ขวานที่หายไป


คิดดี

สอนคุณธรรมอย่างไร

ให้มีความพอเพียง

บทที่ 5

จงคิดดีต่อคนอื่น

                                               

จุดประสงค์ :   เพื่อรู้ รัก และฝึกจนเคยชิน

นิทานคติ  เรื่อง : ขวานที่หายไป

            นานมาแล้วในประเทศจีน ชาวนาผู้หนึ่งกำลังจะออกไปยังชายป่าเพื่อไปหาฟืนสำหรับนำมาก่อไฟที่บ้าน เขามองหาขวานที่หลังประตู แต่ว่ามันหายไปเสียแล้ว เขาจึงเรียกภรรยามาถาม

เจ้าเห็นขวานของข้าไหม

ภรรยาชาวนาตอบว่า ท่านพี่ ข้าไม่เห็นมันเลย

ดังนั้นชาวนาจึงเรียกลูกชายคนโตมาถาม เจ้าเห็นขวานของพ่อไหม

แน่นอนว่าลูกชายก็ตอบเขาว่า ท่านพ่อ ข้าไม่เห็นมันเลย

ชาวนาจึงคิดว่ามีคนมาขโมยมันไป ดังนั้นเขาจึงออกไปนอกบ้าน ตรงไปยังบ้านของเพื่อนบ้าน แต่ไม่พบชาวนาสงสัยเพื่อนบ้านว่าจะเป็นคนขโมย เนื่องจากอีกฝ่ายหลบหน้าเขา

            เขาจึงตรงกลับเข้าบ้าน และบ่นกับภรรยา เจ้าเพื่อนบ้านทรยศ มันขโมยขวานของข้า ข้าแน่ใจ

            ภรรยาของเขาตอบว่า ข้าไม่คิดว่าเขาจะทำเช่นนั้น มันอาจเป็นไปได้ แต่ว่าท่านพี่ลองหาใหม่อีกสักนิดไม่ดีกว่าหรือ   

          ชาวนาไม่อยากค้นหาใหม่ เขาโมโหมาก เขาเพียงต้องการไปด่าว่าอีกฝ่าย แต่เมื่อออกจากบ้าน เขาพบว่าเพื่อนบ้านของเขาอยู่ที่สนามหญ้าข้างบ้าน กำลังทำงานอยู่อย่างวุ่นวาย ทันใดนั้นสายตาของเขาก็พบกับขวานของเขาเอง มันวางอยู่ที่ต้นไม้ซึ่งเขามาตัดกิ่งไม้เมื่อหลายวันก่อน

            ชาวนารู้สึกแปลกๆ เขาร้องทักเพื่อนบ้านก่อน สวัสดี ในใจของเขารู้สึกว่าเขาโชคดีที่มีเพื่อนบ้านทำงานนัก สัตย์ซื่อ ใจดี เขาจึงทักเพื่อนบ้านซ้ำอีกครั้ง วันนี้เป็นวันที่ดีนะ

เพื่อนบ้านของเขาหันมาตอบรับ อืม ดีเช่นกัน จากนั้นทั้งสองก็ออกไปตัดฟืนพร้อมกัน

           

 

            ช่วยกันขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจ

            ๑) ให้ช่วยกันหาคติพจน์และสุภาษิตส่งเสริมการคิดดีต่อคนอื่น

            ๒) ให้ช่วยกันหาคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่กล่าวถึงการคิดดีต่อคนอื่น

            ในทั้งสองกรณีให้มีอาสาสมัครรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อทำเอกสารแจกให้เก็บไว้ โดยลงวันที่ไว้ด้วย

 

ฝึกคุณธรรม

            ๑) ฝึกรู้รอบ : เรื่องนี้เหมาะสมสำหรับสอนเรื่องการคิดดีต่อคนอื่นหรือไม่ อย่างไร

            ๒) ฝึกแข็งขัน : เราจะคิดดีต่อคนอื่นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร  แล้วเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำแค่ไหน

            ๓) ฝึกพอเพียง : การคิดดีต่อคนอื่นอย่างไร จึงเรียกว่าทำได้อย่าง พอเพียง

                                    - อย่างไรเรียกว่าขาด

                                    - อย่างไรเรียกว่าเกิน

            ๔) ฝึกความยุติธรรม : การคิดดีต่อคนอื่นที่ดำเนินไปอย่างมีความยุติธรรมเป็นอย่างไร ให้ช่วยกันยกตัวอย่าง

 

กิจกรรมสันทนาการ

            ๑.ให้อาสาสมัครลองเล่าถึงการเข้าใจคนอื่นผิดที่ผ่านมา และอะไรที่ทำให้เขาเข้าใจผิด และแก้ไขการเข้าใจผิดอย่างไร เล่าให้คนอื่นฟังเพื่อเป็นประสบการณ์แลกเปลี่ยนกัน

 

เอนก สุวรรณบัณฑิต

ปรับจากหนังสือ Discovering the Real Me, Universal Peace Federation Edition

คำสำคัญ (Tags): #คิดในแง่ดี
หมายเลขบันทึก: 169754เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอเอาไปทำรายงานน่ะคับ

สวัสดีค่ะ

  • เนื่องจากเป็นคนชอบนิทานเป็นชีวิตจิตใจ จึงเข้ามาอ่านด้วยความสุขและก็ไม่ผิดหวังค่ะ
  • พระอาจารย์พรหม..ท่านเขียนไว้ในคำนำหนังสือเรื่องชวนม่วนชื่น ธรรมะบันเทิงหลายเรื่องเล่า  ว่า ...ชีวิตคนเราเปรียบเสมือนเรื่องราวมากมายที่ประสานสัมพันธ์ถักทอไว้ด้วยกัน ดังนั้นนิทานจึงสามารถสื่อความจริงของชีวิตได้ดีกว่าทฤษฎีหรือปรัชญาล้วน ๆ คนเราจึงชอบฟังนิทาน...
  • ขอบคุณนิทานดี  ๆ ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะการนำเสนอใช้กับการนำไปสอนนักเรียนได้ค่ะ

เอาไปสอนภาษาไทย ป.5-6 เรื่องการอ่านจับใจความค่ะ ...เด็กๆชอบ

ขอบคุณมากค่ะ จะเก็บเอาไปสอนเด็ก และสอนตัวเองค่ะ

ขอยืม ทำงานหน่อยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท