แนวทางความโน้มเอียงในการผลิตครูวิทยาศาสตร์ นั้นนอกจากจะเน้นความเป็นครูแล้วยังจะต้องเน้นในเรื่องเนื้อหาควบคู่กันไปด้วย มีเนื้อหาเฉพาะทางที่นักศึกษาจะต้องเรียนให้รูัจริงด้วย หลายมหาวิทยาลัยเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพื่อที่จะให้ครูวิทยาศาสตร์มีศักยภาพที่แท้จริง บางมหาวิทยาลัยให้คณะวิทยาศาสตร์มาดูแลนักศึกษาสายครุศาสตร์ที่มีวิชาเอกทางวิทยาศาสตร์ดังเช่นมหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรต ทั้งนี้เพราะจากการสำรวจในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยพบว่าครู้ที่เน้นเนื้อหาวิชาเอกด้วยจะได้รับการยอมรับมากกว่าจะสาธารณะชน

ในเรื่องนี้สอดคล้องกับงานของ Tobin และ Fraser’s (1990) ในการศึกษาตัวแบบการทำงานของครู (examplary teacher’ practices) พบว่าการขาดความรู้ทางด้านเนื้อหาของครูส่งผลต่อให้ครูออกไปสอนเน้นไปในทางการเรียนรู้ความจริง ความรู้เชิงประกาศเป็นส่วนมาก และพัฒนาส่งเสริมส่วนที่เป็นการเข้าใจผิดมโนทัศน์มากขึ้น

ในความคิดเห็นแล้วธรรมชาติของการสอนนั้นมีพลิกแพลงที่ยากต่อการอธิบายทำความเข้าใจ สำหรับเพื่อให้เปลี่ยนมโนทัศน์ หรือให้นักเรียนปรับโครงสร้างความรู้ ซึ่งฝังตัวไว้อย่างประมาณการณ์ได้ยากในการเคลื่อนไหวทางการคิดและทางสังคมเชิงจิตวิทยาของสิ่งแวดล้อมของห้องเรียน ที่นักเรียนแต่ละคนให้เข้าใจทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (สิ่งที่เรารู้:what we know) และความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (how we know)