วันแรก(22 กพ. 51) แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหา


การวิเคราะห์ปัญหา

ปัญหาคืออะไร

  คนจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับปัญหา แล้วก็แก้ปัญหาที่ผิดพลาด การที่เราแก้ปัญหาที่ผิดพลาดนั้น เกิดจาก ?

  1. ไม่เข้าใจปัญหา
  2. หาต้นเหตุของปัญหาไม่พบ
  3. สรุปปัญหาโดยเร็วเกินไป โดยไม่ทันได้วิเคราะห์

     เราลองมาดูกันว่าปัญหาต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และเมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง  แต่ก่อนอื่น ก้ขอมาพอมาดูปัจจัยหลักอันสำคัญ 4 ประการ ที่ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน จะขาดปัญจัยเหล่านี้เสียมิได้ เราเรียกปัจจัยนี้ว่า "ปัจจัยหลักอันสำคัญยิ่งในการบริหารงาน" (4 VERY IMPORTANT PRINCIPLES) 4VIPs ประกอบด้วย

  1. การมีจิตวิเคราะห์ คือ การมีคววามยับยั้ง ชั่งใจ คิด พิจารณาข้อมูลในประเด็นต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบด้วยการเปรียบเทียบหรือทบทวนกับหลักวิชาการ
  2. การมีแนวคิดที่เป็นระบบ คือ การที่เราแก้ปัญหาไม่เป็นระบบ ชอบปัดปัญหาให้พ้นตัว "ปัดสวะให้พ้นหน้าบ้าน" แล้วก้มักจะพบปัญหาใหม่ แทรกซ้อนผุดขึ้นมาอีก ดังนั้นต้องคิดให้เป็น "ระบบ"
  3. แนวคิดที่เป็นสหสัมพันธ์ คือ ผลกระทบเทียบเคียงอันเกิดจากเหตุหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบไปสู่อีกงานหนึ่งได้
  4. สถาปนาแนวความคิดสร้างสรรค์ คือ ควรมีความคิดริเริ่ม  และส่งเสริมหรือคัดเลือกผู้บริหารที่มีความกระตือรือล้นมีทักษะ รวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นจากผู้บริหารทุกระดับ

อันตรภาคชั้นของการแก้ปัญหา

     การคลี่คลายปัญหาก็ดุจกับการทำงานอื่นๆ โดยทั่วไปจะต้องมีการจัดลำดับขั้นของการลดระดับความรุนแรงของปัญหา

  • การป้องกัน (อาจจสูญเสียค่าใช้จ่ายสูงจากการป้องกัน เช่น การป้องกันการทุจริต, การป้องกันน้ำท่วม)
  • การบรรเทา (หาทางลดความรุนแรงของปัญหาลง)
  • การคลี่คลาย (ปัญหาอาจจะยังคุกรุ่นอยู่ ควรจะใช้เชาว์ปฏิภาณไหวพริบ, ความสามารถ ประสบการณ์ เป็นต้น) 
  • การแก้ไข (เพื่อการระงับปัญหา อย่างน้อยก็ช่วยงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งก็จะต้องยาวนานพอสมควร แต่ก็บ่อยครั้งที่พบว่าผู้แก้ไขปัญหามิได้เข้าไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริง)
  • การขจัด (ปัญหาจะยุติลงถาวรก็คือการขจัดปัญหา ในแง่นี้ อาจจะต้องสูญเสียค่อนข้างมาก บางครั้งรุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อเนื่องคืบคลานไปอย่างกว้าง จะต้องพิจารณาให้รอบครอบ)

หลักของการแก้ปัญหา

  1. กำหนดปัญหา (ปัญหาอยู่ที่ไหน)
  2. การรวบรวมข้อเท็จจริง (ทำเป็นขั้นตอน)
  3. การพิจารณาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (รากเง้าของปัญหาอยู่ที่ไหน)
  4. การระบุหรือเจาะจงปัญหา (ตัดสินใจระบุปัญหาที่จะแก้ไข)
  5. การพิจารณาทางเลือก (ทางเดียวจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด)

สุดท้าย

  • อย่าเชื่อว่าวิธีที่จะแก้ปัญหามีอยู่เพียงวิธีเดียว
  • ต้องกล้าเผชิญปัญหาด้วยปัญญา
  • ปัญหาในโลกย่อมมีทางแก้เสมอ
  • และอย่าเชื่อว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีของตนเองนั้นดีที่สุด แต่จงพึงนึกเสมอว่าหนทางของการแก้ปัญหานั้น อาจจะดีทีสุดในขณะนั้น แต่เราก็สามารถพัฒนาวิธีการดีกว่าได้เสมอ

(ข้อมูลจากเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจ วันที่ 22-23 ก.พ. 2551 วิทยากรโดยอาจารย์วรเทพ  ไวทยาวิโรจน์)

 

หมายเลขบันทึก: 170730เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณ"humanities"

  • น่าสนใจมากเลยค่ะ..อยากไปอบรมจัง..
  • กี่บาทค่ะค่าอบรม..
  • ขอบคุณค่ะ

 

ค่าอบรมฯ 2,800.-

จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท