นอกมหาชีวาลัย


การทำงานที่มีประสิทธิภาพของครูบาสุทธินันท์ และความเป็นมิตรของชาวบ้าน

     วันนี้เหนื่อยมากครับเพราะเพิ่งกลับมาจากไปดูงานนอกสถานที่กับพ่อครูบาและทีมงานเหล่าวิทยากรทุกท่านที่บ้านแดง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็น 1 ในหมู่บ้านที่มีเกษตรกรกลุ่มคูโบตมอาศัยอยู่โดยในการไปดูงานครั้งนี้เราออกเดินทางกันในวันที่ 11 และพักกับกลุ่มเกษตรกร 1 คืน โดยในการไปดูงานนอกสถานที่นั้นจุดประสงค์ในการไปคือ การไปดูสภาพพื้นที่จริงที่เกษตรกรอาศัยอยู่ว่าเหมือนหรือแตกต่างจากที่เราได้ฟังจากเขามาหรือไม่และดูว่าจุดเด็นหรือจุดดีของเกษตรกรมีอะไรบ้าง รวมทั้งเป็นการประเมินดูว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราสามารถจะเสริมให้แก่เกษตรกรได้แล้วทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ทำและได้รับจากการไปดูงานครั้งนี้คือ

- ข้าพเจ้าได้เห็นการตอนต้นไผ่เป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่ามีอีกหลายคนก็ยังไม่เคยเห็นเหมือนกัน  โดยขั้นตอนเริ่มจากการเลือกกิ่งไผ่จากต้นไผ่ที่แก่เต็มที่แล้ว นำเลื่อยมาเลื่อยกิ่งไผ่ตรงข้อที่ติดกับต้นไผ่ เลื่อยจนเลยข้อลงมาอย่าให้กิ่งไผ่หลุดออกจากต้น จากนั้นนำถุงที่บรรจุผุยมะพร้าวมาหุ้มกิ่งไผ่ตรงที่เลื่อยไว้แล้วมัดให้แน่นจากนั้นก็มัดกิ่งไผ่กับลำต้นไว้เพื่อเป็นการยึดกิ่งไว้  ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15 วันก็จะมีรากเกิดขึ้นเราก็สามารถตัดกิ่งไผ่นั้นไปลงถุงเพาะหรือนำไปปลูกได้เลย

- การได้เห็นการทำงานของครูบาที่เหมือนครูบาจะไม่ได้ทำอะไรแค่เดินดูสภาพท้องที่ ถ่ายรูปและถามจากเกษตรกรบ้างแต่ครูบากลับสามารถที่จะบอกแนวทางในการปรับปรุงท้องที่ให้แก่เกษตรกรได้ดีอย่างเหลือเชื่อ 

- การได้เห็นการทำงานที่ยอดเยี่ยมของเหล่าวิทยากรในการทำงานนอกสถานที่ โดยเฉพาะการทำตัวให้เกษตรกรรู้สึกผูกพันและนับถือในตัวเหล่าวิยากรนั้นข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นอะไรที่ข้าพเจ้าน่าจะนำมาเป็นแบบอย่าง

และสิ่งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าคิดว่ามันดีมากในการออกนอกสถานที่ครั้งนี้คือ ความเป็นมิตรและการเอาใจใส่จากกลุ่มเกษตรกรคูโบตมนั่นเอง  เพราะแทนที่พวกเขาจะกลับไปหมู่บ้านของตัวเองทันทีที่กลับถึงหมู่บ้าน แต่พวกเขากลับอยู่ร่วมกับสมาชิกในกลุ่มต่อและช่วยกันหาน้ำ หาข้าวและทำอาหารและกินร่วมกันเป็นกลุ่ม   จนกระทั่งถึงเวลานอนพวกเขาเหล่านั้นถึงได้แยกย้ายกันกลับบ้านหมู่บ้านของตนเองและยังมีบางส่วนอยู่ด้วยกันจนกิจกรรมเลิกจนถึงยอมกลับบ้าน และนี้คือสิ่งที่ข้าพเจ้าจะไม่ได้รับรู้ ไม่ได้เห็นและไม่ได้สัมผัสกับมันเลยหากข้าพเจ้าไม่ได้มาที่นี้ มหาชีวาลัยอีสานแห่งนี้

หมายเลขบันทึก: 170614เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • จะทำงานหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน  ก็ต้องรู้จัก  เข้าใจ  และรักชาวบ้านก่อน  อิอิ
  • อ้ายกลับมาก็ต่อลงพื้นที่บ้านนาเจริญ
  • เสร็จแล้วก็นอนไม่หลับนึกถึงดาวกับเดือนในคืนนั้น
  • เป็นกำลังใจครับ

ยอดเยี่ยม ครับ การได้เห็น ด้วยตา ฟังกับหู สัมผัสได้ด้วยมือ และหยั่งรู้ด้วยภูมิสัมผัสภายใน แล้วกลั่นมันออกมาด้วยภาษาเขียน หรือพูด เหล่านี้คือกระบวนการของคนที่ทำงานกับชาวบ้าน

เริ่มต้นก็แจ๋วแล้ว งี้บ้านเมืองเราก็มีอนาคตแน่

 

  • สู้ต่อไปน้อง
  • พี่อยู่ขอนแก่น สบายดีครับ
  • สนุกสนานใหญ่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท