เทศกาลงานปอยส่างลองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ประเพณีของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์ จนนักท่องเที่ยวเล่าขานกันอยู่เสมอว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมาย ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ และโบราณสถาน นอกจากนี้ ยังมีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เห็นได้จากบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว หรือสองชั้น แบบโบราณ เรียกว่า บ้านแบบไทยใหญ่ สร้างด้วยไม้มีใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยใบตองตึง มีการแต่งกายแบบพื้นเมือง ซึ่งเรียกกันว่า ชุดไต คือผู้ชายนุ่งกางเกงคล้ายกางเกงจีน หรือกางเกงชาวเล สวมเสื้อคอกลม แขนยาวป้ายแบบจีน ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงยาว สวมเสื้อทรงกระบอกตัวสั้นเพียงเอว ชาวแม่ฮ่องสอนยังใช้ภาษาท้องถิ่นและรับประทานอาหารพื้นเมือง สิ่งเหล่านี้ นับว่าเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยี่ยมชมจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ซึ่งช่วงนี้อยู่ในช่วงของเทศกาลงานปอยส่างลอง ของชาวไทใหญ่ข้าพเจ้าได้นำมาฝากอ่านทุกท่าน จะได้เห็นถึงประเพณีและวัฒนธรรม ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

เทศกาลปอยส่างลอง - บวชลูกแก้วลูกหลานชาวไต

ประเพณีปอยส่างลอง 
          ช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆปิดภาคเรียนชาวไตหรือชาวไทใหญ่ มักนิยมให้ลูกหลานที่เป็นเด็กชาย เข้าศึกษาและปฏิบัติธรรมตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมานับร้อยปี พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย ของเด็กๆเหล่านี้ มีความเชื่อถือกันว่า หากให้ลูกหลานของตนเป็น"ส่างลอง" จะได้ผลบุญที่กระทำนั้นอย่างมากเด็กเด็กจะถูกโกนหัวและแต่งตัว ประดับเครื่องตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อเป็น เจ้าชายน้อย และแห่แหนไปตามบ้านเรือนของผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อขอพรจากผู้ใหญ่ ในขบวนแห่นั้นมีการแห่ประโคมเครื่องดนตรี
และมีการฟ้อนรำอย่างสนุกสนาน ก่อนที่เจ้าชายน้อยเหล่านี้จะเข้าพิธีการทางศาสนาต่อไป

 

ขั้นตอนการจัดงานปอยส่างลอง

         ปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้วนั้นเป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธซึ่งปกติจะมีการจัดงานอยู่ประมาณสามวัน แต่หากผู้ที่ทำการบวชนั้นมีฐานะดีก็จะมีการฉลองยาวนานเป็น 5 หรือ 7วันได้ ซึ่งงานดังกล่าวนี้จะนิยมจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่ และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กๆด้วย โดยประเพณีปอยส่างลองนี้เป็นประเพณีของคนไทยซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวไทใหญ่ ดังนั้นเราจึงจะพบเห็นประเพณีนี้กันมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และในบางส่วนของภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ด้วยก่อนที่จะถึงวันประเพณีปอยส่างลองหนึ่งวัน เด็กชายผู้ชายทุกคนที่เข้าร่วมประเพณีนี้จะต้องปลงผมและอาบน้ำให้สะอาดที่สุด และเจิมด้วยน้ำหอมเพื่อให้มีกลิ่นหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆอย่างอลังการ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใส่เครื่องประดับที่เป็นของจริงโดยมากจะเป็นเพชร พลอย และทองที่ทำขึ้นมาเหมือนจริงเท่านั้น     ทั้งนี้ก็เพราะกลัวของมีค่าสูญหายระหว่างการแห่ส่างลอง แต่ก็มีบางคนที่มีฐานะให้ลูกหลานใส่ของจริงก็มี นอกจากนั้นก็ยังมีการแต่งหน้าแต่งตาด้วยสีสันที่จัดจ้านให้ส่างลอง(ลูกแก้ว) ดูสวยงามมีสง่าราศีเหนือคนทั่วไป

วันแรก    ของปอยส่างลอง หรือชาวบ้านจะเรียกกันว่า "วันเอาส่างลอง" จะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วซึ่งลูกแก้วก็จะมีการแต่งกายอย่างสวยงามเปรียบเหมือนกับเทวดาตัวน้อยๆ แห่ไปรอบๆเมืองตามถนนหนทางต่างๆ ซึ่งในขบวนแห่ก็จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริงจากเครื่องดนตรีของไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลองมองเซิง (กลองสองหน้า)

          ในอดีตนั้นการแห่ลูกแก้วไปรอบๆเมืองจะให้ลูกแก้วขี่ม้าแต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปเพราะม้านั้นไม่ได้หากันง่ายๆเหมือนดังเช่นสมัยก่อน ในสมัยปัจจุบันก็จึงแห่ลูกแก้วโดยการให้นั่งเก้าอี้แล้วนำไปใส่หลังรถยนต์แห่ไปรอบเมืองแทน ในขบวนแห่ลูกแก้ว ลูกแก้วแต่ละคนก็จะมีผู้ติดตามซึ่งก็อาจเป็นพ่อ หรือญาติพี่น้องที่เป็นผู้ชาย เพราะลูกแก้วนั่นเขาเปรียบเสมือนเป็นเทวดา ต้องใส่ถุงเท้าสีขาวตลอดทั้ง 3วันที่จัดงาน และห้ามไม่ให้ลูกแก้วได้เหยียบพื้น ดังนั้นเวลาจะไปที่ใดก็ต้องมีคนคอยแบก(ม้าขี่) หรือนำขี่คอไปยังที่ต่างๆ และก็ต้องมีอีกคนหนึ่งทำหน้าที่กางร่มที่มียอดสูงประดับทองกันแดดให้ไม่ให้ลูกแก้วต้องโดนแดดเผา นอกจากนี้ยังมีคนที่ต้องดูแลเพชรพลอยของมีค่าต่าง ๆ ที่ลูกแก้วสวมใส่อยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันการตกหล่นหรือโดนลักขโมย

          จากนั้นเมื่อขบวนแห่รอบเมืองเสร็จสิ้น ก็จะเป็นขบวนแห่ลูกแก้วเหล่านั้นไปเยี่ยมญาติ ๆที่บ้าน หรือบางทีอาจเป็นผู้สูงอายุ ผู้อาวุโส และบุคคลสำคัญๆในชุมชน เพื่อไปทำแสดงความเคารพนับถือ และรับศีลรับพร จากนั้นญาติ ๆ และผู้สูงอายุก็จะใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือให้ลูกแก้วทุกคนเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายต่าง ๆ และบางทีก็จะให้ของกำนัลแก่ลูกแก้วบางคนอาจให้เป็นเงิน บางคนให้ขนม เป็นต้น

วันที่สอง หรือ "วันรับแขก" ก็จะมีขบวนแห่คล้ายๆกันกับวันแรกแต่ในวันที่สองนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ ธูปเทียนต่างๆ เพื่อถวายพระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ ในช่วงเย็น หลังจากที่ลูกแก้วรับประทานอาหารแล้วเสร็จ ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้วซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น โดยผู้นำที่ประกอบพิธีก็จะเป็นผู้อาวุโสที่ศรัทธาวัดทุกคนให้ความเคารพนับถือ

วันสุดท้าย คือ "วันบวช" พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ เมื่อท่านได้อนุญาต ลูกแก้วก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตน และอาราธนาศีล แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นก็สามเณรอย่างสมบูรณ์ โดยอาจจะอยู่หลายเดือนเพราะว่าเป็นช่วงปิดเทอมหรืออยู่ 2-3 อาทิตย์ก็ได้

อ้างอิง

1.พ่อเฒ่าจิ่งน่ะ เขื่อนนภา,สุวรรณ เพ็ชรสมัย;ผู้แปล

2.www.ssms.moe.go.th/web2006/Web_student/web_maehongson/%CA%E8%D2%A7%C5%CD%A7.

 

ประเพณีปอยส่างลอง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่บางอำเภอ โดยชาวไทใหญ่

มีนิสัยที่โอบอ้อมอารีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว  ทำให้ลูกหลานเห็นดีเห็นงามไปด้วยเรียกได้ว่า เป็นการสอนบุตรหลานในทาง

อ้อมเน้นการเป็นคนดี และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน แทนที่บุตรหลานของตนเองจะติดเพื่อน

และเกเรในช่วงปิดเทอม   เขากลับได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น โดยผู้คนสมัยก่อนได้ซึมซับเอาสิ่งดี ๆ มาใช้กับคนสมัยใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 173341เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

วันนี้นำประเพณีของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งช่วงนี้มีการจัดขึ้นหลาย ๆ ที่ ซึ่งหมู่บ้านของผู้เขียน

ก็เพิ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 24 - 27 มีนาคม หลังจากนั้น คงเป็นหมู่บ้านปางหมู จัดขึ้นช่วงวันที่

2 - 5 เมษายน 2551 มีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเยอะ

แต่ช่วงนี้ถ้าเดินทางมาขอแนะนำให้มาทางรถนะคะ เพราะไม่แน่ใจว่าเครื่องบินจะลงได้หรือเปล่า

เพราะควันเยอะมาก ด้วยความหวังดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

แม่ฮ่องสอน พอนึกถึงฤดูร้อน ก็ต้องมีประเพณีปอยส่างลองนะคะ

ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

ภูมิใจที่ได้เกิดมาเมืองวัฒนธรรมบนดอยแห่งนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

คุณน้องดอกไม้ที่ปลายดอย

เป็นไงจ๊ะขอบคุณนะที่มาแวะทักทายกัน

ปอยส่างลองสนุนกสนานเชียวอย่าลืมไปแอ๋วเน้อ....

สวัสดีค่ะ..

    สาวสุพรรณแวะมาเที่ยวชมประเพณีอันงดงามของแม่ฮ่องสอนค่ะ  ดีใจถ้าประเพณีอันงดงามจะยังคงอยู่สืบต่อไปค่ะ

    ขอบคุณนะคะที่แวะไปทักทายที่บันทึกครูตุ๊กแก  แล้วจะแวะมาคุยด้วยใหม่ค่ะ

    มีความสุขกับการทำงานนะคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท