Workshop สั้นๆ กับบริการที่ภูมิใจ


เรื่องเล่าทั้ง 4 ล้วนสร้างความชุมชื่นให้กับพวกเราบรรณารักษ์ที่เป็นอาชีพทำเพื่อผู้อื่นจริงๆ

           ทั้งขวัญ (ขวัญตระกูล)และดิฉันตั้งใจจะบันทึกให้ทันการจัดกิจกรรมเสร็จ แต่ความจริงคือ  ไม่ทันเลยเขียนค้างๆ ไว้  http://gotoknow.org/blog/nulib-service/167941 วางแผนว่าจะมาเติมให้เต็มแต่ก็ไม่เรียบร้อยเสียที  เมื่ออาทิตย์ก่อน (10-11 มีนาคม 2551) ไปเชียงใหม่ได้มีโอกาสคุยกับ อ. นพพร หนึ่งในสมาชิกที่ทำ workshop ร่วมกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 อ.บอกว่าดีและจริงๆ แล้วน่าจะมีเรื่องต่างๆ ที่เล่ากันในกลุ่มโชว์ให้สมาชิกดูด้วย จึงกลับมาเริ่มต้นต่อเติมกันอีกครั้งหนึ่ง

          คณะทำงานฝ่ายบริการสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจัดประชุมครั้งที่ 1/2551 ( ปกติจัดปีละ ประมาณ 3-4 ครั้ง) ขึ้นเมื่อ วันที่  28-29 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ภูเก็ต มีโปรแกรมให้คุณขวัญตระกูลและดิฉันไปเล่าเรื่อง การจัดการความรู้ในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร มีเวลา ชั่วโมงครึ่งตอนบ่ายหลังทานข้าวอิ่มอีกต่างหาก ( อาหาร สุดยอด) เรา 2 คน ค่อนข้างวิตกกังวลกันมากพอดู เพราะเราทราบดีว่า พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ วงการบรรณารักษ์ล้วนแล้วแต่เป็นนักค้นคว้าที่เชี่ยวชาญ แน่นอนว่าทฤษฎีต้องเป๊ะๆ แน่ๆ ถ้าเอาทฤษฎีไปคุยก็คงเหมือนเอามะพร้าวห้าวจากพิษณุโลกไปขายที่สวนภูเก็ต เด็ดๆ

          ที่สุดเราก็เลยมาลงเอยกับการจัด workshop สั้นๆ เพื่อดึงความรู้ของแต่ละคนที่ผ่านประสบการณ์การทำงานด้านบริการในห้องสมุดของสมาชิกกันดีกว่า ให้หัวปลาว่า บริการที่ภูมิใจ ด้วยความเชื่อมั่นว่าทุกคนต้องมีเรื่องดีๆ มาเล่า เราจึงไม่ยอมแพร่งพรายกิจกรรมใดๆ ให้สมาชิกทราบก่อน เพียงแต่ขอให้เจ้าภาพ เตรียมกระดาษ A4 ให้ประมาณหนึ่ง มีหลายคนถามตอนเช้าเมื่อเจอกันว่า จะใช้เวลานานมั๊ย แน่นอนว่า ถ้าใช้เวลานานเราจะมีโอกาสไปสถานที่สำคัญๆ ของภูเก็ตน้อยลง คำตอบคือ อยู่ที่สมาชิกค่ะ

          เมื่อถึงเวลา เราขอให้สมาชิกนับ 1-4 เพื่อแบ่งกล่มออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วแจกกระดาษและสีเทียนให้ทุกคน ขอให้แต่ละคนแบ่งกระดาษเป็น 4 ส่วน และวาด เส้นตรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ลงไปในแต่ละส่วน จากนั้นขอให้แต่งเติมรูปตั้งต้นให้เป็นรูปที่ตนเองอยากเขียนลงไป ให้เวลา 5 นาที (ดิฉันดัดแปลงมาจากกิจกรรมของ ดร. ธีระยุทธ วระพินิจ (ครูใหม่) ซึ่งนำวิธีการทางจิดวิทยามาใช้ในการอบรมการพูดที่ดิฉันได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม) หลังจากได้รับภาพที่ทุกคนเสริมเพิ่มเข้าไปแล้ว เราก็อธิบายว่า เส้นตรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมและวงกลม คือภาพพื้นฐานเปรียบเสมือนสมาชิกทุกคนที่จบการศึกษาบรรณารักษศาสตร์เหมือนกัน (หลักสูตรอาจต่างกันไปตามรูปแต่ละรูปที่แทนสถาบันที่ต่างกัน : ตรงนี้ลืมอธิบายค่ะประมาณว่าจะเสียเวลาวาดทำไมตั้ง 4 รูป) และการต่อเติมลงไปก็เกิดจากประสบการณ์ที่แต่ละคนมี แตกต่างกันไป อาจมีเหมือนกันบ้างแต่โดยรายละเอียดก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นประสบการณ์ของแต่ละคนจึงสำคัญเท่าเทียมกัน

ผลงาน 1

ผลงาน 2

          ก่อนเข้าสู่บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนภายใต้หัวข้อ บริการที่ภาคภูมิใจ เราก็เสนอภาพก่อนทำ workshop (อันนี้ได้รับความเอือเฟื้อจาก อาจารย์รุจโรจน์ แก้วอุไร (อ. หนึ่ง) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ที่กรุณาส่งไฟล์มาให้ ถึง 2 ไฟล์ให้เรามาปรับใช้) พูดถึงความสำคัญของ story telling และdeep listening ตลอดจนการพูดในทางบวก เพื่อเป็นแรงเสริมในการพูดคุยและขอให้ทุกกลุ่มเลือกเรื่องที่เป็น best practice มากลุ่มละเรื่องด้วย แล้วเราก็ปล่อยเวทีให้กับเพื่อนสมาชิกที่ดูจากบรรยากาศ แอบเข้าข้างตัวเอง ดิฉันก็ว่าโอเคนะ แม้ว่าโต๊ะเก้าอี้จะไม่เอื้อมากนัก ดิฉันเห็นสมาชิกแต่ละกลุ่มเล่ากันสนุกสนาน

เข้ากลุ่มเล่าเรื่อง คนเสื้อขาวเห็นหน้า เลขาฯ คณะทำงานค่ะ

           มาถึง best practice ที่แต่ละกลุ่มเลือกมา

           กลุ่มที่ 1 เรื่องที่ทุกคนในกลุ่มเลือก คือ อาจารย์บรรณารักษ์ ของคุณสารภี หรือนามแฝงใน MSN ว่า ซาร่า จากสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ซาร่า เล่าเรื่องที่ประทับใจในอาชีพบรรณารักษ์ เมื่อมีโอกาสได้ทำหน้าที่ถวายคำแนะนำการสืบค้นสารสนเทศแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ถึง 2 ครั้งเป็นความภาคภูมิใจที่สุด

          เรื่องที่ 2 จากกลุ่มถัดมา คือ เรื่องฝ่าดงปืน จากหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี ที่คุณอัญชลี บรรณารักษ์ท่ามกลางดงปืนได้เล่าถึงประสบการณ์การให้บริการผู้ใช้บริการที่สืบค้นไม่เป็นที่มาพร้อมกันหลายๆ คน เพราะรวมตัวกันมา โดยแจ้งกับผู้ให้บริการว่าขอให้ช่วยหน่อย เพราะฝ่าดงปืนมาเชียวนะ  บรรณารักษ์เลยใช้วิธีแจกบัตรคิวและให้บริการตามคิว จนได้รับสารสนเทศกันทุกคน

          เรื่องที่ 3 เรื่องการพัฒนาโปรแกรมการยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติของห้องสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตสงขลา โดยน้องผกาทิพย์ เนื่องจากบุคลากรน้อยจึงพัฒนาระบบยืม-คืน ขึ้นมาแบ่งเบาภาระของบุคลากร คนทำงานก็สบายใจ ผู้ใช้ก็ไม่เสียเวลา

เรื่องที่ 4 เป็นเรื่องความภาคภูมิใจที่พัฒนาระบบการยืม-คืนหนังสือพร้อมเก็บค่าปรับ ของ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีสาเหตุจากคนทำงานน้อยเหมือนเรื่องที่ 3 และได้ผลดีจนได้รับรางวัลจาก สกอ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เลยทีเดียว

แจ้งแก้ไข  ได้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ระดับชมเชยประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น ได้เกียรติบัตรพร้อมเงิน 5 หมื่น และรางวัล INVENTOR AWARD ระดับดีเด่น ได้ถ้วยรางวัลพร้อมเงิน 1 หมื่น จาก วช.ทั้ง 2 รางวัลค่ะ (ลาภลักษณ์ ผู้เล่า)

 

 

         

          ทั้ง 4 เรื่องที่เล่ามาล้วนสร้างความชุมชื่นให้กับพวกเราบรรณารักษ์ที่เป็นอาชีพทำเพื่อผู้อื่นจริงๆ  ส่วนเรื่องอื่นๆ ในแต่ละกลุ่มขอยกไปอีกเรื่องหนึ่งแล้วกันนะคะ

         

หมายเลขบันทึก: 171420เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณเพ็ญ และขวัญมากค่ะ ที่ให้ทำกลุ่มเราสนุกสนานและได้ความรู้ด้วย

ถึงแม้เวลาจะน้อย แต่ก็ได้อะไรหลายอย่างค่ะ ไว้จะหาโอกาส(บังคับ)เชิญไปให้ความรู้แบบนี้อีกนะคะ

สวัสดีค่ะ..

ขอชื่นชมความขยันและความเก่งกาจของคุณพี่ทั้งสองนะคะ :)

พี่เพ็ญบอกว่าให้แจ้งข้อมูลที่จะแก้ไข เพิ่มเติมลงไปในความคิดเห็นได้เลย ก็ขออนุญาตแจ้ง 2 จุดนะคะ คือ เรื่องที่ 3 ของน้องแนน น่าจะเป็นระบบตรวจสอบก่อนขึ้นชั้นหลังการยืม-คืนด้วยตนเองนะคะ (ที่จำได้ดีเพราะเหมือนกับของสฎ.น่ะค่ะ ถ้ายังไงน้องแนนยืนยันมาอีกทีก็ดีค่ะ)ส่วนเรื่องที่ 4 เป็นระบบยืม-คืน-จ่ายค่าปรับอัตโนมัติ.. และรางวัลจาก วช.ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

น่าภูมิใจแทนคนห้องสมุดมอนอจังครับ

เยียมเลยครับ ทั้งพี่ขวัญและพี่วันเพ็ญ

บรรยากาศคงอบอุ่นดีนะครับ

  • ไม่ธรรมดาจริงๆๆ
  • ชอบดูบรรณารักษ์ทำงาน
  • หลายๆๆท่านเขียนเก่ง
  • คุณวันเพ็ญบรรยายได้ละเอียดมากๆๆ
  • ขอชื่นชม
  • แต่แอบมาดู ซาร่า ครับ
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ
  • ขอบคุณสำหรับทุกข้อคิดเห็นค่ะ
  • พี่อ้อย เลขาฯ คนสวยคะ ชอบค่ะ เมื่อไหร่ ที่ไหน ถ้าเป็นกลุ่มบริการเราจะตามไปแจม
  • น้องลาภ แก้ไขแล้วตามนั้นค่ะ ขอบคุณค่ะ
  • ขอบคุณ อ. หนึ่งค่ะ เป็นเพราะ อ. สนับสนุนมาแต่แรกค่ะ
  • ขอบคุณน้องก็อต พี่ถือว่าทุกประสบการณ์ไม่ว่าทางบวก หรือ ทางลบมีค่าเสมอค่ะ
  • ขอบคุณ อ. ขจิตค่ะ ซาร่าฝากบอกมาว่า วันหน้าไม่ต้องแอบมาเจอกันได้ที่เกษตรบางเขนค่ะ

สวัสดีค่ะคุณวันเพ็ญ

  • เป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์
  • ยกความดีให้ผู้จัด
  • เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมดีดีเช่นนี้
  • และขอบคุณที่ช่วยนำมาเล่าต่อ

workshop สั้นๆแต่มีสาระ สนุกดีค่ะ :)

เอ... ลืมอ่านบันทึกนี้ไปได้ไงเนี่ย.... ดีจังเลยเนอะ...

มีกิจกรรมแบบนี้ช่วยสร้างเครือข่ายได้อย่างดี แล้วก็ได้ฟังเรื่องเล่าดีๆอีกด้วย

  • ขอบคุณคุณ Took-a-toon กิจกรรมดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผู้ร่วมกิจกรรมมีใจรึเปล่าด้วยค่ะ
  • ขอบคุณซาร่าตัวจริงเสียงจริงค่ะ
  • ลืมบันทึก ไม่ลืมคนบันทึกก็พอจ๊ะ น้องแก่น

ตามมาดูบันทึกข้ามปี อิอิๆๆ บอกน้องแก่นด้วยว่าอ้วนขึ้นแล้ว ฝากถามน้องแก่นว่า ตัวสูงขึ้นหรือยัง อิอิๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท