากฎบนหน้าจอ

 

ทั้งนี้

     1.  กรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต

          (1)  กรณี ไม่ ติดสถานะตรวจก่อนคืน จะคืนเงินภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันยื่นแบบแสดงรายการภาษี

          (2)  กรณีติดสถานะตรวจก่อนคืน จะมีระยะเวลาดำเนินการ ภายใน 90 วัน นับแต่วันยื่นแบบแสดงรายการภาษี

     2.  กรณียื่นแบบฯ มากกว่า 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการสร้างแบบฯ เพื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ซึ่งมีหลายขั้นตอน จะ ไม่ อยู่ในเงื่อนไข "คืนภาษีภายใน 15 วัน"

 

          เลือกหัวข้อ "ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษี"  จากหน้าหลัก www.rd.go.th  กรณีกรมสรรพากรให้ส่งเอกสารเพื่อตรวจก่อนคืน ท่านสามารถเข้าตรวจสอบจากหัวข้อนี้ได้ ภายใน 1-2  สัปดาห์ หลังการส่งเอกสารทุกช่องทาง

 

 

บริการด้วยใจ  ใส่ใจทุกคำถาม

RD Call Center

ปล. ขอบอกว่าได้ทดลองยื่นผ่าน net ปีที่ 2...ปีนี้ ง่ายกว่าเดิมค่ะ

หมายเลขบันทึก: 169668เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

รายละเอียดเยอะมากครับ

แต่อย่างไร ประเทศชาติคงต้องมีภาษี เพื่อเลี้ยงกันต่อไป

 

:D  โชคดีที่คณะของเรามีการเงินที่ทั้งเก่ง ขยัน และบริการสุดๆ  เราก็เลยใช้บริการจาก i-am-ket  โดยไม่ต้องอ่านรายละเอียดที่ว่ามาเลย...  :^)

เรียน คุณเกตุ
ผู้ที่ไม่เคยยื่นภาษีมาก่อนเลยไม่สามารถยื่นผ่านเนตได้นะค่ะต้องไปยื่นครั้งแรกที่กรมสรรพกรก่อน

สริตา

เงินได้พีงประเมินขั้นต่ำเท่าไหร่ที่ไม่ต้องยื่นแบบฯ ค่ะ

  • ผมใช้บริการมา 2 ปี แล้ว
  • สะดวก รวดเร็วดี
  • เจ้าหน้าทำให้เรียบร้อยเลย

เฮ้ออ โดนไปล้านกว่า

สงสารพ่อจะตาย

ไม่ได้รวยเลย

ทำไมไม่เข้าใจบ้างฮ่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท