การวิจัยในชั้นเรียนกับการพัฒนานาครู


การวิจัยในชั้นเรียน

  การวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องไม่ยาก ไม่ง่าย แต่เป็นเป็นกระบวนการทำงานที่ ครู ต้องปฏิบัติในในทำงานและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง  ดังนั้นก่อนการทำวิจัยในชั้นเรียน ควรทำความรู้จักกับวิจัยในชั้นเรียน

       การวิจัยในชั้นเรียน  หมายถึง  การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียน   การสอนในวิชาที่ครูรับผิดชอบ โดยใช้นวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น หรือนำของผู้อื่นมาใช้ ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นมีขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดปัญหา
2. การตั้งสมมติฐาน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การสรุปผล
ขอบเขตของการทำวิจัยในชั้นเรียน
1. แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนเท่านั้น
2. ปัญหาที่เกิดขึ้นจะมี 3 ประเด็น คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย ด้านทักษะพิสัย
พุทธิพิสัย  -  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  จิตพิสัย      - พฤติกรรม
  ทักษะพิสัย - ความชำนาญ รวดเร็ว              
3. เน้นการแก้ปัญหาจากบางส่วนในรายวิชา
4. ไม่เน้นการสรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่น
5. ไม่เน้นการสุ่มตัวอย่าง
6. ใช้สถิติพื้นฐาน เช่น ความถี่ ร้อยละ

ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน
ขั้นตอนแรก  วิเคราะห์ปัญหา/แนวทางการพัฒนา
ขั้นตอนที่สอง  วางแผนการแก้ปัญหา/การพัฒนา โดยเลือกใช้นวัตกรรมที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่สาม  จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/การพัฒนา โดยหาประสิทธิภาพนวัตกรรม และนำไปทดลองใช้จริง
ขั้นตอนที่สี่ การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ห้า      สรุปผลการแก้ปัญหา/การพัฒนา
ขั้นตอนที่หก เขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และเผยแพร่

ลักษณะพิเศษ คือ
 เริ่มต้นทำวิจัยในขั้นตอนใดก่อนก็ได้ เช่น อาจเริ่มที่การวิเคราะห์ข้อมูลที่ครูมีอยู่ในมือ  ทำความเข้าใจกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล  แล้วกำหนดเป็นคำถามที่ต้องการวิจัยเพื่อหาคำอธิบายในผลที่เกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 173738เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2008 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

งานวิจัยจะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ยังยากอยู่นะคะ ตอนนี้กำลังเรียนต่ออยู่ได้เรียนวิชาวิจัยและทำโครงร่างส่งแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำวิจัยเต็มรูปเลย วิจัยชั้นเรียนก็ทำแต่ไม่รู้ว่ามันถูกหรือผิด อย่างไรก็ตามถ้าท่านมีผลงานที่ดี ๆ สามารถเผยแพร่ได้ก็ช่วยกระจายข่าวบ้างนะคะ

การวิจัยกับการสอนเป็นเรื่องเดียวกันเมื่อไรแยกการวิจัยออกจากการสอนจะเป็นเรื่องที่ครูไม่คุ้นเคย การสอนก็เริ่มที่การวางแผน ออกแบบการสอน(ใช้สื่อ/นวัตกรรม)เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน ทำการบันทึกผล(วัดผล)รายงานผลจาการบันทึกที่ได้นำเสนอเปรียบเทียบกับเกณฑ์(เป้าหมาย)ก็ถือว่าจบการวิจัยของครู ถ้ายังพบปัญหาก็แสวงหาวิธีการ(สื่อ/นวัตกรรม)ต่อนำไปใช้ บันทึกผลการใช้ รายงานผล ก็จบกระบวนการวิจัยของครู ก็จะเป็นวงจรการสอนที่ไม่จบสิ้น ปัญหาของครู คือ ขาดกาบันทึกผล วิเคราะห์ผลและรายงานผลเท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท