ธัยรอยด์ 3


ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ...

     ฮอร์โมน "มหัศจรรย์" 3   

      ข้ามเรื่องนี้ไปนาน ขอบันทึกต่อละกันนะ เดี๋ยวไม่ครบเครื่อง เรื่อง ธัยรอยด์ ด้วยเหตุที่ว่า พูดถึง Hypothyroid ไปแล้ว ก็ต้องพูดถึง อาการ Hyperthyroid บ้าง เดี๋ยวมันน้อยใจ....

          ก็ด้วยอาการทีเป็นบางครั้งก็ ตรวจพบ Hypothyroid บางครั้งก็พบ Hyperthyroid ในตัวคนเดียวกัน คาดว่าน่าจะมาจากสาเหตุในการพบหมอไม่สม่ำเสมอ ครั้งแรกตรวจพบ Hyperthyroid คุณหมอให้ยา 3 เม็ด/ครั้ง หลังจากนั้นเลยไม่ไปอีก แต่ยังทานยาตามขนาดเดิม ก็เป็นเรื่องละซิทีนี้... ฮอร์โมนลดมากเกินไป ตรวจครั้งนี้กลายเป็น Hypothyroid ...

         ฮอร์โมนที่สำคัญคือ T4 และ T3 โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียกว่า hypothyroid ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างกายจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดเรียกว่า hyperthyroid

    ภาคนี้ เป็นภาค hyperthyroid

ลักษณะอาการ

·         อารมณ์แปรปรวน

·         นอนไม่หลับ

·         กล้ามเนื้ออ่อนแรง

·         ตาโปน คอพอก

·         มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย

·         ประจำเดือนผิดปกติ

·         ขี้ร้อน

·         น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี 

ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ ก็เพราะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานขึ้นมามากเกินพอดี ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ

การวินิจฉัย 

       โดยการตรวจเลือดหาระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน ดูระดับ T3 หรือ T4 และระดับ TSH (Thyroid stimulating hormone)

หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง

หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ 

การตรวจไทรอยด์

     การสแกนเพื่อดูสภาพต่อมไทรอยด์โต  อาจมีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ 

·        การตรวจไทรอยด์สแกนเป็นการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานเกลือไอโอดีนที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ

 

       ประโยชน์ของการสแกนเพื่อบอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ ตรวจว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ และช่วยแยกก้อนที่ต่อมไทรอยด์ว่าเป็นชนิดใด         

      

·        สำหรับวิธี needle aspiration เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา

·        การตรวจอุลตราซาวน์ เป็นการตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา 

 การรับประทานยา

              ยารับประทานสำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษที่มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมีเพียงสองชนิดเท่านั้น ได้แก่

·        ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole

·        ยาเพื่อลดอาการของโรค การใช้ยาประเภท beta-blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เป็น

การรับประทานน้ำแร่   radioactive iodine

       โดยทั่วไปการรักษาไทรอยด์เป็นพิษคือ การกินยารักษาไทรอยด์ ซึ่งจะให้กินประมาณ 2 ปี ถ้ากินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หาย หรือไม่สามารถหยุดยาได้ จึงแนะนำรักษาด้วยการกลืนแร่รังสี

       การกลืนแร่รังสีทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การกลืนน้ำแร่ (ไม่ใช่กลืนก้อนแร่) เป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง "น้ำแร่" คือ ไอโอดีนพิเศษที่มีคุณสมบัติปลดปล่อยรังสีได้ ให้ผู้ป่วยดื่มเพียงครั้งเดียว ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นใด ต่อมไทรอยด์จะค่อยๆ ฝ่อจากฤทธิ์ของรังสี เมื่อต่อมไทรอยด์ฝ่อแล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหาย ปริมาณรังสีจากน้ำแร่ไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร

การผ่าตัด

          เลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม

         ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใดของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, คอพอก เป็นต้น สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น และมียาที่จะใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย

                                                    morisawa

อ้างอิง; นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ,ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 

หมายเลขบันทึก: 173933เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2008 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเก็บไปทำราบงานนะคะ

หนู่ชื่อแอนนี่ หนูเป็นไทรอยด์เป็นพิษ

ทานยามา 2 ปี แล้วยังไม่หาย

ปัจจุบันหมอปรับยา เป็น 4 เม็ด แล้ว

รู้สึกไม่ดีเท่าไหร่ หนูก็อยากกลืนน้ำแร่ เพราะอยากหายแล้ว

แต่ก็กลัวไม่รู้หนูไปฟังมาจากไหน จำไม่ได้แย๊ว

ว่ากลืนแล้วต่อไปจามีลูกไม่ได้ T  T

ได้อ่านข้อมูลทั้งหมดนี้แล้ว ได้ความรู้มากๆๆๆๆเลยค่ะ

อาการทั้งหมดตรงกับแอนนี่ทุกอย่างเลย 555+

คนรอบข้างเริ่มม่ะได้แล้ว ^ ^

ขอบคุณพี่มากๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท